Xclusive Travel

  • Home
  • Xclusive Travel

Xclusive Travel Private Tour to All Destination

เมื่อขับนำคณะมาถึงเมืองโลซาน ลูกค้าขอปรับรายการ เพื่อเดินทางตามรอย พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งครั้งหนึ่งในวัยเยาว์เคยประทับ...
06/10/2024

เมื่อขับนำคณะมาถึงเมืองโลซาน ลูกค้าขอปรับรายการ เพื่อเดินทางตามรอย พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งครั้งหนึ่งในวัยเยาว์เคยประทับและทรงศึกษาที่นี่ จึงนำคณะชมสถานที่ต่างๆ

- โรงแรม Beau-Rivage Palace สถานที่ที่สมเด็จย่า เสด็จประทับเมื่อครั้งเดินทางมาโลซานเพื่อฮันนิมูน

- แฟลตหมายเลข 16 ถนนทิสโซต์ ที่ประทับเมื่อครั้งที่ รัชกาลที่ 8 และ รัชกาลที่ 9 เดินทางมาศึกษา ปี 2476

- โรงเรียน เอกอล นูเวล เดลลา ซืออิส โรมองซ์ ซือ โลซาน สถานศึกษาืี่ทั้งสองพระองค์ศึกษาเล่าเรียน

- พระตำหนักวิลล่า วัฒนา (อาคารเดิมรื้อถอนไปแล้ว) ที่ถนน Chamblandes เลขที่ 51 สถานที่ที่ทั้งสองพระองค์ทรงพำนักและเติบโตที่นี่ ตั้งแต่ปี 2478

- มหาวิทยาลัยโลซาน ( ปัจจุบันอาคารเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์โอลิมปิก ) สถานศึกษาที่ทรงศึกษาวิทยาการสาขาวิทยาศาสตร์

- แฟลตหมายเลข 19 ถยนอาวองต์ โพสต์ ที่พำนักสมเด็จย่า เมื่อครั้งหลังจากรัชการที่ 9 ทรงอภิเษกสมรส

- สวน Parc du Denantou ที่เป็นสนามเด็กเล่นของเจ้านายทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งทรงฉายพระรูปกับน้ำพุ Fontaine aux singes กับลิงสามตัว ในอากับกิริยา ไม่พูด ไม่ฟัง ไม่ดูในสิ่งไม่ดี

ครบถ้วน เต็มอิ่ม อิ่มเอม 194 Xclusive จัดให้ทุกความต้องการครับ

15/06/2024

ตำนานกำเนิด “การ์กอยล์” อสุรกายแห่งรูออง จากผู้คุกคาม สู่ผู้คุ้มครอง
#การ์กอยล์
(Gargoyle) หรือ ปนาลี มาจากคำว่า “Gargouille” (กากุยล์) ในภาษาฝรั่งเศสโบราณ แปลว่า “ปาก” การที่เสียงของคำว่า Gargoyle คล้ายเสียงกลั้วน้ำในปาก และคล้ายคำว่า “Gargle” (บ้วนปาก) ในภาษาอังกฤษ คือสิ่งบอกใบ้ถึงความเป็นมาแห่งนามของ การ์กอยล์ ได้เป็นอย่างดี

อสุรกายแห่งรูออง

ตำนานกำเนิด การ์กอยล์ ของชาวยุโรปเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ณ หมู่บ้านรูออง (Rouen) ตอนเหนือของฝรั่งเศส มหันตภัยที่กำลังคุกคามหมู่บ้านแห่งนี้อยู่คือ “มังกร” นามว่า ลา กากุยล์ (La Gargouille) เป็นมังกรไฟคอยาว มีปีก ตามแบบฉบับมังกรตะวันตก ลา กากุยล์ สามารถบินเหนือหมู่บ้านแล้วพ่นไฟแผดเผาเรือกสวนไร่นากับบ้านเรือน รวมทั้งอาละวาดทำร้ายหรือกินชาวบ้านกับฝูงปศุสัตว์ได้ด้วย มันยื่นคำขาดให้ชาวบ้านรูอองส่งหญิงสาวของหมู่บ้านเป็นเหยื่อให้มันประจำทุกปี ชาวบ้านก็ยอมทำตามอย่างจำใจ

