วันทาทัวร์ (Wanta Tour)

วันทาทัวร์ (Wanta Tour) ท่องเที่ยวสบายๆ เที่ยวพม่า เชียงตุ?

บริษัทวันทาทัวร์
202/3 หมู่ 5 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 Tel. / Fax. 053-838312
Email : [email protected] , [email protected]

21/07/2024

ในบรรดาประโยคจีนที่มีคนไทยแปลผิด และ เข้าใจผิดมากที่สุด ผมว่าต้องมีประโยคว่า
⁣⁣⁣
知己知彼,百戰不殆
"รู้เขารู้เรา, รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" อย่างแน่นอน
⁣⁣⁣
และผมมั่นใจเลยว่าทุกคนที่อ่านโพสต์นี้ต้องเคยได้ยินประโยคนี้มาแน่นอน
⁣⁣⁣
แต่มีใครรู้ไหมว่าประโยคนี้มันแปลผิด และก็ยังพยายามยัดเยียดความหมายผิดให้เรา ทำให้เราเข้าใจผิดไปไกลจากเดิมากเลย
⁣⁣⁣
วันนี้ผมอยากจะมาแชร์ ในมุมที่แหกคอกจากความเชื่อของคนไทยกันดูครับ
⁣⁣⁣
ใครสนใจติดตามอ่านกันได้เลยครับ
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
ประโยคนี้มาจากตำรา ซุนจื่อปิงฝ่า (孫子兵法) หรือ พิชัยสงครามซุนจื่อ ซึ่งเป็นประโยคสรุปของบทที่ 3 โดยบทที่ 3 ชื่อบทว่า แผนการโจมตี (謀攻)
⁣⁣⁣
ในบทที่ 3 ย่อหน้าแรกสุดจะเขียนไว้ว่า
⁣⁣⁣
孫子曰:凡用兵之法,
ซุนจื่อกล่าวว่า: กฏการใช้กำลังทหารพื้นฐาน
⁣⁣⁣
全國為上,破國次之;
ยึดประเทศอย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ ทำลายประเทศเป็นรอง
⁣⁣⁣
全旅為上,破旅次之;
ยึดกองทัพอย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ, ทำลายกองทัพเป็นรอง
⁣⁣⁣
全卒為上,破卒次之;
ยึดกองพลอย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ, ทำลายกองพลเป็นรอง
⁣⁣⁣
全伍為上,破伍次之。
ยึดหมู่ทหารอย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ, ทำลายหมู่ทหารเป็นรอง
⁣⁣⁣
是故百戰百勝,非善之善者也;
ดังนั้นคือ รบร้อยชนะร้อย, ไม่ใช่ผู้ที่เลิศอย่างแท้จริง
⁣⁣⁣
不戰而屈人之兵,善之善者也。
ไม่รบแต่ทหารศัตรูยอมสยบ, คือผู้ที่เลิศแท้จริง
⁣⁣⁣
คำว่า 全 ในโบราณหมายถึง "ผู้ปกครองที่จัดทุกสิ่งอย่างครบถ้วน/สมบูรณ์", ในบริบทนี้จึงหมายถึงการเข้าไปมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ในสิ่งนั้่น ๆ ซึ่งในการทำสงครามก็คือการเข้าไปยึดและปกครองเองอย่างสมบูรณ์นั้นเอง
⁣⁣⁣
ประโยคก่อนสุดท้ายนี่น่าสนใจมากเพราะว่า ซุนจื่อกล่าวไว้อย่างชัดเจนตอนย่อหน้าแรกว่า "รบร้อยชนะร้อย, ไม่ใช่ผู้ที่เลิศอย่างแท้จริง"
⁣⁣⁣
ดังนั้นขึ้นบทมาซุนจื่อก็ประกาศชัดแล้วว่าเขาไม่ได้สนใจว่าต้องรบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง สิ่งที่ซุนจื่อสนใจมากกว่าคือ ทำยังไงให้สยบศัตรูโดยไม่ต้องรบ ทำยังไงให้ไม่เกิดความสูญเสีย ซึ่งซุนจื่อก็บอกว่า
⁣⁣⁣
ดังนั้นการทหารชั้นเลิศคือ:
- เลิศสุด - โจมตีแผนการ (伐謀) ของศัตรู
- รองมา - โจมตีการเป็นพันธมิตร (伐交) ของศัตรู
- ถัดมา - โจมตีกองทัพ (伐兵) ของศัตรู
- ห่วยสุด - โจมตีเมือง (攻城) ของศัตรู
⁣⁣⁣
ถ้าเรามองมาจากต้นบทเลยเราก็จะพบว่า จริง ๆ ที่ซุนจื่อต้องการคือ "ชนะร้อยครั้ง โดยไม่ต้องรบ"
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
ในก่อนจบบทที่ 3 ซุนจื่อยังบอกไว้ในย่อหน้าก่อนสุดท้ายอีกว่า หลักแห่งชัยชนะ ข้อแรกคือ
⁣⁣⁣
知可以戰與不可以戰者勝
"ผู้ที่รู้ว่าเมื่อไหร่สามารถรบได้ เมื่อไหร่ไม่สามารถรบได้ จะเป็นผู้ชนะ"
⁣⁣⁣
ยิ่งเป็นการตอกย้ำอีกว่า การจะเป็นผู้ชนะ ต้องรู้ด้วยว่าเมื่อไหร่สามารถรบได้ เมื่อไหร่ไม่สามารถรบได้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ เมื่อไหร่ควรรบแล้วทุ่มกำลัง เมื่อไหร่ควรรบแล้วถอย เมื่อไหร่ควรรบแล้วหนี เมื่อไหร่ควรรบแล้วหลอกล่อ หรือเมื่อไหร่ไม่ควรจะรบเลย (เช่น หนี หรือยอมแพ้ในศึกนั้นไปเลย)
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
ทำให้ย่อหน้าสุดท้ายของบทที่ 3 ซุนจื่อสรุปว่า
⁣⁣⁣
故曰:
โบราณกล่าวว่า:
⁣⁣⁣
知彼知己,百戰不殆;
รู้ศัตรู รู้ตนเอง, ร้อยการรบ ไม่อันตราย (จากการถูกบดขยี้)
⁣⁣⁣
不知彼,而知己,一勝一負;
ไม่รู้ศัตรู, แต่รู้ตนเอง, มีชัยหนึ่ง เผ่นหนีหนึ่ง (หมายถึงแบกหนี้ได้ด้วย)
⁣⁣⁣
不知彼,不知己,每戰必敗。
ไม่รู้ศัตรู, ไม่รู้ตนเอง, ทุกการรบ แตกพ่ายแน่นอน (หมดตัวแน่นอน)
⁣⁣⁣
คำว่า 殆 แปลว่าอันตรายจากการถูกบดขยี้ - อักษรเดิม คือ การเหยียบย้ำบนศพ จนกระดูกแตก ในบริบทนี้ก็คือ เราโดนฆ่าจนศพเกลื่อนพื้นแล้วทหารก็ยังสู้รบอยู่บนศพเหล่านั้น
⁣⁣⁣
คำว่า 負 โบราณคือ คนก้มตัวแบกของ/สินค้า ซึ่งในบริบทนี้หมายถึง การเก็บของแล้วหนีเมื่อรบแพ้ ที่น่าสนใจก็คือ 負 ยังหมายถึงการแบกหนี้ได้ด้วย (แบกเงินไว้ คือ แบกหนี้ไว้)
⁣⁣⁣
คำว่า 敗 โบราณคือ ด้านซ้ายคือ หอยเบี้ย หรือ ของมีค่า, ด้านขวาคือตีให้แตก ก็คือการทำลายทรัพย์สินของมีค่า ในบริบทนี้ก็คือการตีกองทัพให้แตกผ่าย แล้วทำลายของมีค่าทิ้ง
⁣⁣⁣
เป็นการสรุปจบบทที่ 3 อย่างสวยงาม
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
ดังนั้นจะเห็นว่า ประโยคว่า "知彼知己,百戰不殆。" มันไม่ได้แปลแบบที่คนไทยแปลว่า "รู้เขารู้เรา, รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"
⁣⁣⁣
แต่ความหมายจริง ๆ ของมันคือ "รู้ศัตรู รู้ตนเอง, ร้อยการรบ ไม่อันตราย (จากการถูกบดขยี้)"
⁣⁣⁣
ซึ่งก็คือ ถ้าเราเข้าใจตนเองและศัตรูแล้ว เมื่อต้องรบเราก็ไม่เสี่ยงที่จะถูกศัตรูโจมตีจนกองทัพย่อยยับ กลายเป็นซากศพเกลื่อทั้งสนามรบ
⁣⁣⁣
เพราะว่าถ้าเรารู้ศัตรูแล้ว วิเคราะห์แล้วเราสู้ไม่ได้ เราก็วางแผนหนี วางแผนรับมือ วางแผนลดการสูญเสียได้ ดังนั้นการที่ไปรบแล้วจะสูญเสียย่อยยับจนถึงกับถูกบดขยี้จึงเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าในภาษาปัจจุบันก็คือ ไม่ถึงกับเจ๊งหรือหมดตัว หรือหนักกว่าคือ เป็นหนี้อีกต่างหาก
⁣⁣⁣
การเข้าใจว่ามันหมายถึง "ไม่อันตราย" ไม่ใช่ "ชนะร้อยครั้ง" ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เปลี่ยนมุมมองของเราไปเยอะ เพราะว่ามันทำให้เราเข้าใจว่า การรบไม่จำเป็นต้องชนะเสมอไป บางครั้งเราก็ต้องวางแผนหนี ต้องวางแผนสละหรือเลิกอะไรไปด้วย
⁣⁣⁣
ทั้งยังเป็นการเน้นไปถึงการลดความเสี่ยง ลดความสูญเสีย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในปรัชญาของซุนจื่อ
⁣⁣⁣
ซึ่งสอนคล้องกับชีวิตจริงที่ บางสนามรบ (ทางธุรกิจ, การค้า) เราอาจจะไม่สามารถสู้ได้จริง ๆ วิธีที่ดีสุดอาจจะเป็นวิธีอื่น เช่น เป็นพันธมิตร หรือไม่ก็เปลี่ยนสนามรบไปรบที่อื่นแทน เพื่อรักษาทรัพยากรอันมีค่าต่าง ๆ ของเราไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงิน เวลา คน
⁣⁣⁣
หรือถ้ามองแบบการลงทุนเพื่อให้เข้าใจง่ายคือ ทำยังไงให้ไม่สูญเสียเยอะ คือมันไม่ใช่ว่าทุกครั้งที่คุณลงทุนทันจะได้กำไร ที่เราต้องรู้คือ ทำยังไงไม่ให้สูญเสียจนหมดตัว ทำไงให้อยู่รอด ทำไงให้ได้ผลตอบแทนโดยรวมดี ซึ่งเราต้อง รู้ว่าเมื่อไหร่ควรขาย, เมื่อไหร่ cut loss, เมื่อไหร่ควรถือรอต่อ เป็นต้น
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
เรื่องการแปลผิด หรือ เข้าใจผิด นี้ไม่ได้มีผลแต่เฉพาะในแง่ของการทำธุรกิจ หรือการค้า แม้แต่วงการอภิปรัชญาจีน เช่น ในวิชาฉีเหมิน เมื่อแปลผิดก็กลายเป็นว่าเราใช้ฉีเหมินเพื่อมุ่งแสวงหาแต่หนทางที่จะเอาชนะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
⁣⁣⁣
ทั้งที่จริง ๆ บางทีสิ่งที่ดีที่สุดจากผังฉีเหมิน อาจจะบอกว่า ก็แค่เลิกทำ ก็แค่เปลี่ยน ก็แค่ถอยไป ก็แค่ยอมแพ้ หรือเป็นพันธมิตรแทน เป็นต้น
⁣⁣⁣
ใครศึกษาซุนจื่อ จะเข้าใจดีเลยว่า ซุนจื่อไม่ได้อยากให้เกิดการสูญเสียกับฝ่ายไหน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตนเองหรือฝ่ายศัตรู ก็เลยทำให้ไม่ได้อยากจะรบอะไรกับใคร
⁣⁣⁣
แต่ที่ต้องรบเพราะว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ เป็นความอยู่รอดของประเทศชาติและบ้านเมือง ประมาณว่าถ้าเราไม่รบ คนอื่นเขาก็มาตีเมืองเราอยู่ดี (เป็นเรื่องปกติในสมัยนั้น) ถ้าเราไม่ให้ความสำคัญกับการรบก็จะเกิดการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่กับประเทศนั้น ๆ ได้
⁣⁣⁣
ความจริงแล้ว "รู้ศัตรู รู้ตนเอง" อาจจะไม่จำเป็นต้องรบกันยังได้ ถ้าเราหาจุดที่มีประโยชน์ร่วมกันได้ เช่น พอรู้จักศัตรูแล้วก็พบว่า เขาอาจจะอยากได้อะไรจากเรา ส่วนศัตรูก็มีของที่เราอยากได้พอดี ก็เลยขอเจรจาแลกกันดีกว่า จะได้ไม่ต้องสูญเสียกำลังทหารและทรัพยากรไปเปล่าประโยชน์
⁣⁣⁣
ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชีวิต เวลา คน เงิน อุปกรณ์ อาหาร เป็นสิ่งมีค่า รักษาไว้ให้ดีที่สุด
⁣⁣⁣
รบเมื่อไม่มีทางเลือกเท่านั้นถึงเป็นเลิศสุด คุณเห็นด้วยไหมครับ?
⁣⁣⁣
ถ้าจะแปลแบบให้ถูกใจคนไทย อาจจะแปลว่า “รู้เขา รู้เรา, รบร้อยครั้ง รอดร้อยครั้ง” - คุณ Piyalak Nushim คอมเมนต์มาแล้วผมชอบว่า "รู้เขา รู้เรา, ร้อยรบ ไม่ย่อยยับ"

