บ้านแมลงลำปาง

บ้านแมลงลำปาง บ้านแมลงลำปาง - Lampang Insect Home บ้านแมลงลำปาง Lampang Insect Home
(1)

06/09/2024
วันที่ 14-15 สิงหาคม 2567 อุทยานความรู้บ้านแมลงลำปางร่วมจัดนิทรรศการในงานวิทยาศาสตร์นิทัศน์ ราชภัฏลำปาง 67 "วิทยาศาสตร์ร...
19/08/2024

วันที่ 14-15 สิงหาคม 2567 อุทยานความรู้บ้านแมลงลำปางร่วมจัดนิทรรศการในงานวิทยาศาสตร์นิทัศน์ ราชภัฏลำปาง 67 "วิทยาศาสตร์ราชภัฏลำปางกับการพัฒนาท้องถิ่น" โดยมีนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปให้ความสนใจแมลงที่นำไปจัดแสดงโชว์เป็นอย่างดี

07/08/2024

ไฟถนนทำให้ใบของต้นไม้ ‘แข็งเกินไป’ สำหรับแมลงจนไม่สามารถกินได้ งานวิจัยใหม่จากจีนเผยอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ห่วงโซ่อาหารมีความเสี่ยง
ปัจจุบันมลภาวะทางแสงเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ในทุก ๆ ปีของช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามลภาวะทางดังกล่าวนั้นส่งผลต่อ ‘จังหวะทางชีวภาพ’ ของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศทั่วโลก รวมถึงตัวมนุษย์เองด้วย
อย่างไรก็ดี ตามรายงานใหม่ที่เผยแพร่ในวารสาร Frontiers in Plant Science จากทีมวิจัยของประเทศจีนได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น พวกเขาแสดงให้เห็นว่าแสงไฟที่ถูกเปิดตลอดทั้งคืน กำลังไปรบกวนการเติบโตของใบไม้จนทำให้ใบ ‘แข็งเกินไป’ ที่แมลงจะกินได้
“เราสังเกตเห็นว่าเมื่อเทียบกับระบบนิเวศตามธรรมชาติแล้ว ใบไม้ในระบบนิเวศเมืองส่วนใหญ่มักไม่แสดงสัญญาณของความเสียหายจากแมลง เราจึงอยากรู้ว่าทำไม” ดร. Shuang Zhang จากสถาบันวิทยาศาสตร์จีน กล่าว “แสงเทียมในเวลากลางคืนทำให้ใบไม้มีความแข็งมากขึ้น และลดระดับการถูกกิน”
#ให้แสงบางส่วน
ตามรายงานระบุว่าแสงเทียมหรือแสงไฟที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ได้ไปเพิ่มระดับความสว่างในเวลากลางคืนขึ้นราว 10% ซึ่งทำให้ประชากรของสิ่งมีชีวิตทั้งโลกส่วนใหญ่ต่างก็ต้องประสบปัญหามลภาวะทางแสงทุกคืน และเนื่องจากพืชเป็นปัจจัยสำคัญต่อระบบนิเวศ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลอย่างมากต่อนระบบนิเวศนั้น ๆ
“ใบไม้ที่ปราศจากความเสียหายจากแมลงอาจทำให้มนุษย์รู้สึกสบายใจ แต่ไม่รู้สึกเช่นนั้น” ดร. Zhang กล่าว “การกินพืชเป็นกระบวนการทางนิเวศวิทยาตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง”
ทีมวิจัยสงสัยว่าพืชที่ได้รับแสงเทียมในระดับสูง เกิดการป้องกันมากกว่าการเติบโตได้อย่างไร? พวกเขาจึงได้เลือกต้นไม้ริมถนน 2 ชนิดที่พบได้ทั่วไปนั่นคือ ต้นแพโกดาญี่ปุ่น (Japanese pagoda) และ ต้นกรีนแอชทรี (green ash trees) เพื่อเปรียบเทียบกับ ซึ่งทั้งคู่มีความแตกต่างกันตรงที่ ต้นแพโกดาญี่ปุ่น จะมีใบที่อ่อนนุ่มกว่าและเป็นที่โปรดปรานของแมลง
ด้วยการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ 30 แห่งที่แต่ละต้นอยู่ห่างกันประมาณ 100 เมตรบนถนนสายหลักที่มีแสงไฟส่องตลอดทั้งคืน ทีมวิจัยได้ใบไม้มาทั้งหมดเกือบ ๆ 5,000 ใบเพื่อนำมาวิเคราะห์ลักษณะต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็น ขนาด ความเหนียว ปริมาณน้ำ ระดับของสารอาหาร และการป้องกันทางเคมี
โดยทั่วไปแล้วใบที่มีขนาดใหญ่จะบ่งชี้ถึงการจัดสรรทรัพยากรของต้นไม้ไปใช้ในการเติบโตมากกว่า ขณะที่ความเหนียวและระดับการป้องกันทางเคมีที่สูงขึ้น ก็บ่งชี้ว่าต้นไม้เลือกที่จะป้องกันตัวเองมากกว่าจะเติบโต และในอีกทางหนึ่งหากมีน้ำกับสารอาหารที่สูงกขึ้น ก็ชี้ให้เห็นว่าต้องการหลอกล่อให้สัตว์มากินพืช
#กลืนยาก
เมื่อวิเคราะห์เสร็จ ทีมวิจัยก็พบว่าแสงเทียมที่มีระดับสูงขึ้นจะทำให้ใบไม้แข็งขึ้น และยิ่งแข็งขึ้นเท่าไหร่แมลงก็จะกินได้น้อยลง หรือกล่าวง่าย ๆ พวกมันเลือกที่จะป้องกันตัวเองมากขึ้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าทำไมต้นไม้จึงทำเช่นนั้น
“กลไกเบื้องหลังของรูปแบบนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์” ดร. Zhang บอก “เป็นไปได้ว่าที่ต้นไม้ได้รับแสงเทียมในเวลากลางคืน อาจยืดระยะเวลาการสังเคราะห์แสงออกไป นอกจากนี้ ใบไม้เหล่านั้นอาจจัดวรรทรัพยากรให้กับสารประกอบเชิงโครงสร้างเช่น เส้นใยที่มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ใบมีความเหนียวมากขึ้น”
ทีมวิจัยระบุว่าเมื่อได้รับแสงเทียม ต้นแพโกดาญี่ปุ่นจะมีระดับสารอาหารอย่างฟอสฟอรัสต่ำกว่าปกติ ขณะที่ต้นกรีนแอชทรีกลับมีระดับไนโตรเจนสูงกว่า มีใบที่เล็กกว่า และมีการป้องกันทางเคมีที่ต่ำกว่า พวกเขาอธิบายเสริมว่า อาจเป็นเพราะต้นกรีนแอชทรีไม่ได้เป็นเป้าหมายของการถูกกินอยู่แล้ว
ดังนั้นพวกมันจึงสามารถจัดสรรทรัพยากรไปใช้กับการเจริญเติบโตได้ กลับกัน ต้นแพโกดาญี่ปุ่นที่เป็นที่โปรดปรานของแมลงจำเป็นต้องทุ่มทรัพยากรของมันไปกับการป้องกันมากขึ้น ทำให้มีปริมาณสารอาหารลดลง และลดลงยิ่งไปอีกเมื่อโดนแสงเทียม
#แมลงที่หิวโหย
“การกินพืชที่ดลงนี้อาจนำไปสู่ผลกระทบทางโภชนาการแบบลูกโซ่ในระบบนิเวศ” ดร. Zhang กล่าว “การกินพืชที่ลดลงนี้บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของแมลงกินพืชที่ลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้แมลงนักล่า นกที่กินแมลง และอื่น ๆ มีน้อยตามลงไป ซึ่งแนวโน้มนี้ถูกสังเกตได้ทั่วโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา”
กล่าวอยางสรุปง่าย ๆ แสงเทียมที่เปิดไว้ตลอดทั้งคืนทำให้ใบไม้แข็งจนแมลงขาดแคลนอาหาร และทำให้พวกมันมีจำนวนลดลงในระบบนิเวศ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้สิ่งมีชีวิตที่กินแมลงเหล่านั้นเป็นอาหาร ขาดแคลนตามกันไปจนกลายเป็นแนวโน้มที่น่ากังวล
แมลงกินพืชเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นอาหารสำคัญให้กับระบบนิเวศเทานั้น แต่ยังมีส่วนสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ พวกมันกินพืชที่เน่าเผื่อย ช่วยย่อยสลายใบไม้ และคืนสารอาหารให้กับดิน ทำให้ดินในเมืองมีสุขภาพดีเอื้อเฟื้อต่อการเติบโตของพืชที่เป็นร่มเงาและฟอกอากาศให้กับเมือง
แต่เราจะทำอย่างไรได้บ้าง? เพราะหากปิดไฟทั้งหมด เมืองก็ตงจะมืดจนอันตรายและน่ากลัว ทางดร. Zhang แนะนำว่าให้ลดความเข้มข้นของแสงลงเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ขณะเดียวกันควรเน้นการให้แสงสว่างในเวลาและสถานที่ที่จำเป็น เซ็นเซอร์อัตโนมัติอาจช่วยได้ รวมถึงแผงกันแสงสำหรับต้นไม้
ขณะเดียวกัน ผู้คนทั่วไปก็สามารถช่วยได้ด้วยเช่นกัน โดยการเปิดใช้แสงเมื่อจำเป็นและปิดเมื่อไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากแสงอาจกระจายออกไปผ่านหน้าต่างและส่งผลกระทบกับต้นไม้รอบข้าง
ที่มา
https://www.frontiersin.org/journals/plant-science/articles/10.3389/fpls.2024.1392262/full
https://www.nationalgeographic.com/environment/article/artificial-night-sky-light-pollution-trees-insects
https://phys.org/news/2024-08-streetlights-night-tough-insects-threatening.html
https://www.newscientist.com/article/2440665-streetlights-may-make-tree-leaves-tough-and-hard-for-insects-to-eat/
https://www.theguardian.com/environment/article/2024/aug/05/all-night-streetlights-make-leaves-inedible-to-insects-study-finds
Photo : vvoennyy/Envato