ในที่สุด หมู่บ้านรูอองก็มี “ฮีโร่” มาช่วย เป็นนักบวชคริสต์ นาม เซนต์โรมานุส (St. Romanus) หรือนักบุญโรมานุส ผู้มีเพียงไม้กางเขนและน้ำมันศักดิ์สิทธิ์สำหรับปราบ ลา การ์กุยล์ ท้ายที่สุดมังกรร้ายก็สยบต่อนักบวชผู้นี้ ท่านส่งมันให้ชาวบ้านจัดการเอง ชาวรูอองผู้เคียดแค้นลงมือสังหารเจ้ามังกรก่อนนำไปเผาไฟ แต่เพลิงไม่อาจทำลายมังกรไฟให้สิ้นซากได้ เพราะส่วนหัวและคอของมังกรร้ายไม่ยอมไหม้ไฟ

เซนต์โรมานุสจึงให้ชาวบ้านนำหัวมังกรไปประดับกำแพงวิหาร ซึ่งเป็นโบสถ์ที่ชาวบ้านสร้างเพื่ออุทิศถวายแด่วีรกรรมของท่านเอง กลายเป็นธรรมเนียมการประดับรูปปั้นปีศาจ “การ์กอยล์” ตามอาคารโบสถ์หรือศาสนสถานในคริสต์ศาสนานับแต่นั้น ความเชื่อที่คู่มากับตำนานนี้คือ หัวมังกรมีอานุภาพขับไล่ความชั่วร้ายทั้งหลายได้ แต่บางตำนานเล่าว่า ปีศาจตัวดังกล่าวไม่ใช่มังกร แต่เป็นอมนุษย์รูปร่างคล้าย “ค้างคาว”

ปีศาจผู้พิทักษ์

ด้านความเชื่อ การ์กอยล์ถือเป็น “ผู้พิทักษ์วิหาร” เพราะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายไม่ให้ย่างกรายมาใกล้ตัวอาคารหรือศาสนสถาน และปกป้องผู้ศรัทธาจากการรังควาญของเหล่าปีศาจนอกศาสนิก ตำนานเล่าว่า แม้การ์กอยล์ในรูปลักษณ์สารพัดสัตว์ประหลาดจะเป็นหินหรือรูปปั้นแข็งทื่อในตอนกลางวัน แต่พวกมันจะมีชีวิตในตอนกลางคืน ยิ่งไปกว่านั้น การ์กอยล์สามารถเฝ้ามองผู้คนผ่านไปมาได้แม้อยู่ในสภาพที่ภายนอกเป็นหิน

อย่างไรก็ตาม ในด้านงานสถาปัตยกรรม หน้าที่ของการ์กอยล์ไม่ใช่เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายภายนอก แต่คือการปกป้องอาคารศาสนสถานจาก “น้ำฝน” ที่มาจากด้านบนหรือหลังคาอาคาร จะเห็นว่ารูปปั้นการ์กอยล์คือปลายทางของ “ท่อระบายน้ำ” ที่ลำเลียงน้ำจากทั่วตัวอาคารส่งออกไปข้างนอก ป้องกันไม่ให้น้ำฝนกัดเซาะสร้างความเสียหายแก่ตัวโบสถ์ นับเป็นการประดับตกแต่งอย่างชาญฉลาดที่ได้ทั้งความสวยงาม สื่อความหมายทางศรัทธา และปิดบังรางน้ำไม่ให้ยื่นออกมาลอย ๆ จนดูไม่เจริญตาสำหรับศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์

จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการ์กอยล์ต้องมี “คอ” หรือรูปร่างเหยียดยาวยื่นออกมา เพื่อส่งน้ำออกไปให้ไกล นี่ยังเป็นที่มาของชื่อ “กากุยล์” (ปาก) ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ดังกล่าว เพราะท่อน้ำมักสิ้นสุดบริเวณปากของรูปปั้นเสมอ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในความพิเศษของการ์กอยล์คือการเป็นตัวอย่างอันเด่นชัดของ 2 ตัวตนที่แตกต่างกันสุดขั้ว ด้วยรูปลักษณ์น่าสะพรึงกลัว เหมือนตัวแทนของความเลวทราม แต่มันกลับเป็นผู้พิทักษ์ศาสนสถาน ปกป้องผู้ศรัทธา ทำให้ภาพลักษณ์ของการ์กอยล์ดูเหมือนกระเด็นกระดอนไปมาระหว่าง “ความชั่ว” กับ “ความดี”

เครดิต ธนกฤต ก้องเวหา

19/03/2024

“สิ่งใดที่พวกป่าเถื่อนไม่ทำ บาร์เบรินีกลับทำ” ว่าด้วยรูปสลักของมาเรีย บาร์เบรินี และตระกูลที่ทรงอิทธิพลแห่งกรุงโรม

หากจะมีงานแกะสลักสักชิ้นที่ทำให้คุณอยากยื่นมือสัมผัสเพื่อพิสูจน์ว่ามันทำมาจากหินอ่อนจริงๆ หนึ่งในนั้นคงจะเป็นรูปสลักของสตรีสาวชาวอิตาเลียนสวมปกคอแบบเมดิชีที่ถูกนำเสนอราวกับราชนิกูลในราชวงศ์ยุโรป เธอคนนี้แม้ไม่ใช่เจ้าหญิงสายเลือดกษัตริย์แต่ก็มาจากตระกูลสำคัญของอิตาลีคือตระกูลบาร์เบรินี ตระกูลที่ว่านี้มีประวัติความเป็นมาย้อนกลับไปตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 พวกเขามั่งคั่งร่ำรวยจากการค้า ต่อมามีเรื่องขัดแย้งกับตระกูลเมดิชีในฟลอเรนซ์ จึงได้ย้ายฐานธุรกิจมาอยู่ที่โรม

อิทธิพลของตระกูลบาร์เบรินีพุ่งสูงสุดในศตวรรษที่ 17 เมื่อคาร์ดินัลมาเฟโอ บาร์แบรินี ได้รับเลือกให้เป็นสมเด็จพระสันตะปาปา โดยใช้พระนามว่า พระสันตะปาปาอูรบันที่ 8 ตลอดระยะเวลาราว 20 ปี ที่พระสันตะปาปาพระองค์อยู่ในตำแหน่ง แม้จะทรงทำคุณประโยชน์ให้กรุงโรมหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้สนใจในการอุปถัมภ์งานศิลปะแบบบาโรก อยากให้กรุงโรมเป็นศูนย์กลางด้านศิลปะวัฒนธรรม แต่ก็ทรงมีข้อเสียใหญ่คือทรงเห็นแก่ญาติพี่น้องของตนเสียมาก น้องชายของพระองค์ได้เป็นพระคาร์ดินัล หลานชายคนหนึ่งได้รับเลือกให้เป็นเจ้าชายแห่งปาเลสตรินา ส่วนหลานชายอีกคนได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพของสมเด็จพระสันตะปาปา

ตรารูปผึ้งสามตัวซึ่งเป็นตราประจำครอบครัวของตระกูลบาร์แบรินีถูกสร้างขึ้นทั่วกรุงโรมเพื่อบ่งบอกถึงอำนาจและการอุปถัมภ์ศิลปะและสถาปัตยกรรมสไตล์บาโรคของตระกูล ปัจจุบันเรายังเห็นสัญลักษณ์ที่ว่านี้กระจายอยู่ทั่วกรุงโรม โดยผึ้งของตระกูลนี้สื่อถึงคติเรื่องการทำงานหนัก (ผึ้งผู้ผลิตน้ำผึ้ง) และความพิเศษของผลผลิตนั้นซึ่งสามารถใช้เป็นยารักษา มีคุณประโยชน์หลายอย่าง

