พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อริยสัจ

  • Home
  • India
  • Gaya
  • พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อริยสัจ

พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อริยสัจ (96 ตร.ไมล์)
ประชากร (2001) • ทั้งหมด 30,883
• ความหนาแน่น 120 คน/ตร.กม.
(11)

พุทธคยา เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญเเห่งการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แอดมินขอทำหน้าที่เป็นผู้นำพระธรรมจากพระไตรปิฏกมามาเผยเเพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้มีศรัทธา พุทธคยา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มวัดมหาโพธิที่พุทธคยา *
มรดกโลกโดยยูเนสโก
Mahabodhitemple.jpg
พระมหาโพธิเจดีย์ พุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ
ประเทศ ตำบลพุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดมคธ รัฐพิหาร ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ปร

ะเภท มรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา (i) (ii) (iii) (iv) (vi)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน 2545 (คณะกรรมการสมัยที่ 26)

ชื่อตามที่ได้จดทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

พุทธคยาबोधगया Bodhgaya
เมือง
พุทธคยา ซึ่งตั้งอยู่ใน รัฐพิหาร

พุทธคยา
พิกัดภูมิศาสตร์: 24.695102°N 84.991275°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 24.695102°N 84.991275°E
ประเทศ อินเดีย รัฐ พิหาร อำเภอ คยา
ชื่อ วัดมหาโพธิ์
พื้นที่ • ทั้งหมด 249 ตร.กม. (320 คน/ตร.ไมล์)
ภาษา • ราชการ ภาษามคธี, ภาษาฮินดี
เขตเวลา IST (UTC+5:30)
เว็บไซต์ http://www.bodhgayanews.net

พุทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, ฮินดี: बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู

พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา

สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก

ค้นหาที่อยู่ของพราหมณ์พาวรี ในปัจจุบันคือใกล้เมืองออรังกาบัด รัฐมหาราษฏ์ ที่มีถ้ำเอลโรร่า กล่าว่าอยู่ที่แม่น้ำโคธาวารี อ...
07/10/2024

ค้นหาที่อยู่ของพราหมณ์พาวรี ในปัจจุบันคือใกล้เมืองออรังกาบัด รัฐมหาราษฏ์ ที่มีถ้ำเอลโรร่า

กล่าว่าอยู่ที่แม่น้ำโคธาวารี อันเป็นพรมแดนแว่น แคว้นอัสสกะและแว่นแคว้นมุฬกะต่อกัน

โคทาวรี (IAST: Godāvarī [ɡod̪aːʋəɾiː]) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศอินเดียรองจากแม่น้ำคงคา มีพื้นที่รับน้ำคิดเป็น 10% ของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของอินเดีย[4] ต้นน้ำอยู่ในเขาตริมพเกศวร นาศิก รัฐมหาราษฏระ[5] จากนั้นไหลออกทางตะวันออกเป็นระยะทาง 1,465 กิโลเมตร (910 ไมล์) ผ่านรัฐมหาราษฏระ (48.6%), เตลังคานา (18.8%), อานธรประเทศ (4.5%), ฉัตตีสครห์ (10.9%) และ โอฑิศา (5.7%) ก่อนจะไหลลงอ่าวเบงกอล[6] บางทีเรียกอีกชื่อของโคทาวรีว่า ทักษิณคงคา (Dakshina Ganga; คงคาใต้)[7] โคทาวรียังได้รับการนับถือบูชาในเอกสารของศาสนาฮินดูมารวมถึงเป็นแหล่งน้ำที่ก่อเกิดชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนในอินเดียมาอย่างยาวนาน

"หมู่บ้าน ตำบล เมืองและแคว้น"

ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลมีหมู่บ้าน ตำบล เมือง และแคว้น ต่าง ๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา ซึ่งพอจะประมวลนำมาบันทึกไว้ ณ ที่นี้ได้ดังต่อไปนี้

๑. หมู่บ้าน

กัลลวาลมุตตคาม เป็นหมู่บ้านอยู่ในแคว้นมคธ เมื่อคราวประโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรจนอ่อนใจนั่งสัปหงกโงกง่วงอยู่ พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด จนได้สำเร็จพระอรหัต ที่กัลลวาลมาตุคามนี้

โกลิตคาม เป็นหมู่บ้านเกิดของ "โกลิตะ" บุตรของตระกูลหัวหน้าหมู่บ้าน ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนามีนามว่า พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้าได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก โกลิตคามตั้งอยู่ใกล้พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ

ถูนคาม เป็นเขตแดนบ้านที่กั้นถิ่นกลางหรือมัชฌิมประเทศกับเมืองชายแดนนอกหรือปัจันตประเทศ ถูนคามเป็นที่กำหนดเขตสุดแดนทางทิศตะวันตก นับแต่ถูกคามเข้ามาคือมัชฌิมประเทศ

นาลันถคาม อยู่ติดกับโกลิตคาม เป็นหมู่บ้านเกิดของ "อุปติสสะ"บุตรของตระกูลหัวหน้าหมู่บ้าน เป็นเพื่อนสนิทของโกลิตะ ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนามีนามว่า พระสารีบุตร เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก พระสารีบุตรเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนาและได้รับยกย่องว่าเป็นพระธรรมเสนาบดี นาลันถคามยังเป็นบ้านเกิดของน้องชาย ๓ น้องหญิง ๓ ของพระสารีบุตร ซึ่งต่อมาบวชในพระธรรมวินัยทั้งหมดและน้องชายทั้ง ๓ เป็นพระสาวกผู้ใหญ่จำนวน ๘๐ องค์ทุกคน นาลันถคามตั้งอยู่ใกล้พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ

ปาริเลยยกะ ในพรรษาที่ ๑๐ ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ที่แดนบ้านปาริเลยยกะใกล้เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวัน ด้วยทรงปลีกพระองค์จากพระสงฆ์ที่แตกกันในกรุงโกสัมพี ตลอดระยะเวลาที่จำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวันนี้นมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยปฏิบัติดูและพระพุทธเจ้า

ปิลินทวัจฉคาม เป็นหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน ๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของประปิสินทวัจฉะ พระมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะให้ทางเป็นที่รักของพวกเทวดา ปิลินทวัจฉคามอยู่ที่พระนครราชคฤห์ แว้นมคธ

เสนานิคม เป็นหมู่บ้านในตำบลอุรุเวลา ในแคว้นมคธ นางสุชาดาผู้ถวายข้าวปายาสแด่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าวันเพ็ญ เดือน ๖ วันที่จะตรัสรู้อยู่ที่หมู่บ้านเสนานิคมนี้ ภายหลังนางสุชาดาได้เป็นปฐมอุบาสิกาพร้อมกับภรรยาเก่าของยสะบุตรชายของนาง

อันธกวินทะ เป็นหมู่บ้านอยู่ติดกับกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ

เอกนาลา หมู่บ้านพราหมณซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาในพรรษาที่ ๑๑ ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ

ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ พระนครไพศาลี (เวสาลี) ในวันเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕ ภายหลังตรัสรู้พระบรมศาสดาตรัสว่า แต่นี้ไปอีก ๓ เดือน พระตถาคตก็จักปรินิพพานกาลต่อมาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปได้เดินทางออกจากพระนครไพศาลี เพื่อมุ่งหน้าไปยัง สาลวโนทยาน ในกรุงกุสินารา แคว้นมัลละ สถานที่ซึ่งพะพุทธองค์มีประสงค์จักปรินิพพาน ในระหว่างพุทธดำเนินจากพระนครไพศาลีไปกรุงกุสินาราทรงเสด็จผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ดังนี้
พระพุทธเจ้าทรงพาพระภิกษุสงฆ์เสด็จไปยังบ้าน ภัณฑุคาม แสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท ต่อจากนั้นเสด็จไปบ้าน หัตถีคาม อัมพุคามชัมพุคาม และโภคนคร โดยลำดับ ประทับอยู่ที่โภคนครแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองนั้น ต่อจากนั้นจึงเสด็จไปยังเมืองปาวานครเสด็จเข้าประทับอาศัยอยู่ที่อัมพวันสวนมะม่วงของจุนทกัมมารบุตรซึ่งอยู่ใกล้เมืองนั้น เสด็จจากปาวานครพร้อมกับทรงประชวรพระโรค "โลหิตปักขัณทิกาพาธ" (โรคท้องร่วงถึงพระโลหิต) เสด็จพระพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดะ ในเมืองกุสินารา แล้วเสด็จเข้าไปยังสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ใกล้เมืองกุสินารา

๒. ตำบล

กาฬศิลา ตำบลในชนบทสำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิพระนครราชคฤห์ ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่คนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลก พระพุทธเจ้าโปรดให้ก่อสถูปบรรจะอิฐิธาตุของท่านไว้ไกล้ซุ้มประตูวัดเวฬุวัน ในเขตเมืองราชคฤห์

คยาสีสะ เป็นตำบลเนินเขาแห่งหนึ่ง ริมแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ เป็นสถานที่ซึ่งคยากัสสปน้องชายคนเล็กของนักบวชชฏิลแห่งกัสสปโคตร ตั้งอาศรมอยู่พร้อมบริวาร ๒๐๐ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาอาทิตตยปริยายสูตร (พระสูตรว่าด้วย อายตนะทั้ง ๖ ที่ร้อนติดไฟลุกทั่ว ด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ตลอดจนร้อนด้วยทุกข์มี ชาติ ชรา มรณะ) ให้คณาจารย์ชฏิลสามพี่น้องและบริวาร ๑๐๐๐ ซึ่งพรรพชาเป็นพระภิกษุสงฆ์ แล้ว ทั้งหมดเคยเป็นชฏิลบูชาไฟมาก่อนหลังจากทรงแสดงธรรมเทศนาพระสูตรนี้ ทำให้ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผล

โคตมนิโครธ ตำบลแห่งหนึ่งในพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ ที่ตำบลนี้พระพุทธเจ้าเคยนิมิตต์โภาสแก่พระอานนท์

ปาริเลยยกะ ตำบลแห่งหนึ่งใกล้กรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ เป็นที่ตั้งของป่ารักขิตวันและแดนบ้านปาริเลยยกะ

เวฬุวคาม ตำบลหนึ่งใกล้แคว้นนครเวสาลี (ไพศาลี) แคว้นวัชชีพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๔๕ นับแต่ได้ตรัสรู้ที่เวฬุคามแห่งนี้เป็นพรรษาสุดท้ายที่จะเสด็จปรินิพพาน

เสตกัณณิกนิคม นิคมที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท (ถิ่นกลางของอาณาเขต เป็นศูนย์รวมของความเจริญรุ่งเรืองนานาประการ) กับปัจจันตชนบทหรือปัจจันตประเทศ (หัวเมืองชั้นนอก ถิ่นที่ยังไม่เจริญ)ทางทิศใต้นับจากเสตกัณณิกนิคมเข้ามาถือเป็นมัชฌิมชนบท

อุกกลชนบท เป็นตำบลชนบทแดนไกลที่ ๒ พ่อค่าคือ ตปุสสะ กับภัลลิกะ นำกองเกวียนบรรทุกสินค้าเดินทางเข้ามาพบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นราชาตนะ (ไม้เกต) ภายหลังพระบรมศาสดาทรงตรัสรู้ได้ ๗ สัปดาห์ และเพิ่งเสร็จสิ้นจากเสวยวิมุตติสุข ๒ พ่อค้าจากอุกกลชนบทได้ถวายเสบียงเดินทางคือ ข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน แล้วเสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็น ๒ สรณะ นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ เรียกว่า "เทววาจิก"

อุรุเวลา เป็นตำบลใหญ่แห่งหนึ่ง ในแคว้นมคธ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา เป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์ พระมหาบุรุษทรงเลือกตำบลอุรุเวลาเป็นที่บำเพ็ญเพียร ทรงประทับอยู่ที่ตำบลแห่งนี้นานถึง ๖ ปี จากพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ถึง ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียร และจากการบำเพ็ญทุกรกริยาเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชฌมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปีภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ภายในปาสาละ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลแห่งนี้

๓.เมือง

กบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะ พระพระพุทธบิดาคือ "พระเจ้าสุทโธนะ" เป็นกษัตริย์ ครองนครกบิลพัสดุ์ (บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล)

กัมปิลละ นครหลวงแห่งแคว้นปัญจาละ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เมืองกัมปิลละตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคาตอนบน

กุกกุฏวดี อยู่ในปัจจันตประเทศหรือหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ กษัตริย์ผู้ครองนครกุกกุฏวดีได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าแล้วบังเกิดปีติศรัทธาสละราชสมบัติทรงม้าเดินทางไกล ๓๐๐ โยชน์ (ประมาณ ๔,๘๐๐ กิโลเมตร) มาเฝ้าพระพุทธเจ้า สดับธรรมกถาบรรลุประอรหัตแล้วได้รับอุปสมบท เป็นพระมหาสาวกนามว่า " มหากัปปินะ" ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่ภิกษุส่วนพระอัครมเหสีชื่ออโนชา ทรงรถเสด็จมาเฝ้าพระบรมศาสดาเช่นกัน ฟังธรรมบรรลุโสดาปัตติผลแล้วรับพรรพชาจากพระอัครสาวิกาฝ่ายซ้ายอุบลวรรณาเถรี

