06/03/2019
... #ประวัติเมืองสตูล................... #เมืองสตูลครบรอบอายุ 180 ปี ตอนที่ 3.................. #ผู้ปกครองไทรบุรี และ มูเก็มสโตย
เมืองสตูลมีฐานะเป็น " มูเก็ม " หรือ ตำบลหนึ่ง อยู่ในความปกครองของเมืองไทรบุรีมาโดยตลอด และ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 ไทรบุรีตั้งตัวเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นต่อฝ่ายไทย ตลอดสมัยกรุงธนบุรีเนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ยกทัพในการปราบ รามจนสิ้นรัชกาล ครั้นร่วงมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมืองไทรบุรีจึงกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของไทยตามเดิมฐานะหัวเมืองมลายู
ในตอนปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระยาไทรบุรีคือ " ตนกูอับดุลละห์ มูการามชาห์ " ถึงแก่อนิจกรรม มีบุตรชาย 10 คน ต่างมารดากัน " ตนกูฏียาฮุดดีน " ผู้เป็นน้องขึ้นปกครองเมืองไทรบุรีแทน ปกครองเมืองเพียง 2 ปีก็ถึงแก่กรรมอีก พระยาไทรบุรีคนนี้ไม่มีบุตร เวลานั้นเมืองไทรบุรีอยู่ภายใต้การดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าพระยานคร(พัฒน์) สนับสนุน ตนกูบิศนู แต่ชาวเมืองไทรบุรีไม่เห็นด้วย ชาวเมืองสนับสนุน " ตนกูปะแงรัน " ซึ่งเป็นผู้พี่ และ เป็นคู่แข่งที่สำคัญสองคนนี้ขึ้นปกครองเมืองไทรบุรี
ในปี พ.ศ. 2340 พระยานคร(พัฒน์ ) จึงนำบุคคลทั้ง 2 เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปรากฏว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง "ตนกูปะแงรัน" ผู้เป็นพี่ เป็น" พระยารัตนสงคราม ราชภักดีสีสุลต่านมะหะหมัด รัตนราชบดินทร์ สุวินทวังษา พระยาไทรบุรี " เป็นเจ้าเมืองสืบต่อจากบิดา มีพระนามตามสายวงค์ว่า " สุนต่านอะหมัด ตายุคดีน ฮาลิมซาห์ที่ 2 "
ส่วนตนกูบิศนู ผู้เป็นน้องพระยาอภัยนุราช ตำแหน่งรายามุดา เทียบเท่าผู้ช่วยผู้ปกครองหรืออุปราช และ ปกครองมูเก็มสโตยรวมทั้งละงู พระยาอภัยนุราช ถึงแก่อนิจกรรมหลังจากปกครอง มูเก็มสโตย และ ละงูได้เพียง 2 ปีเท่านั้น
หลังปี พ.ศ. 2358 มูเก็มสโตย และ ละงูจึงไม่มีผู้ปกครองดูแล แต่จะปล่อยให้เป็นเมืองร้างไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านนภาลัย ทรงโปรดเกล้าให้เมืองสงขลาเป็นผู้ดูแลไปพลางก่อน
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2358 มูเก็มสโตย และ ละงู จึงกลับไปขึ้นกับเมืองไทรบุรีตามเดิม ไม่มีผู้ปกครองดูแลในฐานะเจ้าเมืองปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแม่ทัพนายกองกลุ่มหนึ่งซึ่งเมืองสงขลาส่งมารักษาการณ์บ้านเมืองไว้เป็นการชั่วคราว นานถึง 24 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2382 " ตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บ " ได้มาปกครองเมืองสตูล และ ต่อมาได้ยกฐานะจาก มูเก็มสโตย เป็น นครีสโตย หรือเมืองสตูลขึ้น
จึงได้เลือก "ตำบลมำบังนังครา " คือบริเวณถนนบุรีวานิชเป็นสถานที่ตั้งเมืองอย่างถาวรนับแต่บัดนั้น กลายเป็นที่มาของชื่อตำบลมำบัง และ อำเภอมำบัง ภายหลัง.. #จากปี พ.ศ. 2382 เมื่อยกฐานะจาก มูเก็มสโตย เป็น นครีสโตย จนถึงปัจจุบัน รวมอายุเมืองสตูลครบ 180 ปี
{ อ้างอิงข้อมูลโดย หนังสือรวมเรื่องเมืองสตูล (อบจ.สตูล) และ อ.บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ < ชาป่าเมืองสตูล เรียบเรียงใหม่ 4 มี.ค. 62 }