การท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Thailand

  • Home
  • การท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Thailand

การท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Thailand รสนิยมดี ท่องเที่ยว CBT ท่องเที่ยววิถ?

เพจ "การท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Thailand" นี้ จัดทำขึ้นเพื่อ 1) เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างการรับรู้ให้กับคนในสังคม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย ให้เห็นความงามและคุณค่าของการท่องเที่ยวที่ดูแลสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ รักษาศิลปวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็ง/การมีส่วนร่วม กำหนดทิศทางและบริหารจัดการโดยคนในชุมชน และ

3) เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมชน CBT สร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านและแขกผู้มาเยือน ให้มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มมากขึ้น

CBT : Community Based Tourism = การท่องเที่ยวโดยชุมชน

ดำเนินการโดย "รสนิยมดี"

[ รสนิยมดี ท่องเที่ยว CBT ท่องเที่ยววิถีชุมชน ]

ขยายกิ่งก้านสาขา ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน
19/07/2022

ขยายกิ่งก้านสาขา ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ชุมชนใดสนใจอยากเข้าร่วมการพัฒนาเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสุขภาพ เชิญสมัครได้เลยคร้าบบบ
📢 อพท. เชิญชวนชุมชนท่องเที่ยว สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสุขภาพ
ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
📌เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ – 21 กรกฎาคม 2565
✏️คุณสมบัติผู้สมัคร
• ชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษของ อพท.
• ชุมชนมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
• ต้องการสร้างความแตกต่างให้กับชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
**หมายเหตุ หากท่านไม่มั่นใจว่าชุมชนท่องเที่ยวของท่านอยู่ในพื้นที่ อพท. หรือไม่
ท่านสามารถตรวจสอบเขตพื้นที่การทำงานของอพท. เพียงกดเข้าไปดูในลิ้งก์นี้ได้เลย
https://www.dasta.or.th/th/microsite
✏️เข้าร่วมโครงการนี้ดีย่างไร
• โอกาสได้ศึกษาดูงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสุขภาพ
• ได้รับการพัฒนากิจกรรม/เส้นทางร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแบบ EXCLUSIVE
• สร้างจุดเด่นให้กับชุมชนให้สอดคล้องกับทิศทางการท่องเที่ยวหลัง COVID
สมัครกันเข้ามาเยอะๆ นะครับ ประกาศผลชุมชนที่ได้รับคัดเลือก วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 นี้ครับ
📱วิธีการสมัคร
เพียงแค่สแกน QR Code ในโปสเตอร์ หรือ กดลิ้งก์
https://forms.gle/RXo9gbJ4XJ8qEhSz5

RAW Tour ร่วมสร้างสรรค์การยกระดับคุณค่าของวัตถุดิบมาสร้างงานศิลปะและการใช้ชีวิตอย่างมีรสนิยม ในงานหลูหลีครั้งที่ 3 ที่สั...
08/12/2021

RAW Tour ร่วมสร้างสรรค์การยกระดับคุณค่าของวัตถุดิบมาสร้างงานศิลปะและการใช้ชีวิตอย่างมีรสนิยม ในงานหลูหลีครั้งที่ 3 ที่สังกะดี สเปซ ใกล้สี่แยกต้นเปาพัฒนา (แยกหลุยส์) จ.เชียงใหม่ 9-13 ธันวาคมนี้

RAW Tour รอเธอ...ไปเที่ยวด้วยกัน ออกแบบการท่องเที่ยวที่ให้คนได้กลับมาเดินทางในสไตล์ที่แตกต่าง อาทิ ปั่นจักรยานอาบป่า ออกจากบ้านไปนอนเต้นท์ ไปเป็นอาสาสมัคร ไปทำ Workshop

RAW Tour มีชุมชนท่องเที่ยวมาออกร้าน มาสร้างประสบการณ์ให้คนชมงานได้เรียนรู้และลงมือทำกิจกรรมง่าย ๆ ที่หากไปเที่ยวชุมชนก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้ เช่น การทำขนม การจักสาน และเรื่องราวคนกับป่า งานนี้ชุมชนบ้านปงห้วยลาน รับอาสามาออกร้านและทำ workshop

RAW Tour มีธุรกิจน้องใหม่ผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร "ตรีผลาพลัส" เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ตามตำรับแพทย์แผนไทย โดยใช้วัตถุดิบที่รู้แหล่งผลิต มีการทำงานร่วมกับชุมชนทั้งที่จ.เชียงใหม่ และจ.น่าน ชื่อ "The Family Tree"

RAW Tour เปิดพื้นที่ให้ "Chiangrai Solar Energy" มา Show case เรื่องพลังงานจากแสงอาทิตย์ สามารถเป็นพลังงานทางเลือกได้อย่างไร

RAW Tour ทำงานกับบริษัทนำเที่ยว Thai LocalistrA และ Andaman Discovery และสมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (TRTA) เราจึงสามารถร่วมออกแบบทัวร์ตามความสนใจได้อย่างมืออาชีพ เพียงคุณบอกความสนใจ ระยะเวลา และงบประมาณ เราร่วมออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวให้คุณได้ งานนี้ทีม Craft & Care เข้ามารับบทบาทเป็นผู้ประสานงานให้คนอยากเที่ยวและชุมชนได้มาเจอกัน และจะทำ Craft & Care สัญจร ที่พัทลุง เป็นการสัญจรครั้งแรกที่จะไปพบกันระหว่างสิงห์เหนือกับเสือใต้

RAW Tour มีอาหารรสแซบให้ได้ชิม เพราะเราคงเดินดูงาน ร่วม workshop จนนึกถึงส้มตำอร่อยสักจาน คงชื่นใจ เรารู้ใจคุณจึงจัดเมนูนี้ให้ที่นี่...ที่ RAW Tour

