24 Phuket 24 Phuket เล่าเรื่องราวต่างๆในจังหวัดภูเก็ต ชวนมากิน มาเที่ยวภูเก็ต แนะนำข้อมูลและกิจกรรมต่างๆในจังหวัดภูเก็ต

31/10/2024
27/09/2024
18/09/2024
21/03/2024

#ขึ้นเกาะเข้าภูเก็ต
พ.ศ. 2495 ภูเก็ต
ก่อนปี พ.ศ. 2510 การเดินทางเข้าไปยังจังหวัดภูเก็ตใช้การเดินทางด้วยเรือ แต่ภูเก็ตในขณะนั้นยังเป็นเมืองที่ทำเหมืองแร่ การขนส่งเครื่องมือ หรือการนำรถยนต์เข้าไปยังเกาะภูเก็ตจึงต้องใช้วิธีเดินทางและขนส่งด้วยแพขนานยนต์ที่สามารถลำเลียงสิ่งของขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากสะพานสารสิน ก่อสร้างภายหลังและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2510
การเดินทางจากพังงาต้องขึ้นแพขนานยนต์ที่ท่านุ่น อำเภอตะกั่วทุ่ง ข้ามมาขึ้นฝั่งที่ท่าฉัตรไชย อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต รถยนต์ทุกชนิดก็ต้องอาศัยแพขนานยนต์ทั้งนั้น รวมทั้งรถเร่หนังขายยาที่ปรากฎในภาพนี้
#ภูเก็ต
ที่มาภาพ : Pictures From History/CPA Media

