Cultural Tourism of Ban Bu Boi Community
BU BOI 村社会文化旅游
หมู่บ้านสร้างสุข แนวคิดเกษตรอินทรีย์ วิถีอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ
幸福乡村 农业智慧 保护森林
Happiness Creation Village, Organic Farming Concept, Natural Way of Forest
C幸福乡村 农业智慧 保护森林onservation.
บุโบย ชุมชนเล็กๆ ของพี่น้องชาวไทยมุสลิม ที่ดำเนินวิถีชีวิตอิสลาม แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรียบง่าย สุขสบาย สงบสะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ ดุจแดนสวรรค์ ขอบทะเลอันดามัน ชายแดนใต้
BU BOI 小村, 是泰国人伊斯兰教,使用伊斯兰教的生活方式,按照泰皇陛下知足经济理念、简单生活、舒适生活、安静、清洁、自然风景、天堂之村,靠安达曼海边泰国南部边界。
ป่าชายเลน ของชุมชนบ้านบุโบย ก็เสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ ให้ทุกคนในหมู่บ้านได้เรียนรู้ใช้ภูมิปัญญา ป่าเกื้อกูล ทรัพยากรที่สมบรูณ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มากด้วยความงดงาม ทะเลและเกาะแก่งสวย อย่าง เขาพับผ้า หินผาที่ดูเสมือนผ้าพับ เขาไก่ เกาะแมว ก็ล้วนแล้วแต่มีตำนาน เรื่องราวเล่าขานสำเภาเภตรา หาดหอแดง และที่นี่..ก็ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญ การทำประมงพื้นบ้าน เกษตรกรรมพื้นเมือง ชาวนาปลูกข้าว ชาวสวนปลูกแตง แหล่งเกษตรอินทรีย์ที่ใครๆ ก็ใฝ่ถวิลหาธรรมชาติ ผสมผสานขบวนการทางวัฒนธรรม และกลภาพ วัฏจักรการหมุนเวียนให้เกิดความสมดุลทางชีววิทยา ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของบ้านบุโบย ที่เหมาะแก่การทำนา ทำสวนแบบอินทรีย์ วิถีไทยแท้แต่โบราณใช้แรงงานวัวควายไถนา เลี้ยงม้าไว้ขี่ เอามูลเอาขี้มาทำปุ๋ย ผสมอินทรีย์วัตถุมาปรับหน้าดิน ไร้กลิ่นยาฆ่าแมลงแบบสังเคราะห์ หรือปุ๋ยเคมี
红树林,是BU BOI村人,好像是他们的一个大教室,红树林个村人学到农业智慧、森林留下了很丰富的资源,还是一个很好的旅游风景,比如大海、海岛、叠衣服山(这个山叫这个名字就是因为山的像叠衣服)、鸡山、猫岛,每个风景多有自己的故事,还有Sap̣he p̣hetra 岛、红楼海滩,这里还是最重要的水产养殖、本地渔业养殖、本地农业、农人耕田、园人种瓜,有机之源的地方每个人都寻找,混合文化之村、生物平衡的地方,BU BOI村适合耕田,使用本地耕田的方式,养马为了骑、用马粪来做肥料,无使用化学品。
ที่นี่.. เกษตรอินทรีย์ วิถีออร์แกนิคฟู๊ด Oranic Food ผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตร รวมถึงแหล่งอาหารทะเลสดทั้งปี ตามแบบฉบับพื้นบ้าน ที่ไม่มีการฉาบฉายรังสีเคมี หรือวัตถุเจือสาร ในอาหารแต่อย่างใด การกินอยู่แบบเรียบง่าย การทำอาหารทานเองกลับเป็นเสน่ห์ยอดนิยม ถือเป็นความบันเทิงเริงรมย์ เพราะการรับประทานอาหารสะอาดปราศจากสารพิษ ปลอดภัย และความอร่อย ถือว่าเป็นความสนุก..สุขใจโดยแท้..