กุสินารา เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ เดิมชื่อกุสาวดีภายหลังแยกเป็นกุสินาราและปาวา ทั้งสองนครเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล กุสินาราเป็นเมืองเล็ก ๆ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเลือกเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองแห่งนี้ กุสินาราตั้งอยู่ในจะดที่บรรจบของแม่น้ำรับดิ และแม่น้ำคันธกะ

โกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ ตั้งอยู่เหนือฝั่งตอนใต้ของแม่น้ำยมุนา พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ ๙ ที่วัดโฆสิตารามในกรุงโกสัมพี และทรงจำพรรษาที่ ๑๐ ที่ป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ ใกล้กรุงโกสัมพี

จัมปา นครหลวงของแคว้นอังคะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำจัมปา ซึ่งบรรจบกับปลายแม่น้ำคงคา แคว้นอังคะเป็นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

ตักศิลา นครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ใน สมัยพุทธกาล ตักศิลาเป็นราชธานีที่มั่งคั่งรุ่งเรืองสืบต่อกันมาหลายศตวรรษตั้งแต่ก่อนพุทธกาล รุ่งโรจน์ด้วยศิลปวิทยาต่าง ๆ เป็นสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดในการศึกษายุตโบราณ เป็นศูนย์กลางการศึกษา มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่าง ๆ แก่ศิษย์ที่เดินทางมาเล่าเรียนจากทุกถิ่นในชมพูทวีป บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านในสมัยพุทธกาลสำเร็จการศึกษาจากนครตักศิลา เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศ(พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศลครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครสาวัตถี) เจ้ามหาลิลิจฉวี พันธุลเสนาบดี หมอชีวกโกมาภัจ (แพทย์ประจำประองค์ของพระพุทธเจ้า) และองคุลิมาล (มหาโจรผู้กลับใจเป็นพระอรหันต์มหาสาวก)

เทวทหะ หรือรามคาม นครของแคว้นโกลิยะ มีกษัตริย์โกลิยวงศ์ปกครอง พระนางสิริมมหามายาพุทธมารดา เป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะ นครเทวทหะ หรือรามคามเป็นที่ประดิษฐานสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแห่งหนึ่ง บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

นาลันทา เป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ (ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร) ณ เมือง นี้สวนมะม่วงชื่อ "ปาวาริกกัมพวัน" หรือสวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐีซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง

ปาฐา เป็นเมืองหนึ่งในมัธยมประเทศ ภิกษุชาวเมืองนี้คณะหนึ่งเป็นเหตุปรารถให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการกรานกฐิน

ปาวา นครหลวงของแคว้นมัลละ เดิมชื่อกุสาวดี ภายหลังแยกเป็นปาวาและกุสินารา ทั้งสองนครเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

ปิปผลิวัน มีโมริกยกณัตริย์เป็นกษัตริย์ ผู้ครอบเมือง พระองค์ส่งทูตมาไม่ทันเวลาแจกพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า จึงได้แต่พระอังคาร(ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ไปบรรจุไว้ในพระสถูปในเมืองปิปผลิวัน อันมีนามว่า "อังคารสตูป"

พาราณสี เมืองหลวงของแคว้นกาสี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำคงคาพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัจจวัคคีย์ ที่ป่าอัสปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ก่อให้เกิดพระรัตนตรัยครบถ้วนสมบูรณ์คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑ ภายหลังตรัสรู้ ณ ป่าอิสปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

โภคนคร เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปทรงประทับแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองกุสินาราทรงดับขันธปรินิพาน

มหาศาลนคร เป็นนครที่กั้นถิ่นกลางหรือมัชฌิมประเทศกับเมืองชายแดน หรือปัจจันตประเทศ มหาศาลนครเป็นที่กำหนดเขตสุดแดนทางทิศตะวันออก นับจากมหาศาลนครเข้ามาคือ มัชฌิมประเทศ

มิถิลา เป็นนครหลวงของแคว้นวิเทหะ

ราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลักธิพระพุทธเจ้าทรงเลือกพระนครราชคฤห์เป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชสมบัติ ณ ราชธานีแห่งนี้ พระองค์ทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๒-๓-๔-๑๗ และ ๒๐ ในระว่างเวลา ๔๕ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ ที่พระเวฬุวัน พระนครราชคฤห์

วิราฏ นครหลวงแห่งแคว้นมัจฉะ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

เวรัญชา พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๒ ภายหลังตรัสรู้ที่เมืองนี้

เวสาลี หรือไพศาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๕ ณ กูฎาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี และในพรรษาสุดท้ายคือพรรษาที่ ๔๕ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่เวฬุคามใกล้นครเวสาลี

สังกัสสะ ตั้งอยู่ในแคว้นปัญจาละอันมีเมืองหลวงชื่อ "กัมปิลละ"เป็นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล ในพรรษาที่ ๗ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดานานสามเดือน และเสด็จลงจากดาวดึงสเทวโลกที่นครสังกะสะแห่งนี้ นครสังกะสะอยู่ทางตอนใต้ของนครกัมปิลละ มีแคว้นกุรุอยู่ทางทิศตะวันตก มีแคว้นโศลอยู่ทางทิศตะวันออก

สาเกต เป็นมหานครแห่งหนึ่ง อยู่ในแคว้นโกศลอันมีนครสาเกตอยู่ห่างจากพระนครสาวัตถี ๗ โยชน์ (ประมาณ ๑๑๒ กิโลเมตร) ธนัญชัยเศรษฐีบิดาของนางวิสาขา มหาอุบาสิกาผู้สร้างวัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี เคียงคู่ใกล้กับพระเชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธเจ้า

สาคละ นครหลวงของแคว้นมัททะ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมียพุทธกาลตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับ ยมุนาตอนบน

สาวัตถี นครหลวงของแคว้นโกศล หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งสมัยพุทธกาลเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง ๒๕ พรรษา ณ เชตวันมหาวิหาร และบุพพาราม พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศลซึ่งครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครสาวัตถึเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตั้งมั่นอยู่ในพระไตรสรณคมณ์ สองมหาอุบาสก อุบาสิกาคืออนาถบิณทิกเศรษฐี และนางวิสาขา มิคารมารดาก็พำนักอยู่ ณ พระนครแห่งนี้

สุงสุมารคีระ นครหลวงของแคว้นภัคคะ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ภายหลังตรัสรู้ ที่เภสกลาวันในป่าไม่สีเสียดใกล้เมืองสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ

โสตถิวดี นครหลวงแห่งแคว้นเจตี หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล

อาฬวี ในพรรษาที่ ๑๖ ระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ เมืองอาฬวี ทรงทรมานอาฬวกยักษ์สยบฤทธิ์เดชให้ยินดีในอริยธรรม ทรงช่วยให้ชาวนครอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรม ประทานธรรมให้เป็นสมาบัติ ปลุกให้เกิดความปรานีกันทั่วหน้า

