#ระบบควบคุมระบบผลิตน้ำฯผ่านมือถือ ติดตั้งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ที่อาคารทรู ทาวเวอร์ (เครือ CP)
#ความเชื่อที่ว่าที่ว่า Peracetic Acid (PAA) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่สูงกว่า Sodium Hypochlorite หรือ Chlorine ในระบบน้ำ
ความเคยชิน: เรามักคุ้นเคยและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ PAA ในการอบฆ่าเชื้อตัวกรองเลือด (ความเข้มข้นที่ใช้ฆ่าเชื้อตัวกรองเลือด 0.12-0.17%) อยู่เป็นประจำ จึงมีความเข้าใจว่า PAA มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่สูง และเมื่อถึงเวลาการฆ่าเชื้อระบบน้ำหรือเมื่อเกิดการติดเชื้อในระบบน้ำขึ้นแล้ว เรามักจะได้ยินเสมอว่าให้ใช้ PAA แทนคลอรีน
ความเป็นจริง: ถ้าเทียบเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นที่เท่ากันระหว่าง Peracetic Acid (PAA) กับ Sodium Hypochlorite หรือ Chlorine พบว่าฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อของคลอรีนมีความรุนแรงมากกว่า PAA ในขณะที่ PAA มีส่วนผสมหลัก คือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์กับกรดอะซิติก ซึ่งเมื่อเจอแสงสว่างและความร้อน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จะสลายตัวไปเองอย่างช้าๆ จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้
#เกร็ดเล็กๆกับปัญหาชวนสงสัย
Pressure Gauge ใน Loop จ่ายน้ำ RO มีน้ำมันรั่วจะมีโอกาสปนเปื้อนเข้าไปในระบบน้ำหรือไม่ ????????
คำตอบ คือ ไม่มีโอกาสที่จะปนเปื้อนเข้าไปใน Loop แน่นอน
อธิบายแบบย่อแค่พอเข้าใจ :
1. น้ำมันที่อยู่บนหน้าปัด PG. ทำหน้าที่เพียงไม่ให้เข็มสวิงหรือแกว่งมากเกินไป ซึ่งอยู่คนละส่วนกับกลไกการทำงาน (แยกกันคนละส่วน)
2. ในส่วนของกลไกการทำงาน แรงดันจะเข้าไปใน bourdon tube แล้ว bourdon tube จะยืดไปเขี่ยก้านเข็มให้ขยับตามแรงดันมากหรือน้อยตามคลิป
*** แต่เมื่อต้องเปลี่ยน PG ใน Loop จ่ายน้ำ RO จำเป็นต้องอบฆ่าเชื้อทุกครั้ง เพราะระบบถูกเปิดแก้ไข
Cr: //instrumentationtools.combourdon-tube-pressure-gauge-working-principle-animation/
#คลิปการใส่ไส้ROmembrane
คลิปนี้เป็นการใส่ไส้ RO membrane เข้าไปใน Vessel (กระบอกสีขาว) โดย Vessel ขนาดตามคลิปสามารถใส่ RO membrane ได้ 3 ท่อน
ตามหลักการออกแบบ RO membrane: ชนิดนี้จะถูกคำนวณอัตราการผลิตที่ 1,000 ลิตรต่อชม.ต่อท่อน
ดังนั้น Vessel ขนาดตามคลิปจะบรรจุไส้ RO membrane ได้ 3 ท่อน จึงมีอัตราการผลิตน้ำรวมที่ 3,000 ลิตรต่อชม.
RO membrane ที่ใช้ตามคลิป ยี่ห้อ Filmtec รุ่น BW30-400 ขนาด 8x40 นิ้ว