คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานความร่วมมือระหว่างกระ?

🎉ประกาศผลการคัดกรองข้อเสนอโครงการเบื้องต้น (Project Brief)  "เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนการดำเนินงานภายใต้กิจกรร...
25/11/2021

🎉ประกาศผลการคัดกรองข้อเสนอโครงการเบื้องต้น (Project Brief)

"เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนการดำเนินงานภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2565"

⭕️ แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS) จำนวน 1 โครงการ
- โครงการบริการให้คำปรึกษา และเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี

⭕️แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise : BCE) จำนวน 4 โครงการ
1. โครงการการพัฒนาการผลิตขมิ้นชันตามมาตรฐานความปลอดภัยแบบครบวงจรในพื้นที่ภาคเหนือปีที่ 3
2. โครงการข้าวแต๋นแม่ตุ่นแก้ว อร่อย ปลอดภัย คุณภาพมาตรฐาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. โครงการพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ เพื่อส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ และสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ในชุมชน
4. โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักเชียงดา เพื่อต่อยอดการท่องเที่ยวสู่ชุมชน

หมายเหตุ : สรุปประเด็นหลักที่ข้อเสนอโครงการเบื้องต้น (Project Brief) ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรอง

06/10/2021

ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์

👏🏻👏🏻👏🏻👏🏻👏🏻👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻
🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉

ขอแสดงความยินดีกับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณฐิตากานต์ พยัคฆา
อาจารย์ประจำสาขาส่งเสริมเผยแพร่การเกษตร

พร้อมด้วย

นายกิติศักดิ์ ทองมีทิพย์
นักศึกษาปริญญาเอกสาขาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท

ได้รับการตอบรับจาก "วารสารวิชาการเกษตร" ของกรมวิชาการเกษตร
ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ เรื่อง พิธีกรรมทำขวัญข้าวกับวิถีเกษตรกรรมที่เปลี่ยนไป
(Tham Khwan Khao Ritual and the Change of Agricultural Practice)

#เรียนดี #วิชาการเด่น
#ส่งเสริมการเกษตร #มช

01/10/2021

Zoom's secure, reliable video platform powers all of your communication needs, including meetings, chat, phone, webinars, and online events.

23/09/2021

🍀 ขอเชิญรับชมรายการ เกษตรวันศุกร์ Agro Friday
ตอน "จุลินทรีย์ ดีต่อพืชตะกูลถั่ว (ไรโซเบียม)" 🥜

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564
เวลา 10.00 - 10.40 น.

✨โดย อ.ดร.ยุพา จอมแก้ว
อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

🎤 ดำเนินรายการโดย นางสาวศศิรินทร์ อธิมา ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการฯ

16/09/2021

การพัฒนาสารเสริมเชิงหน้าที่จากธรรมชาติ (natural functional feed additives) เพื่อใช้ในปรับปรุงการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันและเพิ่มสมรรถภาพการผลิตของสัตว์ โดยการเลือกใช้ชานอ้อยซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทางเกษตรในท้องถิ่น ที่มีไซโลโอลิกาแซคคาไรด์เป็นองค์ประกอบในการทำหน้าที่ในการเป็นสารส่งเสริมชีวนะ (prebiotic) จากธรรมชาติ มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิลเพิ่มขึ้น 🐟 ผลการวิจัยที่นำเสนอนี้ช่วยในการจัดการกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่ต้องพึ่งพ่การใช้ยาปฏิชีวนะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้

ผลงานนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Animals สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ 👉https://www.mdpi.com/2076-2615/11/7/2035

#คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ
#มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

08/09/2021

🍀 ขอเชิญรับชมรายการ เกษตรวันศุกร์ Agro Friday
ตอน "แม่เหียะ Model ท่องเที่ยวเชิงเกษตร"

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564
เวลา 10.00 - 10.40 น.

✨โดย นางสาวนาตยา ใจปัญญา
หัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาการท่องเที่ยวเกษตรในไร่แม่เหียะ
🎤 ดำเนินรายการโดย นางสาวศศิรินทร์ อธิมา ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการฯ

เหมี้ยง หรือ ชาอัสสัมหมัก ที่หลายๆคนรู้จักคือ ของว่างของคนแก่คนเฒ่าชาวเหนือ เพราะเมี้ยงมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่ากาแฟ 2-3 เท...
07/09/2021