สนใจรายละเอียด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 089 768 1133

RAW Tour รอคุณไปเที่ยวด้วยกัน ไปใช้ชีวิต ไปเป็นจิตอาสา หรือแค่ออกจากบ้านไปชิว ๆ ในช่วงอากาศดี ๆ ที่เชียงใหม่ คุณอาจจะพบคุณค่าที่คุณตามหา หรืออาจจะพบเจอคนคอเดียวกัน

Bangkok Sandbox (กรุงเทพมหานครเปิดรับนักท่องเที่ยวทุกเขต 15 ตุลาคมนี้)1. นทท.ต่างชาติ/คนไทยที่มาจาก ตปท.จะเข้าไทยต้องฉีด...
16/09/2021

Bangkok Sandbox
(กรุงเทพมหานครเปิดรับนักท่องเที่ยวทุกเขต 15 ตุลาคมนี้)

1. นทท.ต่างชาติ/คนไทยที่มาจาก ตปท.จะเข้าไทยต้องฉีดวัคซีนครบแล้ว (2-3เข็ม)
2. ทุกคนต้องตรวจ RT-PCR มาจากประเทศต้นทางแล้ว
3. มาถึงไทยต้องตรวจหาเชื้ออีก 3 รอบ
4. ต้องเข้าพักที่โรงแรมตามมาตรฐาน SHA+
5. กลางวันไปเขตไหนก็ได้ใน กทม. แต่กลางคืนต้องกลับมานอนโรงแรมตัวเอง (ห้ามนอนบ้านตัวเอง)
6. พอครบ 14 วันถึงจะไป จังหวัดอื่น ๆ ได้
7. หรืออีกสูตรก็คือ อยู่ กทม. 7 วัน และไป จังหวัดนำร่องอีก 7 วัน แต่ก็ต้องอยู่ใน โรงแรมที่กำหนด

ที่มา: เรื่องเล่าเช้านี้ วันที่ 16 กันยายน 2564 (นาที่ที่ 1:48:50)
https://www.facebook.com/MorningNewsTV3/videos/943303866530409/

ส่งกำลังใจให้ทุกท่านครับ ขอให้ได้วัคซีนมากเพียงพอในเร็ววัน ทันเปิดเมือง 15 ตุลาคมนี้

“โอกาสและความท้าทายกับการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
16/09/2021

“โอกาสและความท้าทายกับการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

Welcome! You are invited to join a meeting: Ratanakosin_16SEP_Room03. After registering, you will receive a confirmation email about joining the meeting.

เมืองเก่าจะมีชีวิตชีวา ด้วยคนในชุมชนเมืองเก่ารักและร่วมออกแบบ เพื่อให้เมืองเก่าน่าอยู่ เพื่อผู้อยู่และน่าเที่ยวสำหรับผู้...
15/09/2021

เมืองเก่าจะมีชีวิตชีวา ด้วยคนในชุมชนเมืองเก่ารักและร่วมออกแบบ เพื่อให้เมืองเก่าน่าอยู่ เพื่อผู้อยู่และน่าเที่ยวสำหรับผู้มาเยือน

ชวนมาฟัง มาแลกเปลี่ยนกันค่ะ วันศุกร์นี้หากว่าง ขอเชิญนะคะ

"เมืองเก่า” ใน “โลกใบใหม่”
การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสู่ความยั่งยืน
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564

Link การลงทะเบียน: https://forms.gle/2aby3HrCqyaAftHY6

การจัดประชุมสัมมนาวิชาการคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ปี พ.ศ. 2564“เมืองเก่า" ใน "โลกใบใหม่”การอนุรักษ์และพัฒน...
08/09/2021

การจัดประชุมสัมมนาวิชาการคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ปี พ.ศ. 2564

“เมืองเก่า" ใน "โลกใบใหม่”
การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสู่ความยั่งยืน

วันศุกร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
๙.๐๐-๑๖.๓๐ น.
........................................................................

📍 “เมืองเก่าแห่งใหม่: เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา"

📙 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ
นักวิจัยโครงการประกาศของเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา และอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

📙 รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ
หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร......................................................

📍 "การจัดการความรู้ว่าด้วยการบทบาทหน้าที่คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่ารายเมือง และกลไกประกอบการพิจารณาสำหรับโครงการก่อสร้างอาคารภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เมืองเก่า"

📙 รองศาสตราจารย์ โรจน์ คุณเอนก
ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า และผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

📙 อาจารย์ ดร. อิสรชัย บูรณะอรรจน์
นักวิจัยโครงการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า และคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร......................................................

📍 "เมืองเก่า” กับ “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals)”

📙 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิจิตรบุษบา มารมย์
หัวหน้าศูนย์วิจัยนโยบายอนาคตเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์......................................................

📍 "เมืองเก่ากับกระบวนทัศน์ใหม่: ว่าด้วยเมืองสร้างสรรค์ เมืองแห่งการเรียนรู้ เมืองสีเขียว และเมืองยั่งยืน"

📙 รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ
หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร......................................................

📍 "เมืองเก่ากับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism)"

📙 นางสาวพจนา สวนศรี
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I)

📙 นายสมภพ ยี่จอหอ
กลุ่มดอยสเตอร์ (DoiSter) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
...................................................................................

Link การลงทะเบียน: https://forms.gle/2aby3HrCqyaAftHY6........................................................
โครงการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์
กลุ่มงานการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
....................................................................