รู้ศัตรู รู้เรา ไม่จำเป็นต้องรบทุกครั้ง
21/07/2024

รู้ศัตรู รู้เรา ไม่จำเป็นต้องรบทุกครั้ง

ในบรรดาประโยคจีนที่มีคนไทยแปลผิด และ เข้าใจผิดมากที่สุด ผมว่าต้องมีประโยคว่า
⁣⁣⁣
知己知彼,百戰不殆
"รู้เขารู้เรา, รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" อย่างแน่นอน
⁣⁣⁣
และผมมั่นใจเลยว่าทุกคนที่อ่านโพสต์นี้ต้องเคยได้ยินประโยคนี้มาแน่นอน
⁣⁣⁣
แต่มีใครรู้ไหมว่าประโยคนี้มันแปลผิด และก็ยังพยายามยัดเยียดความหมายผิดให้เรา ทำให้เราเข้าใจผิดไปไกลจากเดิมากเลย
⁣⁣⁣
วันนี้ผมอยากจะมาแชร์ ในมุมที่แหกคอกจากความเชื่อของคนไทยกันดูครับ
⁣⁣⁣
ใครสนใจติดตามอ่านกันได้เลยครับ
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
ประโยคนี้มาจากตำรา ซุนจื่อปิงฝ่า (孫子兵法) หรือ พิชัยสงครามซุนจื่อ ซึ่งเป็นประโยคสรุปของบทที่ 3 โดยบทที่ 3 ชื่อบทว่า แผนการโจมตี (謀攻)
⁣⁣⁣
ในบทที่ 3 ย่อหน้าแรกสุดจะเขียนไว้ว่า
⁣⁣⁣
孫子曰:凡用兵之法,
ซุนจื่อกล่าวว่า: กฏการใช้กำลังทหารพื้นฐาน
⁣⁣⁣
全國為上,破國次之;
ยึดประเทศอย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ ทำลายประเทศเป็นรอง
⁣⁣⁣
全旅為上,破旅次之;
ยึดกองทัพอย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ, ทำลายกองทัพเป็นรอง
⁣⁣⁣
全卒為上,破卒次之;
ยึดกองพลอย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ, ทำลายกองพลเป็นรอง
⁣⁣⁣
全伍為上,破伍次之。
ยึดหมู่ทหารอย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ, ทำลายหมู่ทหารเป็นรอง
⁣⁣⁣
是故百戰百勝,非善之善者也;
ดังนั้นคือ รบร้อยชนะร้อย, ไม่ใช่ผู้ที่เลิศอย่างแท้จริง
⁣⁣⁣
不戰而屈人之兵,善之善者也。
ไม่รบแต่ทหารศัตรูยอมสยบ, คือผู้ที่เลิศแท้จริง
⁣⁣⁣
คำว่า 全 ในโบราณหมายถึง "ผู้ปกครองที่จัดทุกสิ่งอย่างครบถ้วน/สมบูรณ์", ในบริบทนี้จึงหมายถึงการเข้าไปมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ในสิ่งนั้่น ๆ ซึ่งในการทำสงครามก็คือการเข้าไปยึดและปกครองเองอย่างสมบูรณ์นั้นเอง
⁣⁣⁣
ประโยคก่อนสุดท้ายนี่น่าสนใจมากเพราะว่า ซุนจื่อกล่าวไว้อย่างชัดเจนตอนย่อหน้าแรกว่า "รบร้อยชนะร้อย, ไม่ใช่ผู้ที่เลิศอย่างแท้จริง"
⁣⁣⁣
ดังนั้นขึ้นบทมาซุนจื่อก็ประกาศชัดแล้วว่าเขาไม่ได้สนใจว่าต้องรบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง สิ่งที่ซุนจื่อสนใจมากกว่าคือ ทำยังไงให้สยบศัตรูโดยไม่ต้องรบ ทำยังไงให้ไม่เกิดความสูญเสีย ซึ่งซุนจื่อก็บอกว่า
⁣⁣⁣
ดังนั้นการทหารชั้นเลิศคือ:
- เลิศสุด - โจมตีแผนการ (伐謀) ของศัตรู
- รองมา - โจมตีการเป็นพันธมิตร (伐交) ของศัตรู
- ถัดมา - โจมตีกองทัพ (伐兵) ของศัตรู
- ห่วยสุด - โจมตีเมือง (攻城) ของศัตรู
⁣⁣⁣
ถ้าเรามองมาจากต้นบทเลยเราก็จะพบว่า จริง ๆ ที่ซุนจื่อต้องการคือ "ชนะร้อยครั้ง โดยไม่ต้องรบ"
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
ในก่อนจบบทที่ 3 ซุนจื่อยังบอกไว้ในย่อหน้าก่อนสุดท้ายอีกว่า หลักแห่งชัยชนะ ข้อแรกคือ
⁣⁣⁣
知可以戰與不可以戰者勝
"ผู้ที่รู้ว่าเมื่อไหร่สามารถรบได้ เมื่อไหร่ไม่สามารถรบได้ จะเป็นผู้ชนะ"
⁣⁣⁣
ยิ่งเป็นการตอกย้ำอีกว่า การจะเป็นผู้ชนะ ต้องรู้ด้วยว่าเมื่อไหร่สามารถรบได้ เมื่อไหร่ไม่สามารถรบได้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ เมื่อไหร่ควรรบแล้วทุ่มกำลัง เมื่อไหร่ควรรบแล้วถอย เมื่อไหร่ควรรบแล้วหนี เมื่อไหร่ควรรบแล้วหลอกล่อ หรือเมื่อไหร่ไม่ควรจะรบเลย (เช่น หนี หรือยอมแพ้ในศึกนั้นไปเลย)
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
ทำให้ย่อหน้าสุดท้ายของบทที่ 3 ซุนจื่อสรุปว่า
⁣⁣⁣
故曰:
โบราณกล่าวว่า:
⁣⁣⁣
知彼知己,百戰不殆;
รู้ศัตรู รู้ตนเอง, ร้อยการรบ ไม่อันตราย (จากการถูกบดขยี้)
⁣⁣⁣
不知彼,而知己,一勝一負;
ไม่รู้ศัตรู, แต่รู้ตนเอง, มีชัยหนึ่ง เผ่นหนีหนึ่ง (หมายถึงแบกหนี้ได้ด้วย)
⁣⁣⁣
不知彼,不知己,每戰必敗。
ไม่รู้ศัตรู, ไม่รู้ตนเอง, ทุกการรบ แตกพ่ายแน่นอน (หมดตัวแน่นอน)
⁣⁣⁣
คำว่า 殆 แปลว่าอันตรายจากการถูกบดขยี้ - อักษรเดิม คือ การเหยียบย้ำบนศพ จนกระดูกแตก ในบริบทนี้ก็คือ เราโดนฆ่าจนศพเกลื่อนพื้นแล้วทหารก็ยังสู้รบอยู่บนศพเหล่านั้น
⁣⁣⁣
คำว่า 負 โบราณคือ คนก้มตัวแบกของ/สินค้า ซึ่งในบริบทนี้หมายถึง การเก็บของแล้วหนีเมื่อรบแพ้ ที่น่าสนใจก็คือ 負 ยังหมายถึงการแบกหนี้ได้ด้วย (แบกเงินไว้ คือ แบกหนี้ไว้)
⁣⁣⁣
คำว่า 敗 โบราณคือ ด้านซ้ายคือ หอยเบี้ย หรือ ของมีค่า, ด้านขวาคือตีให้แตก ก็คือการทำลายทรัพย์สินของมีค่า ในบริบทนี้ก็คือการตีกองทัพให้แตกผ่าย แล้วทำลายของมีค่าทิ้ง
⁣⁣⁣
เป็นการสรุปจบบทที่ 3 อย่างสวยงาม
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
ดังนั้นจะเห็นว่า ประโยคว่า "知彼知己,百戰不殆。" มันไม่ได้แปลแบบที่คนไทยแปลว่า "รู้เขารู้เรา, รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"
⁣⁣⁣
แต่ความหมายจริง ๆ ของมันคือ "รู้ศัตรู รู้ตนเอง, ร้อยการรบ ไม่อันตราย (จากการถูกบดขยี้)"
⁣⁣⁣
ซึ่งก็คือ ถ้าเราเข้าใจตนเองและศัตรูแล้ว เมื่อต้องรบเราก็ไม่เสี่ยงที่จะถูกศัตรูโจมตีจนกองทัพย่อยยับ กลายเป็นซากศพเกลื่อทั้งสนามรบ
⁣⁣⁣
เพราะว่าถ้าเรารู้ศัตรูแล้ว วิเคราะห์แล้วเราสู้ไม่ได้ เราก็วางแผนหนี วางแผนรับมือ วางแผนลดการสูญเสียได้ ดังนั้นการที่ไปรบแล้วจะสูญเสียย่อยยับจนถึงกับถูกบดขยี้จึงเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าในภาษาปัจจุบันก็คือ ไม่ถึงกับเจ๊งหรือหมดตัว หรือหนักกว่าคือ เป็นหนี้อีกต่างหาก
⁣⁣⁣
การเข้าใจว่ามันหมายถึง "ไม่อันตราย" ไม่ใช่ "ชนะร้อยครั้ง" ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เปลี่ยนมุมมองของเราไปเยอะ เพราะว่ามันทำให้เราเข้าใจว่า การรบไม่จำเป็นต้องชนะเสมอไป บางครั้งเราก็ต้องวางแผนหนี ต้องวางแผนสละหรือเลิกอะไรไปด้วย
⁣⁣⁣
ทั้งยังเป็นการเน้นไปถึงการลดความเสี่ยง ลดความสูญเสีย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากในปรัชญาของซุนจื่อ
⁣⁣⁣
ซึ่งสอนคล้องกับชีวิตจริงที่ บางสนามรบ (ทางธุรกิจ, การค้า) เราอาจจะไม่สามารถสู้ได้จริง ๆ วิธีที่ดีสุดอาจจะเป็นวิธีอื่น เช่น เป็นพันธมิตร หรือไม่ก็เปลี่ยนสนามรบไปรบที่อื่นแทน เพื่อรักษาทรัพยากรอันมีค่าต่าง ๆ ของเราไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงิน เวลา คน
⁣⁣⁣
หรือถ้ามองแบบการลงทุนเพื่อให้เข้าใจง่ายคือ ทำยังไงให้ไม่สูญเสียเยอะ คือมันไม่ใช่ว่าทุกครั้งที่คุณลงทุนทันจะได้กำไร ที่เราต้องรู้คือ ทำยังไงไม่ให้สูญเสียจนหมดตัว ทำไงให้อยู่รอด ทำไงให้ได้ผลตอบแทนโดยรวมดี ซึ่งเราต้อง รู้ว่าเมื่อไหร่ควรขาย, เมื่อไหร่ cut loss, เมื่อไหร่ควรถือรอต่อ เป็นต้น
⁣⁣⁣
--------------------------------------------------
⁣⁣⁣
เรื่องการแปลผิด หรือ เข้าใจผิด นี้ไม่ได้มีผลแต่เฉพาะในแง่ของการทำธุรกิจ หรือการค้า แม้แต่วงการอภิปรัชญาจีน เช่น ในวิชาฉีเหมิน เมื่อแปลผิดก็กลายเป็นว่าเราใช้ฉีเหมินเพื่อมุ่งแสวงหาแต่หนทางที่จะเอาชนะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
⁣⁣⁣
ทั้งที่จริง ๆ บางทีสิ่งที่ดีที่สุดจากผังฉีเหมิน อาจจะบอกว่า ก็แค่เลิกทำ ก็แค่เปลี่ยน ก็แค่ถอยไป ก็แค่ยอมแพ้ หรือเป็นพันธมิตรแทน เป็นต้น
⁣⁣⁣
ใครศึกษาซุนจื่อ จะเข้าใจดีเลยว่า ซุนจื่อไม่ได้อยากให้เกิดการสูญเสียกับฝ่ายไหน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายตนเองหรือฝ่ายศัตรู ก็เลยทำให้ไม่ได้อยากจะรบอะไรกับใคร
⁣⁣⁣
แต่ที่ต้องรบเพราะว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ เป็นความอยู่รอดของประเทศชาติและบ้านเมือง ประมาณว่าถ้าเราไม่รบ คนอื่นเขาก็มาตีเมืองเราอยู่ดี (เป็นเรื่องปกติในสมัยนั้น) ถ้าเราไม่ให้ความสำคัญกับการรบก็จะเกิดการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่กับประเทศนั้น ๆ ได้
⁣⁣⁣
ความจริงแล้ว "รู้ศัตรู รู้ตนเอง" อาจจะไม่จำเป็นต้องรบกันยังได้ ถ้าเราหาจุดที่มีประโยชน์ร่วมกันได้ เช่น พอรู้จักศัตรูแล้วก็พบว่า เขาอาจจะอยากได้อะไรจากเรา ส่วนศัตรูก็มีของที่เราอยากได้พอดี ก็เลยขอเจรจาแลกกันดีกว่า จะได้ไม่ต้องสูญเสียกำลังทหารและทรัพยากรไปเปล่าประโยชน์
⁣⁣⁣
ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชีวิต เวลา คน เงิน อุปกรณ์ อาหาร เป็นสิ่งมีค่า รักษาไว้ให้ดีที่สุด
⁣⁣⁣
รบเมื่อไม่มีทางเลือกเท่านั้นถึงเป็นเลิศสุด คุณเห็นด้วยไหมครับ?
⁣⁣⁣
ถ้าจะแปลแบบให้ถูกใจคนไทย อาจจะแปลว่า “รู้เขา รู้เรา, รบร้อยครั้ง รอดร้อยครั้ง” - คุณ Piyalak Nushim คอมเมนต์มาแล้วผมชอบว่า "รู้เขา รู้เรา, ร้อยรบ ไม่ย่อยยับ"