13/02/2024

ช่วงนี้เข้าออกในตัวเมืองภูเก็ต เช็คเส้นทางและวางแผนด้วยนะคะ

#ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับงานตรุษจีนภูเก็ต (เดือนสามบ้านเรา) ประจำปี 2567 “Phuket Festival 2024” 15-17 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ตั้งแต่เวลา 18.00-23.00 น. ณ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต
#พบกับขบวนพาเหรด Phuket Festival 2024 ที่สวยงามและสร้างสรรค์ ในรูปแบบสนุกสนานและสร้างสีสัน
เวทีการแสดงแสง สี เสียง 7 เวที พบกับความหลากหลาย ทั้งการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่มีเสน่ห์ของชาวภูเก็ต โชว์การแสดงของเด็กๆ และเยาวชนในเทศบาลนครภูเก็ต ในบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลอง ความสุข สนุกสนาน ท่ามกลางความสวยงาม ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต ประกอบด้วย
(1) เวทีหลัก (Main Stage) ณ บริเวณพื้นที่ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์เพอรากันนิทัศน์
(2) เวทีย่อย (Mini Stage) จำนวน 6 เวที อาทิบริเวณถนนพังงา หน้าธนาคารกสิกร, บริเวณแยกแถวน้ำ, บริเวณพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, บริเวณถนนถลาง, บริเวณหน้าสถานีอุตุนิยมวิทยาภูเก็ต, บริเวณถนนกระบี่
ภายในงานมีดังนี้
จุดที่ 1 : ถุงเงินจีน ถุงเงิน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมงคล และสื่อให้เห็นถึงความมั่งคั่งของจังหวัดภูเก็ต โดยจะตั้งอยู่ที่บริเวณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (ลานมังกร)
จุดที่ 2 : มังกรทอง เทพมังกรสีทองสูงกว่า 4 เมตร เป็นตัวแทนของความแข็งแกร่ง ความตั้งใจ ความพยายาม กล้าหาญ อดทน ชาวจีนจึงถือว่า มังกร คือ จิตวิญญาณของการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ประชาชนสามารถเดินลอดท้องมังกร ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมังกรทองจะตั้งอยู่บริเวณถนนถลาง
จุดที่ 3 : หัวสิงโตเชิดอวยพร ชาวจีนเชื่อว่าสิงโตถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ แม้เพียงเสียงคำรามก็สามารถปัดเป่าวิญญาณ และสิ่งชั่วร้ายได้ โดยสิงโตจะตั้งอยู่ที่บริเวณพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์
จุดที่ 4 : ว่าวโคมไฟ กลุ่มโคมไฟว่าวที่มีลวดลายสวยงาม ส่องแสงสว่าง โดยจะตั้งโดดเด่นอยู่บริเวณ บ้านเลขที่ 63 ศูนย์บริการข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยว เทศบาลนครภูเก็ต
จุดที่ 5 : หน้ากากสิงโต สื่อถึงความยิ่งใหญ่มีข้าทาสบริวารมาก มีความซื่อสัตย์ความกล้าหาญ มีโชคลาภ เป็นนักสู้ มียศศักดิ์ และชนะอุปสรรคนานานัปการ โดยจะตั้งอยู่ที่บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
จุดที่ 6 : มังกรพันโคมไฟจีน ในช่วงเทศกาลตรุษจีน มักจะมีโคมไฟจีนสีแดง ที่เสริมสิริมงคล และเป็นแสง-สว่าง โดยจะตั้งอยู่ที่บริเวณถนนพังงา (สะพานวรสิทธิ์)
จุดที่ 7: ตุ๊กตาพองลมย่าหยา ที่จะมาพร้อมชุดเครื่องแต่งกายแบบพื้นเมืองภูเก็ต มีความสูงกว่า 4 เมตร ยืนต้อนรับอยู่บริเวณหน้าโรงแรมออนออน
จุดที่ 8 : ว่าวโคมไฟ เป็นอีกกลุ่มว่าวโคมไฟที่ทอดยาวต่อจากจุดที่ 4
และอีกหนึ่ง Highlight ที่นำมาจัดแสดงอย่างยิ่งใหญ่ คือ “อุโมงค์โคมไฟมังกร” ที่มีความยาวกว่า 40 เมตร ทอดยาวบนถนนภูเก็ต ตั้งแต่แยกน้ำถึงบริเวณแยกธนาคารชาร์เตอร์
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม “การจุดเทียนแดง” ซึงเชื่อว่าการจุดเทียนแดงจะเสริมสิริมงคล และดวงชะตา เนื้อเทียนสีแดง แสดงถึงความเข็มแข็ง อำนาจที่แข็งแกร่ง ความกล้าหาญ ความรัก และความพลังแห่งการผลักดัน การจุดเทียนบริเวณลานมังกร ยังเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ให้ผู้เที่ยวงานมาจุดเทียนขอพรได้
กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมด้านอาหาร
การออกร้านจำหน่ายสินค้าและอาหาร ในปีนี้ได้คัดเลือกร้านค้าที่จะมาออกร้านอย่างละเอียด เช่น อร่อย สดใหม่ สะอาด ถูกหลักอนามัย พร้อมมีเมนูเด็ด อร่อยมากมายหลากหลายชนิด ให้เลือกชิมกันอย่างจุใจ โดยจัดให้มีสถานที่แสดงสินค้าและอาหาร แบ่งเป็น 6 จุด รวมทั้งหมดกว่า 400 ร้านค้า

08/02/2024
04/02/2024
13/01/2024

ข่าวดี! เฮ...ให้ลั่นสนั่นเกาะ "ภูเก็ต" คว้าธงได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Thailand Biennale 2025 (งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ) ครั้งที่ 4 ต่อจากจังหวัดเชียงราย

ยินดีด้วยคร้าาาาา 🩵

06/12/2023
07/11/2023

ภาพถ่ายในปี2496
ภูเก็ต
(เดิมสะกดว่า ภูเก็จ) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงา ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต(ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง
ข้อมูล:วิกิพีเดีย
ภาพเก่าเล่าอดีต

02/11/2023

กรี้ดๆๆๆ ปีหน้าเราได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุม Creative Cities of Gastronomy UNESCO 🙄 แต่จี้ว่าหลายคนไม่รู้ว่าอีรางวัลที่ภูเก็ตได้มาตั้งแต่ปี 2558 คือไอไหร (อะไร) ชื่อยาวก่ายาว อ่านก่ายาก อิต่ายโห้ง. พอซัดตาแล (อ่าน) ภาษาไทย (เมืองวิทยาการอาหาร) มึงงงเข้าไปเหลย (อีก) 😈 ฮ่าๆๆๆ

เมืองเก่า เช่น อียิปต์ อยุธยา เป็นเมืองมรดกโลก (World Heritage) แค่ไหน (ตรงไหน) ได้ติดป้ายนี้ มึงเอ้ย! เอี้ยนอย่างแรง (เริ่ดมาก)