อินทปัตถ์ นครหลวงของแคว้นกุรุ หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบน

อุชเชนี นครหลวงแห่งแคว้นอวันตี หนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล, พระเจ้าจัณฑปัชโชตเป็นราชาผู้ครองแคว้นอันตีครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงอุชเชนี

กัมโพชะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาลมีนครหลวงชื่อทวารกะ แคว้นกัมโพชะอยู่ทางตอนเหนือสุดของทวีป (บัดนี้ดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตประเทศอัฟกานิสถาน)

กาสี แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล นครหลวงชื่อพาราณสี ในสมัยพุทธกาลแคว้นกาสีถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศล

กุรุ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล นครหลวงชื่ออินทปัตต์ พระเจ้าโกรัพยะเป็นราชาผู้ครองแคว้นกุรุ

โกลิยะ แคว้นโกลิยะหรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงค์ มีนครหลวงชื่อเทวทหะหรือรามคาม พระนางสิริมมหามายาพุทธมารดา เป็นเจ้าหญิงแห่งโกลิยวงศ์ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะผู้ครองนครเทวทหะ (บัดนี้ดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล)

โกศล แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อสาวัตถี แคว้นโกศลเป็นแคว้นใหญ่และมีอำนาจมาก พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นราชาผู้ครองแคว้นและเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยิ่งนครสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล

คันธระ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาลมีนครหลวงชื่อตักศิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยา ต่างๆ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา พระเจ้าปุกกุสาติเป็นพระราชาผู้ครองแคว้น (บัดนี้ดินแดนของนครตักศิลา อยู่ในเขตประเทศปากีสถาน)

เจตี แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงโสตถิวดี พระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าทรงตั้งสำนักที่ป่าปาจีนวังสทายวันในแคว้นเจตี

ปัญจาละ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อกัมปิลละ

ภัคคะ แคว้นัคคะมีนครหลวงช่อสุงสุมารคีระ ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘ ภายหลังตรัสรู้

มคธ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารเป็นราชาผู้ครองแคว้น แต่ในตอนปลายพุทธกาลถูกประราชโอรสชื่ออชาตศัตรู ปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์สืบแทน แคว้นมคธเป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกับแคว้นโกศล และเป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล

มัจฉะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อวิรฏ

มัททะ แคว้นมัททะมีนครหลวงชื่อสาคละ นครที่กำเนิดของพระมหาสาวิกา ภัททกาปิลานี

มัลละ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมียพุทธกาลมีนครหลวงชื่อกุสาวดี แต่ภายหลังแยกเป็น ๒ นครหลวงคือ นครกุสินารา กับนครปาวาแคว้นมัลละมีการปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยมีพวกมัลลกษัติรย์เป็นผู้ปกครอง ภายหลังแยกเป็น ๒ นครหลวง คณะกษัตริย์แบ่งเป็นพวกหนึ่งปกครองที่นครกุสินารา อีกพวกหนึ่งปกครองที่นครปาวา

วังสะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อโกสัมพี มีพระเจ้าอุเทนเป็นราชาผู้ครองแคว้น แคว้นวังสะเป็นแคว้นที่เจริญรุ่งเรือง และมีอำนาจมากแคว้นหนึ่ง

วัชชี แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อเวสาลี (ไพศาลี) แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า กษัตริย์ลิจฉวี แคว้นวัชชีเจริญรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมากตลอดปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธ แต่ภายหลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่แคว้นมคธ

วิเทหะ แคว้นวิเทหะ มีนครหลวงชื่อ มิถิลา เป็นดินแดนพวกวัชชีอีกถิ่นหนึ่ง ตั้งอยู่บยฝั่งแม่น้ำคงคาตรงข้ามกับแคว้นมคธมีการปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรมเช่นเดียวกับแคว้นวัชชี

สักกะ แค้วนหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ มีนครหลวง ชื่อกบิลพัสดุ์มีการปกครองโดยสามัคคีธรรม พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงครองราชสมบัติที่นครกบิลพัสดุ์ (บัดนี้ดินแดนแห่งนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล)

สุนาปรันตะ แคว้นสุนาปรันตะอยู่ในแดนไกล ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมัชฌิมประเทศ มีเมืองท่าใหญ่ชื่อสุปปารกะ อยู่ริมทะเล ชาวสุนาปรันตะชื่อว่าดุร้าย พระมหาสาวกปุณณสุนาปรันตะเกิดที่เมืองท่าในแคว้นนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนันมทาและที่ภูเขาสัจจพันธ์ ในกาลที่เสด็จมาแสดงธรรมโปรดชาวแคว้นสุนปรันตะ ตามคำอาราธนาของพระมหาปุณณะ นับว่าเป็นประวัติการเกิดขึ้นของรอยพระพุทธบาท

สุรเสนะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาลมีนครหลวงชื่อมถุรา

อวันตี แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมียพุทธกาล มีนครหลวงชื่ออุชเชนี พระเจ้าจัณฑปัชโชตเป็นราชาผู้ครองแคว้น

อังคะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มีนครหลวงชื่อจัมปา ในสมัยพุทธกาล แคว้นอังคะ ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นมคธ แค้วนอังคะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมคธ มีแม่น้ำจัมปากั้นแดน

#อังคุตตราปะ แคว้นเล็กแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล เมืองหลวงเป็นเพียงนิคม ชื่ออาปณะ

#อัสสกะ แคว้นหนึ่งในมหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล มี #นครหลวงชื่อโปตลิหรือโปตนะ

#อาฬกะ #แคว้นอาฬกะ ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี ตรงข้ารมกับแคว้นอัสสะ

ตามหาที่ไปที่มาของมิลินทปัญหาเกิดที่ไหน?ศาสนาพุทธแบบกรีก (อังกฤษ: Greco-Buddhism) เป็นการผสานวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมเฮเล...
07/10/2024

ตามหาที่ไปที่มาของมิลินทปัญหาเกิดที่ไหน?