เชียงใหม่ - สิบสองปันนา 3 คืน 4 วันไปกลับเครื่องบิน (พักโรงแรมเมืองเชียงรุ้ง 3 คืน )วันที่ 28-31 ก.ค. 2567✈️ โดยสายการบิ...
07/07/2024

เชียงใหม่ - สิบสองปันนา 3 คืน 4 วัน
ไปกลับเครื่องบิน (พักโรงแรมเมืองเชียงรุ้ง 3 คืน )
วันที่ 28-31 ก.ค. 2567
✈️ โดยสายการบินรุ่ยลี่แอร์ไลน์
💥กราบพระธาตุและรอยพระบาทโบราณเมืองลวง
🎈เยี่ยมชมหมู่บ้านศิลป์ ที่บ้านเดื่อ แล้วไปบ้านมะขามหวาน
💥ชมโชว์สุดอลังการ Dai Show
💕ช้อปปิ้งถนนคนเดิน ที่ 9จอม
🎈สัมผัสกาดเช้าแบบบ้านไตลื้อ ที่กาดบ้านกุง
🧩ชม นกยูงบิน วัดหลวงเมืองลื้อ สกายวอร์ค ลีลาร่ายรำบนล้อมอร์เตอร์ วัดป่าเจต์
💕จดชมวิวน้ำโขง พิพิธภัณฑ์ชนชาติ12ปันนา
💥 พระธาตุปางเยือ
🚌Size กรุ๊ปละ 15 ท่านออกเดินทาง
ท่านละ 13,900 บาท

เจ้าเมืองแพร่
01/07/2024

เจ้าเมืองแพร่

พระยาพิมพิสารราชา หรือ เจ้าหลวงพิมพิสาร ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ ๒๑ (องค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์เทพวงศ์) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่ต่อจากพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลาของพระองค์
พระยาพิมสารราชา หรือ เจ้าหลวงพิมพิสาร (พ.ศ. ๒๓๕๖ – พ.ศ. ๒๔๒๙) มีพระนามเดิมว่า เจ้าพิมพิสาร เป็นโอรสของพระยาวังขวา (เฒ่า) กับแม่เจ้าปิ่นแก้ว ซึ่งพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ระบุว่าเป็นน้องสาวพระยาแสนซ้าย (บิดาพระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย)
แต่ในหนังสือเชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ องค์สุดท้ายได้กล่าวว่า เจ้าปิ่นแก้วเป็นราชธิดาพระยาเทพวงศ์ เป็นเจ้าขนิษฐาในพระยาอินทวิไชย ดังนั้น พระยาพิมพิสารจึงมีศักดิ์เป็นหลานลุงของพระยาอินทวิไชย เจ้าพิมพิสารได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชวงศ์ เมื่อพระยาอินทวิไชยผู้เป็นราชมาตุลาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๓๙๐ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นพระยาแพร่ ขณะมีชันษาได้ ๓๔ ปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ พระยาพิมพิสารไม่ลงไปเข้าเฝ้า
จึงไม่ได้รับพระราชทานนามใหม่ขึ้นเป็นเจ้าอย่างเจ้านครเชียงใหม่ เจ้านครลำพูน เจ้านครลำปาง และเจ้านครเมืองน่าน พระยาพิมพิสาร ทรงเป็นเจ้าหลวงที่ปลูกฝังนิสัยเรื่องการประหยัด และการรู้จักประมาณตนแก่ชาวเมืองแพร่เป็นอย่างดี ดังมีเรื่องเล่ากันว่า หม้อน้ำที่ท่านตั้งไว้ข้างถนนสำหรับผู้สัญจรนั้น จะมีกระบวยใหญ่และกระบวยเล็กอย่างละ ๑ อัน หากใครใช้กระบวยใหญ่ตักดื่มน้ำแล้ว เทน้ำที่เหลือทิ้ง หรือใช้กระบวยเล็กตักดื่มซ้ำเมื่อไม่อิ่ม ต่างก็โดนก๋งยิง (เป็นอาวุธที่ใช้ลูกหินขนาดเล็กเป็นกระสุนสามารถทำให้เจ็บตัวหรือเป็นแผลได้)
ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่รู้จักประมาณตนเอง หรือไม่ประหยัด นอกจากนี้เจ้าหลวงพิมพิสารยังมีกิจการค้าไม้สัก ทำรายได้เข้าเมืองแพร่นับหลายล้านบาทต่อปี ทำให้เศรษฐกิจในเมืองแพร่มีความเฟื่องฟูอย่างต่อเนื่องและเป็นไปได้ดี พระยาพิมพิสาร ถึงแก่พิราลัยเวลาบ่าย ๕ โมง แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙ สิริชันษา ๗๓ ปี
พระยาพิมพิสาร มีพระชายา และราชโอรส-ธิดา ดังนี้
- แม่เจ้าแก้วไหลมาราชเทวี (พบหลักฐานในแผ่นศิลาจารึกที่วัดหลวง) แต่ไม่ปรากฏว่ามีราชบุตรด้วยกันหรือไม่
แม่เจ้าธิดาเทวี มีราชโอรส-ธิดา ๔ พระองค์ คือ
- แม่เจ้าไข เสกสมรสกับ เจ้าชัยลังกา ไม่มีบุตร
- แม่เจ้าเบาะ สมรสกับ เจ้าหัวหน้า มีโอรส-ธิดา ๒ คน คือ
๑. เจ้าฟองคำ สามีไม่ทราบนาม
๒. เจ้าน้อยทวงศ์ สมรสกับแม่เจ้าขันคำ รสเข้ม (ไม่มีบุตร)
- แม่เจ้าอินทร์ลงเหลา เสกสมรสกับเจ้าหนานศรีทิ (เจ้านายเมืองน่าน) มีโอรส-ธิดา ๓ คน คือ
๑. เจ้าศรีเมือง
๒. แม่เจ้าฟอง บรรเลง สมรสกับนายหนานแสน บรรเลง โยมบิดา-มารดา พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) อดีตเจ้าคณะตรวจการภาค ๔ และ ๕
๓. แม่เจ้าแก้ว เหลี่ยมเพชร
- เจ้าน้อยเทพวงศ์ ต่อมาคือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย
แม่เจ้าคำใย้เทวี มีโอรส ๑ พระองค์ คือ
เจ้าสุริยะจางวาง (น้อยมหาอินทร์ สารศิริวงศ์) เจ้าสุริยะจางวางนครแพร่ เสกสมรส ๔ ครั้ง
๑. สมรสครั้งที่ ๑ กับแม่เจ้าสุชาดา (ไม่มีบุตร)
๒. สมรสครั้งที่ ๒ กับหม่อมฟองแก้ว มีธิดา ๑ คน คือ
เจ้าบุญนำ วังซ้าย (สารศิริวงศ์)
๓. สมรสครั้งที่ ๓ กับหม่อมเป็ง มีโอรส ๑ คน คือ
เจ้าน้อย สารศิริวงศ์
๔. สมรสครั้งที่ ๔ กับหม่อมแก้ว มีโอรส ๑ คน คือ
เจ้าน้อยเป็ด สารศิริวงศ์
- หม่อมจันทร์ (พบชื่อในประวัติพญาพรหมโวหาร) ไม่ปรากฎว่ามีราชบุตรด้วยกันหรือไม่

25/06/2024

ประวัติ #พระมหาเทวีจิรประภาเทวี (พระนางจิรประภาเทวี / มหาเทวีจิรประภา) #กษัตรีย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ล้านนา พระนางขึ้นครองราชย์หลังจาก #พระเมืองเกษเกล้า ผู้เป็นพระสวามีถูกขุนนางลอบปลงพระชนม์ ในรัชกาลของพระนางหัวเมืองฝ่ายเหนือเกิดการระส่ำระสาย เนื่องจากบ้านเมืองเกิดการแย่งอำนาจระหว่างขุนนางกับเจ้านาย ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอมีศึกสงครามขนาบทั้งทิศเหนือและใต้ ทั้งกองทัพพม่าและกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับสมัย #สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยาที่ยกทัพมาถึงล้านนา และพระนางก็ทรงปกป้องบ้านเมืองให้ปลอดภัยจากกองทัพกรุงศรีอยุธยาด้วยยุทธวิธีของพระนาง พระมหาเทวีจิรประภาเทวีปกครองล้านนาได้เพียงปีเศษก็สละราชสมบัติให้พระราชนัดดา (พระไชยเชษฐาธิราช) ต่อมาพระนางได้เสด็จไปประทับยังนครหลวงพระบาง และมิได้นิวัติกลับมายังล้านนาอีกเลยตลอดปลายพระชนม์ชีพ ปัจจุบันพระนางได้รับความนับถือในฐานะ #เทพแห่งความรักของล้านนา ประวัติและเรื่องราวสามารถ #อ่านภาษาไทยเพิ่มเติมใต้ภาษาอังกฤษ👇
♦️Phra Nang Jiraprapha Devi or Maha Devi Jiraprapha (Thai: พระมหาเทวีจิรประภา) of the Lanna Kingdom. The first female king of the Mangrai Dynasty
♦️Phra Nang Jiraprapha Devi or Maha Devi Jiraprapha (Queen Jiraprapha) of the Lanna Kingdom, was the empress of Phra Mueang Ketklao (King Phra Mueang Ketklao), the 12th monarch of the Lanna Kingdom, succeeding her husband in the years 1545-1546, and is considered the first female king of the Mangrai Dynasty.
♦️Which during her reign the country was in disarray because of the power struggle between the nobles and the royal family the city is weak, there is war on both the North and the South. Both the Burmese and Ayutthaya armies which corresponds to the reign of King Chai Rachathirat of the Ayutthaya Kingdom that brought troops to Chiang Mai. She ruled the country for just over a year. She abdicated the throne to King Chaisetthathirat, the grandson of King Bothisarn of the Lan Xang Kingdom and after that, she and his grandson went to live in Luang Prabang and did not return to Lanna again throughout the end of his life.
♦️ #พระนางจิรประภาเทวี หรือ #มหาเทวีจิรประภา เป็นพระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า (กษัตริย์ล้านนาซึ่งครองราชย์ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๐๖๘ - ๒๐๘๑ และครั้งที่ ๒ ปีพ.ศ. ๒๐๘๖ - ๒๐๘๘) และเป็นพระมารดาของท้าวซายคำ (กษัตริย์ล้านนาที่ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๘๑ - ๒๐๘๖) และพระนางยอดคำทิพย์ (อัครมเหสีของพระเจ้าโพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง) ซึ่งเป็นพระมารดาของพระไชยเชษฐาธิราช (พระอุปโย) หลังจากพระเมืองเกษเกล้า ผู้เป็นพระสวามีถูกขุนนางลอบปลงพระชนม์ ทำให้แผ่นดินล้านนาว่างกษัตริย์ เหล่าขุนนางจึงอัญเชิญพระนางจิรประภาเทวีขึ้นปกครองล้านนาเป็นการชั่วคราว จึงนับได้ว่า...พระองค์เป็นกษัตรีย์พระองค์แรกแห่งราชวงค์มังราย โดยครองราชย์ราวปี ๒๐๘๘-๒๐๘๙ ในรัชกาลของพระนางหัวเมืองฝ่ายเหนือเกิดการระส่ำระสาย เนื่องจากบ้านเมืองเกิดการแย่งอำนาจระหว่างขุนนางกับเจ้านาย ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอมีศึกสงครามขนาบทั้งทิศเหนือและใต้ ทั้งกองทัพพม่าและกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ยกทัพมาถึงล้านนา (เชียงใหม่)
♦️นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า...เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เหล่าขุนนางเชิญพระนางขึ้นครองราชย์นั้น “ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล” ได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือขัติยานีศรีล้านนาว่า...เพราะพระองค์มีความพร้อมสูง เนื่องจากมีบทบาททางการเมืองในฐานะที่เคยเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกษเกล้า และเป็นพระมารดาของท้าวซายคำ ย่อมสั่งสมประสบการณ์ทางการเมืองไว้มาก จึงอาจเป็นไปได้ว่า...พระองค์อยู่เบื้องหลังทางการเมืองในนครเชียงใหม่มานานแล้ว
♦️พระมหาเทวีจิรประภาเทวี ปกครองล้านนาในช่วงที่บ้านเมืองอ่อนแอและเกิดความแตกแยก พระนางขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานกองทัพของสมเด็จพระไชยราชาธิราชจากกรุงศรีอยุธยาก็ยกทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกในปี ๒๐๘๘ การเดินทัพของฝ่ายกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้รีบเร่งมากใช้เวลาเพียง ๑๖ วัน ขณะนั้นพระมหาเทวีจิรประภาเทวีเพิ่งขึ้นเสวยราชย์หลังจากพระสวามีเพิ่งสวรรคตได้ไม่นาน ประกอบกับสภาพบ้านเมืองก็ไม่พร้อมรับศึก เพื่อมิให้บ้านเมืองบอบช้ำหนักไปกว่านี้ พระนางจึงแต่งบรรณาการไปถวายแทนการสู้รบ (นักวิชาการหรือนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่า...วิธีนี้ คือ ยุทธวิธีของพระนาง) บ้างก็กล่าวว่า...พระมหาเทวีจิรประภาเทวีได้ส่งเสนาอำมาตย์ไปถวายสมเด็จพระไชยราชาธิราช เพื่อให้บ้านเมืองพ้นภัยด้วยการเป็นไมตรีกัน และได้พระราชทานรางวัลแก่เสนาอำมาตย์ โดยฝ่ายสมเด็จพระไชยราชาธิราชเองก็มิได้เข้าทำร้ายเมืองเชียงใหม่ และพระนางทรงทูลเชิญให้สมเด็จพระไชยราชาธิราชไปประทับที่เวียงเจ็ดลิน พระราชวังฤดูร้อนของกษัตริย์ล้านนาที่เชิงดอยสุเทพแทนการเข้าเวียงโดยผ่านประตูช้างเผือกตามฮีตล้านนา และทูลเชิญสมเด็จพระไชยราชาธิราชร่วมทำบุญสร้างกู่ถวายพระเมืองเกษเกล้าที่วัดโลกโมฬีที่เปรียบเสมือนวัดประจำรัชกาลพระเมืองเกษเกล้า แต่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง
♦️สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ประทับสำราญพระอิริยาบถที่เวียงเจ็ดลิน พร้อมกับพักกำลังพลที่สบกวงใต้เมืองลำพูนจากนั้นจึงเสด็จกลับ โดยเรื่องดังกล่าว “พิเศษ เจียจันทร์พงษ์” สันนิษฐานว่า...พระมหาเทวีจิรประภาเทวี อาจจะเป็นเครือญาติของสมเด็จพระไชยราชาธิราช เนื่องด้วยพระไชยราชาธิราชไม่เข้าทำลายเมืองเชียงใหม่ด้วยความผูกพันระหว่างเครือญาติ และทั้งสองก็มิได้มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกันแต่อย่างใด เนื่องจากในเอกสารหลักฐานก็ไม่ได้ให้วี่แววในเรื่องราวดังกล่าวเลย
♦️พระนางปกครองบ้านเมืองเพียงแค่เพียงปีเศษก็ได้สละราชบัลลังก์แก่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชนัดดา (หลานยาย) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์โพธิสารราชแห่งอาณาจักรล้านช้างได้ขึ้นปกครองล้านนา ต่อมาเมื่อพระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์ล้านช้างเกิดสวรรคตกะทันหัน พระไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จกลับไปครองอาณาจักรล้านช้าง ในครั้งนั้นพระนางก็ได้ตามเสด็จไปประทับในนครหลวงพระบาง และมิได้นิวัติกลับมายังล้านนาอีกเลยตลอดปลายพระชนม์ชีพ
♦️วัดโลกโมฬีเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองเกษเกล้าและเป็นที่บรรจุอัฐิ มีประติกรรมรูปพระมหาเทวีจิรประภาเทวีและพระเมืองเกษเกล้าตั้งอยู่ในศาลาทางซ้ายมือใกล้ประตูทางเข้าวัด โดยมีความเชื่อว่า...ผู้ใดอยากสมหวังในเรื่องความรักต้องมากราบไว้ขอพรพระมหาเทวีจิรประภาเทวี โดยมีคำไหว้บูชาว่า “...มหาเทวี จิรประภา วันทามิ สิระสา สะทาโสตฺถี ภะวันตุเมฯ ข้าพเจ้าขอไหว้พระนางจิรประภาเทวี ด้วยความเคารพนอบน้อมยิ่ง ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาล เวลาทุกเมื่อเทอญ...” และมีหลักการอธิษฐานระบุไว้ว่า “…ขอความรัก บนไข่ไก่ ๙ ฟอง แก้บน ๑๐๘ ฟอง ผลไม้ ๙ อย่าง พร้อมปัจจัยตามศรัทธา...”
♦️ #หมายเหตุ สาเหตุที่ภายหลังมีความเชื่อเรื่องขอความรักจากพระนางมีที่มา คือ พระนางเป็นหญิงที่รักมั่นในพระสวามีและชาติบ้านเมืองนั่นเอง
📌บทความนี้เรียบเรียงและแปลโดยเพจ Love Thai Culture
อ้างอิงที่มา (Reference)
- สรัสวดี อ๋องสกุล. "บทบาททางการเมือง ประวัติ และที่มาของอำนาจมหาเทวีจิรประภา". ขัติยานีศรีล้านนา. เชียงใหม่ : มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ, 2547. หน้า 31-49.
- สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553. หน้า 173.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. หน้า 16-17.
- มาลา คำจันทร์. พื้นบ้านตำนานเมืองล้านนา. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2565. หน้า 165-170.
https://www.finearts.go.th/.../47669-%E0%B8%9E%E0%B8%A3...
+++++++++++++++++++++++
#อาณาจักรล้านนา #ต่ายเพ็ญพักตร์ #ล้านนา #ชุดล้านนา #พระมหาเทวีจิรประภา #มหาเทวีจิรประภา #พระนางจิรประภา

20/05/2024

ลาวพอง

12ปันนา ก้อแค่ปากซอย..ไปแอ่วผ่อบ้านเมืองพี่น้องไทลื้อราคาพิเศษ 8,999 บาทมีแค่ 3 พีเรียดในเดือนเมษายนนี้22-24/04/256724-2...
17/04/2024

12ปันนา ก้อแค่ปากซอย..
ไปแอ่วผ่อบ้านเมืองพี่น้องไทลื้อ
ราคาพิเศษ 8,999 บาท
มีแค่ 3 พีเรียดในเดือนเมษายนนี้
22-24/04/2567
24-26/04/2567
26-28/04/2567
ติดต่อวันทาทัวร์..089-8534351

📌วิธีการเข้าสักการะ วิธีที่ 1  เข้ากราบสักการะภายในหอคำหลวง โดยเปิดรับบัตรคิวรอบเช้าเวลา 08.00 น. จำนวนไม่เกิน 3,000 คน ...
01/03/2024

📌วิธีการเข้าสักการะ
วิธีที่ 1 เข้ากราบสักการะภายในหอคำหลวง โดยเปิดรับบัตรคิวรอบเช้าเวลา 08.00 น. จำนวนไม่เกิน 3,000 คน และรอบบ่าย เวลา 12.00 น. จำนวนไม่เกิน 3,000 คน ณ บริเวณเต็นท์ลงทะเบียนวงเวียนราชพฤกษ์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
วิธีที่ 2 สามารถเข้าสักการะ โดยเดินรอบหอคำหลวงภายในบริเวณที่จัดให้ โดยไม่ต้องรับบัตรคิวและไม่จำกัดจำนวน
และระหว่างวันที่ 5-8 มีนาคม 2567 เวลา 18.00 – 19.00 น. จะมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสริมสิริมงคลให้กับศาสนิกชนที่เข้ากราบสักการะ ซึ่งจะหยุดพักไม่อนุญาตให้ขึ้นสักการะพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุฯ บนหอคำหลวง และจะปิดการเข้าสักการะในเวลา 21.00 น.
Cr.เพจ cm108.com

18/02/2024

แวะมา #อัพเดตข้อมูล 🚂นั่งรถไฟ🚋กรุงเทพ-แชงกรีล่า-ย่าติง
🤩อีกเส้นทางที่ต้องเกิดขึ้น แม้ว่าจะไปย่าติงแล้วถึง 3 ครั้งแต่ก็ยังไม่เบื่อ🤩
อัพเดตข้อมูล (15.02.2024)รถไฟจากเวียงจันทน์ - คุนหมิง และรถไฟจากลี่เจียงเปิดให้ปบริการถึงสถานีแชงกรีล่า ผมจึงทำเส้นทางนั่งรถไฟจากไทยเพื่อไปเที่ยว “ย่าติง : แชงกรีล่าแห่งสุดท้าย” มาฝาก 3 เส้นทางให้เลือกจัดสรรเวลาวางแผนเที่ยวรอเปิดประเทศกันเลยครับ
เริ่มต้นจากรถไฟไทยแบบหวานเย็น กรุงเทพ - หนองคาย - ท่านาแล้ง (เวียงจันทน์) ต่อด้วยรถไฟความเร็วสูงเวียงจันทน์ – คุนหมิง (สีขาว) ส่วนจากคุนหมิงไปถึงย่าติง ผมวางเส้นทางมาให้เลือก 3 เส้นทางครับ แต่ละเส้นทางก็มีจุดเที่ยวที่โดดเด่นแตกต่างกันไป
1. 💚สีเขียว💚 >> เส้นทางคุนหมิง – ต้าหลี่ – ลี่เจียง - แชงกรีล่า (ทิเบตตี๋ฉิง) จากนั้นนั่งรถต่อไปเต้าเฉิง-ย่าติง
🎍จุดท่องเที่ยวสำคัญ : เมืองโบราณต้าหลี่ / เมืองโบราณลี่เจียง หุบเขาพระจันทร์สีน้ำเงิน ภูเขาหิมะมังกรหยก / แชงกรีล่า(จงเตี้ยน) วัดซงจ้านหลิน (โปตาลาน้อย) ภูเขาหิมะสือข่า / เจดีย์ขาวไบ๋ถ่า ทุ่งหญ้าแดงเมืองเต้าเฉิง /อุทยานย่าติง
2. 💛สีเหลือง💛 >> เส้นทางคุนหมิง-เล่อซาน ง้อไบ้ - เฉิงตู จากนั้นนั่งรถจากเฉิงตู – คังติ้ง – เต้าเฉิง - ย่าติง
🎍จุดท่องเที่ยวสำคัญ : พระใหญ่เล่อซาน เขาง้อไบ้ (เอ้อเหมยซาน) / เมืองเฉิงตู ดูแพนด้า / เมืองการค้าโบราณทิเบตคังติ้ง ทะเลสาบมู่เก๋อฉั้ว / เจดีย์ขาวไบ๋ถ่า ทุ่งหญ้าแดงเมืองเต้าเฉิง /อุทยานย่าติง
3. 💙สีน้ำเงิน💙 >> เส้นทางคุนหมิง - ฉงชิ่ง - เฉิงตู จากนั้นนั่งรถจากเฉิงตู – คังติ้ง – เต้าเฉิง - ย่าติง
🎍จุดท่องเที่ยวสำคัญ : เมืองฉงชิ่ง อุทยานอู่หลง หลุมฟ้า สะพานสวรรค์ / เมืองเฉิงตู ดูแพนด้า / เมืองการค้าโบราณทิเบตคังติ้ง ทะเลสาบมู่เก๋อฉั้ว / เจดีย์ขาวไบ๋ถ่า ทุ่งหญ้าแดงเมืองเต้าเฉิง /อุทยานย่าติง
แนะนำการเดินทางด้วยรถยนต์🚌
• การเดินทางจาก ลี่เจียง/แชงกรีล่า (จงเตี้ยน) ถึงย่าติง เส้นสีเขียว💚
นั่งบัสจากลี่เจียง/แชงกรีล่าถึงเต้าเฉิง บ่าย แล้วหารถเช่าเหมา/แชร์กับนักท่องเที่ยวอื่น เพื่อไปพักที่รื่อวา ถ้ามีเวลาให้แวะพักเต้าเฉิง 1 คืน แล้วให้ที่พักช่วยหารถไปย่าติง
• การเดินจากเฉิงตูถึงย่าติง เส้นสีเหลือง💛/น้ำเงิน💙
นั่งบัสจากเฉิงตูถึงเมืองคังติ้ง (เย็น) พักที่คังติ้ง 1 คืน (ถ้ามีเวลาให้แวะเที่ยวทะเลสาบมู่เก๋อฉั้ว แล้วพักที่คังติ้งอีก 1 คืน)
นั่งบัสจากคังติ้งถึงเมืองเต้าเฉิง (จะพักเต้าเฉิง/เช่ารถต่อไปพักที่รื่อวา)

NOTED🔖 : สำหรับคนที่มีเวลาเยอะ ให้ลองเส้นทางนี้ครับ แอดมินเองก็วางแผนไว้ประมาณนี้
Longtrip : กรุงเทพ - เวียงจันทน์ - คุนหมิง - ต้าหลี่ - ลี่เจียง - แชงกรีล่า - เต้าเฉิง - รื่อวา/ย่าติง - คังติ้ง - เฉิงตู – เล่อซาน - ง้อไบ้ - เฉิงตูแล้วบินกลับไทย

ปล. แพลนนี้ยังไม่เคยเดินทางจริงตลอดเส้นทาง (ปกติบินไปลงเฉิงตู/คุนหมิง ครับ)
ฝากกดติดตาม คอมเมนต์เป็นกำลังใจกันด้วยนะครับ

บินตรงจากเชียงใหม่ สู่เมืองมรดกโลกสิบสองปันนา หยวนหยาง เจี้ยนสุ่ย
07/02/2024

บินตรงจากเชียงใหม่ สู่เมืองมรดกโลก
สิบสองปันนา หยวนหยาง เจี้ยนสุ่ย

บินตรงเชียงใหม่สู่12ปันนา....นั่งไฟความเร็วสูงลาวจีนไปชมซากุระป้อนอาหารนกนางนวลปากแดงที่ทะเลสาบเตียนฉือ คุนหมิง
06/02/2024

บินตรงเชียงใหม่สู่12ปันนา....
นั่งไฟความเร็วสูงลาวจีนไปชมซากุระ
ป้อนอาหารนกนางนวลปากแดงที่ทะเลสาบเตียนฉือ คุนหมิง

04/02/2024

#ประตูเชียงใหม่ #เมื่อ55ปีก่อน
สัญลักษณ์​ของ ประตูเชียงใหม่สมัยนั้น
คือ ต้นยาง4 ต้น ยืน ข้างประตู มุมซ้าย
หลังกำแพงในภาพ คือ
#ลานจอดรถขนส่งสายใต้ ประตูเชียงใหม่
ขณะนั้นรถโดยสาร หางดง สันป่าตอง
ยังเป็น #รถคอกหมู อยู่
ภาพถ่ายหลังการบูรณะ ในปีพ.ศ.2510
ถนนเลียบคูเมืองด้านในที่เห็น
เป็นถนนที่มาจาก #ตลาดประตูเชียงใหม่
ภาพถ่ายเมื่อราวปีพ.ศ. 2512
ทิวทัศน์เบื้องหลังเป็น #ดอยสุเทพ

ตำนานประตูเชียงใหม่
ในยุคนั้น มี ร้านลาบต้นยาง อยู่ขวามือ
ปัจจุบัน ประตูเชียงใหม่ ไม่มีต้นยาง ไม้หมายเมืองแล้ว

ขอบคุณภาพจาก
เพจ หัวจ่ายน้ำมัน วินเทจ

#เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

28/07/2023

เจ้าฟ้าสีป้อ รัฐฉาน

17/07/2023

#เจ้าฟ้ากองไท ณ เชียงตุง หรือ เจ้าฟ้ากองไต , เจ้าฟ้าก๋องไต สมภพเมื่อปี พ.ศ 2440 ราชบุตรใน เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าเชียงตุงองค์ที่ 8 ประสูติแต่ เจ้านางจามฟอง (สามัญชน) เสกสมรสกับ เจ้านางจ่ายุ้นท์
เมื่อเจริญชันษา เจ้าฟ้ากองไท และ เจ้าฟ้าพรหมลือ ซึ่งประสูติแต่ เจ้าแม่เมือง เจ้าแม่ปทุมมหาเทวี( อัครมเหสี)ได้ไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เจ้าฟ้ากองไท ทรงศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ส่วน เจ้าฟ้าพรหมลือ ทรงศึกษาด้านช่างไฟฟ้า ด้วยชันษายังหนุ่มทำให้ทั้งสององค์ใช้ชีวิตเที่ยวเตร่ไม่สนใจศึกษาเท่าไรนักจึงทำให้ศึกษาไม่จบเพราะทั้งสององค์ไม่ได้ทรงตั้งใจเรียนทำให้ เจ้าพ่อ เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เรียกตัวกลับเชียงตุง เมื่อกลับถึงพม่า เจ้าฟ้ากองไท ไม่ยอมกลับเชียงตุงและได้ไปสมัครเข้าเป็นทหารอังกฤษ ได้เขียนหนังสือถึงเจ้าพ่อถึงเหตุผลการไม่กลับเชียงตุง ว่า ตนนั้นไม่มีหวังจะได้ดิบได้ดีอะไรทางเชียงตุง ก็จะไปหาความดีทางอื่น การที่ เจ้าฟ้ากองไท คิดเช่นนั้นเพราะเห็นว่า เจ้าแม่เป็นสามัญชน ไม่ใช่เชื้อเจ้า ไม่ใช่มหาเทวี และเข้าใจว่าตำแหน่งเจ้าแกมเมือง(รัชทายาท)จะได้แก่ เจ้าฟ้าพรหมลือ เพราะพระมารดาเป็นเชื้อเจ้า และเป็นมหาเทวี แต่เมื่อเจ้าพ่อ ได้ทราบความตามหนังสือนั้นจึงได้โทรเลขเรียกตัว เจ้าฟ้ากองไท กลับมาและได้แต่งตั้งเป็น เจ้าแกมเมือง
หลังจากได้แต่งตั้งเป็น เจ้าแกมเมือง 13 ปี เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง(เจ้าพ่อ) ก็สิ้นพระชนม์ลงเมื่อ พ.ศ 2479 เจ้าฟ้ากองไท ทรงได้ขึ้นครองเมืองต่อในปี 2480
ในเดือนตุลาคม วันที่ 22 ตรงกับวันแรม 3 ค่ำ เดือน 12 ได้มีงานพิธีออกพรรษา ซึ่ง เจ้าฟ้ากองไท และพระญาติทุกคนจะต้องเสร็จไปร่วมงานออกพรรษา แต่ในระหว่างทางที่กำลังจะเสด็จกลับหลังร่วมงานออกพรรษา เจ้าฟ้ากองไท ได้ถูกลอบยิงปลงพระชนม์ต่อหน้าพระญาติ ทุกองค์ต่างตกอกตกใจในเหตุการณ์เปลื้องหน้าที่เกิดขึ้น เกิดความสับสนวุ่นวายจับต้นชนปลายไม่ถูก ภายในระยะเวลาไม่นานนักก็สามารถจับ ฆาตกรได้ คือ เจ้าสีหะ ซึ่ง เจ้าสีหะ ได้ซัดทอดถึงคนสนิทของ เจ้าฟ้าพรหมลือ จนมีเสียงร่ำลือกันว่า เจ้าฟ้าพรมลือ มีส่วนในการว่าจ้างผู้อื่นลอบปลงพระชนม์ เจ้าฟ้ากองไท เพราะต้องการแก้แค้นที่ถูกปล้นราชสมบัติไป คดีลอบปลงพระชนม์ได้ดำเนินการตามกฎหมาย โดย เจ้าฟ้าพรหมลือ ได้มีทนายแก้ต่างในคดีจนพ้นข้อกล่าวหา โดยฝ่ายข้าหลวงอังกฤษ ยังปักใจเชื่อมั่นว่า เจ้าฟ้าพรหมลือ ต้องมีส่วนร่วมในกรณีนี้ แต่เมื่อไม่มีหลักฐานมัดตัว เจ้าฟ้าพรหมลือ จึงจำเป็นต้องปล่อยไป ส่วนเจ้าสีหะ ได้รับโทษเพียงจำคุกตลอดชีวิต
เจ้าฟ้าพรหมลือ เมื่อพ้นคดีความแล้ว ทางอังกฤษได้จำกัดให้อยู่ที่ ตองยี ต่อมาได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษได้สั่งย้ายให้ไปอยู่ทางตอนเหนือของพม่า จนเมื่อ ญี่ปุ่น ได้เข้ายึดครองพม่า เจ้าฟ้าพรหมลือ จึงได้กลับมาอยู่ที่เชียงตุง ภายหลังไม่นาน ทางการทหารกองทัพพายับของไทยได้บุกเข้ายึดเชียงตุง และได้แต่งตั้งให้ เจ้าฟ้าพรหมลือ เป็นผู้ครองนครเชียงตุง ส่วน เจ้าสีหะ ช่วงญี่ปุ่น เข้ายึดเชียงตุง ได้หลบหนีออกจากคุกไป แต่ภายหลังได้ย้อนกลับมาอยู่เชียงตุง และถูกฆ่าตายที่เมืองเลน

04/07/2023

ที่เมืองหนานจิง ประเทศจีน
มีสถานที่แห่งหนึ่ง ค่าก่อสร้างสูงถึง 4 พันล้านหยวน ใช้เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (กระโหลก ส่วนขม่อมด้านข้าง) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเปิดให้เข้าชม เพียงปีละ 7 วัน และ วันวิสาขบูชา เป็นวันหนึ่ง ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นพิเศษ
เราเข้าไปชมด้วยกัน ครับ

02/07/2023

ทำไม นักร้องระดับโลก จัดคอนเสิร์ตที่สิงคโปร์ มากกว่าไทย /โดย ลงทุนแมน
Coldplay วงดนตรีชื่อดังจากอังกฤษ จัดแสดงทัวร์คอนเสิร์ต 4 รอบ ที่สิงคโปร์ วางจำหน่ายบัตร 200,000 ใบ แต่ขายหมดภายในวันเดียว จนต้องเปิดรอบเพิ่มอีก 2 รอบ

เช่นเดียวกับ Taylor Swift ที่จัดแสดงคอนเสิร์ตที่สิงคโปร์ 3 รอบ แต่ก็ได้รับกระแสตอบรับอย่างถล่มทลาย จนต้องเพิ่มรอบการแสดงอีก 3 รอบ รวมเป็น 6 รอบ คิดเป็น 300,000 ที่นั่ง โดยมีผู้เข้ามาลงชื่อรอซื้อในระบบจองตั๋วกว่า 8 ล้านคน..

