04/05/2020
#กราบศาลหลักเมืองสุรินทร์
คือ เทวสถานที่สถิตของเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของ #ชาวสุรินทร์ ที่คนท้องถิ่นให้ความเคารพกราบไหว้
หากได้เข้ามาในตัวเมือง #สุรินทร์ แล้ว ชาวสุรินทร์ทุกคนคงไม่พลาดที่จะต้องได้แวะเวียนมา
เคารพศาลหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อความสบายใจหากต้องเดินทางห่างบ้านไป
ไกลๆ อีกด้วย ไม่ว่าใครจะผ่านไปผ่านมา ก็ต้องพบว่าศาลหลักเมืองของชาวสุรินทร์ มีความงดงามด้วยสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น บ่งบอกถึงเสนห์ของจังหวัดสุรินทร์ ด้วยตัวสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในสไตล์ปราสาท ที่ได้รับอิทธิพลจากเขมรอย่างเห็นได้ชัด ตรงศาลภายนอกจะถูกออกแบบตามการออกแบบของสถาปัตยกรรมเขมร ที่จะมีหน้าจั่วเป็นรูปใบโพธิ์เรียงต่อกันเหมือนขั้นบันใดขึ้นไป หลังคาของศาลหลักเมืองก็เช่นกัน สีโดยรวมจะเป็นสีแดงอิฐ จึงทำให้ศาลหลักเมืองสุรินทร์มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มาก
วันนี้ สุรินทร์ไกด์จะพามารู้จักกับประวัติของศาลหลักเมืองของเรากันสักหน่อยนะคะ
"ศาลหลักเมืองสุรินทร์" เดิมเป็นศาลที่ไม่มีเสาหลักเมือง แต่มีความศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานนับ 100 ปี ตามบันทึกที่หาพบ แต่มีความเชื่อกันว่าการสร้างศาลหลักเมืองของคนในสมัยก่อนนั้นมาจากความเชื่อของ "ลัทธิพราหมณ์ -ฮินดู" โดยมีวัตถุประสค์ "เพื่อต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข มีความร่มเย็นเป็นสุข และปราศจากการรุกรานของข้าศึก"
จนกระทั่งปี พศ. 2511 จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการขอให้กรมศิลปากรออกแบบแปลนก่อสร้างตัวศาลหลักเมืองใหม่มีเสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์
ปึ 2515 "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9" ทรงประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และทรงมีพระราชทานดำรัสว่า "การสร้างเสาหลักเมืองนี้ดี เป็นหลักแหล่งความสามัคคี ขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความสามัคคีกัน สร้างความเจริญก้าวหน้าและขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความร่มเย็นเป็นสุข"
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2517 "นายสงวน สาริตานนท์" ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้อัญเชิญเสาหลักเมืองมายัจังหวัดสุรินทร์ มีการแห่ ไปรอบเมืองและอัญเชิญเสาหลักเมืองขึ้นบนแท่นประติษฐานไว้ที่ศาล
หลักเมือง ได้ประกอบพิธียกเสาหลักเมือง และมีพิธีฉลองสมโภช
ปัจจุบันศาลหลักเมือง มีการปรับปรุง มาเรื่อยๆ ตามลำดับ สร้างใหม่ ต่อเติม ผสมผสานระหว่างศิลปะแบบเขมรและไทยเข้าด้วยกันอย่างลงตัว และยังคงยึดหลักให้หันหน้าศาลหลักเมืองไปทางทิศตะวันออกเสมอก่อน
ศาลหลักเมืองสุรินทร์ จึงได้รับการเคารพในความเชื่อที่ว่าเป็นสถานที่สถิตของดวงวิญญาณเหล่าบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ ที่คอยปกป้องบ้านเมืองสุรินทร์ให้อยู่รอดและปลอดภัยจากศัตรู และคอยช่วยคุ้มครองชาวสุรินทร์ ให้ร่มเย็นเป็นสุข
ศาลหลักเมืองสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง ถือเป็นสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร ติดกับโรงเรียนสุรินทร์ศึกษา สามารถแวะเวียนไปเคารพ บูชากันได้ทั้งวันค่ะ
(ศาลหลักเมืองสุรินทร์)
Surin CityPillarShrine is heavily influenced by Khmer architecture, reflecting Surin's proximity to Cambodia and its history, which for centuries saw this area of Thailand as part of the Khmer Empire. There are representations of many Hindu dieties, including Siva, Vishnu, Ganesh, and Brahma, and the whole shrine complex is in a dramatic blood red colour.
Surin City Pillar Shrine is located on Lak Mueang Road, 500 meters west of city hall, the shrine is a sacred icon of the city.