ทุกวันนี้ในอิตาลีมีคำกล่าวโด่งดังคือ “สิ่งใดที่พวกป่าเถื่อนไม่ทำ บาร์เบรินีกลับทำ” (What the barbarians did not do, the Barberini did) ประโยคนี้มีที่มาจากการที่สมเด็จพระสันตะปาปาอูรบันที่ 8 ทรงให้ความสนใจในศิลปะเพื่อพระคริสตศาสนา แต่กลับละเลยสถาปัตยกรรมยุคโรมัน เป็นต้นว่า ทรงใช้ทองแดงจากซุ้มเพดานของวิหารแพนธีอันมาทำเป็นปืนใหญ่และบางส่วนใช้สำหรับการก่อสร้างซุ้มเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Baldachin) ภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ของนครรัฐวาติกัน ทรงสั่งรื้อซุ้มประตูโบราณหน้าวิหารโรมูลุส ฯลฯ ประโยค “สิ่งใดที่พวกป่าเถื่อนไม่ทำ บาร์เบรินีกับทำ” เป็นการเสียดสีว่าอาคารโบราณรอดพ้นการทำลายของอนารยชน แต่กลับถูกทำลายลงเพราะตระกูลบาร์เบรินี

ในบรรดาศิลปินที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงให้การอุปถัมภ์ จาน ลอเรนโซ แบร์นินี เป็นประติมากรและสถาปนิกคนโปรดของพระองค์ นอกจากเขาจะเป็นผู้ออกแบบซุ้มเซนต์ปีเตอร์ เขายังเป็นศิลปินที่รับผิดชอบภาพสลักหินอ่อนแสนสวยของสตรีผู้เป็นที่รักของตระกูลบาร์บาร์เบรินี มีนามว่า มาเรีย

มาเรีย บาร์เบรินี เป็นหลานสาวคนสวยของพระสันตะปาปา เธอได้แต่งงานไปกับลูกชายของตระกูลดูกลิโอลีซึ่งเป็นอีกหนึ่งตระกูลสำคัญที่ร่ำรวยมากในยุคนั้น น่าเสียดายที่มาเรียมีชีวิตแสนสั้น เธอเสียชีวิตไประหว่างการคลอดบุตรตอนอายุเพียง 22 ปี ตระกูลบาร์เบรินีอาลัยการจากไปของหลานสาว จึงว่าจ้างนายจาน ลอเรนโซ แบร์นินี ให้ออกแบบสร้างประติมากรรมหินอ่อนสำหรับไว้อาลัย

เป็นไปได้ว่าจาน ลอเรนโซ รู้จักมาเรียเป็นการส่วนตัวเพราะพวกเขาอายุไล่เลี่ยกัน งานประติมากรรมชิ้นนี้จึงดูสมจริงมากเป็นพิเศษ ตัวศิลปินเลือกให้มาเรียสวมชุดสวยงามหรูหรา ประหนึ่งว่าเธอเป็นเจ้าหญิงราชนิกูลคนหนึ่ง เพราะหากมาเรียไม่ได้สมรสไปแล้วก่อนที่พระสันตะปาปาอูรบันที่ 8 จะได้รับเลือก เธอก็อาจจะได้สมรสเป็นราชินี หรือเจ้าหญิงในราชสำนักยุโรปจริงๆ ก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี จาน ลอเรนโซ ไม่ใช่ผู้ที่ลงมือแกะสลักงานชิ้นนี้เพียงลำพัง เขาได้มอบหมายให้จูเลียโน ฟิเนลลี – ประติมากรอีกท่านซึ่งกำลังฝึกงานในสตูดิโอของเขา เป็นผู้ลงมือแกะสลักชิ้นงานส่วนใหญ่ภายใต้การควบคุมของเขา ผลงานชิ้นนี้ทำให้จูเลียโนโด่งดังเป็นที่รู้จักในเวลาต่อมา สไตล์งานของจาน ลอเรนโซ และจูเลียโนมีความใกล้เคียงกัน เพียงแต่จูเลียโนนั้นจะพิถีพิถันมากกว่าในดีเทลเล็กน้อยเช่นการแกะสลักลวดลายลูกไม้ ในขณะที่จาน ลอเรนโซโดดเด่นด้านการถ่ายทอดบุคลิกและจิตใจของตัวแบบลงมาในผลงาน

เมื่อมองไปที่ใบหน้าของมาเรีย เธอมีรอยยิ้มลึกลับทรงเสน่ห์ในรูปแบบที่คล้ายกับโมนาลิซ่า ผู้ชมไม่รู้ว่ามาเรียกำลังคิดหรือรู้สึกเช่นไร แต่กลับชวนให้มองลึกลงไปเพื่อค้นหาความหมายนั้น ความงามของเธอถูกห่อหุ้มด้วยอาภรณ์และเครื่องประดับแสนหรูหรา บนอกเสื้อปรากฏเข็มกลัดรูปผึ้งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตระกูลบาร์เบรินี เส้นผมของมาเรียดูนุ่มสลวย ประดับด้วยช่อดอกส้มซึ่งทำให้เธอดูสวยหวานเหมือนเจ้าสาววัยแรกแย้ม

ผลงานชิ้นนี้ใช้เวลาแกะสลักราว 5 ปี เสร็จสิ้นประมาณปี 1627 หรือก่อนหน้า (มาเรียเสียชีวิตในปี 1621) ต่อมาถูกมอบให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาอูรบันที่ 8 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงหลานสาว เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไป รูปสลักของมาเรียถูกย้ายมาประดับไว้ที่ Palazzo Barberini ต่อมามีการย้ายที่ไปมาอีกหลายครั้ง กระทั้งถูกซื้อขายออกจากอิตาลีไปในช่วงราวปี 1890 จึงได้สูญหายไปจากการบันทึก

อย่างไรก็ดีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการค้นพบรูปสลักของมาเรียในพื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส แต่ไม่สามารถติดตามหาเจ้าของได้ เป็นไปได้ว่าเจ้าของที่แท้จริงเสียชีวิตไปแล้วในช่วงสงคราม และงานศิลปะอาจถูกขโมยต่อกันมาเป็นทอดๆ ปัจจุบันงานชิ้นนี้ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประเทศฝรั่งเศส รอให้เจ้าของหรือทายาทมาแสดงตัวเพื่อรับชิ้นงานกลับไปโดยต้องมีหลักฐานแน่ชัด

ในตอนที่รูปสลักมาถึงพิพิธภัณฑ์ ทีมเจ้าหน้าที่และภัณฑารักษ์ไม่ทราบมากนักเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของชิ้นงาน เพียงแต่มองว่าเป็นงานศิลปะที่สวยงาม มีการแกะลายเสื้อผ้าเครื่องประดับอย่างสมจริง เส้นผมเหมือนจะขยับได้ หลายปีต่อมามีการศึกษาสืบค้นบันทึกของจาน ลอเรนโซ แบร์นินี และได้ทราบว่างานชิ้นนี้สร้างขึ้นในสตูอิโอของเขาโดยมีลูกศิษย์อย่าง จูเลียโน ฟิเนลลี เป็นผู้ลงงาน

แต่คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับงานชิ้นนี้ ใครมีเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับตระกูลบาร์เบรินี แวะมาบอกเล่าพูดคุยกันได้ในกล่องข้อความ

References:

Bust of Maria Barberini Duglioli Details https://www.historyen.com/bust-of-maria-barberini-duglioli-details/

G.L. Bernini e G. Finelli: busto di Maria Barberini https://www.youtube.com/watch?v=8LFFczDMIEs

Maria Duglioli Barberini (1599-1621) https://collections.louvre.fr/en/ark:/53355/cl010090772

Barberini https://www.oxfordreference.com/

The origin of the Roman saying. What the barbarians did not do, the Barberinis did https://www.italyrometour.com/the-origin-of-the-roman-saying-what-the-barbarians-did-not-do-the-barberinis-did/

HISTORICAL FIGURE BARBERINI https://www.histouring.com/en/historical-figure/barberini/

Barberini Bees and Bernini: a Roman story https://www.wantedinrome.com/news/barberini-bumble-bees-and-bernini-a-roman-story.html

Bee and history https://beekind.shop/blogs/bee-blog/presence-of-bees-in-history-1

Temple of Romulus https://exhibits.stanford.edu/nash/catalog/ff568mp7316

Maria Barberini Duglioli. (Bust by Giuliano Finelli) https://www.facebook.com/100057597933874/posts/1713403992261869/

11/02/2024
บ้านหลังนึง จะตั้งอยู่บนสองประเทศได้อย่างไร ?ประเทศที่มีการแบ่งพรมแดม หมุดหมาย สับสน อลหม่าน ชนงงน่าปวดหัวที่สุดในโลกกกก...
21/01/2024

บ้านหลังนึง จะตั้งอยู่บนสองประเทศได้อย่างไร ?
ประเทศที่มีการแบ่งพรมแดม หมุดหมาย สับสน อลหม่าน ชนงงน่าปวดหัวที่สุดในโลกกกก

เมืองบาเรล์-นัสเซา อยู่ในจังหวัดนอร์ธบราแบนต์ (North Brabant) ทางใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์

ส่วนบาเรล์-เฮร์ตโทก์ ขึ้นกับจังหวัดอันต์เวิร์พ (Antwerp) ประเทศเบลเยียม บาเรล์-เฮร์ตโทก์มีพื้นที่รวมกันทั้งหมดเพียง 7.48 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,000 กว่าคน พื้นที่จำนวน 22 ส่วน กระจายอยู่ในพื้นที่ของบาเรล์-นัสเซาซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 76.21 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 6,000 กว่าคน ส่วนอีกสามส่วนของบาเรล์-เฮร์ตโทก์ อยู่ใกล้แนวชายแดนทางใต้ของเนเธอร์แลนด์ นอกเหนือไปกว่านั้นยังมีส่วนของบาเรล์-นัสเซาแปดส่วนอยู่ในพื้นที่ของบาเรล์-เฮร์ตโทก์อีกที ซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ดูแล้วน่าพิศวง (ตามภาพแผนที่) เส้นพรมแดนตัดผ่านถนน บ้าน อาคาร ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่เกษตรกรรม หลายอาคารถูกแบ่งเป็นบาเรล์-เฮร์ตโทก์ส่วนหนึ่ง บาเรล์-นัสเซาส่วนหนึ่ง เส้นพรมแดนที่วิ่งพล่านไปทั่วเมืองแทนด้วยแนวหมุดรูปกากบาท และตัวอักษรกำกับคนละฟาก NL หมายถึงเนเธอร์แลนด์ B หมายถึงเบลเยียม

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1198 การซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ดินกันระหว่างดยุคแห่งบราแบนต์ (Brabant) และลอร์ดแห่งบรีดา (Breda) ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์สืบทอดต่อต่างมีเจตจำนงที่จะขึ้นตรงต่อบราแบนต์หรือบรีดาอย่างเหนียวแน่น พวกเขาอยู่ด้วยกันช่วยเหลือกันในฐานะชุมชนเดียวกันมาอย่างปกติ ไม่มีการสู้รบชิงพื้นที่กัน แม้วันเวลาจะส่งผ่านไปถึงยุคสมัยที่ไม่มีลอร์ดแห่งบรีดา ไม่มีดยุคแห่งบราแบนต์ปกครองอีกต่อไปแล้ว พื้นที่ที่เป็นส่วนกระจัดกระจายแบบเดิมน่าจะค่อยๆ เลือนหายไป แต่มันก็ไม่เคยเกิดขึ้น พวกเขายังคงแบ่งข้างสืบทอดเจตนารมย์บรรพบุรุษเหมือนเดิม

ต้นศตวรรษที่ 19 เนเธอร์แลนด์และเบลเยียมประกาศเอกราช สนธิสัญญาแมสตริชท์ (Treaty of Maastricht 1843) ระหว่างสองประเทศมีขึ้นในปี 1843 ว่าด้วยเรื่องกำหนดเส้นพรมแดนอันชัดเจน ด้วยความทับซ้อนยุ่งยากของพื้นที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกำหนดเส้นพรมแดนลงรายละเอียดยิบย่อยขนาดนี้ ทั้งสองประเทศมีความพยายามที่จะแลกเปลี่ยนดินแดนกัน แต่ความพยายามไม่เคยสำเร็จ ไม่มีใครยอมละจากถิ่นเดิมของตัวเอง

การลงพื้นที่ลากเส้นพรมแดนและปักหมุดบอกอาณาเขตเป็นไปอย่างช้าๆ เส้นพรมแดนลากตัดผ่านถนน ผ่านชุมชน ผ่านบ้านผู้คน ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ซูเปอร์มาร์เก็ต และพื้นที่เกษตรกรรม บ้านที่โดนเส้นพรมแดนแบ่งออกเป็นสองส่วน มีข้อกำหนดให้ใช้ประตูหน้าบ้าน ถ้าประตูหันหน้าออกประเทศไหนก็ให้สมาชิกในบ้านขึ้นอยู่กับประเทศนั้น อาคารหลายหลังมีที่อยู่บ้านเลขที่ทั้งในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ บางบ้านเปลี่ยนประตูทางเข้าไปอยู่อีกฝั่งเพื่อเปลี่ยนประเทศก็มี เนื่องจากมีความแตกต่างค่อนข้างมากในเรื่องภาษีและความผ่อนปรนในข้อกฎหมายบางอย่าง เช่น ภาษียาสูบในเบลเยียมถูกกว่าเนเธอร์แลนด์ ทำให้ร้านขายยาสูบอยู่เฉพาะในเบลเยียม เช่นเดียวกับร้านขายดอกไม้ไฟก็มีเฉพาะในเบลเยียม

ในช่วงเทศกาลใกล้คริสต์มาสและปีใหม่ คนเนเธอร์แลนด์จำนวนมากจะไปซื้อดอกไม้ไฟจากร้านในบาเรล์-เฮร์ตโทก์ ร้านค้าในเนเธอร์แลนด์หยุดวันอาทิตย์ แต่ในเบลเยียมไม่หยุด ร้านอาหารในเนเธอร์แลนด์ปิดตามเวลาแต่ในเบลเยียมผ่อนผันปิดดึกได้ มีเรื่องตลกเล่าต่อกันมาว่าพอถึงเวลาปิดร้านตามกฎของเนเธอร์แลนด์ บรรดาลูกค้าก็ย้ายไปนั่งดื่มต่อในฝั่งเบลเยียม ครั้นสหภาพยุโรปเดินทางมาถึงทั่วภูมิภาคโดยสมบูรณ์ ตลกร้ายเรื่องย้ายที่ดื่มกินก็หมดไป

ในปี 1995 เขตแดนแนวสุดท้ายก็เสร็จสิ้น ใช้เวลาถึง 152 ปีหลังจากมีสนธิสัญญาแมสตริชท์ กว่าจะกำหนดเส้นพรมแดนได้ครบทั้งหมด ส่วนที่เล็กที่สุดคือส่วน H22 ของบาเรล์-เฮร์ตโทก์ที่มีขนาดเพียง 0.26 ตารางกิโลเมตร หรือราวไร่ครึ่งเท่านั้น

ไปดูให้เห็นกับตากันครับ


Stay as much as you want
09/07/2023

Stay as much as you want

Summer
07/07/2023

Summer

ที่นี่ เมื่องอย อันแสนบริสุทธิ์
09/06/2023

ที่นี่ เมื่องอย อันแสนบริสุทธิ์

Rouen : France
16/12/2022

Rouen : France

Happy Client
08/10/2022

Happy Client

Address


Telephone

+66853659197

Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Xclusive Travel posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Travel Agency?

Share