นอกจากเมืองเก่าต้องรักษาเป็นมรดกของโลก เค้ายังมีรางวัลมรดกทางวัฒนธรรมหลาวโด้ (อีก) บ้านเราได้อันนี้แอ้ะ City of Gastronomy 🔑 เริ่มจากอ่านให้ถูกก่อน ..ซิตี้ ออฟ แกส-โตร-โนมี่ ..ออกเสียงเป็นผัง (ฝรั่ง) อิ้ด (นิด) แลดืย (ดูดี) ♥️

เอาง่ายๆ 📌เมืองสารพัดอาหารหรอย (วัตถุดิบ+รสชาด+หลากหลาย) .. ฮายย!! บ้านเราพรึยอิไม่หรอยวะ? คัน (ถ้า) ชาวเลจับกุ้งจับปลาในเล (ทะเล) ก่อนทอด หางปลายังดุกดิกโอ้ (สดโคตร) กุ้งมังกร 7 สี จับได้ตัวๆ (ตัวใหญ่)

แขกก่ามี โด้! ส้มควาย แกงส้มเราเลยหรอยกว่าเพื่อน (อร่อยกว่าใคร) ไก่แดง (เครื่องสีแดง หนีบไม้ไผ่ ย่างเตาถ่าน) ข้าวยำใครอิหานตายสู้เราได้ จริงม้าย?

จีนก่ามา อู่ฮ่าวหลาวอ่า (รวยด้วย) หมูฮ้อง ปลาแป๊ะซะ เหลี่ยมต้อผัดเคยเค็ม ว่าไป! ปีใหม่ เดือนสาม (ตรุษจีน) เชงเบ๋ง (เชงเม้ง) ไหว้จ้อก๊อง (บรรพบุรุษ) แขกออกบวช เดือนสิบ กินผัก (กินเจ).. ทุกงาน รวมตัวกันเส้นหัวเพ (กิน) ฮ่าๆๆ ชาวภูเก็ต!!!!!

สรุปว่ายูเนสโกมัน (เค้า) ว่าบ้านเราของกินหรอยระดับโลก แถมคนบ้านเราโฮ้เฉ่ว (ยิ้มเก่ง บริการเก่ง) ..อันแรกนี้คนบ้านเรายะตาย (เราบ้ากิน) ภูเก็ต 7 มื้อนะเว้ย.. แต่อีอันหลังนี่กูว่าอยากได้ตัง ฮ่าๆๆๆ

#อีจี้จุ๋ม #ลูกเข้โห #สาวภูเก็ตเด็ดตรงนี้ Orasa Tosawang

23/10/2023

คนไทยเชื้อสายจีน

ประเทศไทยมีประชากรคนไทยเชื้อสายจีนประมาณมากกว่า 10 ล้านคนตามทะเบียน

สถานทูตจีนประมาณว่ามี 20%ของประชากร

นักวิชาการไทยศึกษาเชิงลึกประมาณว่าคนไทยราว40% ผสมdnaสายเลือดจีน ด้วยการ make love กันมายาวนาน

ส่วนมากจะเป็นเชื้อสายแต้จิ๋วประมาณร้อยละ 56
แคะ ร้อยละ 16,
ไหหลำ ร้อยละ 11,
กวางตุ้ง ร้อยละ 7,
ฮกเกี้ยน ร้อยละ 7,
และอื่นๆ ร้อยละ 12

แต้จิ๋ว

แต้จิ๋ว (潮州 ; Teochew ; ภาษาจีนกลาง: Cháozhōu) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด กล่าวกันว่า

ที่ไหนมีศาลเจ้า
(老爺宮) เหล่าเอี้ยเก็ง)
ที่นั่นจะพบคนจีน เพื่อพบปะกันและเป็นที่พึ่งทางใจเมื่อยามห่างไกลแผ่นดินเกิด

ชาวจีนจะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่รอบ ๆ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลองและตามภาคกลาง

ได้มาที่แผ่นดินสยาม
(เซี่ยมล้อ 暹羅)
ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาแล้ว

โดยมาจาก
มณฑลฝูเจี้ยน (福建省) และ
มณฑลกวางตุ้ง (廣東省)

ส่วนมากจะทำการค้า
ทางด้าน การเงิน ร้านขายข้าว และ ยา มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ

ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (鄭皇, แต้อ้วง พระองค์แซ่แต้) พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมาก
ได้รับสิทธิพิเศษ

ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า
จีนหลวง (Royal Chinese) เป็นนักรบกู้ชาติจากพม่า

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋วเช่นกัน

ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์
การอพยพของชาวแต้จิ๋วจึงมีมากขึ้น และในประเทศไทยเองก็มีคนแต้จิ๋วเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันจะมีมากในทุกภาคของประเทศไทย

แต่ที่มีชาวแต้จิ๋วมากที่สุดคือกรุงเทพฯ
ภาคกลางตอนล่าง เช่น นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตอนบน เช่น ชัยนาท สิงห์บุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย
ภาคตะวันออก คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี
(เมืองเก่าของพระเจ้าตากสินมหาราช)
ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี

(ชาวแต้จิ๋วมาเริ่มตั้งต้นถิ่นฐานในภาคนี้มากที่สุดเพราะเป็นพื้นที่ไม่มีคนอยู่อาศัยเป็นป่าแต่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำเพื่อเพาะปลูก

และที่ปลูกมากที่สุดคือ
"ต้นไผ่"
เพราะไผ่ขายเพื่อทำเรือแพออกไปค้าขายได้ แล้วกระจายไปในจังหวัดใกล้เคียงในเวลาต่อมา ในรัชสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชาวแต้จิ๋วข้ามาอาศัยแผ่นดินสยามมากที่สุด)
ภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน (ส่วนพะเยาจะมีจีนแคะหรือชาวฮากกาจำนวนมาก)
ในภาคอีสานส่วนใหญ่จะเป็นชาวแต้จิ๋วในทุกจังหวัดเช่น นครราชสีมา (โคราช) ชัยภูมิ ขอนแก่น เลย อุดรธานี กาฬสินธ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ส่วนพื้นที่ริมโขงเช่น หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร จะปะปนไปด้วยชาวแต้จิ๋ว แคะ และเวียดนาม (ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า)
ทางภาคใต้จะกระจายในฝั่งอ่าวไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งพระองค์ยกทัพทางเรือไปปราบกบฎที่ภาคใต้ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช (ต้นกำเนิดราชสกุล ณ นคร) พัทลุง (ต้นกำเนิดราชสกุล ณ พัทลุง) ทุกจังหวัดเช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในฝั่งอันดามันนั้นส่วนใหญ่จะเป็นจีนฮกเกี้ยนหรือฝูเจี้ยน (福建) ซึ่งดั้งเดิมเดินทางมาจากมลายูแล้วมาขึ้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น ภูเก็ต พังงา สตูล ตรัง ระนอง และนอกจากนั้นเป็นจีนแคะ (客人) เป็นต้น

แคะ

แคะ (客家; Hakka; ภาษาจีนกลาง: kèjiā)

เป็นกลุ่มชาวจีนอพยพที่มาจากมณฑลกวางตุ้ง เป็นส่วนมาก จะอพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และตั้งถิ่นฐานทีแถบจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย

ส่วนมากจะชำนาญทางด้านหนังสัตว์ เหมือง และเกษตรกรรม

นอกจากนี้ ชาวจีนแคะยังเป็นเจ้าของธนาคารอีกหลายแห่ง อาทิ ธนาคารกสิกรไทย

ไหหลำ

ไหหลำ (海南 ; ภาษาจีนกลาง: Hǎinán) เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากเกาะไหหลำของจีน ชาวไหหลำจะมีเป็นจำนวนมากที่เกาะสมุย เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังปรากฏได้เห็นจากศาลเจ้าจีนหลายแห่งบนเกาะสมุย และ เกาะพะงัน มีหลักฐานการอพยพตั้งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวจีนสามารถกลมกลืนกับชาวไทยได้ดี โดยส่วนมากมาจากตำบลบุ่นเชียว ชาวจีนกลุ่มนี้จะชำนาญทางด้านร้านอาหาร และโรงงาน

ฮกเกี้ยน

ฮกเกี้ยนหรือฝูเจี้ยน (福建; Hokkien; ภาษาจีนกลาง: Fújiàn) คาดกันว่าชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพมาประเทศไทยเป็นชนเผ่าจีนกลุ่มแรก ๆ จีนฮกเกี้ยนเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนจีนกลุ่มอื่น และเป็นชนเผ่าจีนอาสาช่วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชด้วย