เหมี้ยง หรือ ชาอัสสัมหมัก ที่หลายๆคนรู้จักคือ ของว่างของคนแก่คนเฒ่าชาวเหนือ เพราะเมี้ยงมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่ากาแฟ 2-3 เท่า จึงเป็นสาเหตุทำให้คนกินเมี้ยงเพื่อล้างปากหลังอาหารกลางวัน เพราะทำให้สดชื่น และทำงานได้ในช่วงบ่าย แต่แท้จริงแล้วคุณสมบัติของเหมี้ยงนั้นยังมีอีกมากมาย เช่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง มีสารธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ทางยาที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ผลิตภัณฑ์เพื่อความงามได้
ศูนย์วิจัยพหุวิทยาการเกี่ยวกับเหมี้ยงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล็งเห็นความสำคัญของเหมี้ยง และมีเป้าหมายในการอนุรักษ์และยกระดับภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่ความเป็นสากล โดยมีแนวคิดหลักคือ “คน-ป่า-เหมี้ยง” ซึ่งทุกสิ่งต้องพึ่งพาอาศัยกัน จึงจะเกิดความยั่งยืนขึ้นได้
มอง “เหมี้ยง” มุมใหม่ ใน “คน – ป่า - เหมี้ยง ล้านนา” อ่านบทความเพิ่มเติมต่อ
https://sdgs.cmu.ac.th/th/ArticleDetail/10414655-0f19-4c78-a391-ffcc460a04e8?fbclid=IwAR1Qt49WCWyyrJJ6bPjf7NTekAoVi_tlGMBggxDqD1ozaIOhcYFNsPRSf9k
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

05/09/2021
03/09/2021

การตรวจหาความบกพร่องในเมล็ดกาแฟอะราบิก้าด้วยเทคนิค เนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (NIRS) ร่วมกับเคโมเมทริกซ์ 🔎โดยตรวจหาความบกพร่อง 3 ลักษณะ ได้แก่ เมล็ดแตก เมล็ดแมลงถูกทำลาย และผลกาแฟแห้ง ที่มีระดับการปลอมปนในเมล็ดกาแฟดิบ 13 ระดับ โดยวัดสเปกตรัมแบบสะท้อนกลับของแสงด้วยเครื่อง NIRSystem 6500 (ช่วงความยาวคลื่น 400-2500 นาโนเมตร) เครื่อง MPA (วงความยาวคลื่น 800-2500 นาโนเมตร) และเครื่อง Portable NIR (ช่วงความยาวคลื่น 900-1700 นาโนเมตร) วิเคราะห์สเปกตรัมด้วยเทคนิค principle component analysis (PCA) เพื่อตรวจสอบความแปรปรวนของข้อมูล จากนั้นสร้างสมการเทียบมาตรฐานด้วยเทคนิค partial least square regression (PLS) เพื่อตรวจหาปริมาณความบกพร่องในเมล็ดกาแฟดิบ พบว่า NIR spectrometer ทั้งสามเครื่องสามารถตรวจหาความบกพร่องในเมล็ดกาแฟดิบอะราบิกาได้ โดยสามารถแสดงความแตกต่างของข้อมูลสเปกตรัมแต่ละระดับปลอมปนได้ด้วยเทคนิค PCA และสมการเทียบมาตรฐานสามารถตรวจหาปริมาณความบกพร่องในเมล็ดกาแฟดิบได้แม่นยำ โดยเฉพาะเครื่อง NIRSystem 6500 และเครื่อง MPA ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจสอบ สามารถประยุกต์ใช้ควบคุมคุณภาพผลผลิต (quality assurance) ได้ ดังนั้น การใช้เทคนิค NIRS และเคโมเมทริกซ์สามารถตรวจหาความบกพร่องในเมล็ดกาแฟดิบอะราบิกาได้อย่างแม่นยำ ผลงานวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตีพิมพ์ลงวารสาร Chiang Mai Journal of Science ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ 👉🏻 https://epg.science.cmu.ac.th/ejournal/journal-detail.php?id=11467
#คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์
#ศูนย์ความเป็นเลิศศูนย์พัฒนากาแฟล้านนาไทย
#มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

31/08/2021

📣📣คลินิกเทคโนโลยี ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรม"สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับศักยภาพธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัดลำพูน"

👉วันที่ 31 สิงหาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ผ่านระบบออนไลน์

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ QR Code 👇👇

ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับโอทอป ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในพื้นที...
28/08/2021

ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาและยกระดับโอทอป ด้วย
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในพื้นที่จังหวัดลำพูน
ผ่านระบบออนไลน์ ในวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2564
วันที่ 30 สิงหาคม 2564
คลิกลิงค์ https://cmu-th.zoom.us/j/92510775764
password: 92510775764
- “แนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานการผลิต”
โดย นายชายกร สินธุสัย นักวิชาการอิสระ และนางสุบงกช ทรัพย์แตง นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ พิเศษ กองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ
- “แนวทางการพัฒนานวัตกรรมผลิตอาหาร/สมุนไพรและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม”
โดย อาจารย์วิญญู ศักดาทร ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (FIN CMU)
- “แผนธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์และกลยุทธ์ด้านการตลาดในยุคปัจจุบัน”
โดย อาจารย์ใจรัตน์ จตุรภัทรพร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่ 31 สิงหาคม 2564
คลิกลิงค์ https://cmu-th.zoom.us/j/98691028856
password: 98691028856
- “แนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานการผลิต”
โดย นางสาวโสรญา รอดประเสริฐ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กองเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ และโดย นางสาวกนกวรรณ วงค์คม หัวหน้างานปฏิบัติศูนย์เชียงใหม่ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
- “แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มผ้าและเครื่องแต่งกายด้วย วทน.”
โดย นางนิตยา มหาไชยวงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอ ภายใต้การดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- “แผนธุรกิจสู่เชิงพาณิชย์และกลยุทธ์ด้านการตลาดในยุคปัจจุบัน”
โดย อาจารย์ใจรัตน์ จตุรภัทรพร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สามารถลงทะเบียนได้ตาม Qr Code
#กิจกรรมฟรี ☺️

27/08/2021

การเลี้ยงโคเนื้อสายพันธุ์พื้นเมืองแบบปล่อยอิสระนับเป็นวิถีการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรใน อ.ปัว จ.น่าน มาอย่างยาวนาน 🌾🐮 ดังนั้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อตามแนวทางเกษตรประณีตของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ อ.ปัว จ.น่าน จึงมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโคเนื้อในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สายพันธุ์ อาหารสัตว์ และการจัดการ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรให้เป็นไปตามแนวทางเกษตรประณีต ซึ่งเกษตรกรจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อของตนเองต่อไปในอนาคต
ผลงานวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตีพิมพ์ลงวารสาร International Journal of Agricultural Technology ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ 👉🏻http://www.ijat-aatsea.com/pdf/v17_n1_2021_January/22_IJAT_17(1)_2021_Prapatigul,%20P..pdf

#คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร
#มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

06/08/2021

ไรชนิดใหม่ของโลก !!!!!!!! 😮😮😮😮
ณ พื้นที่แปลงเกษตร คณะเกษตรศาตร์ มช.

19/07/2021

📢 วันศุกร์ที่ 23 กรกฏาคม 2564 เวลา 10.00 - 10.40 น.
ขอเชิญ พบกับรายการ เกษตรวันศุกร์ Agro Friday
ตอน "นมไม่เบื่อ เมื่อกักตัว" 🥛🐄
🐮 สอนทำเมนูจากนม 3 สูตร ช่วงกักตัวอยู่บ้าน ด้วยหม้อใบเดียว ⁉️
1. ชีสสด
2. Drinking whey
3. พุดดิ้งนมขิง ขิง
✨โดย อ.ดร.วัชรพงศ์ นรพัลลภ และอ.ดร.ทฤษฎี คำหล่อ
อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ (ห้อง SAAAP)
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🎤ดำเนินรายการโดย นางสาวศศิรินทร์ อธิมา ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการฯ

14/07/2021

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกองเทคโนโลยีชุมชน กลุ่มวิจัยและพัฒนาอาหารแปรรูป ได้ทำการศึกษาการผลิตน้ำซุปปลาชนิดผงจากวัตถุดิบเหลือใช้จากกระบวนการผลิตปลาส้ม และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกป่าฝาง ตำบลปะโค อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนากระบวนการผลิต และคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

#น้ำซุปปลาชนิดผง #ปลาส้ม #การผลิต
#กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกป่าฝาง
ตำบลปะโค อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
#กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ผู้สนใจเทคโนโลยีติดต่อขอรับข้อมูลได้ที่
กลุ่มวิจัยและพัฒนาอาหารแปรรูป กองเทคโนโลยีชุมชน
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
โทร. 0 2201 7416

14/07/2021
14/07/2021

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบไบโอฟลอค 🦐
โดย ผศ.ดร.Hien Van Doan
ภายใต้โครงการ Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy
ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14/07/2021

📢 วันศุกร์ที่ 16 กรกฏาคม 2564 เวลา 10.00 - 10.40 น.
ขอเชิญ พบกับรายการ เกษตรวันศุกร์ Agro Friday

ตอน "โรคพืชจัดการได้ ไม่ยากอย่างที่คิด" 🌳🍀

โดย ผศ.ดร.อังสนา อัครพิศาล อาจารย์ประจำภาควิชากีฎวิทยาและโรคพืช
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำเนินรายการโดย นางสาวศศิรินทร์ อธิมา ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการฯ 🌿

ที่อยู่

สำนักงานอธิการบดี 2 ชั้น 1 สำนักบริหารงานวิจัย 239 ถ. ห้วยแก้ว ต. สุเทพ อ. เมือง จ. Chiang Mai
Chiang Mai
50200

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6653943644

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์