ป่าไม้ ไพรภูเขียว Phu Khieo Wildlife Reserve

ป่าไม้ ไพรภูเขียว Phu Khieo Wildlife Reserve เกี่ยวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
(26)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว(ทุ่งกะมัง) มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ป่าใน เขตอำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิมีพื้นที่ประมาณ 965,000 ไร่ ดูแลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า และแหล่งที่อยู่อาศัย รวมถึงการเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้นโดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง ได้มีการจัดทำเส้นทางศ

ึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด สถานที่น่าสนใจในเขตรักษาพันธุ์ฯ ได้แก่
ทุ่งกะมัง เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ใจกลางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว แหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่าง ๆ มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่งและเผาแปลงทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดเป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ ทุ่งกะมัง เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่อุดมไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า การเดินทางเข้ามาใน
ลำน้ำพรม ไหลคดเคี้ยวอยู่ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวทางด้านเหนือ ด้านทิศตะวันออกมีลำห้วยดาดหรือลำโดกเป็นห้วยสายหลักที่ทำให้น้ำพรมตอนล่างจากเขื่อนจุฬาภรณ์ซึ่งผันน้ำลำน้ำพรมเดิมไปผลิตกระแสไฟฟ้า ไหลออกสู่พื้นที่บริเวณลำสุ มีน้ำไหลตลอดปี บนลำน้ำพรมมีลานจันทร์ซึ่งประกอบด้วยลานหิน วังน้ำลึกที่คดเคี้ยว ดูสงบ ร่มรื่น
ลานจันทร์และตาดหินแดง ลานจันทร์มีลักษณะเป็นลานหินกว้างในลำน้ำพรม มีน้ำไหลผ่านตลอดปี เป็นบริเวณร่มรื่นไปด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่น้อย เพราะมีป่าดิบขึ้นอยู่รอบ ๆ มีพวกมอส เฟิร์น หวาย พลู และว่านต่าง ๆ หลายชนิด ถ้าเดินเรียบไปตามลำน้ำจะพบหินสีแดง ซึ่งเป็นบริเวณที่เรียกว่า ตาดหินแดง ทั้งลานจันทร์และตาดหินแดง เหมาะสำหรับพักผ่อนร่มรื่นและสวยงาม
บึงแปน มีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 900 เมตร สภาพภูมิประเทศทุ่งหญ้าคล้ายทุ่งกะมัง แต่มีลักษณะเป็นทุ่งราบเรียบและอยู่ในที่ลุ่มต่ำ มีน้ำเจิ่งนองในฤดูฝน ในฤดูแล้งมีหนองน้ำอยู่กลางทุ่ง บึงแปนตั้งอยู่กลางพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าภูเขียวค่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าชุกชุม สังเกตได้จากมีร่องรอยด่านสัตว์มากมาย
น้ำตกตาดคร้อ เป็นน้ำตกสูงใหญ่อยู่ทางทิศใต้ของทุ่งกะมัง ใกล้กับศูนย์พิทักษ์ป่าภูเขียวที่อำเภอหนองบัวแดง น้ำจากน้ำตกจะไหลลงสู่ลำน้ำสะพุง