#ไหว้ศาลจ้าวพ่อหลักเมืองสุรินทร์
#ไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุรินทร์
#ไหว้ศาลหลักเมืองสุรินทร์
#ศาลหลักเมืองสุรินทร์
คือ เทวสถานที่สถิตของเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของ #ชาวสุรินทร์ ที่คนท้องถิ่นให้ความเคารพกราบไหว้
หากได้เข้ามาในตัวเมือง #สุรินทร์ แล้ว ชาวสุรินทร์ทุกคนคงไม่พลาดที่จะต้องได้แวะเวียนมา
เคารพศาลหลักเมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อความสบายใจหากต้องเดินทางห่างบ้านไป
ไกลๆ อีกด้วย ไม่ว่าใครจะผ่านไปผ่านมา ก็ต้องพบว่าศาลหลักเมืองของชาวสุรินทร์ มีความงดงามด้วยสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น บ่งบอกถึงเสนห์ของจังหวัดสุรินทร์ ด้วยตัวสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในสไตล์ปราสาท ที่ได้รับอิทธิพลจากเขมรอย่างเห็นได้ชัด ตรงศาลภายนอกจะถูกออกแบบตามการออกแบบของสถาปัตยกรรมเขมร ที่จะมีหน้าจั่วเป็นรูปใบโพธิ์เรียงต่อกันเหมือนขั้นบันใดขึ้นไป หลังคาของศาลหลักเมืองก็เช่นกัน สีโดยรวมจะเป็นสีแดงอิฐ จึงทำให้ศาลหลักเมืองสุรินทร์มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มาก
วันนี้ สุรินทร์ไกด์จะพามารู้จักกับประวัติของศาลหลักเมืองของเรากันสักหน่อยนะคะ
"ศาลหลักเมืองสุรินทร์" เดิมเป็นศาลที่ไม่มีเสาหลักเมือง แต่มีความศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วไปมาเป็นเวลานานนับ 100 ปี ตามบันทึกที่หาพบ แต่มีความเชื่อกันว่าการสร้างศาลหลักเมืองของคนในสมัยก่อนนั้นมาจากความเชื่อของ "ลัทธิพราหมณ์ -ฮินดู" โดยมีวัตถุประสค์ "เพื่อต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข มีความร่มเย็นเป็นสุข และปราศจากการรุกรานของข้าศึก"
จนกระทั่งปี พศ. 2511 จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการขอให้กรมศิลปากรออกแบบแปลนก่อสร้างตัวศาลหลักเมืองใหม่มีเสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์
ปึ 2515 "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9" ทรงประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และทรงมีพระราชทานดำรัสว่า "การสร้างเสาหลักเมืองนี้ดี เป็นหลักแหล่งความสามัคคี ขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความสามัคคีกัน สร้างความเจริญก้าวหน้าและขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความร่มเย็นเป็นสุข"
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2517 "นายสงวน สาริตานนท์" ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้อัญเชิญเสาหลักเมืองมายัจังหวัดสุรินทร์ มีการแห่ ไปรอบเมืองและอัญเชิญเสาหลักเมืองขึ้นบนแท่นประติษฐานไว้ที่ศาล
หลักเมือง ได้ประกอบพิธียกเสาหลักเมือง และมีพิธีฉลองสมโภช
ปัจจุบันศาลหลักเมือง มีการปรับปรุง มาเรื่อยๆ ตามลำดับ สร้างใหม่ ต่อเติม ผสมผสานระหว่างศิลปะแบบเขมรและไทยเข้าด้วยกันอย่างลงตัว และยังคงยึดหลักให้หันหน้าศาลหลักเมืองไปทางทิศตะวันออกเสมอก่อน
ศาลหลักเมืองสุรินทร์ จึงได้รับการเคารพในความเชื่อที่ว่าเป็นสถานที่สถิตของดวงวิญญาณเหล่าบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ ที่คอยปกป้องบ้านเมืองสุรินทร์ให้อยู่รอดและปลอดภัยจากศัตรู และคอยช่วยคุ้มครองชาวสุรินทร์ ให้ร่มเย็นเป็นสุข
ศาลหลักเมืองสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง ถือเป็นสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวสุรินทร์ ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร ติดกับโรงเรียนสุรินทร์ศึกษา สามารถแวะเวียนไปเคารพ บูชากันได้ทั้งวันค่ะ
(ศาลหลักเมืองสุรินทร์)
is heavily influenced by Khmer architecture, reflecting Surin's proximity to Cambodia and its history, which for centuries saw this area of Thailand as part of the Khmer Empire. There are representations of many Hindu dieties, including Siva, Vishnu, Ganesh, and Brahma, and the whole shrine complex is in a dramatic blood red colour.
Surin City Pillar Shrine is located on Lak Mueang Road, 500 meters west of city hall, the shrine is a sacred icon of the city.
#ศาลจ้าวพ่อหลักเมืองสุรินทร์