24/07/2024

🍄🍄🍄 #เห็ดพิษ (Poisonous Mushroom) 🍄🍄🍄
สามารถจำแนกเห็ดพิษได้ 14 ประเภท คือ
1. เห็ดพิษที่มี cyclopeptide เป็นส่วนประกอบ
2. เห็ดพิษที่มี gyromitrin เป็นส่วนประกอบ
3. เห็ดพิษที่มี muscarine เป็นส่วนประกอบ
4. เห็ดพิษที่มี coprine เป็นส่วนประกอบ
5. เห็ดพิษที่มี ibonic acid และ muscimol เป็นส่วนประกอบ
6. เห็ดพิษที่มี psilocybin เป็นส่วนประกอบ
7. เห็ดพิษที่มีสารพิษต่อระบบทางเดินอาหาร
8. เห็ดพิษที่มี orellanineและ orellinine เป็นส่วนประกอบ
9. เห็ดพิษที่มี allenic norleucine เป็นส่วนประกอบ
10. เห็ดพิษที่ทำให้กล้ามเนื้อลายสลาย
11. เห็ดพิษที่มี erythromelalgia acromelic acid เป็นส่วนประกอบ
12. เห็ดพิษที่มี polyporic acid และเห็ดพิษที่ทำให้เกิดโรคสมอง
13. เห็ดพิษที่ทำให้เกิด immune mediated hemolytic anemia
14. เห็ดพิษที่ทำให้เกิด lycoperdonosis

ขอบคุณเนื้อหาจาก
ธนพล นิ่มสมบูรณ์ และนันทนา นิ่มสมบูรณ์. 2564. เห็ดพิษ. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 31 (2):73-87.

24/07/2024

เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก (Termite mushroom) เป็นเห็ดที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับปลวก (obligate symbiosis) โดยต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน

เห็ดโคนจะเจริญเติบโตออกจากรังปลวกหรือจอมปลวก ถ้าพบเห็ดโคนเจริญเติบโตในบริเวณใดก็ตามเมื่อขุดลึกลงในดินจะพบรากเห็ดโคนเจริญมาจากรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb) เมื่อเห็ดโคนเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะมีการสร้างสปอร์บริเวณครีบดอก และในขณะที่ดอกเห็ดบานออกจะปล่อยสปอร์ที่แก่หลุดออกจากดอก ซึ่งจะถูกลมพัดพาไปตกในบริเวณที่เหมาะสม หรือบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมากๆ จะมีกลิ่นดึงดูดปลวกได้เป็นอย่างดี

ปลวกจะกินอินทรียวัตถุเป็นอาหารพร้อมกับคาบบางส่วนเข้าไปในรังปลวกเพื่อเก็บเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน การสร้างรังปลวกจะเริ่มที่ผิวดินก่อน สปอร์ของเห็ดโคนจะเข้าไปในรังปลวกพร้อมกับเจริญเติบโตเป็นเส้นใยอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน จากนั้นเส้นใยของเห็ดโคนก็จะพัฒนาไปเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่บริเวณสวนเห็ดซึ่งอยู่ภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน ถ้าสภาวะแวดล้อม อุณหภูมิ และความชื้นเหมาะสมตุ่มดอกจะค่อยๆ พัฒนา และเจริญไปเป็นดอกเห็ดโคนต่อไป

การสร้างรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb)

ปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราจะขับถ่ายมูลออกมาสองชนิดคือ ชนิดแรกเป็นมูลที่ถูกย่อยภายในลำไส้เพียงเล็กน้อยและอยู่ในสภาพเป็นของแข็ง และชนิดที่สองเป็นมูลที่ถูกย่อยภายในลำไส้อย่างดีแล้วและอยู่ในสภาพเป็นของเหลว

มูลชนิดแรกประกอบด้วยเศษพืช (เศษไม้) ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ปลวกกัดกินเข้าไป และผ่านกระเพาะของปลวกออกมาอย่างรวดเร็ว โดยในขณะที่ผ่านกระเพาะปลวกนั้น เศษพืชถูกคลุกเคล้าด้วยน้ำย่อย ดังนั้นมูลที่ถ่ายออกมาจึงมีรูปร่างเป็นท่อนกลมสั้นๆ ซึ่งต่อมาจะถูกกราม (mandibles) ของปลวกกัดจนเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วนำไปสร้างเป็นรังเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งมีลักษณะคล้ายฟองน้ำมีรูพรุน รูปร่างติดต่อกันเป็นร่างแห ลักษณะของรังเลี้ยงตัวอ่อนมีลวดลายแตกต่างกันบางครั้งสามารถบอกสกุลของปลวกได้ (สุมาลี, 2547)

ในขณะที่ปลวกสร้างรังเลี้ยงตัวอ่อนนี้เองจะมีราเกิดขึ้น โดยเส้นใยของราจะมารวมตัวกันเป็นก้อนราสีขาวขนาดเล็กมากที่เรียกว่า nodules อยู่บนรังเลี้ยงตัวอ่อนและเป็นอาหารของปลวก แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งปลวกจะกินน้อยลงทำให้ nodules เจริญรวมกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้นและยืดยาวเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน (pseudorhiza) งอกผ่านดินจนทะลุขึ้นเหนือผิวดินกลายเป็นดอกเห็ด

ปลวกเมื่อกินเส้นใยของราเข้าไปแล้วจะถ่ายมูลออกมาเป็นมูลชนิดที่สอง คือเป็นของเหลวซึ่งปลวกนำไปใช้เคลือบผนังด้านในของห้องเห็ด ดังนั้นรังเลี้ยงตัวอ่อนจะมีน้ำย่อยจากลำไส้ของปลวกผสมอยู่ด้วย น้ำย่อยนี้อาจจะ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เส้นใยของเห็ดโคนเจริญเติบโตดี ส่วนประกอบของรังเลี้ยง ตัวอ่อน (comb) สร้างจากกากอาหารของปลวกนั่นเอง

การเจริญเติบโตของเห็ดโคนจากการศึกษาของ Bels, P.J. and Pataragetvit, S. (1982) แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1