这里有机农业、有机食物、有机产品包括海鲜,没有使用化学品,使用简单的生活方式,可以自己做饭,这也是一个村里的特点,因为可以吃到有机的产品、安全、干净、好吃、好玩,可感到幸福的生活。
เขาบอก..มาที่นี่ จะต้องมากิน ”ข้าวแดงแกงปู” อาหารที่ขึ้นชื่อ แก่งคั่วกระท้อนปูทะเล เสน่ห์อาหารโบรํ่าโบราณ นี่ก็ตำนาน “นครีสโตยดินแดนแห่งเมืองกระท้อน” ข้าวแดงราชินีที่มีความอร่อยอยู่ในตัว ชาวนาเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ อาหารทะเล สดทั้งปีที่ บุโบย
来到这里必须要吃 “红米饭和螃蟹汤”,使用仙都果和螃蟹来做,是泰国传统食品,也是仙都果之乡,红米饭是有机的米饭、新鲜的海鲜、整年都有在BU BOI 小村。
ความงดงาม ตามวิถีเรียบง่าย ของคนที่อยู่คู่กับป่า ภูผา และสายน้ำ บ้านบุโบย ถือเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ความสมบรูณ์ของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ ซึ่งบ่งชี้ บอกเรื่องราวอย่างชาญฉลาด และถูกถ่ายทอดเป็นภูมิปัญญาของบรรพชน จากรุ่นสู่รุ่นได้เป็นอย่างดี
美丽之乡、过简单的生活,依靠森林的生活、山、水,BU BOI 小村是一个保护自然森林之村,每个村里的人都互相帮助,构成一个完整的生态系统,这可以指的是祖先的智慧,一代一代的相传。
“บุโบย” วันนี้.. เป็นหมู่บ้านแห่งวิถีธรรมชาติ ที่มากด้วยกำไรชีวิต จิตแจ่มใส ผู้คนรู้จักสร้างความสุข ให้กับตัวเอง..อย่างแท้จริง ..........อย่าลืม.. ให้ความรักกับคนรอบข้าง สร้างความสุขให้กับตัวเองบ้าง ....แล้วเจอกันที่บุโบยนะคะ
BU BOI 小村是一个自然之村,使生活得到幸福,有名之乡,可以给自己知足自己,认识到最自然到的风景,不要忘记, 给周边人的关爱,自己充足自己的美好生活,别忘记来到“BU BOI 小村”,在“BU BOI 小村”,相见。
Cultural Tourism of Ban Bu Boi Community
Happiness Creation Village, Organic Farming Concept, Natural Way of Forest Conservation.
Bu Boi is a small village of Thai-Muslim community that live in following to the way of Islam and along the Sufficiency Economy Philosophy in simple and peaceful living among natural pure nature as if being in a paradise on the shore of Andaman Sea in southern Thailand.
Mangrove forest of Ban Buboi Community resembles a large classroom for everyone in their village to learn from and pass on their local wisdoms among the productive forest where is also a tourist attraction with beautiful sea and islands such as Khao Pubpa that looked like folded cloth, Khao Kai (Mt. Kai) and Ko Maeo (Maeo Island) that have tales and stories of Petra Junk Boat and Hor Daeng Beach. It is also an important breeding source for marine lives, local fishery, local agriculture, organic farming, that a lot of people ask for such a combination of nature and culture and cycle of biological balance. With geographical location of Ban Bu Boi, it is very good for rice farming and organic plantations of tradition Thai way that employed power of cows and buffalos and made use of horse as a vehicle. Their dungs could be organic fertilizer for plants and soil without any use of synthetic fertilizer or pesticide.
Here… organic agriculture and organic food, production from agriculture and all year seafood in the local way of life that have no radiation or contamination. Living a simple way and self-cooking are fascinating and quite enjoyable on eating delicious organic food that is a real happiness.
Someone told that visiting here we must try a famous food of traditional recipe “Kao Daeng Kaeng Poo” (crab in roasted curry and brown rice) and the story of “Nagara Stoi, the land of Santol fruit” and the delicious Queen’s Brown Rice that is grown in the way of organic agriculture. Fresh seafood is available all year round.
The beauty and simple way of life of the people who live with the forest, mountains, and water stream, Ban Bu Boi is an example of natural resource conservation that shows the togetherness living and the fertile food chain and signifies to the story of local wisdoms from a generation to a generation.
“Bu Boi” in the present is a village of natural way where is actually full of life profits, bright mind, happy people. Never miss to express love to surrounding people and make happiness to yourself… see you at Bu Boi.