แม้แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี

ท่านถือกำเนิดในชุมชนจีนฮกเกี้ยนบริเวณวัดสุวรรณดาราราม ฝั่งตะวันออกของคลองนายก่าย กรุงศรีอยุธยา

มารดาของท่านชื่อ
ดาวเรืองหรือหยก
เป็นธิดาที่เกิดในสกุลคหบดีจีนที่ร่ำรวยที่สุดในชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน

ฮกเกี้ยนจะเชี่ยวชาญทางด้านการค้าขายทางเรือหรือรับราชการ และชาวจีนกลุ่มนี้จะมีจำนวนมากในพื้นที่ภาคใต้ เป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดภูเก็ต มีจำนวนมากในพังงา ตรัง ระนอง สตูล ชุมพรและจังหวัดทั่ว ๆ ไป

กวางไส

กวางไสหรือกวางสี (จีน: 廣西 ; ภาษากวางตุ้ง: gwong2-sai1) เป็นกลุ่มชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลกวางสี ส่วนใหญ่มาจากอำเภอหยง (容縣) และแถบอำเภอใกล้เคียง ช่วงแรกอพยพมาอยู่แถบประเทศมาเลเซียก่อนแล้วค่อย ๆ เดินเท้าอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย อาศัยอยู่มากในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พูดภาษาจีนกวางตุ้ง (ภาษาจีน:粵語) สำเนียง Gōulòu (ภาษาจีน:勾漏方言) เป็นภาษาหลัก ชาวจีนกวางไสเป็นเกษตรกร ทำสวนยางพารากันเป็นส่วนมาก ไม่สันทัดเรื่องการค้าขาย จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก
แต่ยังมีของที่พอเป็นที่รู้จัก ก็คือ ไก่กวางไสหรือไก่เบตง เป็นไก่พันธุ์เนื้อพื้นเมืองที่นำพันธุ์มาจากประเทศจีน มีลักษณะพิเศษกว่าไก่ชนิดอื่น ๆ ,เคาหยก (扣肉) หมูสามชั้นต้มสุก ทอดส่วนที่เป็นหนังและนำไปหมักด้วยเต้าหู้ยี้ เหล้าจีน น้ำขิง กระเทียมเล็กน้อย แล้วนำมานึ่งเผือก กินคู่กับผักดอง

ฮ่อ

ฮ่อ เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางประเทศพม่าและประเทศลาว ชาวจีนฮ่อส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางภาคเหนือทั้งในเมืองและบนดอย หนึ่งในกลุ่มชนที่สำคัญคือชาวจีนหุย (回族 ; ภาษาจีนกลาง: Huízú) ซึ่งเป็นชาวจีนที่มีลักษณะเหมือนชาวจีนฮั่นทุกอย่างเพียงแต่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวฮ่อในประเทศไทย 1 ใน 3 นับถือศาสนาอิสลาม นอกนั้นนับถือบรรพบุรุษ

เปอรานากัน

เปอรานากัน (มลายู: Peranakan) หรือ บาบ๋า-ย่าหยา (Baba-Nyonya; จีน: 峇峇娘惹; ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีเชื้อสายมลายูแต่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เนื่องจากในอดีตชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่มฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาค้าขายในบริเวณดินแดนคาบสมุทรมลายู และตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ซึ่งสมรสกับชาวมลายูท้องถิ่น[29] และภรรยาชาวมลายูจะเป็นผู้ดูแลกิจการการค้าที่นี่
สำหรับสายเลือดใหม่ของชายชาวจีนกับหญิงมลายู หากเป็นชายจะได้รับการเรียกขานว่า บาบ๋าหรือบ้าบ๋า (Baba) ส่วนผู้หญิงจะเรียกว่า ย่าหยาหรือโญญา (Nyonya)
และเมื่อคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น ก็ได้สร้างวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมของบรรพบุรุษมาผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมใหม่ เมื่อพวกเขาอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ก็ได้นำวัฒนธรรมของตนกระจายไปด้วย วัฒนธรรมใหม่นี้จึงถูกเรียกรวม ๆ ว่า จีนช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Chinese; จีน: 土生華人) โดยในประเทศไทยคนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต จังหวัดตรัง และจังหวัดพังงา ซึ่งมีบรรพบุรุษอพยพมาจากปีนังและมะละกา คนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์[30][31][32]

พื้นที่
จังหวัดภูเก็ต
ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทยมาตั้งแต่ราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (2347-2411) เพราะเกาะน้อยห้าร้อยตารางกิโลเมตรแห่งนี้มีการทำเหมืองเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ซึ่งพัฒนาการการทำเหมืองหาบในช่วงเวลาดังกล่าวต้องใช้แรงงานกุลีจีนจำนวนมาก จึงทำให้เกิดการอพยพของชาวจีนฮกเกี้ยนเข้ามายังภูเก็ต จนเกิดการผสมทางวัฒนธรรมเรียกว่า ภูเก็ตฮกเกี้ยน หรือ บาบ๋าภูเก็ต
แยกละเอียดได้ทุกจังหวัด คอยติดตามนะจ๊ะ พี่น้อง ลูกหลาน
อันนี้มีคนใจดีเขียนไว้ให้ พี่น้องเราเอง

***ขอขอบพระคุณ คุณสมเกียรติ โอสถสภา สำหรับข้อมูลดีดีนี้นะครับ***

17/09/2023

. 💚❤️ อิ่วปึ่ง 💚❤️ (ภาษาฮกเกี้ยนแปลว่า ข้าว) คือข้าวเหนียวผัดกับน้ำมัน คลุกเคล้าด้วยกุ้งแห้งคั่ว พริกไทย ซีอิ้วดำ โรยหน้าด้วยหมูแดงและหอมเจียว เป็นอาหารมงคลอย่างนึงที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภูเก็ต
ในอดีตบ้านไหนที่มีลูกชายอายุครบ 1 เดือนมักจะนำอิ่วปึ่งคู่กับไข่ต้มทาสีแดง และขนมอังกู๊ (ขนมเต่า) แจกให้กับญาติสนิทมิตรสหายเพื่อเป็นการบอกกล่าวให้รับรู้ว่าบ้านนี้มีลูกชาย ผู้ที่ได้รับอิ่วปึ่งก็จะให้อังเปาซองแดงกลับมาเป็นขวัญถุง
ขนมอิ่วปึ่งถ้าได้ลูกชายแจกไข่ย้อมสีแดง 2 ฟอง ถ้าได้ลูกสาว ไม่ปลอกเปลือง 1 ฟองพอ
ทุกวันนี้ ประเพณีนี้เริ่มเลือนหายไป แต่ยังคงมีบางครอบครัวที่ยังคงยึดถือและสืบทอดประเพณีนี้ ..."ตอนเด็กๆ สนุกสุดก็ตอนมีคนเกิดลูก (คลอด) นี่แหละ ทุกคนแลมั๊วตั๊ว (ดูวุ่นวาย) กับการเฝ้าเด็ก เตรียมหนม (ขนม) เพราะคนมาเยี่ยมมาเม้ามอยที่บ้านทั้งวันไม่ได้ว่าง พอลูกครบเดือนจะมีการพาเด็กไปไหว้ที่อ๊าม (ศาลเจ้า) พอกลับบ้านก็เตรียมเสี่ยนหนา (ปิ่นโตจีน) ใส่แจกอิ่วปึ่งตามบ้านญาติผู้ใหญ่ทั้งฝ่าย ญ ฝ่าย ช เพื่อแจ้งข่าวว่าเด็กแค่เกิดมา (คลอดออกมา) ครบเดือนแล้วน้า สิ่งที่แจกมีอิ่วปึ่งในจานใบสวยวางในเสี่ยนหนา อิ่วปึ่งสมัยจี้เด็กๆนี่ หรอยได้แรง แต่ละบ้านต้องทำเอง ใส่เหลี่ยวการุย (เครื่องล้น) ใช้ข้าวเหนียวชั้นดีผัดกับกุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยเตาอิ๋ว (ซีอิ้ว) ขาวและดำ โรยหน้าด้วยหมูแดงชิ้นเล็กๆและอิ่วผ้าง (หอมเจียว) ในจานเดียวกันด้านข้างวางหนมอังกู๊ (ขนมเต่าสีแดงทำจากแป้งใส้ถั่วเหลือง) 2 ตัว (อัน) หนมฮวดโก้ย (เหมือนถ้วยฟูสีชมพู) 2 หนวย (ลูก) และไข่ต้มย้อมเป็นสีแดง 2 หนวย (ใบ) ตอนเด็กๆจี้ไม่พลาดนะเรื่องแจกอิ่วปึ่งอ่ะ หนุกหรอย (สนุก) ได้เหวน (ขับรถร่อน) ทั้งเมือง พอถึงหน้าบ้านเจ้าของบ้านก็ออกมาทักทายรับเสี่ยนหนา เอาจานตัวเองมาใส่ และเอาใส่ข้าวสารและไข่ดิบ ดาดแดง (กระดาษ) วางข้างบนเอามาคืนให้ แล้วอวยพร ขอให้โป๊ปี่เป่งอ้าน (มีโชคมีลาภ) ก๊วยๆ (เลี้ยงง่ายๆ) โฮ้เช่ว (ยิ่มเก่งๆ) และมีซองอังป้าว (อังเปา) ใส่เงิน ใส่ทองเพื่อเป็นของรับขวัญคืนกลับมาด้วย....."

-------------

แหล่งข้อมูล -

>> Kin Dee by Praew
>> Paramee Pj
>> อีจี้จุ๋ม

************

17/09/2023

. ✏️✏️องค์ความรู้: ภาพฟิล์มกระจก ✏️✏️
เรือใบหน้าท่าโรงภาษี เมืองภูเก็ต พุทธศักราช ๒๔๕๒
Sailboat in front of Rong Phasi or Tax Office, Phuket Province, in 1909.
----------------

เครดิตภาพ/ข้อมูล -
>> หนังสือฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำโลก
>> กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร

**********

17/09/2023

. 🌼ความรู้: ภาพฟิล์มกระจก🌼
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ พุทธศักราช ๒๔๕๒ เสด็จทอดพระเนตรการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของอำแดงหั้ว ตัณฑวณิช เมืองภูเก็ต คนงานขนดินเดินไปตามสะพานซึ่งทำเป็นคู่ ไปสายหนึ่งกลับสายหนึ่ง เพื่อไม่ให้ชนกันกลางทาง
A royal visit to observe mining industry of Amdaeng Hua Tanthawanit, Phuket Province. Carrying the dug soil, laborers are walking along the two back and forth bridges separately to keep away from coming across en route, taken in 1909.
---------------

แหล่งที่มาภาพ/ข้อมูล -
>> หนังสือฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำโลกองค์โลก
>> กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร

***********

17/09/2023
25/07/2023

ณ บ้านระนอง (Ranong House)

บ้านพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง)
Phraya Rattana Setthi (Khaw Sim Kong) 's House

ปีนัง (ปูเลาปีนัง, เกาะหมาก)
Penang (Pulau Pinang, Koh Mak)
ไทรบุรี (เกอดะฮ์) | Saiburi (Kedah)
* สยาม | Siam

ถ่ายเมื่อราวปีค.ศ.1890 (พ.ศ.๒๔๓๓)
Photographer: August E. Kaulfuss
Image Source: Leiden University Libraries, Netherlands

** ในปีพ.ศ. ๒๔๕๒ สยามยกดินแดนส่วนนี้ ซึ่งอยู่ในส่วนของเมืองไทรบุรี (เกอดะฮ์) ให้กับบริติชมาลายา (British Malaya) หรือมาเลเซีย (Malaysia) ในปัจจุบัน

08/01/2021
20/10/2020

เปิดรับสมัคร วันนี้วันสุดท้ายแล้ว

--
PHUKET International Mountain Marathon 2020
วันอาทิตย์ ที่ 25 ตุลาคม 2563 นี้
ณ ลานอเนกประสงค์ “โลมา” (ชายทะเลหาดป่าตอง)
สมัคร คลิก https://drrun.org/phuket-imm2020/
หรือให้แอดมิน สมัครให้ง่ายๆ ทาง Line
https://line.me/R/ti/p/%40drrun

16/10/2020
กิจกรรมแรกของภูเก็ตที่จะชวนทุกท่านลงมาเที่ยวภูเก็ต คืองาน Amazing Thai Taste Phuket(Local Food)ในวันเสาร์12-อาทิตย์13 กั...
08/09/2020

กิจกรรมแรกของภูเก็ต

ที่จะชวนทุกท่านลงมาเที่ยวภูเก็ต คือ
งาน Amazing Thai Taste Phuket(Local Food)

ในวันเสาร์12-อาทิตย์13 กันยายน นี้
ที่ สวนเฉลิมพระเกียรติ72 พรรษา และถนนถลาง

สปอนเซอร์หลักคือททท.และหน่วยงานท้องถิ่น

ใครมีแผนการท่องเที่ยว ก็ลองแวะไปหาอาหารพื้นเมืองหลากหลายชนิดทานกันนะครับ

ขออนุญาตโฆษณาแฝงเล็กน้อย
ถ้าอยากนั่งทานสบายๆ มีที่จอดรถเป็นร้อยคัน แวะมาชิมอาหารพื้นเมืองสไตล์แม่ของผมบ้างก็ได้นะครับ ชื่อร้านบ้านแม่ต่าน ที่ถนนหลวงพ่อฯ

ส่วนจะทานหรูหราอาหารตระการตา ปูเป็นก้อนๆ ต้องยกให้ระย้า ครัวของแขกบ้านแขกเมืองตลอด 27 ปีแล้วครับ

ส่วนผมไม่แน่ใจจะลงมาได้มั้ย ถ้าลงมาผมจะประจำการที่บ้านแม่ต่านครับ

08/09/2020

สวัสดีมิตรรักแฟนเพลงจเลิศทุกๆท่าน

ผมเปิดเพจ 24 ชม.ภูเก็ตนี้
ล้อร้าน7-11 ที่ให้บริการ24ชม.
ภูเก็ตเราก็ควรจะให้บริการ24 ชม.เหมือนกัน

เพื่อชวนทุกท่านที่สนใจกิจกรรมและข้อมูลจังหวัดภูเก็ต ผ่านสายตาผมในฐานะคนนอกภูเก็ต

แม้พ่อจะเป็นคนภูเก็ตและพ่อชวนมาเที่ยวภูเก็ตบ่อยๆในวัยเด็ก แต่ภาพความทรงจำในอดีต แทบสูญหายหมดแล้ว

ในวัยหนุ่มกลับมาภูเก็ตก็มาช่วยป้ากุหลาบเล็กน้อยและหายไปเลย

เมื่อ5ปีที่แล้วกลับมาเยี่ยมป้ากุหลาบแห่งร้านระย้า

ป้าชวนให้มาช่วยทำร้านอาหารที่ภูเก็ต
มาช่วยป้าอนุรักษ์อาหารภูเก็ต

เกิดตกปากรับคำไปได้อย่างไรไม่ทราบ
แต่คำพูดของคุณป้าเจ้าของร้านต่อโพ้เฟอนิเจอร์ บอกผมในวันไปซื้อเฟอร์นิเจอร์มาใส่บ้านที่สามกอง ยังก้องหูผมตลอดเวลา

"ใครมาภูเก็ตแล้วจะหลงเสน่ห์ภูเก็ตจนต้องมาอยู่ภูเก็ตหลายคนแล้วนะ"

ผมคงเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

มาแล้วได้ฟังได้อ่านข้อมูลต่างๆในอดีต
ทำให้นึกสนุกจะค้นรากบรรพบุรุษตัวเองที่มารับราชการที่ภูเก็ตในสมัยรัชกาลที่5 และญาติพี่น้องเราในประวัติศาสตร์ที่สูญหายไป

มาภูเก็ตบ่อยๆเห็นกิจกรรมภูเก็ตมากมายหลายด้าน ก็อดไม่ได้จะเชิญชวนให้มิตรสหายทั้งหลายที่ชอบเที่ยว ชอบกินแบบผม จัดเวลาลงมาเที่ยว มากินที่ภูเก็ตกัน

หวังว่าเพจ 24 phuket คงจะเป็นประโยชน์กับท่านตามสมควรนะครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ

โกปุ๋ยครับ

ที่อยู่

บ้านแม่ต่าน(Baan Mae Tran
Phuket
83000

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 17:00
อังคาร 09:00 - 17:00
พุธ 09:00 - 17:00
พฤหัสบดี 09:00 - 17:00
ศุกร์ 09:00 - 17:00
เสาร์ 09:00 - 17:00
อาทิตย์ 09:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+66616867755

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ 24 Phuketผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง 24 Phuket:

แชร์


ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว อื่นๆใน Phuket

แสดงผลทั้งหมด