ศาสนาพุทธแบบกรีก (อังกฤษ: Greco-Buddhism) เป็นการผสานวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมเฮเลนิสต์กับศาสนาพุทธ ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงคริสต์ศักราชที่ 5 ในแคว้นคันธาระ ปัจจุบันคือบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศปากีสถาน และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอัฟกานิสถานพระพุทธศาสนาเเบบกรีกนับถือนิกายมหายานเเละนิกายสรวาสติวาทเป็นหลัก อันสืบเนื่องมาจากรุกรานอินเดียโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นต้นมา หลังการสวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ก็มีการตั้งนิคมชาวกรีกในแบกเตรียและคันธาระ โดยมีแม่ทัพกรีกหรือมาซีโดเนียปกครองสืบต่อมา[9] ครั้นพระเจ้าจันทรคุปตะแห่งจักรวรรดิเมารยะมีอำนาจในบริเวณนี้ และทรงปราบปรามเจ้าผู้ครองชาวมาซีโดเนียได้สำเร็จ ในเวลาต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิของเมารยะทรงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ[10] พร้อมกับเผยแผ่ปรัชญาศาสนาพุทธไปอย่างแพร่หลายแถบซีเรีย อียิปต์ และกรีซ[11] เช่นเมืองไซรีนี (Κυρήνη, ปัจจุบันอยู่ในประเทศลิเบีย) ในขณะนั้นเป็นเมืองของกรีก ก็ได้รับอิทธิพลพุทธปรัชญาจากคณะพระสงฆ์ของพระเจ้าอโศกที่เข้าไปเผยแผ่ หลังการล่มสลายของจักรวรรดิเมารยะ ศาสนาพุทธแบบกรีกยังรุ่งเรืองในแถบแบกเตรียและกุษาณะ แพร่หลายไปถึงเอเชียกลาง ประเทศจีน ไซบีเรีย เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม



พระพุทธเจ้าบนเสาแบบคอรินเทียนลายใบอะแคนทัส
เอกสารของทอเลมีระบุว่าเมืองสาคละ (Σάγγαλα, ปัจจุบันคือเมืองซิอัลโกต ประเทศปากีสถาน) ก่อตั้งโดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 กษัตริย์ชาวกรีก กลายเป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธในบริเวณนั้น[13][14] ปรากฏเอกสารทางศาสนาคือ #มิลินทปัญหา อ้างถึงบทบันทึกการสนทนาระหว่างพระนาคเสนกับพระเจ้าเมนันเดอร์[15][16] ในคัมภีร์ มหาวงศ์ ระบุว่าในรัชกาลพระเจ้าเมนันเดอร์มีพระสงฆ์ชาวกรีกนามพระมหาธรรมรักษิตะ นำพระสงฆ์ 30,000 รูป จากเมืองอลสันทะหรืออะเล็กซานเดรียแห่งคอเคซัส (Αλεξάνδρεια στον Καύκασο, 150 กิโลเมตรทางเหนือของกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน) ไปสร้างสถูปที่ศรีลังกา แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธแบบกรีกในช่วงเวลานั้น[17] มีผู้ว่าราชการจังหวัดชาวกรีกคนหนึ่งนามเทออดอรุส (Θεόδωρος) สร้างสถูปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ[18]

ตามคติศาสนาพุทธแบบกรีก จะมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามอย่างการสร้างเทวรูปกรีก คือเป็นรูปธรรมอย่างมนุษย์ เน้นกล้ามเนื้อ สัดส่วนเหมาะสมตามหลักกายวิภาค มีริ้วจีวรปลิวไสวสวยงาม[19] และนำเทพเจ้ากรีกเข้ามาในพุทธศิลป์ ยกตัวอย่างเช่นเฮราคลีสทรงอาภรณ์หนังราชสีห์ เทพประจำพระองค์ของพระเจ้าเดเมทริอุสที่ 1 แห่งแบกเตรีย "ทำหน้าที่เป็นวัชรปาณีผู้พิทักษ์พุทธองค์"[20][21] ศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่นซึ่งได้รับอิทธิพลไปอีกทอดหนึ่งก็รับเอาเทพเจ้ากรีกไปด้วย เช่น ฟูจิง รับจากเทพบอเรียส (Βορέας) และหารีตี รับจากเทพีไทคี (Τύχη)[22]

แม้ศาสนาพุทธและคริสต์จะมีปรัชญาที่ต่างกัน แต่ระบบศีลธรรมนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันบางประการ เช่น ให้ความเคารพต่อชีวิต อาทรผู้อ่อนแอ ปฏิเสธความรุนแรง ให้อภัยแก่คนบาป และความอดทน[23] นักวิชาการบางส่วนระบุว่าชาวกรีกเป็นตัวกลางในการนำคำสอนของศาสนาพุทธเข้าสู่โลกตะวันตก[24] การประสูติของพระพุทธเจ้าเป็นที่รู้จักดีในโลกตะวันตกและส่งอิทธิพลต่อเรื่องราวเบื้องประสูติของพระเยซู นักบุญเจอโรมระบุถึงการประสูติของพระพุทธเจ้าว่า "ประสูติด้วยความบริสุทธิ์" ส่วนนักบุญคลีเมนต์แห่งอะเล็กซานเดรียบันทึกเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในหนังสือ สโตรมาตา ไว้ว่า "บรรดานักปราชญ์ชาวอินเดียมีผู้ที่ปฏิบัติตนตามคำสอนของพุทธะ ผู้ทรงคุณเหนือมนุษย์ ซึ่งได้รับการเคารพนับถือดุจพระเป็นเจ้า" (εἰσὶ δὲ τῶν Ἰνδῶν οἱ τοῖς Βούττα πειθόμενοι παραγγέλμασιν. ὃν δι’ ὑπερβολὴν σεμνότητος ὡς θεὸν)[25][26] และเรื่องราวของนักบุญบาร์ลามและโยซาฟัต นักบุญในตำนานของศาสนาคริสต์ ก็เป็นเรื่องราวมาจากพุทธประวัติ

****************************************************

ประวัติเรื่องพระอินทร์ทำปฏิญญากับท้าวสหัมบดีพรหม เพื่อดูเเลพระศาสนา เเปลงกายมาในรูปของ
#ยักษ์วชิรปาณีถือค้อนเหล็กใหญ่ลุกโพลงโชติช่วงยืนอยู่ในอากาศ
เบื้องบนอัมพัฏฐมาณพ คิดว่า ถ้าอัมพัฏฐมาณพนี้ถูกพระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหา....

https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=9&item=152&items=1&preline=3&mode=bracket

*************************************************
#บางส่วนบางตอนในการสนทนา ไขปัญหาเรื่อง #พาวรีพราหมณ์ สงสัยในอวัยวะ มหาปุริลักษณะ

ข้อนี้พระนาคเสนเถระถูกพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำสิ่งที่ทำได้ยากหรือ ดังนี้ ได้กล่าวไว้แล้ว.
พระนาคเสนเถระทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ทรงทำอะไรหรือ.
พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโอกาสที่มหาชนเขาถือว่าเป็นความอายแก่อันเตวาสิกของพรหมายุพราหมณ์ แก่พราหมณ์ ๑๖ คนผู้เป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์ อุตตระ และของพราหมณ์พาวรี และแก่มาณพ ๓๐๐ คนผู้เป็นอันเตวาสิกของเสลพราหมณ์.
พระนาคเสนทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร #พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงพระคุยหะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระฉายา ทรงบันดาลด้วยพระฤทธิ์ #แสดงเพียงพระรูปเป็นเงาๆ #ยังทรงนุ่งผ้าสบงอยู่ #ยังทรงคาดรัดประคดอยู่ #และยังทรงห่มผ้าจีวรอยู่ มหาบพิตร.
พระเจ้ามิลินท์ เมื่อเห็นพระฉายาแล้วก็เป็นอันเห็นพระคุยหะด้วยใช่ไหม ขอรับ.
พระนาคเสน ข้อนั้นยกไว้เถิด สัตว์ผู้เห็นหทัยรูปแล้วรู้ได้พึงมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พึงนำพระหทัยมังสะออกมาแสดง.
พระเจ้ามิลินท์ ท่านนาคเสน ขอรับ ท่านพูดถูกต้องแล้ว.