--------------------------------------------------------------------------------------------------
โครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
๑. หลักการและเหตุผล
ชุมชนบ้านบุโบยเป็นชุมชนหนึ่งในสิบชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล โดยการ
นำชมธรรมชาติด้วยเรือใบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น อันเนื่องมาจากองค์ความรู้แห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษที่ใช้ในการทำอาชีพประมง ท่ามกลางการสังเกตทิศทางลมในการเดินเรือและมีความเห็นว่าการใช้เรือใบเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันได้มีการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวในมิติแห่งวัฒนธรรมโดยเชิญชวนนักท่องเที่ยวด้วยข้อความสั้นๆแต่ให้ความรู้สึกและสัมผัสถึงกลิ่นอายแห่งวัฒนธรรม คือ อยากนั่งเรือใบต้องไปบุโบย นอกจากนี้ทางชุมชนได้ทำการวิจัยชุมชนและได้ดำเนินการถอดบทเรียนทางวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย จึงค้นพบว่ามิติวัฒนธรรมจะเป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างถึงแกนและรากเหง้าแห่งวัฒนธรรม โดยการส่งเสริมให้ชุมชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของชุมชน ฟื้นฟูอาหารพื้นบ้าน เติมเต็มแหล่งเรียนรู้เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้ใน การดำเนินชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบอาชีพการประมงซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชน
ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัมผัสกับธรรมชาติที่
อุดมสมบูรณ์ สัมผัสความเป็นวิถีชุมชนจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อให้ชุมชน บุโบยเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ที่มีความยั่งยืน สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสกับธรรมชาติและทำกิจกรรมต่าง ๆ จังหวัดสตูลโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสตูลร่วมกับชุมชนบุโบย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาชุมชนบุโบยเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ด้วยทุนทางวัฒนธรรมปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ จังหวัดสตูล ขึ้น เพื่อสืบทอดวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชนบุโบย ให้เยาวชนรุ่นหลัง เกิดความตระหนักเห็นคุณค่าสำนึกรักบ้านเกิดร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานจากรุ่นสู่รุ่นและเพื่อยกระดับการให้บริการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อพัฒนาให้ชุมชนบุโบยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย มีศักยภาพด้านการให้บริการและการเป็นเจ้าบ้านที่ดีอย่างยั่งยืน
๒.๒ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชนบุโบย เกิดความตระหนักเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสาน สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชนบุโบยสู่เยาวชนรุ่นหลังต่อไป
๒.๓ เพื่อยกระดับการให้บริการ พัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน เกิดรายได้ที่มั่นคง มั่งคั่งต่อไป
๓. ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงาน
๓.๑ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
๓.๒ ประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม/ โครงการ กำหนดปฏิทิน
กิจกรรม ที่จะดำเนินการ มอบหมายภารกิจ
๓.๓ ประสานหน่วยงาน วิทยากร กลุ่มเป้าหมาย และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
๓.๔ ดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
๓.๕ สรุป รายงานผลการดำเนินงาน
๕. ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่มต้น วันที่ ๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๒
สิ้นสุด วันที่ ๓๐ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒
๖. กิจกรรม
๑.การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการประชาสัมพันธ์และการตลาดโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และของที่ระลึกทางวัฒนธรรม
***จัดเก็บข้อมูล,จัดทำแนะนำ,โปรแกรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และของที่ระลึกทางวัฒนธรรม ปฎิบัติการพัฒนาการระบบสื่อประชาสัมพันธ์แบรนเนอร์โฆษณาในเวบไซน์ตลาดอีมาร์เก็ตติ้ง(e-marketing) ตลาดออนไลน์ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกลุ่มป้าหมายได้ทันทีแค่กลแชร์ส่งเฟส,เพจ,ไลน์ในระบบดิจิทัล
การยืนยันเชิงธุรกิจในกูเกิล /จีพีเอส(GPS)กำหนดพิกัดต่ำแหน่งสถานที่เสันทาง Street View ในGoogle Maps / ผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Net Work f Like, Facebook, + Share ที่รองรับระบบ IOS/Android ***
๒.การทำเพจออนไลน์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน และกิจกรรมของชุมชน
***จัดทำแนะนำระบบสื่อประชาสัมพันธ์แบรนเนอร์โฆษณาในเวบไซน์ตลาดอีมาร์เก็ตติ้ง(e-marketing) ตลาดออนไลน์ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกลุ่มการ่มป้าหมายได้ทันทีแค่กลแชร์ส่งเฟส,เพจ,ไลน์***
๓.กิจกรรมเพื่อทบทวนและพัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
***การทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบคริปวีดีโอ รีวิวสปอทโฆษณา วีดีทัศน์ บทสัมภาษณ์ พิเศษ เชิญชวนแนะนำ ผลิตภัณฑ์ สถานที่แหล่งท่องเที่ยวภาพประกอบที่ได้จัดถ่ายทำขึ้นมาใหม่มุมภาพต่างๆที่ดูทันสมัยเป็นปัจจุบันรวมทั้งภาพประกอบมุมสูงที่มีความละเอียดคมชัด ***
๗. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๗.๑ เชิงปริมาณ
๗.๑.๑ ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบุโบย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้
ทางวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย มีศักยภาพด้านการให้บริการและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีนักท่องเที่ยวเข้ารับบริการปีละ ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน
๗.๑.๒ เด็ก เยาวชน ประชาชนในชุมชนบุโบยเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานจากรุ่นสู่รุ่น อย่างน้อย ๕ ครั้ง
๗.๒ เชิงคุณภาพ
๗.๒.๑ ชุมชนบุโบยมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนทั้งในด้านการให้บริการและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี
๗.๒.๒ ชุมชนบุโบยมีรายได้เพิ่มขึ้น
๗.๒.๓ เด็ก เยาวชน ประชาชนในชุมชนบุโบยเกิดความรัก สามัคคี และมีส่วนร่วม
ในการรักษาสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน ชุมชนบุโบยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง