รักห้วยจรเข้มาก รักสัตว์ป่า ร่วมใจรักษานกกระเรียนไทย

  • Home
  • รักห้วยจรเข้มาก รักสัตว์ป่า ร่วมใจรักษานกกระเรียนไทย

รักห้วยจรเข้มาก รักสัตว์ป่า ร่วมใจรักษานกกระเรียนไทย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วย?

05/02/2024
วันที่14กันยายน2566 นายปรีชา หนอสิงหา หัวหน้าเขตห้ามล่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มากเข้าร่วมกิจกรรมสภากาแฟจังหวัดบุรีรัมย์ ณ อ...
15/09/2023

วันที่14กันยายน2566
นายปรีชา หนอสิงหา หัวหน้าเขตห้ามล่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มากเข้าร่วมกิจกรรมสภากาแฟ
จังหวัดบุรีรัมย์ ณ อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก จ.บุรีรัมย์ มีกิจกรรมปล่อยปลาเพื่อเพิ่มจำนวนประชากรสัตว์น้ำ มีหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมประมาณ300คน โดยมีนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เป็นประธาน

ฝ่ายสงวนและคุ้มครอง รับมอบ เป็ดแดง จำนวน1ตัว จากนายชาญวิทย์ สุปะมา อยู่บ้านเลขที่ 107 หมู่ที่ 4
ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ตามที่ได้รับแจ้งจากสายด่วน 1362 จากการตรวจสอบพบว่านกมีสภาพสมบูรณ์แข็งแรง ดี จึงได้นำมาปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก

14/09/2023

นกกระเรียนพันธุ์ไทย รวมฝูงหากินริมทางหลวง 218 (บุรีรัมย์-นางรอง)

นกกระเรียนพันธุ์ไทย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก
08/08/2023

นกกระเรียนพันธุ์ไทย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก

วันที่26 กรกฎาคม2566นายปรีชา หนอสิงหา หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัต...
27/07/2023

วันที่26 กรกฎาคม2566
นายปรีชา หนอสิงหา หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก ร่วมกันปลูกต้นผักหวานป่า จำนวน400 ต้น ณ หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแสงเหนือ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงรัชกาลที่10 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่และสร้างสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดบุรีรัมย์

หางนกยูง ชื่อภาษาอังกฤษBarbados Pride, Paradise Flowerชื่อวิทยาศาสตร์Caesalpinia pulcherrimaความหมายต้นหางนกยูงจัดเป็นไม...
14/06/2023

หางนกยูง
ชื่อภาษาอังกฤษ
Barbados Pride, Paradise Flower
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caesalpinia pulcherrima
ความหมาย
ต้นหางนกยูงจัดเป็นไม้พุ่มที่มีความสูงหลายระดับ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และวิธีการดูแลรักษา
ความเชื่อ
ต้นหางนกยูงนั้นเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ถูกใช้ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ทางภาคเหนือ ด้วยเชื่อว่าเป็นไม้ที่จะนำความเจริญรุ่งเรืองและนำข่าวดีมาให้
#เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก
#นกกระเรียนพันธุ์ไทย

31/03/2023

เป็ดผีเล็ก
#เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก

31/03/2023

เป็ดแดง
#เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก

อุโมงค์ต้นไม้  #เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก #นกกระเรียนพันธุ์ไทย
16/03/2023

อุโมงค์ต้นไม้
#เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก
#นกกระเรียนพันธุ์ไทย

ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ #รักห้วยจรเข้มากรักสัตว์ป่าร่วมใจรักษานกกระเรียนไทย #รั...
22/03/2022

ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่
#รักห้วยจรเข้มากรักสัตว์ป่าร่วมใจรักษานกกระเรียนไทย
#รักนกกระเรียนไทย

กรมอุทยานฯ ประกาศนโยบายไม่รับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่

วันที่ 15 มีนาคม 2565 นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประกาศนโยบายการไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟู ทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยการควบคุมป้องกัน พื้นที่ป่าอนุรักษ์ เดิมที่มีอยู่ และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ชุมชน มีความรู้สึกหวงแหน และการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งที่อยู่อาศัย ของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการ และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน

เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมสุจริตในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการปฏิบัติหน้าที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงประกาศนโยบายการไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ดังนี้ 1.ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช งดรับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ จากบุคคลภายนอกผู้มาติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2.ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช งดให้ของขวัญและของกำนัลทุกชนิดแก่บุคคลภายนอกผู้มาติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

3.ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องไม่แสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งของขวัญของกำนัล หรือผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย 4. การแสดงความยินดี การแสดงความปรารถนาดี การแสดงการต้อนรับ หรือการแสดงความเสียใจในโอกาสต่าง ๆ ตามปกติประเพณีนิยม ควรใช้วิธีการแสดงออกด้วยการลงนามในบัตรอวยพร สมุดอวยพร บัตรแสดงความเสียใจ หรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ แทนการให้สิ่งของ 5. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีหน้าที่แจ้งให้บุคคลภายนอกทราบถึงนโยบายดังกล่าวอย่างทั่วถึง

ที่มา : http://news.dnp.go.th/news/14451

13 มีนาคม  "วันช้างไทย"
12/03/2022

13 มีนาคม "วันช้างไทย"

วันช้างไทยตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี

สืบเนื่องจากคณะกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งป็นหน่วยงานประสานงานองค์การภาครัฐและเอกชน ที่ทำงานเกี่ยวกับช้างไทย ร่วมกับคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาหาวันที่เหมาะสมเพื่อเป็นวันระลึกและจัดกิจกรรมวันช้างไทย จึงได้เลือกวันที่ 13 มีนาคมเป็น “วันช้างไทย” อันเป็นวันที่ตรงกับการทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา และทรงมีชัยชนะ และคณะกรรมการได้คัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ “ช้างเผือก” เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย และคณะรัฐมนตรีได้ห็นชอบประกาศให้วันที่ 13 มีนาคมเป็นวันช้างไทย และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541

“วันช้างไทย” กำหนดขึ้น เพื่อให้ประชาชนคนไทยสนใจช้าง รักหวงแหนช้าง ให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือและอนุรักษ์ช้างมากขึ้น รวมถึงเป็นการยกย่องให้เกียรติช้างว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อชาวไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

3 มีนาคม ของทุกปี "วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก" (World Wildlife Day)วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก  ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี ...
04/03/2022

3 มีนาคม ของทุกปี "วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก" (World Wildlife Day)

วันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันที่ก่อตั้งภาคีอนุสัญญาไซเตส เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2516 เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้กับกลุ่มประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตส 178 ประเทศ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษยชาติ และเพื่อเฉลิมฉลองในความสวยงามและรูปแบบที่หลากหลายของสัตว์ป่าและพืชป่า

ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดแนวคิดหลัก (Theme) คือ “Recovering key species for ecosystem restoration - กู้วิกฤตชีวิตในป่า พลิกฟื้นชะตาระบบนิเวศ”

เพื่อให้สาธารณชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีต่อมวลมนุษยชาติ ตลอดจนความจำเป็นเร่งด่วนในการต่อสู้กับอาชญากรรมด้านสัตว์ป่าและพืชป่าที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
Cr.เพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

13 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.00 น. นายจรวย อินทร์จันทร์  ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7  นายมณฑล  ตันติศักดิ์ช...
14/02/2022

13 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.00 น. นายจรวย อินทร์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 นายมณฑล ตันติศักดิ์ชัยชาญ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า นายปรีชา หนอสิงหา หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตฯ ร่วมปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยจำนวน 11 ตัว ที่สวนสัตว์นครราชสีมาได้เพาะเลี้ยงทำการฝึกและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ให้สามารถคืนถิ่นกลับสู่ธรรมชาติ ใช้ชีวิตหากินและขยายพันธุ์ อยู่ในระบบนิเวศได้อีกครั้ง และมีแผนจะปล่อยให้ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสมดุลทางธรรมชาติที่ยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ มีส่วนร่วมในการปกป้องและอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ให้มีชีวิตอยู่รอด และช่วยคืนความสมดุลในระบบนิเวศ เป็นการอนุรักษ์ประชากรนกระเรียนพันธุ์ไทยในธรรมชาติอย่างยั่งยืนในระยะยาว

13กุมภาพันธ์ #วันรักนกเงือก
13/02/2022

13กุมภาพันธ์
#วันรักนกเงือก

นกเงือกสัญลักษณ์ของ "รักแท้" & ตัวแทนความสมบูรณ์ของป่า

13 กุมภาพันธ์ "วันรักนกเงือก"
นกเงือก สัญลักษณ์แห่ง " รักแท้" เมื่อนกเงือกจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้ว จะผูกพันกันแค่ 2 ตัวตลอดชีวิต จะใช้ชีวิตคู่แบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย

นกเงือกมีบทบาทเด่นในการช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา จึงสามารถนำพาเมล็ดพันธุ์พืชไปทิ้งไว้ยังที่ต่างๆ และเจริญขึ้นเป็นต้นกล้าได้ทั่วป่า นกเงือกจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแพร่พันธุ์ของพืช ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในป่า และทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ

นกเงือก จึงเป็นส่งที่บ่งชี้ว่าป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เหตุนี้เองทำให้มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์นกเงือก และเพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชน จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันรักนกเงือก โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา

#นกเงือก #ป่าอนุรักษ์ #รักแท้ #ตัวแทนความสมบูรณ์ของป่า #วันรักนกเงือก

วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก2กุมภาพันธ์
01/02/2022

วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
2กุมภาพันธ์

2 กุมภาพันธ์ "วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก"

กว่า 160 ประเทศทั่วโลกลงนามร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา RAMSAR ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่ออนุรักษ์พื้นที่และสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ชื่อของเมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อันเคยเป็นสถานที่จัดการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญา มีจุดประสงค์เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความหลากลายทางชีวภาพและเกี่ยวข้องกับชนิดพันธุ์และชุมชนประชากรทางนิเวศของนกน้ำ และปลา โดยมีการกำหนดให้ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wetlands Day) ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ

15 พื้นที่ชุ่มน้ำของไทย ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Sites)
ตามเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ทั้ง 9 เกณฑ์ เมื่อได้นำมาพิจารณาพื้นที่ชุ่มน้ำในไทยแล้ว พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศทั้งหมด 15 พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยกัน ดังนี้

1. พรุควนขี้เสี้ยน
ลำดับที่ 948 (13 กันยายน 2541) จังหวัด พัทลุง ตั้งบริเวณตอนเหนือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังเป็นแหล่งทำรังวางไข่ของนกกาบบัว ที่พบได้ที่นี่เพียงที่เดียว

2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง
ลำดับที่ 1098 (5 กรกฎาคม 2544) จังหวัด บึงกาฬ บึงน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งพักพิงของนกอพยพในฤดูหนาวไม่น้อยกว่า 33 ชนิด และพบนกมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย คือ เป็ดดำหัวดำ

3. ดอนหอยหลอด
ลำดับที่ 1099 (5 กรกฎาคม 2544) จังหวัดสมุทรสงคราม พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลที่หายาก หาดเลนเป็นที่อาศัยของหอยหลอดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

4. ปากแม่น้ำกระบี่
ลำดับที่ 1100 (5 กรกฎาคม 2544) จังหวัด กระบี่ ผืนป่าชายเลนที่สมบูรณ์ขึ้นหนาแน่น มีความหลากหลายของชนิดพันธุ์นกที่ใกล้สูญพันธุ์ระดับโลกรวมทั้งถิ่นอาศัยของพะยูนซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งของประเทศไทย

5. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย
ลำดับที่ 1101 (5 กรกฎาคม 2544) จังหวัด เชียงราย บึงน้ำจืดขนาดเล็กแหล่งอาศัยนกอพยพอย่างน้อย 121 ชนิด และนกชนิดพันธุ์หายากซึ่งอยู่ในสถานภาพถูกคุกคามระดับโลก

6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง)
ลำดับที่ 1102 (5 กรกฎาคม 2544) จังหวัด นราธิวาส เป็นป่าพรุดั้งเดิมผืนใหญ่ที่สุดของไทยที่คงเหลืออยู่พบพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นอย่างน้อย 50 ชนิด และสัตว์ที่มีสถานภาพถูกคุกคาม เช่น นกตะกรุม นกเปล้าใหญ่ เป็นต้น

7. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง - ปากแม่น้ำตรัง
ลำดับที่ 1182 (14 สิงหาคม 2545) จังหวัด ตรัง เป็นถิ่นอาศัยของชนิดพันธุ์ที่หายากและอยู่ในสภาพถูกคุกคาม เช่น นกซ่อมทะเลอกแดง นกฟินฟุต และพะยูน เป็นที่พักของนกอพยพจากแอฟริกา คือ นกหัวโตกินปู ซึ่งในหนึ่งปีอาจพบได้เพียงไม่กี่ครั้ง

8. อุทยานแห่งชาติแหลมสน - ปากแม่น้ำกระบุรี - ปากคลองกะเปอร์
ลำดับที่ 1183 (14 สิงหาคม 2545) จังหวัด ระนอง มีระบบนิเวศหลากหลาย เป็นพื้นที่ป่าชายเลนแห่งแรกของโลก

9. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
ลำดับที่ 1184 (14 สิงหาคม 2545) จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีเกาะขนาดเล็ก - ใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เป็นแหล่งพักพิงของปลาในวัยเจริญพันธุ์ และวัยอ่อนของปลาเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ปลาทู ปลารัง ปลาเก๋า เป็นต้น และ เป็นแหล่งปะการังที่งดงามที่สุดของไทย

10. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
ลำดับที่ 1185 (14 สิงหาคม 2545) จังหวัด พังงาเป็นอ่าวตื้น ล้อมลอบด้วยป่าชายเลน และเป็นที่อาศัยของพะยูนซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน

11. อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
ลำดับที่ 2238 (14 มกราคม 2551) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่เชิงเขาของเทือกเขาสามร้อยยอดเป็นแหล่งพักพิงและสร้างรังวางไข่ของนกอพยพและเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของเสือปลาที่ใหญ่ที่สุดในไทยซึ่งมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง

12. กุดทิง
ลำดับที่ 1926 (19 มิถุนายน 2552) จังหวัด บึงกาฬ มีลักษณะเป็นกุดมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พบพันธุ์ปลาเฉพาะถิ่นและเป็นแหล่งพักพิงของนกอพยพที่มีสถานภาพทุกคุกคามระดับโลกคือเป็ดดำหัวดำ

13. เกาะกระ
ลำดับที่ 2152 (12 สิงหาคม 2556) จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นเกาะขนาดเล็กบริเวณอ่าวไทยเป็นแหล่งปะการังหายากและแหล่งวางไข่ที่สำคัญของต่อตนุและต่อมะเฟือง

14. หมู่เกาะระ - เกาะพระทอง
ลำดับที่ 2153 (12 สิงหาคม 2556) จังหวัด พังงา มีความหลากหลายของระบบนิเวศเป็นถิ่นอาศัยของเต่าทะเลและนกตะกรุมซึ่งเป็นชนิดพันธุ์หายากและใกล้สูญพันธุ์

15. แม่น้ำสงครามตอนล่าง
ลำดับที่ 2420 (15 พฤษภาคม 1562) จังหวัดนครพนม มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีป่าบุ่งป่าทามผืนใหญ่ที่สำคัญยังคงเหลืออยู่ในภาคอีสาน พบสัตว์ที่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งคือ ปลาบึก ปลาตองลาย ปลายี่สก

ที่มา : สำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ

12/01/2022

อยากเจอ ((นกกระเรียนพันธุ์ไทย)) ต้องไปที่ไหน
นกกระเรียนพันธุ์ไทย
Eastern Sarus Crane
_______________
นกกระเรียนพันธุ์ไทยในปัจจุบันนี้มีสถานภาพการอนุรักษ์ คือ Vulnerable (VU)
หรือมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
_______________
เมื่อราว ๆ 50 ปีที่แล้วนั้น นกกระเรียนพันธุ์ไทย ได้ถูกระบุว่าเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติของไทย
เนื่องจาก การขยายตัวของเมือง วิถีชีวิตของคนก็เริ่มเปลี่ยนเริ่มมีการทำการเกษตรที่ใช้สารเคมีมากขึ้น ทำให้เกิดการรบกวนการใช้ชีวิตของนกกระเรียน
_______________
นกกระเรียนที่พบในปัจจุบันนั้น เป็นนกกระเรียนที่มากจากการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ จาก โครงการนำนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ โดยทำการปล่อยที่บริเวณ
อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อำเภอเมืองฯ จังหวัดบุรีรัมย์
(เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้้ำห้วยจรเข้มาก)
และที่ อ่างเก็บน้ำสนามบิน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
(เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน)
ซึ่งทั้งสองพื้นที่ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของนกหลายชนิด และมีภาพถ่ายยืนยันว่า จังหวัดบุรีรัมย์เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทยในอดีต อีกด้วย
_______________
สำหรับใครที่จะเดินทางไปชม นกกระเรียนพันธุ์ไทยที่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก
และ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน
อยากแนะนำว่า ให้ไปช่วงฤดูฝน เพราะเป็นช่วงเวลาที่นกกระเรียนจะเริ่มจับคู่ และทำรัง
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีเหมาะแก่การเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของนกกระเรียน
#สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า

31ธันวาคม 2564นายปรีชา หนอสิงหา หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฯ ตอนรับนายจรวย อิน...
31/12/2021

31ธันวาคม 2564
นายปรีชา หนอสิงหา หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฯ ตอนรับนายจรวย อินทร์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 7 และนายมณฑล ตันติศักดิ์ชัยชาญ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า ในการตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการบริการและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่ ทั้งนี้ได้ให้โอวาทและมอบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้แก่เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก
#รักห้วยจรเข้มาก
#เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก

Address

87 ม. 17 ต. บ้านบัว อ. เมืองบุรีรัย์

31000

Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when รักห้วยจรเข้มาก รักสัตว์ป่า ร่วมใจรักษานกกระเรียนไทย posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to รักห้วยจรเข้มาก รักสัตว์ป่า ร่วมใจรักษานกกระเรียนไทย:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Travel Agency?

Share