น้ำตกห้วยหวาย อยู่ห่างจากบึงแปน 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตก 3 ชั้น สูงชั้นละ 20 เมตร ตรงบริเวณช่องเขาขาด อยู่ระหว่างเขาภูน้อย และเขาภูเขียวใหญ่
น้ำตกนาคราช อยู่ระหว่างทางจากศาลาพรมไปทุ่งกะมัง บริเวณกิโลเมตรที่ 11 เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางในป่าอีก 300 เมตร ความกว้างของน้ำตกนาคราชประมาณ 5 เมตร มีความสูงต่างระดับถึง 3 ชั้น ชั้นแรกสูง 14 เมตร ชั้นที่ 2 สูง 10 เมตร ชั้นที่ 3 สูง 6 เมตร บริเวณน้ำตกมีว่านพญานาคราชขึ้นอยู่จำนวนมากจึงตั้งชื่อว่า “น้ำตกนาคราช”
ผาเทวดา เป็นภูเขาหลายเทือกติดต่อกัน ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ยอดผาสูงประมาณ 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเป็นเทือกเขายาว หินผาเทวดามีสีขาวคล้ายหินปูน มีน้ำไหลผ่านเรียกว่า “ชีผุด” เป็นต้นน้ำของแม่น้ำชี มีความกว้างประมาณ 10-15 เมตร ไหลทะลุออกมาทางทิศใต้ของเขาเทวดาแล้วไหลลงชีใหญ่ที่บ้านโหล่น ลำชีจะไหลจากเหนือไปใต้ สองข้างฝั่งมีลักษณะเป็นหินกรวดก้อนเล็ก ๆ ชีผุดมีน้ำที่ใสมากถึงประมาณ 1 เมตร สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้แก่ กระทิง หมี เม่น กวาง และช้างป่า ตรงหุบเหวและเทือกเขาเทวดาเป็นป่าค่อนข้างแน่นทึบเรียกว่า ป่าครอบ มีลำชีไหลผ่านกลางป่าและมุดเข้าไปในเชิงเขาเรียกว่า ชีดั้นและชีผุดมีถึง 3 ชั้น ชีดั้นแห่งแรกคือ เขาถ้ำครอบ ลำน้ำไหลหายเข้าไปในถ้ำประมาณ 500 เมตร แล้วผุดออกไปประมาณ 300 เมตร จึงหายเข้าไปในเขา ไกลถึง 8 กิโลเมตร สุดท้ายหายเข้าไปในเขาไกลอีก 1 กิโลเมตร จึงผุดออกมาที่ ทับกกเดื่อ ซึ่งอยู่ห่างจาก บ้านโหล่น ประมาณ 10 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นตะเคียน ยาง พะยอม ไผ่ ไม้พื้นล่างมี หวาย ตาว สัตว์ป่า เช่น ช้าง หมี เสือ กวาง เม่น และมีนกกาฮังอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในบริเวณป่าครอบนี้มีน้ำตก 7 ชั้นอยู่บนเทือกเขาเทวดา เป็นน้ำตกหินปูนสีขาวไหลลาดลงตามทางยาว แต่ละชั้นสูง 15-20 เมตร รวมทั้งสิ้นสูงประมาณ 200 เมตร กว้างประมาณ 20-25 เมตร
การเข้ามาทัศนศึกษาในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีสองกรณีคือ หากเข้าชมแบบไป-กลับวันเดียว สามารถขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่บริเวณด่านตรวจปางม่วง ค่าธรรมเนียมในการเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท นักเรียนคนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท รถยนต์คันละ 30 บาท จักรยานคันละ 10 บาท จักรยานยนต์คันละ 20 บาท รถหกล้อ 100 บาท
กรณีพักค้างแรมต้องทำหนังสือขออนุญาตล่วงหน้า 15–30 วัน ถึง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ตู้ ปณ. 3 ปทจ.ชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130 โทร. 08 4334 0043,08 0199 9212 หรือผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ 10900 สอบถามข้อมูล โทร. 0 2561 4292-3 ต่อ 711

08/11/2023

น้องวุฒิ(อาเฌอ)น้องที่ทุ่งกะมังบันทึกไว้ครับ

13 มีนาคม วันช้างไทยศึกษาแนวทางเบื้องต้นเมื่อพบเจอช้างป่าเพื่อความปลอดภัยของช้างป้าและคน ลดการปะทะ ลดการสูญเสีย (แอดมิน ...
13/03/2023

13 มีนาคม วันช้างไทย
ศึกษาแนวทางเบื้องต้นเมื่อพบเจอช้างป่าเพื่อความปลอดภัยของช้างป้าและคน ลดการปะทะ ลดการสูญเสีย

(แอดมิน Kunnaree)

ท่องเที่ยวให้ปลอดภัยทำอย่างไรเมื่อพบช้างป่า
10 ข้อปฏิบัติเมื่อพบ "ช้างป่า"

💚ด้วยความห่วงใยในความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช💚

#ข้อปฏิบัติเมื่อพบช้างป่า #ช้างป่า

13/03/2023
ประชาสัมพันธ์สำหรับคนที่อยู่แถบภาคกลาง หรือสะดวกไปอบรมที่สระบุรี รายละเอียดตามในโพสต์เลยจ้า(แอดมิน Kunnaree)
08/03/2023

ประชาสัมพันธ์สำหรับคนที่อยู่แถบภาคกลาง หรือสะดวกไปอบรมที่สระบุรี รายละเอียดตามในโพสต์เลยจ้า

(แอดมิน Kunnaree)

ร่วมด้วยช่วยกันจร้า...คร่าวๆ คือ งบประมาณไม่เพียงพอ แถมโดนตัด  เห็นใจปลานำทางผู้รับผิดชอบ
26/05/2022

ร่วมด้วยช่วยกันจร้า...
คร่าวๆ คือ งบประมาณไม่เพียงพอ แถมโดนตัด เห็นใจปลานำทางผู้รับผิดชอบ

05/05/2022
04/05/2022
14/03/2022
บันทึกเกี่ยวกับกระซู่ ในป่าภูเขียวเมื่อร้อยปีก่อน โดย.Major E. Shidenfaden ตีพิมพ์ใน Journal of the Siam Society ปี 1919...
02/11/2021

บันทึกเกี่ยวกับกระซู่ ในป่าภูเขียวเมื่อร้อยปีก่อน โดย.Major E. Shidenfaden ตีพิมพ์ใน Journal of the Siam Society ปี 1919 part 3. ที่ขีดเส้นใต้เขียวเป็นสมัน บันทึกนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชนเผ่าข่าตองเหลือง(ชาวบน)ในภูเขียว
แอดไปตามหาต้นฉบับได้ในห้องสมุดกรมป่าไม้เมื่อราว 20 ปีก่อนสมัยเริ่มสำรวจกระซู่ จำได้ว่าจะเปิดแต่ละหน้าต้องระวังมากเพราะกระดาษมันกรอบแล้ว ขอขอบคุณบรรณารักษ์ใจดีที่ยอมถ่ายเอกสารให้

สวัสดียามดึกหมีหมา จากกล้องดักถ่ายภาพ ในป่าภูเขียวเมื่อนานมาแล้วหมีหมา หรือ หมีคน เป็นหมีที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
11/10/2021

สวัสดียามดึก

หมีหมา จากกล้องดักถ่ายภาพ ในป่าภูเขียวเมื่อนานมาแล้ว

หมีหมา หรือ หมีคน เป็นหมีที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก

ใครๆก็ว่าหนูเผือกชื่อเล่น "ด่อน" ครับ
16/05/2021

ใครๆก็ว่าหนูเผือก
ชื่อเล่น "ด่อน" ครับ

สวัสดีปีใหม่
02/01/2021

สวัสดีปีใหม่

ช่วงนี้ ลมหนาวเริ่มมาเยือนแล้ว เช้าๆบรรยากาศที่ "ทุ่งกะมัง" ที่ตั้งของสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว  ก็จะประมาณน...
20/11/2019

ช่วงนี้ ลมหนาวเริ่มมาเยือนแล้ว เช้าๆบรรยากาศที่ "ทุ่งกะมัง" ที่ตั้งของสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ก็จะประมาณนี้

ทั้งนี้นอกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวจะเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการ สำหรับการศึกษาวิจัยพันธุ์พืชและสัตว์ป่า รวมทั้งยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และต้นน้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังมีบทบาทในการเป็นที่สำหรับเรียนรู้-ศึกษาธรรมชาติของเยาวชนและบุคคลทั่วไปอีกด้วย...

ข้อมูลโดย : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า Wildlife Research Divisionกับโครงการศึกษาความหลากชนิดของสัตว์ผู้ล่า กลุ่มป่าภูเขียวน้ำ...
19/11/2019

ข้อมูลโดย : กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า Wildlife Research Division

กับโครงการศึกษาความหลากชนิดของสัตว์ผู้ล่า กลุ่มป่าภูเขียวน้ำหนาว ในปี 2557-2559
......จากการศึกษาพบสัตว์ผู้ล่ามากถึง 21 ชนิด จาก 36 ชนิดที่พบในประเทศไทย โดยพบว่าสัตว์ผู้ล่าในอันดับสูงสุดได้แก่ เสือดาว และหมาไน รองลงมาคือ เสือลายเมฆ และแมวลายหินอ่อน และสัตว์อื่นๆ อีกมากถึง 875 ชนิด ซึ่งบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งนี้ได้อย่างชัดเจน....

สัตว์ผู้ล่า....ผู้ยืนอยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร

-- เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า
--- ช่วยควบคุมประชากรเหยื่อ โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์กินพืช
----- และเป็นผู้คัดสรรตามธรรมชาติ (natural selection)
เพื่อการคงอยู่ของพันธุกรรมที่แข็งแกร่ง.........................................................................................

#กลุ่มป่าภูเขียวน้ำหนาว #เสือดาว
#เสือลายเมฆ #แมวลายหินอ่อน #หมาไน

หมีขอ Bearcat
18/10/2019

หมีขอ Bearcat

Asiatic Black Bearปีอะไรไม่รู้ จาก Camera trap
26/09/2019

Asiatic Black Bear
ปีอะไรไม่รู้ จาก Camera trap

Repost หนอนไก่ฟ้า
22/09/2019

Repost หนอนไก่ฟ้า

เผื่อใครไม่เคยเห็น....
"หนอนไก่ฟ้า"

08/07/2019

กล้วยไม้ในภูเขียว ๑ : ภาพจากกล้องฟิล์ม

เผื่อใครอยากได้รูปกล้วยไม้ในภูเขียวไปใช้งาน....ขออภัยลืมใส่ชื่อชนิดเพราะคิดว่ามันจะติดไปกับรูป....ขอเวลาพักใหญ่ จะมาเพิ่มชื่อและทยอยลงให้ทั้งหมดครับ
ขอขอบคุณ: นฤมล การสันทัด(กฤษณะชาญดี) จำแนกชนิด
ภาพ: กิตติ กรีติยุตานนท์

22/04/2019

ดูเผินๆ เหมือนฟอสซิลเต่า
จริงๆ แล้วคือ ปรากฎการณ์ sun-crack......
เมื่อราว 220 ล้านปีก่อน
ตอนที่ผิวโลกยกตัวจากใต้ท้องทะเลกลายเป็นภูต่างๆ ตามภาคอีสานในปัจจุบัน

18/04/2019

สระมรกต ส่วนหนึ่งของต้นน้ำชี....

26/09/2018

เฮ้ย!..เสริฐ งู!....อย่าเหยียบ
โชคดีที่เห็นทัน....ก่อนที่คนนำทางจะงานเข้า
เจ้าเหลือมตัวนี้มันเล่นนอนซุกเหยียดยาวพรางตัวกับกิ่งไม้ใบไม้ก่อนทางลงลำห้วย.....สุดท้ายก็โดนเก็บด้วยกล้อง..
ทางใครก็ทางมัน.....
ปล.เข้าป่าก่อนจะเหยียบหรือจับอะไรควรดูให้ดีก่อนครับ

24/09/2018

เบอร์โทรสำนักงานเขตฯภูเขียว
อีกหนึ่งเบอร์
0970027290

12/08/2018

ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

21/06/2018

มอหงส์เหิร กลางป่าภูเขียว
จริงๆ มันไม่ใช่มอ เขาชันชัดๆ เคยเดินขึ้นไปร้อยเมตรสุดท้าย
ต้องใช้ขาหน้าอันทรงพลังช่วย ถึงตะกายถึงยอด ที่มีแอ่งน้ำเล็กๆ อุดมไปด้วยใบไม้เน่าๆ พอยังชีพ

ถ่ายนานแล้วสมัยกล้องฟิล์ม แบ่งปันกันชม
Hesselblad 120

06/06/2018

กลางสัปดาห์หน้าจะมาว่าด้วยเรื่อง "กะสู้" แต่วันนี้
เอาเรื่อง "แมวลายหินอ่อน" ก่อน
จากตำราของหมอบุญส่ง(Mammals of Thailand) พบเขตการกระจายของสัตว์ชนิดนี้จากใต้ถึงภาคตะวันตก ประมาณแก่งกระจาน
อยู่มาวันนึงฝรั่งกับนักวิจัยมาถามผมว่า ที่นี่มีแมวลายหินอ่อนไหม....ผมบอกว่า may be 50-50 ตราบใดที่คุณยังเดินป่าที่นี่ไม่ครบ 100 % ของพื้นที่อย่าคิดว่าไม่....แล้ว ก้อได้ตัวเป็นๆมาติดวิทยุ.....
ปอลิง. ฝากข้อคิดสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ครับอย่าคิดว่าไม่ โอกาสเท่ากับ 0 ลองทำดู คุณไม่ 0 แน่นอน ผมเคยทำมาหลายครั้งแล้ว ดันสำเร็จทุกครั้งด้วย....
งานวิจัยสัตว์บางชนิด...คนทำงานจะต้องรักจริง...อาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิต...ตำแหน่ง ความก้าวหน้า คนอยู่สูงเขาไม่มอง เพราะเขาไม่เคยทำ....และไม่รู้ว่าจะสนใจไปใย......ฝากน้องๆ รุ่นใหม่ให้ทำงานด้วยความรักครับ.....

05/06/2018

มี IB มาถามเรื่องรอยกระซู๋เลยค้นรูปรอยที่เคยถ่ายไว้มาให้ดู
รวมถึงวิธีการวัด....เวลาวัดให้วัดความกว้างของเล็บกลางทั้งหมดเก็บไว้ เพราะสามารถระบุจำนวนประชากรว่ามีกี่ตัว เล็บกลางของแต่ละตัวจะมีขนาดไม่เท่ากันครับ
เพิ่มเติมรอยกระซู่ต่างกับสมเสร็จคือ สมเสร็จตีนหน้ามี 4 นิ้ว ตีนหลัง 3นิ้ว
ส่วนกระซู่ทั้งหน้าและหลังมี 3นิ้ว ขนาดเล็บกลางของกระซู่จะกว้างตั้งแต่ 7 ซม.ขึ้นไป ส่วนใหญ๋ไม่เกิน 10 ซม. แต่ถ้าเกินกว่านั้น อาจเป็นแรดชวา ซึ่งไม่มีรายงานการพบในประเทศไทยมานานมากแล้ว...

05/05/2018

หินเต่าบนภูคิ้ง....
เกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลกเมื่อ 220 ล้านปีก่อน
อดีตเป็นทะเล ภูต่างๆ เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน
เช่นภูหินร่องกล้า ภูกระดึง และภูเวียงเป็นต้น

09/03/2018

Cr. เทพ สุขสันต์
สำหรับภาพหาดูได้ยาก....
เจ้าแห่งพลัง กับ
ราชาแห่งพิษ..
สุดท้าย...ตายทั้งคู่..
เพิ่มเติมภาพถ่ายที่บ้านเรา..เห็นว่าถ่ายได้แถวบ่อขยะ...

12/02/2018

เผื่อใครไม่เคยเห็น....
"หนอนไก่ฟ้า"

ที่อยู่

Amphoe Khon San
36180

เบอร์โทรศัพท์

+66970027290

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ป่าไม้ ไพรภูเขียว Phu Khieo Wildlife Reserveผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ป่าไม้ ไพรภูเขียว Phu Khieo Wildlife Reserve:

แชร์


Amphoe Khon San สำนักงานตัวแทนจัดการท่องเที่ยวอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด