![[FEATURE] Communication Series #15 Digital Advertising Channels (3) ช่องทางการโฆษณาออนไลน์ ตอน 2 ตอนที่แล้วเราพูดถึงช่อ...](https://img3.travelagents10.com/290/658/1351332502906583.jpg)
07/01/2025
[FEATURE]
Communication Series #15 Digital Advertising Channels (3) ช่องทางการโฆษณาออนไลน์ ตอน 2
ตอนที่แล้วเราพูดถึงช่องทางโฆษณาออนไลน์ไปแล้ว 5 ช่องทาง ในตอนนี้เราจะมานำเสนอต่ออีก 5 ช่องทางดังต่อไปนี้ครับ
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ TikTok Ads
สำหรับช่องทางโฆษณาออนไลน์อย่าง Tiktok ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากและขยับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับแบรนด์ที่มีเป้าหมายในการสื่อสารกับลูกค้าช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี Tiktok ยิ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ มาดูกันว่าการสร้างโฆษณาบนช่องทางนี้ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
วิธีการทำงานของ Tiktok Ads
ขั้นตอนของ Tiktok Ads นั้นมี 3 ขั้นตอนก็คือ
1. Campaign ที่แบรนด์กำหนดวัตถุประสงค์ซึ่งตรงนี้จะขึ้นอยู่กับประเทศหรือพื้นที่ที่เราอยู่ บางพื้นที่อาจจะมี Objective ให้เลือกเยอะแต่บางพื้นที่มีให้เลือกน้อย
2. Ads Group กำหนด Target Audience ผ่าน Demographic และยังสามารถสร้าง Audience ได้ 3 ประเภท ได้แก่ Core Audience, Custom Audience, และ Lookalike เหมือน Facebook และ Instagram Ads
3. Ads ในขั้นตอนสุดท้ายคือการสร้างโฆษณา โดยที่ Tiktok จะให้เราเลือกใช้ได้ 2 รูปแบบคือ รูปภาพและวิดีโอ (สำหรับรูปภาพหลายภาพ Tiktok จะสร้าง Slideshow มาเป็นวิดีโอให้)
หลังจากที่เราได้ทำการเผยแพร่โฆษณาแล้ว เราจะมี Dashboard ไว้สำหรับติดตาม Performance ของโฆษณาและยังสามารถใช้ Filter เพื่อกรองข้อมูลและเลือกตรวจสอบได้ อย่างเฉพาะเจาะจงได้ด้วย
รูปแบบโฆษณาที่ช่องทางออนไลน์นี้มีไว้ให้เรามีอยู่ 5 ประเภทคือ
1. In-Feed Ads คือโฆษณาที่จะโผล่มาระหว่างคอนเทนต์ ทำให้ดูกลมกลืนไปกับวิดีโอของ Creator คนอื่น ๆ มีเพียงแค่ Call-to-Action กำกับไว้
2. Brand Takeover Ads คือโฆษณาที่ผู้ใช้งานจะเจอเป็นอันดับแรกหลังกดเข้าใช้งาน Tiktok ซึ่งจะเป็นการ Takeover หน้าจอของผู้ใช้งาน เหมาะกับการทำโฆษณาประเภท Awareness หรือ Conversion (ราคาแพงพอสมควร)
3. Top View Ads คือโฆษณาที่คล้ายคลึงกับ Takeover แต่ว่า Top view จะอยู่อันดับแรกของหน้าฟีดเท่านั้น ไม่ได้เจอแบบ Full-Screen เหมือน Takeover
4. Hashtag Challenge Ads คือโฆษณาที่มีความเป็น Tiktok สูงมาก เพราะว่าเราสามารถสร้าง # ขึ้นมาเพื่อให้เหล่า Creator ร่วมสร้างวิดีโอแนว User-generated Content (UGC) และช่วยสร้าง Brand Awareness ด้วยเช่นกัน