ระยะแรกจะเริ่มต้นภายในรังเลี้ยงตัวอ่อน (comb) ปรากฏกลุ่มของ เส้นใยที่มีลักษณะกลมมีขนาดเล็กกระจายกันอยู่ทั่วไป เส้นใยมีสีขาวคือกลุ่มของเส้นใยเห็ดโคน จากนั้นเส้นใยจะรวมตัวกันและจะเจริญเป็นปมเล็กๆ (nodules) ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.5-1.5 มม. และบางครั้งจะพบเส้นใยสีเขียวมะกอกซึ่งเป็นกลุ่มเส้นใยของเชื้อรา Xylaria sp. เจริญปะปนอยู่ด้วย บริเวณรังเลี้ยงตัวอ่อนจะมีตัวอ่อนของปลวกเป็นจำนวนมากกินเส้นใยและตุ่มเห็ดเป็นอาหาร ตัวอ่อนของปลวกจะช่วยกันดูแลและควบคุมการเจริญเติบโตของเส้นใย ซึ่งเป็นการกระตุ้นหรือช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดโคน และช่วยลดการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา Xylaria sp. ด้วย

ระยะที่ 2

เป็นระยะที่ปลวกกินเส้นใยเห็ดโคนน้อยลง เนื่องจากมีการอพยพไปสร้างรังใหม่ ทำให้เส้นใยเห็ดโคนเจริญเติบโตเป็นกลุ่มเส้นใยคล้ายกำมะหยี่ สีขาว โดยมีเชื้อราสีเขียวมะกอกของ Xylaria sp. เจริญควบคู่กันไปด้วย ในระยะที่สองนี้เส้นใยเห็ดโคนจะเริ่มพัฒนาไปเป็นส่วนที่คล้ายราก (pseudorhiza) ซึ่งจะเจริญเติบโตไปเป็นดอกเห็ดโคนต่อไป มักอยู่ในช่วงฤดูฝน บางครั้งพบว่าเชื้อรา Xylaria sp. ก็เริ่มพัฒนาเป็นดอกเช่นกัน จะมีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กสีดำ แต่ไม่สามารถเจริญผ่านชั้นของดินขึ้นมาได้ จะเกิดได้เฉพาะในรังปลวกเท่านั้น แต่สำหรับเห็ดโคนซึ่งมีหมวกดอกที่แข็งแรงสามารถ เจริญแทงผ่านทะลุชั้นของพื้นดินขึ้นมาได้

ระยะที่ 3

เป็นระยะสุดท้ายซึ่งไม่มีเชื้อเห็ดโคนและไม่มีตัวปลวก รังเลี้ยงตัวอ่อนจะมีสีเขียวปนดำ และมีเส้นใยของเชื้อรา Xylaria sp. ขึ้นกระจายอยู่ทั่วรังปลวกและบางครั้งอาจโผล่ออกมาจากรังปลวกได้ ในระยะแรกเส้นใยจะมีสีขาวภายหลังจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

นิเวศวิทยาของเห็ดโคน

การแพร่กระจายของชนิดเห็ดโคนจะเกิดควบคู่กันไปกับการกระจายตัวของชนิดปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราที่อาศัยอยู่ร่วมกัน พบขึ้นในประเทศที่อยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นเท่านั้น เช่น ทวีปแอฟริกา เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนพบอยู่ทางตอนใต้ของจีน ญี่ปุ่น และเกาะไต้หวัน

โดยจะพบเห็ดโคนขึ้นอยู่ทั่วไปในบริเวณพื้นที่ที่มีปลวกเพาะเลี้ยงเชื้อราสร้างรังอยู่ใต้พื้นดินหรือขึ้นบนจอมปลวก

ในประเทศไทยมีระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการเกิดเห็ดโคนเนื่องจากอยู่ในเขตมรสุมที่มีฝนตกชุก และส่วนใหญ่เห็ดโคนมักแพร่กระจายในสภาพนิเวศป่าที่ค่อนข้างโปร่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีป่าไผ่ขึ้นอยู่เห็ดโคนจะชอบขึ้น นอกจากนี้ยังพบมีการแพร่กระจายอยู่ในระบบนิเวศของป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ตลอดไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม เช่น สวนผลไม้ และสวนป่าสัก เป็นต้น ในประเทศไทยเห็ดโคนจะเริ่มออกตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ถ้าฤดูฝนยาวนานกว่าปกติอาจพบเห็ดโคนได้ในเดือนพฤศจิกายนหรือเดือนธันวาคม

ทางภาคใต้เห็ดโคนสามารถขึ้นได้สองครั้งต่อปี เห็ดโคนสามารถพบได้ทั้งชนิดที่ขึ้นอยู่บนจอมปลวกและบริเวณพื้นที่รอบๆ จอมปลวก หรือขึ้นกระจายอยู่บริเวณที่ราบหรือเนินบนพื้นดินทั่วไป โดยที่ไม่มีจอมปลวกแต่จะมีรังปลวกอาศัยอยู่ใต้ดิน โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ที่มีการปกคลุมด้วยเศษไม้และใบไม้ร่วงหล่นทับถมกันอยู่ โดยทั้งชนิดของเห็ดโคนและช่วงการเกิดดอกเห็ดจะแตกต่างกันออกไปตามสภาวะแวดล้อมในแต่ละพื้นที่

สภาพดินที่พบเห็ดโคนเจริญเติบโตจะเป็นดินเหนียว ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย และเป็นบริเวณที่มีความชุ่มชื้น อยู่เสมอ ส่วนบนพื้นดินจะปกคลุมด้วยเศษไม้และใบไม้ หรือต้นหญ้าก็ได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเกิดเห็ดโคนประมาณ 30-35 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินประมาณ 6.2-6.5 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบริเวณพื้นดินเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ และ ความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศประมาณ 85-90%

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดโคน

บริเวณรังปลวกที่มีเห็ดโคนขึ้นอยู่จะมีความชื้นสูงมาก อุณหภูมิภายในโพรงของรังปลวกประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายนอกรังปลวก ประมาณ 26-27 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 5.0-5.6 และความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศประมาณ 70-80%

ที่มา : เห็ดโคนกับปลวกและการเพาะเลี้ยงเห็ดโคน (2552) โดย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

cr.

https://www.facebook.com/share/p/Cv6KJPYEGaTVMHn2/?mibextid=oFDknk

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือ เอเลี่ยนสปีชีีส์ (alien species) หมายถึงทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ฯลฯ ที่ไม่ได้เป็นชนิดพันธุ์ดั้...
16/07/2024

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือ เอเลี่ยนสปีชีีส์ (alien species) หมายถึงทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ฯลฯ ที่ไม่ได้เป็นชนิดพันธุ์ดั้งเดิมในพื้นที่ เมื่อถูกนำเข้ามาแล้วสามารถรุกรานทำความเสียหายแก่ชนิดพันธุ์ดั้งเดิมได้ เช่น ปลาหมอคางดำที่เป็นประเด็นอยู่ในช่วงนี้

รู้จักเอเลี่ยนสปีชีส์ สัตว์ต่างถิ่นที่ทำให้ระบบนิเวศสั่นสะเทือน

“เอเลี่ยนสปีชีส์” (Alien Species)ถือเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ จากกรณีพบนกยูงอินเดียในป่าห้วยขาแข้งหรือ
แม้แต่การระบาดของอีกัวน่าเขียวในจังหวัดลพบุรีที่ผ่านมา สัตว์เหล่านี้ล้วนเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่หากอยู่รอดในระบบนิเวศนั้น ๆ ได้ จะกลายเป็นการรุกรานที่ส่งผลกระทบวงกว้างต่อระบบนิเวศ

เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) คือ สิ่งมีชีวิตต่างถิ่น ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิด ชนิดพันธุ์อยู่ในประเทศไทย อาจนำเข้ามาด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ไม่ว่าจะเพื่อการเกษตร การเพาะเลี้ยง หรือเป็นสัตว์เลี้ยงในทางด้านเศรษฐกิจ แต่หากเอเลี่ยนสปีชีส์เหล่านี้อยู่ผิดที่ผิดทางย่อมส่งผลกระทบมากกว่าสร้างประโยชน์