จากจุดนี้ จะเห็นได้ว่าผู้จัดคอนเสิร์ตศิลปินดังเหล่านี้ จะชื่นชอบสิงคโปร์ มากกว่าไทย

เพราะเมื่อเทียบรอบการแสดงทั้งหมดที่มีแล้ว
- Coldplay จัดแสดงที่ไทย 2 รอบ สิงคโปร์ 6 รอบ
- Taylor Swift เดิมจัดแสดงที่สิงคโปร์ 3 รอบ และเพิ่มอีก 3 รอบที่สิงคโปร์ โดยไม่มีการจัดแสดงที่ไทย

ทำไมสิงคโปร์ ถึงดึงดูดคอนเสิร์ตระดับโลกได้มากกว่าไทย ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
เหตุผลแรกที่สิงคโปร์ มีความได้เปรียบ คือ

- ที่ตั้งของสิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน

จริงอยู่ที่ว่า ไทยก็เป็นศูนย์กลางเหมือนกัน แต่ประเทศที่อยู่รอบไทยนั้น คือ พม่า ลาว เวียดนาม ซึ่งไม่ใช่ตลาดหลักที่มีฐานแฟนเพลงหนาแน่นอย่าง ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งต่างก็มีสิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง

และเมื่อเทียบกับฐานแฟนเพลงภายในประเทศเอง
สิงคโปร์ ก็มีกำลังจ่ายมากกว่า

โดยหากวัดกันที่ รายได้ต่อหัวในปี 2021 ประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวประมาณ 250,000 บาทต่อคนต่อปี เป็นอันดับ 4 ในภูมิภาค

ในขณะที่สิงคโปร์ มีรายได้ต่อหัว 2,580,000 บาทต่อคนต่อปี มากเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาค และมากกว่าไทย 10 เท่า

ซึ่งในมุมของผู้จัดแล้ว การมีดีมานด์จากภายในประเทศที่พร้อมจ่ายรองรับตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็แทบจะการันตีได้ว่าจะไม่ขาดทุน อีกทั้งยังช่วยให้ตั้งราคาค่าตั๋วได้สูงกว่า เพราะฐานผู้ชมในประเทศมีกำลังซื้อสูง

- การเดินทางที่สะดวก ครอบคลุม และทันสมัย

สิงคโปร์ถือเป็นศูนย์กลางทางการบินของเอเชีย เพราะเป็นจุดเปลี่ยนเครื่องบินของหลายสายการบินทั่วโลก จึงมีสายการบินหรู และสายการบินต้นทุนต่ำให้บริการจำนวนมาก

อีกทั้งยังมีสนามบินชางงี ที่ถูกจัดอันดับให้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลก ติดต่อกันถึง 8 ปีซ้อน สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 135 ล้านคนต่อปี

ส่วนระบบการขนส่งภายในประเทศเองก็มีความทันสมัย ซึ่งนอกจากสะอาดแล้ว ยังมาตรงเวลา และเข้าถึงสถานที่สำคัญได้ทั่วทั้งเมือง

ในขณะที่ประเทศไทย แม้ว่าเราจะมีสนามบินสุวรรณภูมิที่มีขนาดใหญ่ และมีสายการบินจากทั่วโลกเช่นเดียวกับสิงคโปร์

แต่ระบบการขนส่งภายในตัวเมืองนั้น ถือว่ายังไม่ครอบคลุม และรองรับคนเดินทางจำนวนหลายหมื่นคน ในช่วงเวลาเร่งด่วนได้ไม่ดี โดยเฉพาะสถานที่จัดแสดงหลาย ๆ แห่ง

อย่างเช่น สนามราชมังคลากีฬาสถาน ที่สุดท้ายแล้วก็ต้องนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แท็กซี่ หรือเดินเข้าไปยังสนามกีฬา และก็มักจะได้เห็นข่าว นักท่องเที่ยวเจอการโก่งราคาค่าโดยสาร ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเสื่อมเสียอย่างมาก

- สถานที่จัดแสดงที่ใหม่กว่า และพร้อมกว่า

สำหรับสถานที่จัดแสดงในสิงคโปร์นั้น จะอยู่ใน Singapore Sports Hub ซึ่งเป็นศูนย์รวมสนามแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่

และบริหารงานโดยหน่วยงานของรัฐบาลสิงคโปร์ โดย Singapore Sports Hub เพิ่งสร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อปี 2014

โดยมีสนามหลักอย่าง National Stadium สนามกีฬาที่มีหลังคาโดมเปิดปิดได้ใหญ่สุดในโลก ซึ่งจุผู้คนได้มากกว่า 55,000 คน และมีระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมถึงโดยตรง

รวมไปถึงเรื่องความปลอดภัย ซึ่งสิงคโปร์ดูจะเป็นประเทศที่มีความสงบทางการเมืองมากกว่า

ต่างจากประเทศไทยที่ในอดีต คอนเสิร์ตของ Taylor Swift ที่วางแผนจะมาเปิดการแสดงที่ไทยเป็นครั้งแรก ก็ต้องยกเลิกการจัดแสดงไป เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในปี 2014

- การผลักดันและสนับสนุน

การท่องเที่ยวสิงคโปร์ หรือ STB คือหน่วยงานหลักที่เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายการเป็น Entertainment Hub ของสิงคโปร์

โดยนอกจากเงินทุนที่สนับสนุนภาคเอกชน เพื่อให้มีความพร้อมในการจัดงานใหญ่ ๆ ระดับโลกแล้ว

STB ยังคอยช่วยอำนวยความสะดวก และติดต่อประสานงานในด้านต่าง ๆ กับผู้จัดคอนเสิร์ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

รวมถึงยังช่วยวางแผนการตลาด การโปรโมต และติดต่อศิลปินหรือค่ายเพลงให้เลือกสิงคโปร์เป็นสถานที่จัดงานอีกด้วย

จะเห็นว่า ศิลปินดัง หรืออิเวนต์ใหญ่ ๆ เลือกสิงคโปร์เป็นสถานที่จัดแสดง ไม่ได้มาจากการรอให้เป็นผู้ถูกเลือก

แต่ทั้งหมดมาจากนโยบาย แผนการที่ชัดเจน และความร่วมมือของทุกฝ่ายในการที่จะเป็น Entertainment Hub

เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากการจัดงาน และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่จะกระจายสู่ธุรกิจท้องถิ่น

เพราะอย่าลืมว่า สิงคโปร์ คือเกาะที่ไม่มีทรัพยากรทางธรรมชาติ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ

การดิ้นรนสร้างแม่เหล็กดึงดูดเงินเป็นของตัวเอง จึงกลายเป็นแรงผลักสำคัญ ให้สิงคโปร์ดันตัวเองไปเป็น Entertainment Hub ของภูมิภาค

และเพื่อช่วยเร่งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวในประเทศสิงคโปร์จากการล็อกดาวน์ ที่ในปี 2022 มีนักท่องเที่ยว 6.3 ล้านคน และรายได้เหลือเพียง 370,000 ล้านบาท จากเดิมที่เคยมีนักท่องเที่ยวกว่า 19 ล้านคน และสร้างรายได้กว่า 730,000 ล้านบาทในปี 2019

ซึ่งผลลัพธ์ก็เริ่มแสดงออกมาชัดขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างที่เห็นได้จากรอบการแสดงของศิลปินดังอย่าง Coldplay และ Taylor Swift ที่ต่างก็เลือกสิงคโปร์เป็นสถานที่หลักในการจัดแสดง..
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
TikTok - tiktok.com/
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.sportshub.com.sg/
-https://www.todayonline.com/singapore/taylor-swift-coldplay-singapore-sports-hub-community-events-2199631
-https://sg.news.yahoo.com/taylor-swift-singapore-concert-complicated-072951597
-https://www.businesstoday.in/latest/trends/story/coldplay-breaks-record-for-most-number-of-tickets-sold-in-singapore-386541-2023-06-21
-https://www.singstat.gov.sg/publications/reference/ebook/industry/tourism

ที่อยู่

เชียงใหม่ (Chiang Mai)
Amphoe Muang Chiang Mai
50200

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ วันทาทัวร์ (Wanta Tour)ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง วันทาทัวร์ (Wanta Tour):

วิดีโอทั้งหมด

แชร์