5. Branded Effects Ads หรือโฆษณาที่เราสามารถสร้าง Sticker หรือ Filter ไว้ให้ผู้ใช้ งานเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ เป็นช่องทางการสร้าง UGC ที่ดีอีกทาง
ซึ่งโฆษณาแต่ละประเภทจะมีราคาที่แตกต่างกัน โดยที่ราคาเริ่มต้นของ Campaign จะอยู่ที่ประมาณ $500 และสำหรับ Ads Group อยู่ที่ $50 ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทและเวลาติดตั้งโฆษณาหรือสามารถทำความรู้จักกับการทำโฆษณาบน Tiktok ก่อนลงมือทำจริงจังได้
จุดเด่นของ Tiktok Ads
* Tiktok Ads เปิดพื้นที่ให้แบรนด์ที่อยากใช้ความสร้างสรรค์ของตัวเองมาโปรโมทสินค้าและบริการ รวมถึงยังให้โอกาสเหล่า Creator ร่วมสร้าง UGC ของตัวเองช่วยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ออกเป็นวงกว้าง
* Tiktok Ads คือ Social Media ที่ไม่เป็นรองแอปพลิเคชั่นอื่นเลย ไม่ว่าจะจำนวนผู้ใช้งานหรือจำนวนผู้ดาวน์โหลดก็มีเยอะพอกับแอปยักษ์ใหญ่ตัวอื่น มีโอกาสสูงที่จะมีคนมารู้จักหรือเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางนี้
จุดด้อยของ Tiktok Ads
* Tiktok Ads ไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีงบโฆษณาจำกัดหรือไม่สามารถยืดหยุ่นได้ เพราะมีราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะโฆษณารูปแบบ Takeover
* Tiktok Ads ไม่เหมาะกับโฆษณาที่ต้องใช้ Text หรือรูปภาพที่เยอะเกินไป ทั้งนี้ Tiktok อาจจะไม่ใช่ทางเลือก ถ้าแบรนด์ไม่ได้มีความตั้งใจจะโปรโมทโฆษณาผ่านรูปแบบวิดีโอ
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Google Ads
มาถึงช่องทางโฆษณาออนไลน์ที่เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักอย่างมากในโลกของการยิง Ads นั่นก็คือ Google หรือระบบ Search Engine ยักษ์ใหญ่ที่เป็นที่พึ่งพาในการช่วยหาคำตอบของผู้คนทั่วโลก
ซึ่งนอกจากจะเป็นห้องสมุดออนไลน์ของผู้ใช้งานแล้ว Google ยังเป็นพื้นที่ที่เราสามารถดึงดูดผู้คน เข้ามาหาธุรกิจของเราผ่านโฆษณาบนหน้าผลลัพธ์หรือ Search Engine Result Page (SERP) และพาร์ทเนอร์ของ Google ทั้งนี้ตัวอย่างที่เราเคยพบเจอมา อาจจะเป็นในรูปแบบของ Paid Search ที่มีคำว่า Ads กำกับไว้ หรือ เป็นโฆษณาแบนเนอร์ที่พบเจอตามเว็บไซต์ เอาละมาดูกันว่า Google Ads ทำงานอย่างไร
วิธีการทำงานของ Google Ads
หลักการทำงานของ Google Ads นั้นจะใช้ระบบ Bid หรือการที่แบรนด์ต้องประมูลซื้อคีย์เวิร์ดเพื่อให้อยู่บนอันดับต้นของพื้นที่โฆษณา (Ad Rank) ของ Google, Youtube, รวมไปถึงเว็บไซต์ที่เป็น Partner กับ Google ซึ่งการที่จะให้โฆษณาของแบรนด์ไต่ขึ้นไปอยู่บนทำเลที่ดีและปรากฎบนหน้าจอของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบไปด้วยปัจจัยที่หลากหลาย นั่นคือ
1. Quality Score หรือคะแนนวัดคุณภาพของโฆษณา Google จะตรวจสอบโฆษณาของแบรนด์ว่ามีเนื้อหาตรงตาม Search Intent ของผู้ใช้งานหรือไม่ รวมถึงการตอบสนองของเว็บไซต์ต่อ Google ว่ารองรับการใช้งานทั้ง Desktop และ Mobile หรือไม่
2. Maximum Bid หรือจำนวนเงินที่สูงที่สุดที่แบรนด์สามารถจ่ายได้ในแต่ละครั้ง เมื่อมีผู้ใช้งานเข้าไปชมเว็บไซต์
3. Location หรือสถานที่ที่แบรนด์กำหนดในการแสดงโฆษณา ซึ่งส่วนนี้มีผลกับ placement ของโฆษณาเหมือนกันเพราะ Google จะแสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานมากที่สุด
4. Keyword ปัจจัยข้อนี้สำคัญกับแบรนด์อย่างมาก เพราะแบรนด์ต้องศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและเลือกยิงโฆษณาไปปสื่อสารกับพวกเขาผ่านคีย์เวิร์ดเหล่านั้น
5. Match Types คือเครื่องมือที่ Google เอาไว้ให้แบรนด์สามารถจัดกลุ่มคีย์เวิร์ดในการยิงโฆษณาได้โดยเครื่องมือนี้แบ่งคีย์เวิร์ดออกเป็น 3 ประเภท (ฉบับอัพเดต 2021)
* Broad Keyword คือค่าเริ่มต้นที่ Google จะทำการแสดงผลโฆษณาของแบรนด์ผ่านทุกคำในคีย์เวิร์ดที่แบรนด์เลือกใช้ ทำให้แบรนด์เสียค่าคลิกค่อนข้างเยอะ
* Phrase Keyword คือชุดคีย์เวิร์ดที่ Google จะแสดงผลโฆษณาของแบรนด์ผ่านทุกประโยคหรือคำที่มีคีย์เวิร์ดของแบรนด์อยู่ ซึ่งประโยคนั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ไม่มากก็น้อย
* Exact Keyword คือชุดคีย์เวิร์ดที่ Google เลือกแสดงผลโฆษณาตามคีย์เวิร์ดของ แบรนด์แบบเป๊ะๆ ทุกคำ โดยชุดนี้จะตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
6. Headline & Description สองสิ่งนี้บนหน้า Search Engine Result Page มีความสำคัญ ถึงแม้คีย์เวิร์ดจะตรงตามกลุ่มเป้าหมาย แต่ถ้า Headline หรือคำอธิบายของเว็บไซต์ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายก็ส่งผลให้คลิกก็น้อยลง
7. Ad Extension หรือส่วนขยายของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้งานรู้จักข้อมูลของแบรนด์มากยิ่งขึ้น โดยที่การแสดงผลของ Extension มีหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น Sitelink, Call Extension, Location Extension และ App extension เป็นต้น
หลังจากแบรนด์ได้ทำการ bid คีย์เวิร์ดเพื่อให้โฆษณาแสดงผลแล้วนั้น รูปแบบของโฆษณาของ Google Ads ไม่ได้มีแค่โฆษณาที่ขึ้นอยู่บน Ad Rank เพียงอย่างเดียว แต่มีถึง 5 ประเภทด้วยกัน คือ
* Search Ads หรือโฆษณาที่แสดงผลหลังจากการเสิร์ชคีย์เวิร์ดผ่าน Google โดยที่โฆษณา ประเภทนี้คือส่วนหนึ่งของ Search Engine Marketing (SEM)โดยมีคำว่า Ads กำกับไว้
* Display Ads (GDN) หรือโฆษณาที่มักจะปรากฎเป็นรูปแบบ Display บนเว็บไซต์ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google โดยที่ผู้ใช้งานมักจะพบเห็นอยู่บ่อยครั้งเวลาเข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนประกอบหลักของ Display Ads ที่มักพบเห็นกันจะมีรูปภาพหรือวิดีโอ, Copy Writing และ Call-to-Action เชิญชวนให้คลิกเข้าไป โฆษณาประเภทนี้มีอีกชื่อคือ Google Display Network (GDN)
* Video คือโฆษณาคั่นระหว่างที่กลุ่มเป้าหมายกำลังรับชมโฆษณาบน Youtube อยู่ (Youtube คืออีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Google) โดยที่ระยะเวลาของโฆษณามักจะไม่เกิน 1-2 นาที
* App อีกรูปแบบโฆษณาของ Google ที่เปิดโอกาสให้สายผลิตหรือ App Developer สามารถโปรโมทแอปพลิเคชั่นของตัวเองได้ผ่าน Google Displat Network เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายดาวน์โหลดแอปพลิชั่น โดยที่แบรนด์ทำเพียงแค่บอกข้อมูลของแอป, กลุ่มเป้าหมาย, และราคากับ Google ก็เพียงพอและหลังจากนั้น Google จะจัดการแสดงผลโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เอง
* Shopping อีกรูปแบบโฆษณาที่น่าสนใจและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายพอสมควรคือการแสดงผลโฆษณาพร้อมรายการสินค้าประกอบด้วย รูปภาพ ชื่อ ราคา และเว็บไซต์ปลายทางช่วยให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจได้ง่ายขึ้นและสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าได้ทันที (แบรนด์ต้องสร้างบัญชีกับ Google Merchant Ads ก่อนลงโฆษณาประเภทนี้)
จุดเด่นของ Google Ads
* Google Ads สามาถเจาะกลุ่มลูกค้าได้อย่างชัดเจนและแสดงผลได้หลากหลายรูปแบบ
* Google Ads มี Google Dispay Network ที่เป็นพาร์ทเนอร์ครอบคลุมทั่วโลก
* Google Ads ทำงานแบบระบบ Bid ที่แบรนด์จะจ่ายเงินต่อเมื่อมีคนคลิกเข้าเว็บไซต์
จุดด้อยของ Google Ads
* Google Ads มีการใช้งานที่ค่อนข้างซับซ้อนต้องเรียนรู้และต้องทำการ Research Keyword อย่างละเอียดและเพิ่ม Negative Keyword ให้เพียงพอก่อนทำการลงโฆษณาเพื่อให้มั่นใจว่า Google Ads จะแสดงผลโฆษณาให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ YouTube Ads
YouTube หรือช่องทางวิดีโอที่จัดเป็น Search Engine ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก Google และนับว่าเป็นอีกช่องทางที่สร้างความบันเทิงให้ผู้เข้าชม ซึ่ง YouTube เป็นเครื่องมือสำหรับแบรนด์ที่อยากเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยคอนเทนต์หลากหลาย รูปแบบ มาดูกันว่า YouTube Ads ทำงานอย่างไร
วิธีการทำงานของ YouTube Ads
เนื่องจากว่า YouTube เป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้ Alphabet (เจ้าของเดียวกับ Google) ดังนั้นการจะสร้างแคมเปญจึงต้องต้องซื้อผ่าน Google Ads ซื้อโฆษณาบนช่องทางออนไลน์นี้ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ
1. Campaign คือขั้นตอนที่เราจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์และรูปแบบของโฆษณาโดยที่วัตถุประสงค์ของ Youtube Ad จะมีอยู่ 6 อย่าง
* Sales
* Leads
* Website Traffic
* Product and Brand Consideration
* Brands Awareness and Reach
* Without a goal’s guidance
และหลังจากกำหนด Objective ของโฆษณาแล้วเราต้องเลือกรูปแบบของโฆษณาโดยในทีนี้ต้องเลือกรูปแบบ Video และ Display เพื่อแสดงผลในรูปแบบของ Thumbnail ซึ่งในส่วนนี้จะต้องเลือกรูปแบบย่อย (Subtype) ของโฆษณาด้วย
2. Campaign Parameters คือขั้นตอนกำหนดตัวแปรของโฆษณา ไม่ว่าจะเป็น Bid Strategy, Budget & Schedule, Ads Placement, และ Sensitivity ของโฆษณา
3. Target Audience คือขั้นตอนที่เราต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายผ่าน Demographic
4. Launch Campaign หลังจากกำหนดทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็สามารถปล่อยโฆษณาได้เลย
ซึ่งประเภทของโฆษณาที่ YouTube มีให้เราเลือกใช้งานหรือแสดงผลนั้นมีอยู่ 4 ประเภท
1. Skippable In-Stream Ads คือโฆษณาที่ผู้ใช้งานสามารถกด Skip ได้หลังจากการแสดงผล 5 วินาทีโดยมักจะปรากฎช่วงก่อนวิดีโอเล่นหรือระหว่างที่วิดีโอกำลังเล่น
2. Non-Skippable In-Stream Ads คือโฆษณาที่ผู้ใช้งานไม่สามารถกด Skip ได้เลยและผู้ใช้งานจะอยู่กับโฆษณาของเราถึง 15 วินาที
3. Video Discovery Ads คือการโฆษณาประเภท Native ที่จะแฝงตัวไว้ตามหน้าต่าง ๆ ของ YouTube ไม่ว่าจะเป็น Search Result Page, Watch Page, หรือ Homepage ก็ตาม
4. Non-Video Ads หรือโฆษณา Display ที่ไม่ใช่วิดีโอ มักจะโผล่มาเป็นรูปภาพตรง Sidebar หรือ Overlay อยู่ในวิดีโอ
จุดเด่นของ YouTube Ads
* YouTube Ads เป็นช่องทางโฆษณาออนไลน์ที่เหมาะกับการนำเสนอคอนเทนต์แบบวิดีโอ
* YouTube Ads ทำงานผ่าน Google Ads และแบรนด์สามารถวัดผลได้จากที่เดียวเลย
จุดด้อยของ YouTube Ads
* สำหรับการทำ YouTube Ads นั้นเราต้องลงทุนในการสร้างวิดีโอ
* YouTube Ads อาจมีข้อจำกัดในเรื่อง Targeting ซึ่งแบรนด์ต้องทำความเข้าใจก่อนใช้งาน
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Shopee Ads
สำหรับแพลตฟอร์ม e-commerce ยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee ที่เป็นพื้นที่คู่ใจขาช็อปปิ้ง เชื่อไหมว่าช่องทางนี้ก็เป็นอีกช่องทางที่แบรนด์ควรจับตามองเพราะ Shopee นับว่าเป็นช่องทางออนไลน์ที่มีจำนวนผู้ใช้งานเยอะและมีรูปแบบการทำโฆษณาที่น่าสนใจ
มาดูกันว่าบนช่องทางออนไลน์นี้จะมีรูปแบบโฆษณาอะไรและทำงานอย่างไรบ้าง
วิธีการทำงานของ Shopee Ads
สำหรับ Shopee แล้วนั้นการทำโฆษณาบนหน้า Shopping Platform จะทำออกมาในรูปแบบของ Native Ads ซึ่งทำให้เกิดความกลมกลืนไปกับภาพรวมของหน้าต่างนั้นเลย และแน่นอนว่ามีแนวโน้มส่งผลให้คนคลิกเข้าไปดูสินค้าด้วยเช่นกัน และก่อนการทำการลงโฆษณาทุกประเภท แบรนด์ต้องมีบัญชีร้านค้าอยู่ก่อนแล้ว โดยที่ทาง Shopee มีบริการลงโฆษณาอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท นั่นคือ
* Product Search Ads หรือการโฆษณาสินค้าผ่าน Keyword ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการทำ โฆษณาผ่านระบบ Search Engine เลย ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ
1. เลือกสินค้าที่ต้องการโฆษณา
2. เลือก Keyword ด้วยตัวเองหรือคำแนะนำจาก Shopee
3. กำหนดราคา Bid หรือราคาประมูลของ keyword
4. กำหนดงบประมาณและระยะเวลาแสดงผล
* Discovery Ads หรือพูดอีกอย่างก็คือโฆษณาที่จะแสดงบนพื้นที่ที่ผู้ใช้งานมีโอกาสพบเจอสูง เช่น Category สินค้าประจำวันบนหน้า Homepage และหน้าสินค้าที่คล้ายกัน เป็นต้น โดยที่จะไปปรากฎอยู่ใน 100 อันดับแรกของหน้าสินค้าที่คล้ายกันและ 35 อันดับแรกของสินค้าที่คุณอาจจะชื่นชอบและ 55 ตำแหน่งแรกของสินค้าแนะนำประจำวัน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกสินค้าที่ต้องการโฆษณา
2. กำหนดงบประมาณและช่วงเวลาแสดงผลของโฆษณา
* Shop Search Ads หรือการโฆษณาร้านค้าของแบรนด์ คราวนี้ไม่ใช่การโฆษณาสินค้าอีกต่อไป แต่เป็นการแสดงผลร้านผ่าน Keyword แทน โดยที่ร้านค้าของเราจะไปปรากฎที่หน้าผลลัพธ์การค้นหา มีขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดงบประมาณและช่วงเวลาแสดงผลของโฆษณา
2. เลือก Landing Page หรือร้านค้าปลายทางของเรา
3. เลือก Keyword ด้วยตัวเองหรือคำแนะนำจาก Shopee
4. กำหนดราคา Bid หรือราคาประมูลของ keyword
โดยที่การจ่ายเงินจะเป็นระบบ PPC หรือ Pay Per Click ถ้ามีผู้ใช้งานคลิกเข้าไปบนสินค้าของแบรนด์ ระบบจะทำการตัดเงินตั้งแต่ตอนนั้นและอันดับของ Ad Rank ก็ขึ้นอยู่กับมูลค่าของ Bid ที่แบรนด์ยอมจ่ายบวกกับคุณภาพของสินค้าว่ามีความเกี่ยวข้องกับ Keyword มากน้อยแค่ไหน
จุดเด่นของ Shopee Ads
* Shopee Ads มีระบบที่คล้ายคลึงกับ Google Ads ดังนั้นถ้ามีประสบการณ์อาจจะไม่ใช่เรื่องยากมาก
* Shopee Ads เน้นการทำ Native Ads ที่สามารถกลมกลืนโฆษณาไปกับหน้า Timeline ได้
จุดด้อยของ Shopee Ads
* Ad Rank ขึ้นอยู่กับจำนวนราคาประมูล Keyword อาจะไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มีงบจำกัด
ช่องทางโฆษณาออนไลน์ด้วยการใช้ Lazada
มาถึงช่องทางโฆษณาออนไลน์ตัวสุดท้ายที่เป็นบริษัท e-commerce ชื่อดังอย่าง Lazada ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกกับพ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ และ Lazada เองก็มีช่องทางสำหรับการโฆษณาบนแอปพลิเคชั่นในรูปแบบที่หลากหลายเช่นเดียวกัน
มาดูกันว่า Lazada จะมีรูปแบบโฆษณาประเภทใดบ้าง
วิธีการทำงานของ Lazada Ads
สำหรับการทำงานของโฆษณาบนช่องทางออนไลน์นี้นั้นจะเป็นในรูปแบบของ PPC ซะส่วนใหญ่ ซึ่งการซื้อโฆษณา Lazada Ads มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. Sponsored Product หรือการสปอนเซอร์สินค้าและบริการบน Lazada โดยที่จะทำงานผ่านระบบ CPC หรือ Cost Per Click คือระบบจะตัดเงินหลังจากมีการคลิกบนสินค้าบนหน้าสปอนเซอร์ ขั้นตอนการสร้างโฆษณาชนิดนี้มีดังนี้
1. ตั้งชื่อ Campaign และ กำหนดงบประมาณต่อวัน
2. เพิ่มสินค้าที่ต้องการโปรโมทผ่านสปอนเซอร์