#สผ #เมืองเก่า

07/09/2021

CBT SE Forum

"การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีใหม่"วันที่ 19 - 20 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 น. - 12.00 น.วันที่ 19 สิงหาคม 🕙 การ...
16/08/2021

"การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีใหม่"
วันที่ 19 - 20 สิงหาคม 2564 เวลา 09.30 น. - 12.00 น.
วันที่ 19 สิงหาคม
🕙 การท่องเที่ยว: เครื่องมือ กลไก
การพัฒนาเมืองหลังสถานการณ์ Covid-19
อาจารย์ภราเดช พยัฆวิเชียร
อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

🕚 ความเหลื่อมล้ำกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน
คุณพจนา สวนศรี และ คุณสมภพ ยี่จอหอ
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT- I)
วันที่ 20 สิงหาคม
🕙 การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์:
เครื่องมือการบริหารการพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดสันต์ สุทธิพิศาล
ผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกวัฒนธรรม และการบริหารการพัฒนาการท่องเที่ยว
🕚 แนวโน้มและทิศทางในอนาคต ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว
อาจารย์ ดร. ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่
https://forms.gle/NDTeY5AnKfMymUUW7
ถ่ายทอดสดผ่านเพจ
Chiang Mai City of Crafts and Folk Art
https://www.facebook.com/ChiangmaiCCFA

_________________________________

ภายใต้แผนงานวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวด้านหัตถกรรม
และศิลปะพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนการเป็นสมาชิก
เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO
ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

[  #เป็ดไทยส่งยา สำหรับคนที่รักษาตัวอยู่บ้าน ]เราได้เห็นจำนวนคนติดเชื้อยอดเป็นหมื่นกว่าต่อวัน สิบวันมานี้ก็เกือบสองแสนคน...
27/07/2021

[ #เป็ดไทยส่งยา สำหรับคนที่รักษาตัวอยู่บ้าน ]

เราได้เห็นจำนวนคนติดเชื้อยอดเป็นหมื่นกว่าต่อวัน สิบวันมานี้ก็เกือบสองแสนคน การได้เตียงรักษาอย่างพอเพียงจึงเป็นไปไม่ได้เลย -- การทำ Home Isolation หรือการรักษาตัวอยู่ที่บ้านของผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียว จึงเป็นอีกทางออกทางหนึ่ง

โครงการเป็ดไทยส่งยาจึงเกิดขึ้นเพื่อมาสนับสนุนแนวทางการรักษาแบบนี้ โดยจะเน้นที่คนไข้สีเขียวกลุ่มเสี่ยง สีเหลือง ที่จำยอมอยู่บ้าน มีแพทย์ประเมินอาการ และส่งยาไปให้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยง และชะลออาการของคนไข้

เป็นอีกทางออกหนึ่งที่ "จำเป็นอย่างมาก"

ด้วยข้อจำกัดมากมายของทางภาครัฐ ก็ทำให้ภาคประชาชน ภาคเอกชน ร่วมมือกับรัฐลุกขึ้นมาทำระบบส่งยาให้กับผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน และการทำงานยังต้องการการสนับสนุนจากเพื่อนคนไทยอีกมาก เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสที่จะรอด ไม่ว่าจะได้เตียงจากโรงพยาบาล หรือรักษาตัวเองอยู่ที่บ้าน

เชิญชวนกันระดมน้ำใจสนับสนุนการทำงานของทีม เป็ดไทยสู้ภัย
ได้ที่ลิงค์นี้ครับ

https://www.socialgiver.com/th/give/medicine-for-all

ฝากช่วยกันส่งข่าว เราจะรอดไปด้วยกันนะครับ

การสื่อสารนั้นสำคัญ ทั้งการสื่อสารภายในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและภายนอกชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจ และการตลาด
15/07/2021

การสื่อสารนั้นสำคัญ
ทั้งการสื่อสารภายในชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
และภายนอกชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจ และการตลาด

[RT Clinic for Community] การท่องเที่ยวโดยชุมชน ต้องให้ความสำคัญกับการสื่อสารหรือไม่?
ในยุคที่พฤติกรรมนักท่องเที่ยวมีความแตกต่างสูง แยกออกเป็นกลุ่มตลาดย่อยๆที่มีความต้องการที่ต่างกันออกไปหลายกลุ่ม โอกาสในการทำการตลาดอาจจะไม่ใช่โอกาสของชุมชนท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกต่อไป แต่ชุมชนท่องเที่ยวหน้าใหม่ หรือชุมชนท่องเที่ยวเล็กๆก็สามารถเข้าถึงโอกาสได้เช่นกันเมื่อเราตีโจทย์เรื่องของกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายได้
เมื่อเราได้รู้ถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องช่องทาง และการประสานงานด้านการบริการเพื่อใช้สื่อสารทั้งภายนอกและภายในชุมชนได้ วันนี้เลยมี Check List เรื่องการสื่อสารของชุมชนมาฝากกันเหมือนเคย
✅ ชุมชนมีวิธีหรือขั้นตอนการจองบริการการท่องเที่ยวหรือไม่?
✅ ชุมชนมีช่องทางและอุปกรณ์สื่อสารเพื่อการจองบริการการท่องเที่ยวหรือการให้ข้อมูลที่ใช้งานได้จริงหรือไม่?
✅ ชุมชนมีช่องทางการสื่อสารภายในกลุ่ม เพื่อประสานงานด้านการบริการอย่างน้อย 1 ช่องทาง
✅ ชุมชนมีบุคลากรที่มีทักษะในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 5 คน
จาก Check List ที่กล่าวมา เราจะเห็นว่า เรื่องของการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวถือเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ เรามีเครื่องมือต่างๆที่เป็นทางเลือกพื้นฐานสำหรับช่องทางการสื่อสารมากมาย เช่น สื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ (Facebook, IG, LINE เป็นต้น) แต่ในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันเรื่องความเร็วในการให้ข้อมูล จนเกิดเป็นนวัตกรรมต่างๆอย่างเช่น ChatBot เข้ามาช่วย ทำให้เรื่องการตอบสนองกับนักท่องเที่ยวที่รวดเร็ว ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ชุมชนท่องเที่ยวสามารถปิดการจองกับนักท่องเที่ยวได้ เนื่องจากนักท่องเที่ยวมีทางเลือกในการใช้บริการทดแทนอื่นๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ถ้าหากชุมชนมีการให้ข้อมูลที่ช้ากว่า ก็อาจจะเสียโอกาสให้กับบริการทดแทนอื่นๆได้
นอกจากเรื่องของการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวแล้ว การสื่อสารภายในของชุมชนเองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ปัจจุบันหลายๆชุมชนมี LINE กลุ่ม เอาไว้ประสานงานกันในชุมชน เพื่อแบ่งงาน หรือแจ้งความคืบหน้าเวลามีนักท่องเที่ยวจองเข้ามา ทั้งนี้ เครื่องมือเหล่านี้สามารถเป็นเครื่องมือที่ใช้ดูแลและควบคุมคุณภาพของการบริการได้อีกด้วย เช่น บางชุมชนมีการประชาสัมพันธ์รูปแบบการนำเสนออาหาร เพราะมื้ออาหารเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชุมชนนั้นๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจของการบริการที่ตรงกับความคาดหวังของนักท่องเที่ยว ชุมชนอาจใช้เครื่องมือการสื่อสารเหล่านี้ในการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพจากทีมงานได้เช่นเดียวกัน และแน่นอนว่าถ้าหากเราให้บริการนกัท่องเที่ยวได้ตรงกับความคาดหวังหรือมากกว่าความคาดหวังของนักท่องเที่ยว กระบวนการต่างๆที่เราทำมาจะกลายเป็นผลรางวัลที่นักท่องเที่ยวจะไปทำการบอกต่อหรือประชาสัมพันธ์ให้กับเราเองต่อไป
#การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ #สำหรับชุมชนท่องเที่ยว