 #ลักษณะพระโพธิสัตว์ #อภัพฐานะ ๑๘ ประการ.               จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น จำเดิมแต่นั้นย่อมไม่เป็นคนบอดแต่กำเนิด...
07/10/2024

#ลักษณะพระโพธิสัตว์

#อภัพฐานะ ๑๘ ประการ.
จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น จำเดิมแต่นั้นย่อมไม่เป็นคนบอดแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนหนวกแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้ ๑ ไม่เป็นคนแคระ ๑ ไม่เกิดในชนชาติมิลักขะ ๑ ไม่เกิดในท้องของนางทาสี ๑ ไม่เป็นคนนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ไม่เป็นคนกลับเพศ ๑ ไม่ทำอนันตริยกรรมห้าอย่าง ๑ ไม่เป็นคนโรคเรื้อน ๑ อัตภาพสุดท้ายไม่เวียนมาในกำเนิดดิรัจฉาน ๑ ไม่มีอัตภาพใหญ่กว่าช้าง ๑ ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต ๑ ไม่เกิดในจำพวกกาลกัญชิกาสูรทั้งหลาย ๑ ไม่เกิดในอเวจีนรก ๑ ไม่เกิดในโลกันตริกนรก ๑ ไม่เป็นมารในสวรรค์ชั้นกามาวจร ไม่เกิดในอสัญญีภพในรูปาวจรภูมิ ไม่เกิดในภพสุทธาวาส ไม่เกิดในอันติมภพ ไม่ก้าวไปสู่จักรวาลอื่น ๑.

ก็พุทธภูมิ ๔ เหล่านี้ใด คือ อุตสาหะ ๑ อุมมัคคะ ๑ อวัฏฐานะ ๑ หิตจริยา ๑. พระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธภูมิเหล่านั้น. ในพุทธภูมิ ๔ ประการนั้น ความเพียรเรียกว่า อุตสาหะ. ปัญญาเรียกว่า อุมมัคคะ. อธิษฐานเรียกว่า อวัฏฐานะ. เมตตาภาวนาเรียกว่า หิตจริยา.
ก็อัธยาศัย ๖ ประการ แม้เหล่านี้ใด คือ อัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ อัธยาศัยเพื่อปวิเวก อัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ อัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ อัธยาศัยเพื่อความไม่หลง อัธยาศัยเพื่อความสลัดออก ย่อมเป็นไปเพื่อบ่มโพธิญาณ เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายประกอบพร้อมด้วยอัธยาศัยเหล่าใด.
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในกาม. ผู้มีอัธยาศัยเพื่อปวิเวก เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในการคลุกคลี. ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในโลภะ. ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในโทสะ. ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่หลง เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโมหะ และผู้มีอัธยาศัยเพื่อความสลัดออก เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในภพทั้งปวง.

พาวรี พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไ...
07/10/2024

พาวรี พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทแก่ศิษย์อยู่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ ได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนไปถามปัญหาพระศาสดา เพื่อจะทดสอบว่า พระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะจริงหรือไม่
ภายหลังได้รับคำตอบแล้ว ศิษย์ชื่อ ปิงคิยะ ซึ่งเป็นหลานของท่าน ได้กลับมาเล่าเรื่องและแสดงคำตอบปัญหาของพระศาสดา ทำให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี

กัปปมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

โคธาวรี ชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง ระหว่างเมืองอัสสกะ กับ เมืองอาฬกะ พราหมณ์พาวรีตั้งอาศรมสอนไตรเพทอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสายนี้ (มักเพี้ยนเป็นโคธาวารี)

ชตุกัณณีมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

ติสสเมตเตยยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

โตเทยยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

โธตกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

นันทมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

ปาสาณเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นมคธ มาณพ ๑๖ คนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ได้เฝ้าพระศาสดาและทูลถามปัญหา ณ ที่นี้

ปิงคิยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

ปุณณกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

โปสาลมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

ภัทราวุธมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

เมตตคูมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ณ ปาสาณเจดีย์

โมฆราชมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วอุปสมบท
เป็นพระมหาสาวกองค์หนึ่ง และได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง

เหมกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

อชิตมาณพ หัวหน้าศิษย์ ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

อุทยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

อุปสีวมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

**************************************************

เรื่องพราหมณ์พาวรีส่งศิษย์ทูลถามปัญหา
[๑] พราหมณ์พาวรี เป็นผู้เรียนจบมนต์ ปรารถนาความเป็นผู้ไม่
มีกังวล ออกจากพระนครโกศลอันน่ารื่นรมย์ ไปสู่
ทักขิณาปถชนบท
[๒] พราหมณ์นั้นอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี อันเป็นพรมแดนแว่น
แคว้นอัสสกะและแว่นแคว้นมุฬกะต่อกัน เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วย
การเที่ยวภิกขาและผลไม้.
[๓] เมื่อพราหมณ์นั้นเข้าไปอาศัย (อยู่) บ้านได้เป็นหมู่ใหญ่ด้วย
ความเจริญอันเกิดแต่บ้านนั้น พราหมณ์นั้นได้บูชามหายัญ
[๔] พราหมณ์นั้นบูชามหายัญแล้วก็กลับเข้าไปสู่อาศรม เมื่อ
พราหมณ์นั้นกลับเข้าไปแล้ว พราหมณ์อื่นก็มา.
[๕] พราหมณ์อื่นมีเท้าพิการ เดินงกงัน ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ
เข้าไปหาพาวรีพราหมณ์แล้ว ขอทรัพย์ห้าร้อย.
[๖] พาวรีพราหมณ์เห็นพราหมณ์นั้นเข้าแล้ว ก็เชิญให้นั่ง แล้ว
ก็ถามถึงความสุขสำราญและความไม่มีโรค และได้กล่าว
คำนี้ว่า
[๗] ทรัพย์ของเรามีอันจะพึงให้ เราสละหมดแล้ว. ดูกรพราหมณ์
ท่านเชื่อเราเถิด ทรัพย์ห้าร้อยของเราไม่มี.
[๘] ถ้าเมื่อเราขอ ท่านจักไม่ให้. ในวันที่เจ็ด ศีรษะของท่านจง
แตกเจ็ดเสี่ยง.
[๙] พราหมณ์นั้นเป็นคนโกหก ปรุงแต่งแสดงเหตุให้กลัว.
พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็เป็นทุกข์.
[๑๐] มีลูกศรคือความโศกเสียบแทงแล้ว ไม่บริโภคอาหาร ก็ซูบ
ผอม. ใช่แต่เท่านั้น ใจของพาวรีพราหมณ์ผู้มีจิตเป็นอย่างนั้น
ย่อมไม่ยินดีในการบูชา.
[๑๑] เทวดา (ที่สิงอยู่ใกล้อาศรมของพราหมณ์พาวรี) ผู้ปรารถนา
ประโยชน์ เห็นพาวรีพราหมณ์หวาดกลัวเป็นทุกข์อยู่ จึงเข้า
ไปหาพราหมณ์พาวรีแล้วได้กล่าวว่า.
[๑๒] พราหมณ์ผู้มีความต้องการทรัพย์นั้น เป็นคนโกหก ย่อม
ไม่รู้จักศีรษะ. ความรู้จักศีรษะหรือธรรมอันให้ศีรษะตกไป
ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์นั้น.
[๑๓] พาวรีพราหมณ์ดำริว่า เทวดานี้อาจรู้ได้ในบัดนี้. (กล่าวว่า)
ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะ
ตกไปแก่ข้าพเจ้าเถิด. ข้าพเจ้าจะขอฟังคำของท่าน.
[๑๔] แม้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักศีรษะและธรรมอันให้ศีรษะตกไป. ข้าพเจ้า
ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้. ความเห็นซึ่งศีรษะและธรรมอันให้
ศีรษะตกไป ย่อมมีแก่พระชินะทั้งหลายเท่านั้น.
[๑๕] พา. ก็ในบัดนี้ ใครในปฐพีมณฑลนี้ย่อมรู้จักศีรษะและธรรม
อันให้ศีรษะตกไป. ดูกรเทวดา ขอท่านจงบอกท่านผู้นั้นแก่
ข้าพเจ้าเถิด.
[๑๖] เท. พระสักยบุตร เป็นวงศ์ของพระโอกกากราชเสด็จออก
จากเมืองกบิลพัสดุ์บุรี เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำสัตว์โลก เป็น
ผู้ทำ (แสดง) ธรรมอันสว่าง.
[๑๗] ดูกรพราหมณ์ พระสักยบุตรนั่นแหละ เป็นพระสัมพุทธเจ้า
ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง บรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวง มี
จักษุในธรรมทั้งปวง ทรงถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งธรรม
ทั้งปวง ทรงน้อมพระทัยไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ.
[๑๘] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระพุทธเจ้าในโลก มี
พระจักษุ ย่อมทรงแสดงธรรม. ท่านจงไปทูลถามพระองค์เถิด.
พระองค์จักทรงพยากรณ์ปัญหานั้นแก่ท่าน.
[๑๙] พราหมณ์พาวรีได้ฟังคำว่า พระสัมพุทธเจ้า แล้วมีความ
เบิกบานใจ มีความโศกเบาบาง และได้ปีติอันไพบูลย์.
[๒๐] พราหมณ์พาวรีนั้น มีใจยินดี มีความเบิกบาน โสมนัส
ถามถึง (พระผู้มีพระภาค) กะเทวดานั้น. (และประกาศว่า)
#พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก #ประทับอยู่ ณ ที่ใด
คือ บ้านนิคมหรือชนบทที่เขาทำแล้ว เราทั้งหลายพึงไป
นมัสการพระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ณ ที่นั้น.
[๒๑] เท. พระสักยบุตรนั้น เป็นพระชินะ มีพระปัญญาสามารถ
มีพระปัญญากว้างขวางเช่นแผ่นดินอันประเสริฐ เป็น
นักปราชญ์ ไม่มีอาสวะ ทรงรู้แจ้งศีรษะและธรรมอันให้
ศีรษะตกไป ทรงองอาจกว่านรชน ประทับอยู่ ณ #พระราชมณเฑียรแห่งพระเจ้าโกศลในพระนครสาวัตถี.
[๒๒] ลำดับนั้น พราหมณ์พาวรีได้เรียกพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นศิษย์
ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์มา (บอกว่า). ดูกรมาณพทั้งหลาย มานี่เถิด.
เราจักบอก.ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำของเรา.
[๒๓] ความปรากฏเนืองๆ แห่งพระผู้มีพระภาคพระองค์ใดนั้น
ยากที่จะหาได้ในโลก วันนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก มีพระนามปรากฏว่า พระสัมพุทธเจ้า. ท่านทั้งหลายจงรีบไปเมืองสาวัตถี ดู
พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์.
[๒๔] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วจะรู้จักว่า
เป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร? ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะรู้จัก
พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยอุบายอย่างไร? ขอท่านจง
บอกอุบายนั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้ไม่รู้เถิด.
[๒๕] พา. ก็มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ มาแล้วในมนต์ทั้งหลาย
ท่านกล่าวไว้แจ่มแจ้งบริบูรณ์แล้วโดยลำดับ.
[๒๖] ท่านผู้ใดมีมหาบุรุษลักษณะเหล่านั้นในกายตัว ท่านผู้นั้นมีคติ
เป็นสองอย่างเท่านั้น มิได้มีคติเป็นที่สาม.
[๒๗] คือ ถ้าอยู่ครองเรือน พึงครอบครองแผ่นดินนี้. ย่อมปกครอง
โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาตรา.
[๒๘] และถ้าท่านผู้นั้นออกบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกิเลสดังหลังคาอันเปิดแล้ว
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า.
[๒๙] พราหมณ์พาวรี (บอกแล้ว) ซึ่งชาติ โคตร ลักษณะ
และมนต์อย่างอื่นอีก กะพวกศิษย์ (ได้สั่งว่า). ท่าน
#ทั้งหลายจงถามถึงศีรษะ #และธรรมอันให้ศีรษะตกไปด้วยใจเท่านั้น.
[๓๐] ถ้าท่านผู้นั้นจักเป็นพระพุทธเจ้าผู้เห็นธรรมไม่มีเครื่องกั้น. เมื่อ
ท่านทั้งหลายถามปัญหาด้วยใจแล้ว ก็จักแก้ด้วยวาจา.
[๓๑] พราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ คือ
อชิตพราหมณ์ ติสสเมตเตยยพราหมณ์ ปุณณกพราหมณ์ เมตตคูพราหมณ์.
[๓๒] โธตกพราหมณ์ อุปสีวพราหมณ์ นันทพราหมณ์ เหมกพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ กัปปพราหมณ์ ชตุกัณณีพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต.
[๓๓] ภัทราวุธพราหมณ์ อุทยพราหมณ์ โปสาลพราหมณ์ โมฆราชพราหมณ์ผู้เป็นนักปราชญ์ ปิงคิยพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณใหญ่ได้ฟังวาจาของพราหมณ์พาวรีแล้ว.
[๓๔] ทั้งหมดนั้น เฉพาะคนหนึ่งๆ เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ปรากฏ
แก่โลกทั้งปวง เป็นผู้เจริญฌาน ยินดีในฌาน เป็นธีรชน
ผู้มีจิตอบรมด้วยวาสนาในกาลก่อน.
[๓๕] พราหมณ์ผู้เป็นศิษย์ทุกคน ทรงชฎาและหนังเสือ อภิวาท
พราหมณ์พาวรีและกระทำประทักษิณแล้ว #มุ่งหน้าเดินไปทางทิศอุดร.
[๓๖] #สู่สถานเป็นที่ตั้งแห่งแว่นแคว้นมฬุกะ #เมืองมาหิสสติในกาลนั้น #เมืองอุชเชนี #เมืองโคนัทธะ #เมืองเวทิสะ #เมืองวนสวหยะ.
[๓๗] #เมืองโกสัมพี #เมืองสาเกต #เมืองสาวัตถี เป็นเมืองอุดม #เมืองเสตัพยะ #เมืองกบิลพัสดุ์ #เมืองกุสินารา.
[๓๘] #เมืองปาวา #โภคนคร #เมืองเวสาลี #เมืองมคธและปาสาณเจดีย์ อันเป็นรมณียสถาน น่ารื่นรมย์ใจ.
[๓๙] พราหมณ์เหล่านั้นรีบขึ้นสู่ภูเขา (ปาสาณเจดีย์) เหมือนคนกระหายน้ำรีบหาน้ำเย็น เหมือนพ่อค้ารีบหาลาภใหญ่ และเหมือนคนถูกความร้อนแผดเผาและรีบหาร่ม ฉะนั้น.
[๔๐] ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้วทรง
แสดงธรรมแก่พระภิกษุทั้งหลายอยู่ ประหนึ่งว่าราชสีห์บันลือสีหนาทอยู่ในป่า.
[๔๑] อชิตพราหมณ์ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้เพียงดังว่าดวงอาทิตย์มีรัศมีฉายออกไป และเหมือนดวงจันทร์เต็มดวงในวันเพ็ญ.
[๔๒] ลำดับนั้น อชิตพราหมณ์ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง รื่นเริงใจ เพราะได้เห็นอนุพยัญชนะบริบูรณ์ ในพระกายของพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามปัญหาด้วยใจ.
[๔๓] อ. ท่านเจาะจงใคร? จงบอกชาติ บอกโคตรพร้อมด้วยลักษณะ. บอกความสำเร็จในมนต์ทั้งหลาย. พราหมณ์สอนมาณพ เท่าไร?
[๔๔] พ. พราหมณ์นั้นมีอายุ ๑๒๐ ปี ชื่อพาวรีโดยโคตร. ลักษณะ ๓ อย่างมีในตัวของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์นั้นเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท.
[๔๕] พาวรีพราหมณ์ ถึงความสำเร็จในธรรมของตน สอนมาณพ
๕๐๐ ในมหาบุรุษลักษณะ และคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้งคัมภีร์
นิฆัณฑุศาสตร์ และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์.
[๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน ผู้ตัดเสียซึ่งตัณหา ขอพระองค์
ทรงประกาศความกว้างแห่งลักษณะทั้งหลาย ของพราหมณ์พาวรี. ความสงสัยอย่าได้มีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเลย.
[๔๗] พราหมณ์นั้นย่อมปกปิดหน้าได้ด้วยลิ้น. มีอุณาโลมอยู่ใน ระหว่างคิ้ว. และมีอวัยวะที่ซ่อนอยู่ในผ้าอยู่ในฝัก. ดูกร มาณพ ท่านจงรู้อย่างนี้.
[๔๘] ชนทั้งปวงไม่ได้ฟังใครๆ ซึ่งเป็นผู้ถาม ได้ฟังปัญหาทั้งหลาย
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแก้แล้วเกิดความโสมนัส ประนมอัญชลี ย่อมคิดไปต่างๆ (ว่า)
[๔๙] ใครหนอเป็นเทวดา เป็นพระพรหม หรือเป็นพระอินทร์ผู้สุชัมบดี เมื่อเขาถามปัญหาด้วยใจ จะแก้ปัญหานั้นกะใครได้?
[๕๐] อ. พาวรีพราหมณ์ย่อมถามถึงศีรษะ และธรรมอันทำให้ศีรษะตกไป. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงแสวงหา ขอพระองค์ทรงโปรดพยากรณ์ข้อนั้น. กำจัดเสียซึ่งความสงสัยของข้าพระองค์
ทั้งหลายเถิด.
[๕๑] พ. ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชาเป็นศีรษะ วิชชาประกอบกับ ศรัทธา สติ สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรมเครื่องยังศีรษะให้ตกไป.
[๕๒] ลำดับนั้น อชิตมาณพผู้อันความโสมนัสเป็นอันมากอุดหนุนแล้ว
กระทำซึ่งหนังเสือเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วซบเศียรลงแทบพระยุคลบาท (ทูลว่า)
[๕๓] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ผู้มีพระจักษุ พราหมณ์พาวรีพร้อมด้วยพวกศิษย์ มีจิตเบิกบานโสมนัส ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์.
[๕๔] พ. พราหมณ์พาวรีพร้อมด้วยพวกศิษย์จงเป็นผู้มีสุข. ดูกรมาณพและแม้ท่านก็ขอให้มีความสุข มีชีวิตอยู่ยืนนานเถิด.
[๕๕] เราให้โอกาสแก่พาวรีพราหมณ์ แก่ท่าน และแก่พราหมณ์ทั้งหมด ตลอดข้อสงสัยทั้งปวง. ท่านทั้งหลายย่อมปรารถนา ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ในใจ ก็จงถามเถิด.
[๕๖] เมื่อพระสัมพุทธเจ้าทรงประทานโอกาสแล้ว อชิตพราหมณ์นั่งประนมมือ แล้วทูลถามปฐมปัญหากะพระตถาคต ใน
บริษัทนั้น.
จบวัตถุคาถา.

เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ บรรทัดที่ ๑-๑๖๙ หน้าที่ ๑ - ๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=1&Z=169&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=1&book=30

Address

Gaya
824231

Telephone

+66885908812

Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อริยสัจ posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อริยสัจ:

Videos

Share

Category

Nearby travel agencies