3. ทำการ Launch โฆษณาได้
2. Partner Promotion หรือการโปรโมทสินค้าผ่านพาร์ทเนอร์ของ Lazada คล้ายกับการทำงานของ Google Display Network (GDN) โดยที่ Lazada จะนำแบนเนอร์ของเราไปโปรโมทบนพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งการคิดเงินจะเป็นระบบ CPS หรือ Cost Per Sale จะตัดเงินก็ต่อเมื่อสินค้าขายได้เท่านั้น
3. Search Ads หรือการโปรโมทสินค้าผ่านหน้าผลลัพธ์คล้ายกับการทำงานของ Google Ads
1. ตั้งค่า Campaign ของโฆษณาที่จะทำ
2. เลือกสินค้าที่ต้องการโฆษณา
3. เลือก Keyword ที่ต้องการ
4. ทำการประมูล Keyword (ยิ่งมาก Ad Rank ยิ่งสูง)
จุดเด่นของ Lazada Ads
* Lazada Ads มีการทำงานคล้าย Google Ads ที่สามารถจ่ายเงินเพื่อทำ Search Ads รวมถึง Display Ads ภายนอก
* Lazada Ads แบบ Partner Promotion จะไม่คิดเงินจากการคลิก แต่จากการซื้อขาย ทำให้แบรนด์ไม่ต้องเสียเงินหลายต่อ
จุดด้อยของ Lazada Ads
* Search Ads บน Lazada อาจไม่เหมาะกับแบรนด์ที่มี Budget จำกัดหรือไม่สามารถยืดหยุ่นได้
จากการรวบรวมช่องทางโฆษณาออนไลน์ทั้งหมดกว่า 10 ช่องทางทั้ง Facebook Ads, Instagram Ads, Twitter Ads, LinkedIn Ads, Tiktok Ads, LINE Ads platform, Google Ads, YouTube Ads, Shopee Ads และ Lazada Ads ซึ่งทั้งหมดก็มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของตัวเอง พื้นที่เหล่านี้ล้วนเป็นเหมือนเครื่องช่วยกระจายเสียงของแบรนด์ หรือสินค้า/ บริการไปยังผู้ฟัง ดังนั้นก่อนการเลือกจ่ายเงินเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการนั้น แบรนด์/ เราจำเป็นต้องรู้ว่าสินค้าและบริการของตัวเองคืออะไรและผู้ฟังของแบรนด์/ เราคือใครมีพฤติกรรมอย่างไร มักจะอยู่ในพื้นที่ออนไลน์แบบไหน คำถามเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถวาดภาพของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถสร้างแคมเปญที่ไปถึงกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริงเพราะว่ากลยุทธ์คือคือกำลังหลักของการทำธุรกิจ นั่นคือเราจะต้องรู้จักและเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างดีทั้งในแง่ customer persona customer insights รวมไปทั้งเข้าใจ customer journey และรู้จัก touch points ที่จะเข้าถึงพวกเขา ก็เพื่อจะได้เข้าหาพวกเขาได้อย่าง ถูกคน-ถูกที่-ถูกเวลา นั่นเอง
สำหรับตอนต่อไปเราจะมาคุยถึงกลยุทธ์การวางแผนโฆษณาออนไลน์ อย่าลืมติดตามกันนะครับ
ที่มาเนื้อหาและข้อมูล :
https://contentshifu.com/pillar/digital-advertising-channels
#ท่องเที่ยวโดยชุมชน #เที่ยวทั่วไทยยิ่งไปยิ่งติดใจ #ท้องถิ่นนิยม #3 #ช่องทางการโฆษณาออนไลน์ #ตอน2
บทความโดย
•อำพน แปลงไธสง
นักสื่อสารการตลาด/ อาจารย์/ วิทยากร/ นักท่องเที่ยวตัวยง/ หนอนหนังสือ/ คนติดหนัง
•วิศิษฐ เจียปิยะสกุล
นักสร้างแบรนด์ / สื่อสารการตลาด