[ เที่ยวทิพย์ กับ Filp Trip : ในเวียงน่าน...เดินทางผ่านสายธารเวลา ]“ดินสอสี” สาวเหนือคนงาม จะพาเราเดินทางผ่านสายธารเวลา ...
13/07/2021

[ เที่ยวทิพย์ กับ Filp Trip : ในเวียงน่าน...เดินทางผ่านสายธารเวลา ]
“ดินสอสี” สาวเหนือคนงาม จะพาเราเดินทางผ่านสายธารเวลา ท่องเที่ยวทำความรู้จักเมืองน่านผ่านมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังมีคุณค่าเหนือกาลเวลา From Nan till Now ของดีในเวียงน่านที่ถูกหยิบจับมาสร้างสรรค์และนำเสนอให้กับผู้มาเยือนได้ตื่นตาตื่นใจและได้มีประสบการณ์ สร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับคนท้องถิ่นได้รู้สึกยิ่งรักยิ่งหวงแหนวิถีที่งดงามเหล่านี้เอาไว้
ค่อย ๆ พลิก ค่อย ๆ ฟลิปไปทีละหน้า ครั้งนี้เราพาเที่ยวทิพย์กันไปก่อน ฟ้าเปิดเมื่อไร เราจะไปเที่ยวท่องจับต้องจ้องดู หูฟัง สัมผัสกลิ่นไอและรสชาติความเป็นน่าน น่านเนิบเนิบ อย่าง “not ทิพย์ anymore”
ฟลิปทริปไปกับดินสอสีเลย >> https://online.fliphtml5.com/yegve/cwhm/
Trip Ambassador : พนิดา เขื่อนจินดา (ดินสอสี)
Photographer : เหนื่อยต้องเที่ยว
Creator : DoiSter
#น่าน #ในเวียงน่าน #เดินทางผ่านสายธารเวลา
#ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ #อพท #บพข

กว่า CBT จะเดินทางมาจนถึงวันนี้ ทุก ๆ ภาคส่วนต่างช่วยกันเข็น ช่วยกันดัน เพราะเราเชื่อมั่นว่า CBT เป็นโปรดักท์คุณภาพ ดีทั...
05/07/2021

กว่า CBT จะเดินทางมาจนถึงวันนี้ ทุก ๆ ภาคส่วนต่างช่วยกันเข็น ช่วยกันดัน เพราะเราเชื่อมั่นว่า CBT เป็นโปรดักท์คุณภาพ ดีทั้งชุมชน นักพัฒนา ทั้งผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว -- ช่วงนี้เมื่อเกือบ 10 ปี ที่แล้ว

"WORKSHOP PROGRAM : Designing Thailand Community Based Tourism Network (CBT-N) Coordination Center Systems, to optimize market access and win-win partnerships between communities and responsible tour operators"

Thailand Community Based Tourism Institute (CBT-I), and Thailand Community Based Tourism Network Coordination Center (CBT-N-CC).

Sirinath Garden, Chiang Mai, 16 and 17 July 2012.

Background:

During the Community Based Tourism Training Workshop for Senior Product and Operations Managers of Greater Mekong Sub-region (GMS) Tour Operators, 8-12 June 2012, Chiang Mai, Thailand, many Thai tour operators expressed interest to offer more community based tourism (CBT) to their guests. They provided feedback about their needs from the CBT-N Coordination center, based in Chiang Mai.

This meeting has been organised to follow up and respond to the outcomes of the GMS CBT Workshop, inside Thailand. Members of CBT-N (Thai communities) will discuss their positive and negative experiences marketing CBT through various channels; will consider the role and value of the CBT-N Coordinating Center to help facilitate market access, and will discuss and cooperate with Thai tour operators to adapt CBT-N systems in crucial areas such as booking, coordinating, pricing, and contracting. Roles and responsibilities and codes of conduct for partners will be agreed at the workshop.

The key goal is to identify a mutually acceptable system, and define roles and responsibilities of CBT-N members communities, tour operators and the CBT-N.

Tour operators which are interested to participate in this process and help to design an effective CBT-N Coordination Center are requested to join the meeting on17th July.

Tour operators may also join the preparatory meeting with community members on the 16th July, if you wish, as observers. The 16th July will focus on assessing communities’ positive and negative experiences marketing CBT, sharing lessons learned with CBT-N members, including needs expressed by tour operators at the GMS CBT Workshop.

17th July will focus on discussion between CBT projects and tour operators, and working together to design a CBT-N model which is as responsive as possible to both parties.


PROGRAM:

Target participants: CBT-N communities (Tour operators are welcome to observe)

16th July 2012

08.00 – 08.30 Registration
08.30 – 09.00 Present the objectives and expectations of the workshop
09.00 – 10.30 Brainstorm and discuss: communities’ experience marketing CBT
10.30 – 10.45 Break
10.45 – 12.00 CBT-I’s experience with CBT marketing: successes and obstacles
12.00 – 13.00 Lunch
13.00 – 14.30 Analyze “Successes and Challenges” of marketing CBT
14.30 – 14.45 Break
14.45 – 15.30 CBT-N Coordination Center – What, Why, How?
15.30 – 17.00 Factors which influence the success of marketing CBT (e.g. program, price, booking systems, coordination, service quality)
17.00 – 18.30 Free time
18.30 – 19.30 Dinner
19.30 – 21.00 Hands On Coaching / Self assessment using the ‘Ready for Market Checklist’ / Clarifying sample programs, services, prices

17th July 2012

Target participants: CBT-N communities and Tour operators wishing to offer CBT.

08.00 – 08.30 Registration
08.30 – 09.00 Summary of outcomes from the previous day. Community perspectives on marketing CBT and lessons learned
09.00 – 10.30 Expectations of cooperation with communities, by representatives of tour operators / tourism associations.
10.30 – 10.45 Break
10.45 – 12.30 Defining the priority issues which require clarification to achieve successful cooperation between communities and tour operators.
12.30 – 13.30 Lunch
13.30 – 14.45 Design common system (e.g. contract, pricing, codes of conduct)
14.45 – 15.00 Break
15.00 – 16.00 Design common system for monitoring, evaluating and improving the satisfaction of communities, tour operators and tourists
16.00 – 16.30 Summary of outcomes
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

"การประชุมเชิงปฏิบัติการ : การออกแบบระบบกลไกการทำงานของศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเข้าถึงตลาดที่เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ประกอบการหัวใจสีเขียว"

หลักการและเหตุผล :

จากการอบรมเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับผู้จัดการด้านสินค้าและผู้จัดการด้านปฏิบัติการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub-region Community Based Tourism Training for Product and Operations Managers) จัดโดยสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I) โดยการสนับสนุนขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ CBI ซึ่งเป็นองค์กรด้านการประสานงานเรื่องการสนับสนุนความร่วมมือทางการค้าภายใต้กระทรวงต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 8-12 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่าบริษัทมีความสนใจและต้องการผนวกโปรแกรม CBT ลงไปในโปรแกรมทัวร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นช่วงการนำเสนอสินค้าใหม่แก่คู่ค้าในต่างประเทศโดยเฉพาะยุโรป จึงเป็นโอกาสที่หากชุมชนที่ทำเรื่องการท่องเที่ยวจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านการตลาดระหว่างกันและกับบริษัททัวร์ที่มีความสนใจ รวมทั้งหาแนวทางความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมกับบริษัททัวร์ที่สนใจเรื่อง CBT ในฐานะสินค้าท่องเที่ยวใหม่ซึ่งมีทั้งบริษัททัวร์ไทยที่เคยเข้าร่วมฝึกอบรมและบริษัททัวร์อื่น

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จะเป็นการสรุปบทเรียนด้านการตลาดสำหรับชุมชนที่มีประสบการณ์ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งที่ไปเที่ยวด้วยตนเองกับไปเที่ยวกับบริษัททัวร์ เพื่อร่วมกันพัฒนากลไกการประสานงานที่จะช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทนำเที่ยวและชุมชน CBT ให้สามารถเข้าถึงตลาดที่เหมาะสมและเป็นกลไกให้บริษัทสามารถเข้าถึงชุมชนที่หลากหลายกระจายตัวทั่วทุกภาคของประเทศไทยผ่านศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT Network Coordination Centre : CBT-N CC) ซึ่งการประชุมชนเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จะช่วยให้ชุมชนและบริษัททัวร์เข้าใจความคาดหวังและการดำเนินการที่สามารถทำให้การทำการตลาดมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายที่สนใจการท่องเที่ยวที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น และการที่บริษัททัวร์ร่วมมือกับชุมชนในลักษณะพันธมิตรทางธุรกิจ ก็จะทำให้ CBT มีโอกาสทางการตลาดและสามารถเติบโตในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้

วัตถุประสงค์ :

1. สร้างความชัดเจนในความต้องการ ความคาดหวัง บทบาทและความรับผิดชอบของบริษัททัวร์ ชุมชนและ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-N CC) รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติงานในอนาคต อาทิ Guideline, Code of conduct, ระบบการทำสัญญา ระบบราคา และระบบการจอง เป็นต้น

2. เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลของชุมชน CBT ที่มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว และมีศักยภาพในการทำงานในลักษณะพันธมิตรกับบริษัททัวร์ ให้มีความพร้อมด้านข้อมูล โปรแกรม ราคา และพิจารณาตลาดที่เหมาะสมกับลักษณะชุมชน หรือออกแบบโปรแกรมและบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

1. เกิดการสรุปบทเรียนการทำงานด้านการตลาดสำหรับชุมชนที่มีประสบการณ์ในการทำท่องเที่ยวมาไม่น้อยกว่า 3 ปี

2. เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกันในลักษณะพันธมิตรทางธุรกิจที่มีเป้าหมายร่วมกันคือการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และให้คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว

3. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน สามารถเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการกับชุมชนสมาชิก ให้ชุมชนได้รับนักท่องเที่ยวคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ผู้รับผิดชอบโครงการ :

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน

วัน เวลา สถานที่ :

16-17 กรกฎาคม 2555

ณ โรงแรมศิรินารถการ์เด้นท์ ริมคลองชลประทาน ใกล้ตลาดต้นพยอม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

กลุ่มเป้าหมาย :

ชุมชน CBT ที่มีประสบการณ์ด้านการตลาด จำนวน 50 ชุมชน และผู้ประกอบการที่สนใจทัวร์ CBT อย่างน้อย 10 บริษัท รวม 60 คน

กำหนดการ :

วันที่ 16 กรกฎาคม 2555

08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 09.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์และความคาดหวัง
09.00 – 10.30 น. ระดมความคิดประสบการณ์ในการทำการตลาดของชุมชน CBT
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.00 น. นำเสนอประสบการณ์ในการทำการตลาดของ CBT-T : ปัญหาและอุปสรรคและความสำเร็จ
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 – 14.00 น. วิเคราะห์ “ความสำเร็จและจุดติดขัด” การตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
14.00 – 14.30 น. นำเสนอและสรุปภาพรวม “ความสำเร็จ จุดติดขัด และแนวทางแก้ไข”

14.45 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 15.30 น. ศูนย์ประสานงานเครือข่าย CBT : กลไกการตลาดของชุมชนเพื่อชุมชนได้อย่างไร
15.30 – 17.00 น. ปัจจัยที่ทำให้การตลาด CBT ประสบผลสำเร็จ (โปรแกรม, ราคา, ระบบการจอง, การประสานงาน, คุณภาพการบริการ ฯลฯ)
17.00 – 18.30 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18.30 – 19.30 น. รับประทานอาหารเย็น
19.30 – 21.00 น. ทำแบบฝึกหัด 1) ตรวจสอบความพร้อมชุมชนก่อนทำการตลาด (Marketing Checklist) และ 2) การออกแบบโปรแกรม บริการ และราคา

วันที่ 17 กรกฏาคม 2555

08.30 – 09.00น. สรุปการพูดคุย : มุมมองของชุมชนต่อการตลาดและบทเรียนที่ผ่านมา
09.00 – 10.30 น. ความคาดหวังและการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัททัวร์กับชุมชน โดยตัวแทนผู้ประกอบการและสมาคมการท่องเที่ยวฯ
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 – 12.30 น. สรุปประเด็นร่วมที่ทั้งบริษัททัวร์และชุมชนต้องมีความชัดเจนร่วมกัน และแนวทางปฎิบัติ
12.30– 13.30 น. พักรับประทานอาหาร
13.30 – 14.45 น. ออกแบบการทำข้อตกลงร่วม (ระบบสัญญา / ราคา / แนวทางปฏิบัติ)
14.45– 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 – 16.00 น. ระบบการติดตามและประเมินผลความพึงพอใจทั้งสามฝ่าย (นักท่องเที่ยว ชุมชน และผู้ประกอบการ)
16.00 – 16.30 น. สรุปการประชุม

อีกหนึ่งความภาคภูมิใจCBT Thailand กับหนังสือเล่มใหม่ที่ให้ความสำคัญกับ"การมีส่วนร่วมของชุมชน"สนใจ inbox จองทางเพจ CBT-I ...
19/06/2021

อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ
CBT Thailand
กับหนังสือเล่มใหม่
ที่ให้ความสำคัญกับ"การมีส่วนร่วมของชุมชน"
สนใจ inbox จองทางเพจ CBT-I
>> m.me/cbticlub

train to trainerhttps://www.facebook.com/codinews/photos/a.323579441881023/794028581502771/
17/06/2021

train to trainer

https://www.facebook.com/codinews/photos/a.323579441881023/794028581502771/

🎉👍🏻เรียนเชิญพี่น้องประชาชน และผู้ที่สนใจเข้าร่วม "อบรมการพัฒนาศักยภาพผู้นำ กลุ่มคลัสเตอร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน หลักสูตร train to trainer" 🌲🌳🌾ในวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00-16.00 น. ผ่านช่องทางออนไลน์ ในระบบ Zoom meeting และถ่ายถอดสดผ่าน page สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ✌🏻โดยในการอบรมครั้งนี้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. 🚵🌿ได้ร่วมกันจัดกระบวนการอบรมขึ้น เพื่อติดตั้งเครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามมาตรฐานในระดับสากลให้กับชุมชนได้นำ ไปปรับใช้พัฒนาพื้นที่ของตนเอง 🌲🌱🌿

หนังสือที่คนในวงการ CBT ไม่ควรพลาดสนใจสั่งซื้อได้ทางเพจ CBT-I >> m.me/cbticlub เพื่อร่วมกันตรวจสอบว่าCBT ยังทำหน้าที่......
15/06/2021

หนังสือที่คนในวงการ CBT ไม่ควรพลาด
สนใจสั่งซื้อได้ทางเพจ CBT-I
>> m.me/cbticlub
เพื่อร่วมกันตรวจสอบว่า
CBT ยังทำหน้าที่...แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ยังดูแลผู้คน สังคม และทรัพยากรในชุมชน
ได้ดีอยู่หรือเปล่า

"ตรวจประเมินที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม"ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนไตลื้อเมืองลวงเหนือ เชียงใหม่
11/06/2021

"ตรวจประเมินที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม"
ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนไตลื้อเมืองลวงเหนือ เชียงใหม่

“การท่องเที่ยวโดยชุมชนท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะไปต่ออย่างไร ในมุมมองของ Demand  และ Supply”ข้อสรุป...จากเวที...
11/06/2021

“การท่องเที่ยวโดยชุมชนท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะไปต่ออย่างไร ในมุมมองของ Demand และ Supply”

ข้อสรุป...จากเวทีเสวนาออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 บางส่วนมาจากการรีวิวเพิ่ม
การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีทั้งประเด็นเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และประเด็นใหม่ที่ต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยววิถีใหม่และกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
• การปรับตัวของชุมชนท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยวยุคใหม่ (New trend) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า Covid 19 ทำให้การเดินทางและการท่องเที่ยวของโลกเปลี่ยนไป ผู้คนทั่วโลกไม่สามารถเดินทางได้ส่งผลกระทบไปในทุกส่วนห่วงโซ่อุปทาน

การเดินทางและการท่องเที่ยวในปี 2019 มีนักท่องเที่ยวเดินทางทั่วโลก1.5 พันล้านคน แต่ในปี 2020 นักท่องเที่ยวลดลงเหลือประมาณ 400 ล้านคน ทำให้สถานการณ์การท่องเที่ยวของโลกกลับไปสู่ยุค 90 อีกครั้ง

การปรับตัวสู่การท่องเที่ยวยุคใหม่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างสูงสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน นักท่องเที่ยวยุคใหม่ให้ความสำคัญต่อความสะอาด สุขอนามัย ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ไม่แออัด ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อประสานงานแทนการพูดคุยหรือสัมผัสโดยตรง เดินทางระยะสั้น เน้นการเดินทางไปท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ชนบทที่มีความปลอดโปร่ง และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ

ดังนั้น การท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องปรับตัว โดยเริ่มจากการทำให้แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม และการบริการท่องเที่ยว มีมาตรฐานสูงขึ้น การกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับพื้นที่ในแต่ละครั้งแต่ละกิจกรรม การเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรม และการบริการที่ชุมชนมี
• มาตรฐานการบริการในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ อาหาร ที่พัก รถนำเที่ยว กิจกรรมท่องเที่ยว และนักสื่อความหมาย หลังจากที่ชุมชนต้องเว้นระยะเวลาจากการให้บริการท่องเที่ยวมาเป็นเวลานาน การกลับมาให้บริการเมื่อสถานการณ์กลับมาตามปกติจะทำได้เหมือนเดิมหรือไม่ และความคาดหวังใหม่จากการให้บริการที่จะเกิดขึ้น
• ความสะอาด ถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการการท่องเที่ยวหลังจากนี้ เนื่องจากนักท่องเที่ยวจะกังวลถึงความสะอาดของแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ และอุปกรณ์ต่างที่จะนำมาให้บริการ ชุมชนจะสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางท่องเที่ยวได้มากน้อยขนาดไหนที่จะทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจว่าปลอดเชื้อ
• การสร้างความปลอดภัยตามมาตรฐาน SOP (Standard Operation Procedure = SOP) ในแต่ละด้าน ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนจำนวนมากของหลายหน่วยงานแต่ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
• นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่ไปท่องเที่ยวชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มศึกษาดูงานที่องค์กรหรือหน่วยงานพี่เลี้ยงที่ลงไปพัฒนานำไป และจะเป็นฤดูกาล ชุมชนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้แม้ว่าจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่อาจจะไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น การได้รับรู้พฤติกรรมความต้องการของนักท่องเที่ยวที่แท้จริง รูปแบบการให้บริการนักท่องเที่ยว การทำการตลาด เป็นต้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เดินทางโดยไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายเองจึงไม่ได้แสดงความคาดหวังของตนเองออกมาอย่างชัดเจน

ดังนั้น การกำหนดนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายใหม่ โดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดในประเทศ (Domestic) ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยหลายปัจจัย เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศทำได้ยากขึ้น ราคาสูงขึ้น หรือกังวลเรื่องความปลอดภัยจากการติดเชื้อ เป็นต้น

ทั้งนี้ชุมชนต้องศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มครอบครัว กลุ่มคนทำงาน MICE และกลุ่ม Expat ที่คาดว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนเพิ่มขึ้นทั้งเดินทางเองและเดินทางมากับบริษัทนำเที่ยว
• การเล่าเรื่องราวของชุมชน (Story telling) บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้รับทราบ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ภายในชุมชน ช่วยสร้างเสน่ห์ให้ชุมชน การเล่าเรื่องราวชุมชนจะทำให้นักท่องเที่ยวได้เข้าใจถึงลักษณะพื้นที่ วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนมากขึ้น เรื่องราวชุมชนเป็นจุดขายของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

นอกจากการเล่าเรื่องแล้ว การออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวให้เหมะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวจะช่วยให้ชุมชนได้เตรียมความพร้อมของคน พื้นที่ อุปกรณ์ ความสามารถในการรองรับของพื้นที่ และการกำหนดราคาที่สอดคล้องกับกิจกรรมท่องเที่ยว เบื้องต้นชุมชนต้องรู้ก่อนว่าแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวกลุ่มไหนโดยการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพิ่มเติม
• การเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวก็มีความสำคัญ หลายชุมชนยังขาดแม่เหล็กเพื่อดึงให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเพื่อท่องเที่ยวชุมชนอย่างเดียว การเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างชุมชนกับแหล่งท่องเที่ยวหลักที่มาจากความสนใจของนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่ม

บางกลุ่มมองว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเพียงกิจกรรมเสริม ช่วยเติมเต็มให้เส้นทางท่องเที่ยวมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่ม MICE เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างเมืองกับชุมชนระยะสั้นครึ่งวันหรือ 1 วัน ก็เป็นโอกาสสำหรับชุมชน