ข้อมูล : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า

#เอเลียนสปีชีส์ #สัตว์ต่างถิ่น #สัตว์ป่า #อุทยานแห่งชาติ #กรมอุทยานแห่งชาติ

บ้านแมลงลำปางร่วมจัดนิทรรศการงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 9 -11 กรกฎาคม 2567 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางขอเชิญ...
09/07/2024

บ้านแมลงลำปางร่วมจัดนิทรรศการงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ ระหว่างวันที่ 9 -11 กรกฎาคม 2567 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
ขอเชิญมาดูมาชมแมลงและเห็ดรา สอบถามข้อมูลและความรู้กับพี่ๆ ได้นะคะ

เห็ดเยื่อไผ่หรือเห็ดร่างแห เป็นหนึ่งชนิดที่อยู่ในกลุ่มเห็ดเขาเหม็น เห็ดเยืีอไผ่สีขาวเป็นเห็ดที่กินได้และสามารถเพาะเลี้ยง...
09/07/2024

เห็ดเยื่อไผ่หรือเห็ดร่างแห เป็นหนึ่งชนิดที่อยู่ในกลุ่มเห็ดเขาเหม็น เห็ดเยืีอไผ่สีขาวเป็นเห็ดที่กินได้และสามารถเพาะเลี้ยงเป็นอาหารได้

14/06/2024
วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ 1 (ลำปาง) "บ้านแมลงลำปาง" และศูนย์คุ้มครองพันธุ์พืช...
12/06/2024

วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ 1 (ลำปาง) "บ้านแมลงลำปาง" และศูนย์คุ้มครองพันธุ์พืชป่าจังหวัดลำปางออกพื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านพืช แมลงและเห็ดรา แก่น้องๆ นักเรียน โรงเรียนบ้านห้วยอูน อ.งาว จ.ลำปาง ในระดับชั้น ป.4 - ป.6 จำนวน 38 คน น้องๆให้ความสนใจสอบถาม เรียนรู่เรื่องน่ารู้ต่างๆ ด้วยความสนใจกันเป็นอย่างมากครับ โอกาสหน้า พี่ๆจากหน่วยจะแวะมาให้ความรู้และความสนุกอีกน่ะครับ

เตือนภัยผู้ที่ชอบทานเห็ดป่าให้ระวัง แยกให้ออกก่อนนำมาประกอบอาหาร เห็ดระโงก ทานได้ ผ่าแล้วก้านกลวง โคนก้านเป็นถุง ส่วนเห็...
09/06/2024

เตือนภัยผู้ที่ชอบทานเห็ดป่าให้ระวัง แยกให้ออกก่อนนำมาประกอบอาหาร เห็ดระโงก ทานได้ ผ่าแล้วก้านกลวง โคนก้านเป็นถุง ส่วนเห็ดระงากตีนตัน โคนติดกันผ่าก้านไม่กลวง

เตือนกันนะครับ ล่าสุดที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก กินเห็ดระงากดอกในภาพนี้เลย ดูผิวเผินจะคล้ายเห็ดระโงกมาก โดยกินทั้งหมด 6 คน เสียชีวิต 2 คน กินวันเสาร์ มีอาการท้องเสีย ตอนแรกคิดว่าท้องเสียธรรมดา มาหาหมอวันจันทร์ แต่ไม่ทันแล้วครับ ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยนะครับ #เห็ดพิษ #เห็ดระงาก #เห็ดระโงก

ปีนี้เห็ดถอบออกเยอะมาก มีป่ามีต้นไม้ มีเห็ด ไม่เผาก็มีเห็ดได้นะ
08/06/2024

ปีนี้เห็ดถอบออกเยอะมาก มีป่ามีต้นไม้ มีเห็ด ไม่เผาก็มีเห็ดได้นะ

ชาวบ้านหาเห็ดได้ตลอดวัน ในพื้นที่ อช.แม่ปิง อ.ลี้ จ.ลำพูน เหตุปีนี้ป่าเห็ดไม่ถูกไฟเผาเลย แม้จะถูกลอบจุดไม่ต่ำกว่า 7 ครั้ง
แต่ก็ป้องกันไว้ได้สำเร็จ

นอกจากเห็ดเผาะแล้ว ป่าที่ไม่โดนไฟนั้นจะให้เห็ดดอก-เห็ดใบด้วย ส่งผลให้สามารถสร้างรายได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่างยั่งยืน รวมทั้งในป่ายังสามารถพบเห็ดโคนเหนือจอมปลวกอีกด้วย เห็ดเหล่านี้มีราคาได้สูง ทำให้ในหนึ่งวันของการหาเห็ดในป่า สามารถสร้างรายได้ต่อค่อนข้างสูง (900-2,000 บาท/วัน)

เห็นได้ชัดว่า การเผาไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ใครทั้งนั้น หากทุกป่าอุดมสมบูรณ์ ทุกอย่างจะเกื้อหนุนให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้ไม่สิ้นสุด

ภาพ อาณาจักร โกวิทย์
อ้างอิง/ข้อมูล ฝ่าฝุ่น/อาณาจักร โกวิทย์
สนับสนุนโดย สยามทีวี ดิจิตอล สโตร์
ศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า, มือถือและไอทีที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ
คลิกเลย! https://bit.ly/3OT4wAo

#เชียงใหม่นิวส์

ยางนา ต้นไม้ทรงโปรดของพระราชา ร.9 ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ได้น้ำฝนชุ่มฉ่ำงอกเป็นกล้าน้อยๆ ที่จะค่อยๆ เติบโตเป็นต้นไม้สูงใหญ่...
05/06/2024

ยางนา ต้นไม้ทรงโปรดของพระราชา ร.9
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ได้น้ำฝนชุ่มฉ่ำงอกเป็นกล้าน้อยๆ ที่จะค่อยๆ เติบโตเป็นต้นไม้สูงใหญ่ในวันหน้า ตอนหน้าแล้งร่วงหล่นสภาพแห้งมากไม่คิดว่าจะงอกเยอะ กล้าชุดนี้จะถูกเพาะร่วมกับเห็ดราไมคอร์ไรซาที่ช่วงนี้เบ่งบานขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เห็ดเผาะ เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดหล่ม เห็ดหน้าม่อย ฯลฯ เห็ดราและต้นไม้อยู่ร่วมแบบพึ่งพาอาศัย พอดินมีความชื้นก็จะให้ผลผลิตเป็นอาหารป่าที่เลี้ยงผู้คนมายาวนาน
#มาปลูกป่ากันเถอะ

04/06/2024

ด้วงมูลสัตว์ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Dung Beetle จัดเป็นแมลงปีกแข็ง มีหลายชนิด ส่วนมากสีน้ำตาลเข้มออกไปทางดำ สีดำ บางครั้งอาจพบสีเขียว มีรูปร่างลักษณะเป็นรูปไข่ หนวดเป็นแบบใบไม้ ปากเป็นแบบปากกัด ขาคู่หน้ามีลักษณะเป็นแผ่นแบน ขาอีก 2 คู่ที่เหลือมีลักษณะแบนกว้าง เพศผู้ของด้วงมูลสัตว์มักมีเขาลักษณะต่างๆกัน ด้วงมูลสัตว์จะกลิ้งมูลสัตว์เช่น มูลวัว มูลควายเป็นก้อนกลมไว้สำหรับเป็นอาหารของหนอนในรุ่นลูกต่อไป นอกจากนี้ยังช่วยกระจายพันธุ์พืชในระบบนิเวศป่าไม้
ที่มา : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ที่อยู่

ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ที่ 1 (ลำปาง) เลขที่ 171 หมู่ 6 ต. บ้านหวด อ. งาว จ. ลำปาง
Amphoe Ngao
52110

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 15:30
อังคาร 08:30 - 15:30
พุธ 08:30 - 15:30
พฤหัสบดี 08:30 - 15:30
ศุกร์ 08:30 - 15:30
เสาร์ 09:00 - 15:00
อาทิตย์ 09:00 - 15:00

เบอร์โทรศัพท์

+66616546615

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ บ้านแมลงลำปางผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง บ้านแมลงลำปาง:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


บริษัทท่องเที่ยว อื่นๆใน Amphoe Ngao

แสดงผลทั้งหมด