เส้นทางท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็เป็นกระแสการท่องเที่ยวที่จะได้รับความนิยมหลังจากโควิด เช่น การสร้างเครือข่าย Carbon Balance Network เพื่อสร้างความสมดุลด้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เส้นทางท่องเที่ยว ชุมชน ผู้ประกอบการทัวร์ ของที่ระลึก เป็นต้น การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้กิจกรรมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป็นการสร้างจุดขายใหม่ให้กับชุมชน
• นวัตกรรม และเทคโนโลยี เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลชุมชนจัดทำเป็นฐานข้อมูล (Database) เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ พัฒนาเป็น Flatform เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานในแต่ละประเภทในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

การนำเสนอเรื่องราวชุมชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) แต่ก็ยังมีชุมชนจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับการ Upskill Reskill และ New skill ในการใช้เทคโนโลยี เนื่องจากผู้แทนชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุขาดความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี ขณะที่การท่องเที่ยวในปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทั่วโลก ใช้เทคโนโลยีผ่านสมาร์ทโฟนในการค้นหาข้อมูลก่อนตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว

นอกจากนี้การนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการท่องเที่ยวในปัจจุบัน เช่น จัดทำแผนที่ชุมชนใน Google map นักท่องเที่ยวสามารถชำระเงินค่าบริการผ่านระบบ E-payment การพัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวเสมือนจริง (Virtual) การใช้สื่อสังคมออนไลน์ตรวจสอบแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นปัจจุบัน และทำการตลาดแบบ Real time เป็นต้น

เป็นการยกระดับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้สอดคล้องกับกระแสนิยมการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
• การสร้างเครือข่าย การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย เนื่องจากชุมชนมีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกันออกไป และการท่องเที่ยวจำเป็นต้องบูรณาการความรู้และทรัพยากรจากผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่จำเป็นไม่แพ้เครือข่ายอื่น ๆ คือ เครือข่ายด้านนโยบาย เครือข่ายธุรกิจ และเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกัน เครือข่ายทั้ง 3 ด้านจะยกระดับการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน
• การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ธุรกิจการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ผ่านมาถูกมองว่าเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน แต่เมื่อเวลาผ่านไปการท่องเที่ยวโดยชุมชนกลับได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นจากหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว ทำให้การท่องเที่ยวต้องปรับตัว แต่ด้วยข้อจำกัดในการบริหารจัดการ องค์ความรู้ ทุน ทำให้ไม่สามารถยกระดับสู่ธุรกิจได้อย่างเต็มตัว

ที่ผ่านมาการท่องเที่ยวได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่องทั้งการพัฒนาแหล่ง คน การบริการ และการตลาด รวมถึงข้อกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว เช่น มาตรา 51 พรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ. 2551 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2561 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมมัคคุเทศก์และการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนเป็นการเฉพาะ ดังนั้น ถึงเวลาที่จะต้องยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่องค์กรที่สามารถทำธุรกิจได้ เบื้องต้นต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกชุมชนที่สามารถประกอบธุรกิจได้ เนื่องจากศักยภาพของแต่ละชุมชนมีไม่เท่ากัน

สถานะภาพของการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยปัจจุบัน ประกอบด้วย

1) การรวมตัวกันเป็นเครือข่ายมีแกนนำประสานงาน
2) จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน
3) จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
4) จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด

บางชุมชนได้ดำเนินการที่เป็นสากลรูปแบบบริษัททั่วไปคือ จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด และจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวแล้ว การยกระดับชุมชนท่องเที่ยวสู่องค์การธุรกิจที่ชัดเจน ทำให้ชุมชนได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้า การบริการ นวัตกรรมใหม่ ๆ และการตลาดที่สามารถแข่งขันได้ ลดการพึ่งพาจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ยังคงรักษาหลักการเดิมของการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว การมีส่วนร่วม การกระจายรายได้ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ อาจยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ธุรกิจเพื่อสังคม (Social enterprise) มีบางชุมชนได้ริเริ่มดำเนินการแล้ว

นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID 19) ส่งผลให้แรงงานอพยพย้ายถิ่นฐานกลับมาอยู่บ้านเพิ่มมากขึ้น บางคนได้ประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น เปิดร้านกาแฟ ร้านอาหาร ขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น เป็นธุรกิจเลี้ยงชีพ กลุ่มคนเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นรุ่นใหม่มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร บางส่วนมีประสบการณ์ทำงานในภาคธุรกิจบริการและการตลาด แต่ยังขาดความรู้การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งหากกลุ่มคนเหล่านี้ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับกลุ่มบริหารจัดการการท่องเที่ยวเดิมก็จะเป็นแรงผลักให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนขับเคลื่อนไปต่อได้
-- ดร.ปรัชญากรณ์ ไชยคช
#ศูนย์การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมอ
#การท่องเที่ยวโดยชุมชน

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when การท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Thailand posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to การท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Thailand:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Travel Agency?

Share

Our Story

เพจ "การท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Thailand" นี้ จัดทำขึ้นเพื่อ 1) เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างการรับรู้ให้กับคนในสังคม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย ให้เห็นความงามและคุณค่าของการท่องเที่ยวที่ดูแลสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ รักษาศิลปวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็ง/การมีส่วนร่วม กำหนดทิศทางและบริหารจัดการโดยคนในชุมชน และ 3) เพื่อการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวชุมชน CBT สร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านและแขกผู้มาเยือน ให้มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มมากขึ้น CBT : Community Based Tourism = การท่องเที่ยวโดยชุมชน ดำเนินการโดย "รสนิยมดี" (ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน & CBT-I) [ รสนิยมดี ท่องเที่ยว CBT ท่องเที่ยววิถีชุมชน ]