สกสว. ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก สกสว., 979/17-21 SM Tower, Paholyothin Road, Bangkok.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีพันธกิจในการจัดทำนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และกรอบงบประมาณเพื่อการจัดสรรทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ ศึกษาสถานการณ์ภาพรวมด้านการวิจัยและนวัตกรรม การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ

🙌🏻 สกสว. ร่วมกับ สวทช. เปิดหลักสูตร RDI Manager ด้านเศรษฐกิจ รุ่นที่ 3 มุ่งพัฒนาศักยภาพหน่วยงานและบุคลากรในระบบ ววน. อย่...
16/01/2025

🙌🏻 สกสว. ร่วมกับ สวทช. เปิดหลักสูตร RDI Manager ด้านเศรษฐกิจ รุ่นที่ 3 มุ่งพัฒนาศักยภาพหน่วยงานและบุคลากรในระบบ ววน. อย่างต่อเนื่อง
📍สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ด้านเศรษฐกิจ รุ่นที่ 3” เพื่อเสริมสร้างให้หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ระบบ ววน.) มีระบบและบุคลากรด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่เข้มแข็ง ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและยกระดับประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงต่อไป
💬 รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สกสว. ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแล สำนักพัฒนาระบบ ววน. กล่าวว่า สกสว. มีพันธกิจสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานในระบบ ววน. และบุคลากรด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่เข้มแข็ง สามารถส่งมอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบสนองความต้องการการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ประโยชน์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (Research Development and Innovation Manager: RDI Manager) ด้านเศรษฐกิจ ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อยกระดับประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม เศรษฐกิจของประเทศ ให้ไปสู่อุตสาหกรรมไฮเทค (High Tech) ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
โดย ในปีที่ผ่านมา สกสว. และ สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต สวทช. ได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการพัฒนาผู้จัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ด้านเศรษฐกิจ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำความรู้ เครื่องมือที่ได้เรียนรู้ ไปปรับใช้กับการทำงานได้จริง และมีการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานในระบบ ววน. มีบุคลากรด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้พัฒนาต่อยอดหลักสูตรดังกล่าว ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายตามประเภทหน่วยงานในระบบ ววน. มากยิ่งขึ้น
💬ด้าน ดร.พัชร์ลิตา ฉัตรวริศพงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ สวทช. ได้รับโอกาสจาก สกสว. ในการร่วมพัฒนาโครงการ RDI Manager ด้านเศรษฐกิจ เพราะเป็นการพัฒนาศักยภาพ ให้แก่บุคลากรที่รับผิดชอบงานวิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในการจัดการงานวิจัย ใน 4 ด้านหลัก คือ
1.แหล่งทุน สิทธิประโยชน์และมาตรการภาษี
2.ศักยภาพตลาดและการเตรียมความพร้อมด้านการเงิน การลงทุน
3.การบริหารจัดการงานวิจัยและประเมินมูลค่าผลงาน และ
4.ทักษะเพื่อการขับเคลื่อนผลงานสู่การใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับบุคคลที่หลากหลาย ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม และการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยในครั้งนี้มีผู้ผ่านคัดเลือกเข้าอบรมจำนวน 40 ท่าน จาก 29 หน่วยงาน ที่จะได้เข้าร่วมอบรมทั้งการบรรยายเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมการศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ
💬 ทางด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา ศรีนวล ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ด้านพัฒนาระบบเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานและบุคลากร ววน. สกสว. กล่าวเสริมถึงความสำคัญของ RDI Manager ด้านเศรษฐกิจต่อระบบ ววน. โดยเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการบริหารจัดการงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ที่เน้นสร้างเทคโนโลยี นวัตกรรม โดยอาจอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ กระบวนการหรือบริการใหม่ และขับเคลื่อนไปสู่เชิงพาณิชย์ ที่มีเป้าหมายสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตหรือการบริการ เสริมสร้างความสามารถด้านการแข่งขัน หรือลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
✨ ทั้งนี้ สกสว. ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ SRI for ALL มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ ด้วยกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน SILK คือการสานพลัง Stakeholders & Strategic Partners พร้อมยกระดับระบบ ววน. ให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มุ่งเน้นการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายและสร้าง New S-Curve ตลอดจนการสร้างระบบ/แพลตฟอร์มเพื่อนำองค์ความรู้ของระบบ ววน. ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง

#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

สกสว.ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดระดมความเห็น ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอ...
15/01/2025

สกสว.ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดระดมความเห็น ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ 6 หน่วยงานภาคี ประกอบด้วย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จัดประชุม “ประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) ต่อ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย” เพื่อพิจารณากำหนดเป้าหมาย และทิศทางเชิงยุทธ์ศาสตร์การยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศ

สำหรับ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงของประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญ 2 มิติ คือ การดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ และการยกระดับความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้กับผู้ประกอบไทย โดยมีการวางกลยุทธ์และตัวชี้วัดในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาและสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้กับผู้ประกอบการผ่านการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนากำลังคนทักษะสูงเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ อย่างยั่งยืน ตลอดจนการกระตุ้นอุปสงค์เพื่อสร้างตลาดให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่นภายในประเทศ (local demand side) อันนำไปสู่การทำให้ประเทศไทยเป็นฐานของการผลิตในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลกและรองรับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมดิจิทัล

ทั้งนี้ ท่านสามารถอ่านข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับ เต็มได้ที่ https://www.tsri.or.th/
#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

📍สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผอ.สกสว.ได้มอบหมา...
15/01/2025

📍สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผอ.สกสว.ได้มอบหมายให้ รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รอง ผอ.สกสว. เป็นผู้แทนเข้าร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส
✨ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง อดีตประธานกรรมการอำนวยการ สกสว. ได้รับพระราชทาน ปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
✨ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ได้รับพระราชทาน ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
✨ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลผู้บริหารดีเด่น ประจำปี 2567

#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

🙌🏻 กองทุน ววน. เยี่ยมหน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งจัดสรรงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด📍สำนักงา...
14/01/2025

🙌🏻 กองทุน ววน. เยี่ยมหน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มุ่งจัดสรรงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมให้คุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด
📍สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรมการเยี่ยมหน่วยงานภายใต้วิสัยทัศน์ SRI for ALL ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) เพื่อติดตามทิศทางการบริหารจัดการทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund : SF) ได้รับทราบทิศทางการบริหารจัดการงานวิจัย การบริหารจัดการงบประมาณ ววน. ให้หน่วยงานมีศักยภาพในการนำส่งผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยมี รศ. ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำกับดูแลด้านการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคม พร้อมคณะนักวิจัย ให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานเด่นและความพร้อมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่รองรับการทำวิจัย
💬 ศ. ดร.วิษณุ มีอยู่ รองผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. มีบทบาทในการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ บนฐานองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีแผนและงบประมาณเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่ด้านเศรษฐกิจและสังคม การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ขณะที่ 4 ปีต่อจากนี้ สกสว. ต้องมุ่งวิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก อาทิ ด้านเศรษฐกิจโตช้า สังคมสูงวัย ความเหลื่อมล้ำ Technology Disruption Climate และ Geopolitics โดยงบประมาณที่กองทุน ววน. ลงทุนในการสนับสนุนเพื่อพัฒนาประเทศ ปี 2568 จำนวน 19,350.77 ล้านบาท แบ่งเป็น 37% เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย 31% เพื่อการยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม 15% เพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค และ 11% เพื่อการพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
“ สกสว. มุ่งใช้ SRI for ALL ด้วยการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน และประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ ภายใต้กลยุทธ์ SILK ด้วยการสานพลังภาคีเครือข่าย ยกระดับระบบ ววน.ให้มีประสิทธิภาพโปร่งใส มุ่งเรเป็นเจ้าของเทคโนโลยีตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และการสร้างระบบ/แพลตฟอร์ม เพื่อนำองค์ความรู้ของระบบ ววน. ไปใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึง ”
💬 รศ. ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งการวิจัยที่เป็นเลิศต่อยอดสู่นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยแผน 13 ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของ มช.จะมุ่งเน้นยุทธศาสตร์การสร้าง New Research and Innovation Platform ที่สนับสนุนการสร้างความเป็นเลิศด้านการวิจัยของ มช. เพื่อใช้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ศิลปวัฒนธรรม ดำเนินงานใน 7 Flagships ได้แก่ 1.Frontier Research 2.Deep Tech and Appropriate Tech 3.High Impact Research 4.Brain Power and Manpower 5.Global Partnership 6.Open Innovation และ 7.Research and IP Utilization
👉 จากนั้น คณะนักวิจัยได้นำเสนอผลงานเด่นและความพร้อมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่รองรับการทำวิจัยที่รับงบประมาณจาก บพค. และแผนงานวิจัยที่สนใจขอรับการสนับสนุน

1.โครงการเครือข่ายการบ่มเพาะบุคลากรวิจัยที่มีสมรรถนะสูงระดับหลังปริญญาเอก หลังปริญญาโทด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจบีซีจี ปีที่ 3 โดย ผศ. ดร.ชัยสิทธิ์ บรรจงประเสริฐ ศูนย์วิจัยวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

2.โครงการยกระดับศักยภาพนักวิจัยสมรรถนะสูงในหน่ายงานภาครัฐหรือเอกชนทางด้าน ทางด้านจีโนมิกส์และชีวสารสนเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างงานวิจัยทางการแพทย์ โดย ศ. ดร. นพ. ดำเนินสันต์ พฤกษากร คณะแพทยศาสตร์

3.โครงการการสังเกตและพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอวกาศเพื่อลดผลกระทบต่อเทคโนโลยีการสื่อสารและอุตสาหกรรมอวกาศ โดย รศ. ดร.ดวงมณี ว่องรัตนไพศาล คณะวิทยาศาสตร์

4.โครงการ “แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างทักษะแห่งอนาคต (Future-proof Skills) ในการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง” โดย รศ. ดร.นัทธี สุรีย์ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต

5.โครงการ Chiang Mai University Semiconductor Education Center (CMUSEC) โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์
พร้อมนำเสนอผลงานเด่นในรูปแบบนิทรรศการ 6 ผลงาน ดังนี้
1.โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะสมรรถนะทางสะเต็มและโคัดดิ้ง ด้วยการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับมหาชนและค่ายนวัตกรรมเพื่อสร้างสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการในระดับนักเรียนมัธยมต้น โดย รศ. ดร.สุทธิดา จำรัส คณะศึกษาศาสตร์

2.โครงการเทคโนโลยีลำอนุภาคและพลาสมาเพื่องานวิจัยและการประยุกต์ทางวัสดุศาสตร์ การแพทย์ และการเกษตร โดย รศ. ดร.ดวงมณี ว่องรัตนะไพศาล คณะวิทยาศาสตร์

3.โครงการ Erasmus + Tourism-Zero in the hospitality and tourism sector โดย กลุ่มวิจัย Innovative research and Computational Science

4.โครงการ Advancing Antibody Engineering for a Sustainable Thailand โดย ศ. ดร.ชัชชัย ตะยาภิวัฒนา คณะเทคนิคการแพทย์

5.โครงการ การวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์จากสมุนไพรสู่เชิงพาณิชย์ โดย คณะเภสัชศาสตร์

6.โครงการ ภาพรวมโครงการที่ได้ CMU-RL โดย คณะสังคมศาสตร์

#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

🙌🏻 พลังเยาวชนไทยสู่เวทีโลกในการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2025 ณ ประเทศสิงคโปร์📍 ไทยเข้าร่วมประชุมสุดยอดนักวิทย...
14/01/2025

🙌🏻 พลังเยาวชนไทยสู่เวทีโลกในการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2025 ณ ประเทศสิงคโปร์
📍 ไทยเข้าร่วมประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก 2025 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), สำนักสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก ประจำปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 10 มกราคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม โดย ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการ กสว., ศ. ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว., ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช., ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. พร้อมคณะผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำนักวิทยาศาสตร์เยาวชนไทย จำนวน 15 คน เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท
ภายในงาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และทรงติดตามผลงานวิจัยที่มีศักยภาพสูงในด้านต่าง ๆ อาทิ พลังงานสะอาด เทคโนโลยีชีวภาพ และนวัตกรรมทางการแพทย์ การเสด็จฯ เยือนครั้งนี้นับเป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศไทยได้แสดงบทบาทในเวทีวิทยาศาสตร์โลก และส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์
👉 การเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จะไม่เพียงแต่สร้างเครือข่ายระดับนานาชาติ แต่ยังเป็นการยกระดับวงการวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของไทยให้ก้าวไกล ฝึกอบรมนักวิจัยรุ่นใหม่ให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญระดับโลก พร้อมนำความรู้และประสบการณ์เหล่านั้นกลับมาพัฒนาประเทศ ด้วยความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ประเทศไทยจะสามารถสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม และนำพาประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภูมิภาคต่อไป

#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

📍สกสว. ลุยแก้ PM 2.5 ปักหมุดเชียงใหม่ ทำแผนปฏิบัติการ เล็งเป้าคุมค่าฝุ่น ไม่เกินมาตรฐาน 50 วัน/ปี  ลดสถิติผู้ป่วยนอนเตีย...
13/01/2025

📍สกสว. ลุยแก้ PM 2.5 ปักหมุดเชียงใหม่ ทำแผนปฏิบัติการ เล็งเป้าคุมค่าฝุ่น ไม่เกินมาตรฐาน 50 วัน/ปี ลดสถิติผู้ป่วยนอนเตียงโรงพยาบาล 1,000 คน/ปี สกัดจุดฮอตสปอตการเผาในที่โล่ง ไม่เกิน 4,000 จุด / ปี "หมอสิริฤกษ์" คาดปี 69 ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัดบรรลุผลปลอดภัยไร้ฝุ่นควัน “ผู้ว่าฯ” ชู “หยุดเผา หยุดฝุ่น”
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท จ.เชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( สก.สว. ) พร้อมภาคีเครือข่าย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดแผนเพื่อแก้ปัญหา PM 2.5 ระยะ 5 ปี ของจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิจัย นวัตกรรม และกลไกภาคี PES ( Payment for Ecosystem Service) โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า การกำหนดให้ใช้มาตรการหยุดเผาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ โดยต้องอาศัยความรู้ด้านวิจัย นวัตกรรมมาช่วยให้ความรู้หาวิธีกำจัดเศษซากวัสดุทางการเกษตรต่าง ๆ ทดแทนการเผาทำลาย โดยการจัดงานครั้งนี้เป็นเรื่องดี ในฐานะหัวหน้าทีมฝ่ายปฏิบัติยินดีจะได้รับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ และนวัตกรรมจาก กองทุน ววน. เพื่อให้การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ร่วมทำงานแก้ปัญหาไปพร้อมกัน
🙌🏻 นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ( กสว. ) ขึ้นปาฐกถา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 8 เป้าหมายสำคัญ ของ กสว. และการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 มุ่งเป้าภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด โดยกล่าวว่าว่า จากนโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกสว. 8 เป้าหมายสำคัญ หนึ่งในนั้นคือ ประเทศไทยต้องปลอดจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ในปี 2569 และกำหนดพื้นที่เบื้องต้นใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยเป็นการขยายผลของการนำเอางานวิจัยมาใช้แก้ไขปัญหาฝุ่นควันPM 2.5 ทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ "SRI for ALL" ของ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่นำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ นักธุรกิจ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา
ประธาน กสว. กล่าวว่า ส่วนเหตุผลที่จัดงานครั้งนี้ในจังหวัดเชียงใหม่เพราะเป็นเมืองที่สำคัญในมิติเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวของประเทศ และยังอยู่ภายใต้เป้าหมายของการนำงานวิจัยไปตอบโจทย์ปัญหาที่กำลังเผชิญและต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองพีเอ็ม 2.5
💬 “ปัจจุบันทั้งภาครัฐ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้เร่งระดมหาทางออกให้กับจังหวัดเชียงใหม่มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดวิกฤตเมืองที่มีค่ามลพิษติดอันดับโลกให้กลับสู่ภาวะปกติ เอื้อต่อการอยู่อาศัย การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศ พร้อมส่งเสริมให้เป็นเมืองที่ใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม”
นายแพทย์สิริฤกษ์ กล่าวว่า สกสว. และหน่วยงานภาคีจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ขึ้น นำไปสู่เป้าหมายดังที่กล่าวมา ถือเป็นการ "คิกออฟ" กระบวนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือตอนบนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทางกองทุน ววน. ได้จัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 พื้นที่ จ.เชียงใหม่ ในปีงบประมาณ 2566 – 2567 ประมาณ 130 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2568 ขยายพื้นที่ครอบคลุม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน งบประมาณทั้งสิ้น 450 ล้านบาท และคาดว่าจะจัดสรรงบฯเพิ่มเติมอีกในปีต่อไปอีก 450 ล้านบาท รวม 2 ปี 900 ล้านบาท
นายแพทย์สิริฤกษ์ กล่าวต่อว่า กสว.จะต้องเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุผลภายใน 2 ปี โดยเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ไปจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2569 มีเป้าหมายคือ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนจะต้องปลอดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และไร้หมอกควัน ในเบื้องตัน ได้วางแผนปฏิบัติการ 3 ขั้น

1.จำนวนวันที่ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน ไม่เกิน 50 วัน/ปี
2.ลดจำนวนสถิติผู้ป่วย COPD ที่แอดมิทครั้งแรก จากสาเหตุฝุ่นไม่ให้เกิน 1,000 คน/ปี
3.ลดจำนวน Hotspot (จากแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 จากการเผาในที่โล่ง) ที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่เกิน 4,000 จุด/ปี
👉 ด้าน ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผอ.สกสว. กล่าวว่า สกสว.ในฐานะเลขา กสว. มีบทบาทในการนำองค์ความรู้งานวิจัย และนวัตกรรมมาใช้แก้วิกฤต PM 2.5 โดยที่ผ่านมา ระบบ ววน. มีการแผนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนงานวิจัยเพื่อ แก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 มา อย่างต่อเนื่อง 1) แผนงาน Haze Free Thailand และปัญหา PM2.5 (สนับสนุนทุนในปี2563-2567) 2) แผนงาน P24 แก้ไขปัญหาและตอบสนองภาวะวิกฤติเร่งด่วนของประเทศ โดยมุ่งประเด็นวิจัยนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนฝุ่นละออง PM 2.5 แบบมุ่งเป้าและบูรณาการ (สนับสนุนทุนในปี2566-2567) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจากหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (PMUs) ทั้งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ร่วมกันโดยกำหนดกลุ่มการดำเนินงานเป็น Work Package (WP) ตามมิติการดำเนินงาน ซึ่งปัจจุบันกำลังดำเนินการการขยายผลเพื่อบูรณาการความร่วมมือและสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ต่อไปในยุทธศาสตร์เป้าหมายของ สกสว.
ผอ.สกสว. กล่าวด้วยว่า แม้จะมีความพยายามสนับสนุนการแก้ปัญหาฝุ่นด้วย ววน. หรือ วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม มาโดยตลอด แต่ก็ยังมีดีมานด์จากหลายภาคส่วนที่ยังเป็นช่องว่างของการแก้ปัญหาและต้องการการสนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การศึกษาและการแก้ปัญหา PM2.5 จากแหล่งกำเนิดทติยภูมิ ในปัจจุบันการแก้ปัญหาฝุ่นจากแหล่งกำเนิดส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาจากแหล่งกำเนิด "ฝุ่นปฐมภูมิ" คือฝุ่นจากการเผาไหม้เชื้อพลิงเศษวัสดุเกษตร หรือฝุ่นจากไฟป้า แต่ยังมีแหล่งกำเนิดสำคัญที่ต้องการการศึกษาและแก้ไขอย่างเร่งด่วนเช่นกัน คือ "ฝุ่นทติยภูมิ" จากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (502) ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์(NOX) ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) และกลุ่มก๊าซสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากการคมนาคม อุตสาหกรรม การเกษตร จากการปลดปล่อยของผืนป่าในธรรมชาติหรือมหาสมุทรที่สามารถเคลื่อนตัวข้ามทวีปได้ ซึ่งกระบวนการเกิดฝุ่นทุติยภูมิ สัดส่วนของปริมาณฝุ่นทุติยภูมิ และแนวทางบริหารการจัดการ ยังต้องการการศึกษาและพัฒนาเป็นมาตรการและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป ฃ
💬 “ในเดือนมกราคม 2568 นี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เตรียมติดตั้งอุปกรณ์ ACSM (Aerosol hemical Speciation Monitor) ตรวจวัดองค์ประกอบทางเคมีของ PM 2.5 เพื่อแหล่งกำเนิดวิเคราะห์หาสาเหตุต้นตอของการเกิด PM 2.5 ประเดิมติดตั้ง ประเดิมติดตั้ง 3 แห่ง คือ เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และสงขลา ภายในปี 2568”
ศ.ดร.สมปอง กล่าวว่า ในด้านการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความคุ้มทุนเชิงเศรษฐศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง นอกจากการใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาแล้ว ระบบ ววน. ยังมีเป้าหมายการใช้ประโยชน์งานผลงานวิจัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคมและนโยบายเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาจากรากเหง้า ทั้งความคุ้มค่าคุ้มทุนของการใช้เทคโนโลยีในแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรวบรวมเศษวัสดุมาส่งต่อให้กลุ่มธุรกิจและได้ค่าตอบแทนที่คุ้มการลดต้นทุนเครื่องจักรขนาดเล็กสำหรับเกษตรกรรายย่อย การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในการขนส่งชีวมวล และสุดท้ายสิ่งที่สำคัญคือการสานพลังประชาชนให้ตระหนักและเข้าใจรวมถึงยินดีซื้อสินค้าเกษตรจากแหล่งเพาะปลูกและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการปลูกพืชให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอกจากนี้ ในการประชุมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาช่องว่างของปัญหา และแนวทางการทำงานร่วมกับโครงการที่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมได้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนความต้องการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในระบบวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ( ววน .)ให้ร่วมแก้ปัญหาอย่างมีเป้าหมายและเป็นรูปธรรม มีการติดตามผลในแต่ละโครงการ
📍ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นพื้นที่ปฏิบัติการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สกสว.อย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในเรื่องการลดฝุ่นจากต้นกำเนิดการเผาในพื้นที่เกษตร การลดไฟในป่า การลดฝุ่นควันข้ามแดน และการบูรณาการฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจระดับพื้นที่ ตลอดจนการใช้กระบวนการวิจัยในการสร้างความเข้มแข็ง สร้างนักวิจัยชุมชน การสื่อสารสาธารณะ และการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย โดยผลจากงานวิจัยส่วนหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ได้นำไปใช้ในการสนับสนุนการยกร่าง "พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด" ที่มีดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการและประธานอนุกรรมาธิการเป็นผู้ผลักดันให้การทำงานในพื้นที่มีเป้าหมายชัดเจนเป็นรูปธรรม

#กสว #คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศษสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#ฝุ่น #จังหวัดเชียงใหม่

13/01/2025

การจัดการเศษวัสดุการเกษตร และระบบ Logistic การยกระดับระบบทวนสอบ (Traceability)
แหล่งเพาะปลูกพืชไม่เผา และการตลาดสำหรับพืชไม่เผาที่คุ้มค่าคุ้มทุนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ผู้ดำเนินรายการ:ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และผู้แทนสถาบันวิจัยพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

13/01/2025

🙌🏻 สกสว. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) ต่อ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย”
⏰ วันจันทร์ที่ 13 ม.ค.68 เวลา 09:00 น – 12:00 น.
📸 ช่องทาง Facebook Live Page : สกสว.
#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

13/01/2025

Live "การจัดทำแผนเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ระยะ 5 ปี ของจังหวัดเชียงใหม่
ด้วยงานวิจัย นวัตกรรม และกลไกภาคี PES (Payment for Ecosystem Service)”
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 ณ ห้อง Convention Hall โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท จ.เชียงใหม่

ข่าวเด่นรายสัปดาห์ กองทุน ววน. (ประจำวันที่ 4 ม.ค. 68 - 10 ม.ค. 68)ข่าวที่ 1กระทรวง อว. โดย สอวช. สกสว. สวทช. เข้าร่วมกา...
13/01/2025

ข่าวเด่นรายสัปดาห์ กองทุน ววน. (ประจำวันที่ 4 ม.ค. 68 - 10 ม.ค. 68)

ข่าวที่ 1
กระทรวง อว. โดย สอวช. สกสว. สวทช. เข้าร่วมการประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก ประจำปี ค.ศ. 2025
https://re.infoquest.io/api/https:/www.nxpo.or.th/th/30385/

ข่าวที่ 2
ไทยปักหมุดฐานผลิต EV อาเซียน ดันศักยภาพสู่เวทีโลก
https://www.posttoday.com/smart-city/718035

ข่าวที่ 3
ปู Geedoong Hand Craft "จากมือชุมชน สู่พรมคุณภาพ" สร้างเศรษฐกิจฐานรากในท้องถิ่น
https://www.banmuang.co.th/news/region/412978

ข่าวที่ 4
เมื่อ WEF ฟันธง 87 ล้านตำแหน่งจะถูกแทนที่ด้วย AI & เครื่องจักร ชวนมาอัปเดต 10 อาชีพแห่งอนาคต ที่ตลาดงานต้องการคืออะไร?
https://www.salika.co/2025/01/08/10-careers-of-the-future/

ข่าวที่ 5
ไกลมือหมอ แต่ยังใกล้การรักษา อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพทางไกลเพื่อทุกคน
https://www.springnews.co.th/news/pr-news/855265

ข่าวที่ 6
AI ไทยมาแรง! อว. - บพข. ทุ่มงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และงานวิจัย มุ่งยกระดับอุตสาหกรรม " AI - Semiconductor " ของประเทศ | สื่อธุรกิจออนไลน์.com
https://xn--12co0cga0dr8a1aea5f8aq1q1bze.com/?p=nd&nid=15913

ข่าวที่ 7
ส่องกล้องตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ใช้เทคโนโลยีAI ผลงานนักวิจัยจุฬาฯ
https://siamrath.co.th/n/593006

ข่าวที่ 8
พัฒนาศักยภาพนักวิจัย เป็น 'entrepreneur' ผลักดันการใช้ประโยชน์นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์
https://sootinclaimon.com/2025/01/08/พัฒนาศักยภาพนักวิจัย-เป/

ข่าวที่ 9
วช. ส่งเสริมพัฒนา นักบินโดรนสำรวจ-ดับไฟป่า บรรเทาสาธารณภัย-ภัยพิบัติ ดอยตุง - ข่าวสด
https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_9578586

ข่าวที่ 10
บพท. นำงานวิจัยเพิ่มมูลค่าปลากระบอกแดดเดียว - ปลากุเลาเค็ม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนปูลาโต๊ะบีซู จ.นราธิวาส สร้างอาชีพอย่างยั่งยืน
https://mgronline.com/science/detail/9680000001502

ข่าวที่ 11
การศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร ในยุคที่เด็กเกิดน้อย / ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน
https://re.infoquest.io/api/https:/mgronline.com/greeninnovation/detail/9680000001927

ข่าวที่ 12
มช. เสนอแนวทาง Digital Transformation และกฎหมาย กุญแจขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ Innovation University อย่างมั่นคงและยั่งยืนในยุคดิจิทัล
https://re.infoquest.io/api/https:/www.cmu.ac.th/th/article/a3ab599b-61b6-4e5f-8b05-894021747da3

ข่าวที่ 13
เดินหน้าพัฒนาพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีจีโนม
https://shorturl.asia/1bSNk

ข่าวที่ 14
คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ: ยุทธศาสตร์สามเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย: เครื่องยนต์ตัวใหญ่ ตัวใหม่ และตัวเล็ก
https://shorturl.asia/l3IyX

ข่าวที่ 15
""CelloPower : เซลลูโลสเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม สู่นวัตกรรมวัสดุปิดแผลเส้นใยนาโน""
https://re.infoquest.io/api/https:/www.ryt9.com/s/prg/3574852

ข่าวที่ 16
อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ก้าวไกลระดับโลก
https://thepeople.co/special-pr/collaboration/54516

ข่าวที่ 17
วช. ร่วมกับ HTAPC นำชุดความรู้ด้านผลกระทบสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 รับมือกับมลพิษทางอากาศ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม | GDPBUSINESS - ข่าวออนไลน์ทุกมิติ
https://gdpbusiness.com/v/6874

ข่าวที่ 18
วช.หนุนโครงการ 'วงปล่อยแก่' ส่งเสริม สร้างเครือข่ายวัยกษียณ
https://www.bangkokbiznews.com/news/1161149

------------------------------------------------------
#สกสว
#เคลื่อนไทยด้วยวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#ข่าวเด่นรายสัปดาห์ #กองทุนววน

🌈 สกสว. จัดเต็ม! วันเด็กปี 68 ”กระทรวง อว.“ ยกทัพของรางวัลกว่าพันชิ้นในงาน “อว. For Kids ”วันที่ 10 มกราคม 2568 น.ส.ศุภม...
10/01/2025

🌈 สกสว. จัดเต็ม! วันเด็กปี 68 ”กระทรวง อว.“ ยกทัพของรางวัลกว่าพันชิ้นในงาน “อว. For Kids ”
วันที่ 10 มกราคม 2568 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “อว. For Kids” รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ภายใต้สโลแกน “มาเปิดโลกการเรียนรู้ ก้าวสู่อนาคตด้วยกัน” พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง อว. รศ. ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการ สกสว. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สกสว. เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก ณ ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 4 กระทรวง อว. ถนนโยธี
📍น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี กล่าวว่า งาน “อว. For Kids” รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 เป็นกิจกรรมที่ อว.ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้เด็ก ๆ และเยาวชน เข้ามาร่วมสนุกกับกิจกรรมที่จะสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ฝึกจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ได้คิดค้น ทดลอง ผ่านกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่สนุกสนานมากมาย โดยมี 22 หน่วยงานมาร่วมจัดกิจกรรม รวมถึงมีผู้ใหญ่ใจดีทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนของขวัญและของรางวัลมามอบให้น้อง ๆ กว่า 100,000 ชิ้น เพื่อสร้างความสุข ความทรงจำที่มีคุณค่าและต่อเติมความฝันให้กับเด็กและเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญของชาติ
🙌🏻 ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิ ขบวนพาเหรดหุ่นยนต์ หุ่นยนต์กู้ภัยปี 2024, หุ่นยนต์น้องดาวเหนือ, หุ่นยนต์กู้ภัยจิ๋ว RMRC, หุ่นยนต์ Dubot, หุ่นยนต์ MakeX Unitree Go2 ตู้คีบมนุษย์ เครื่องเล่นสุดท้าทาย ที่น้อง ๆ จะได้เล่นคีบของขวัญและของรางวัลด้วยตัวเอง การเปิดห้องทำงานของ น.ส.ศุภมาส เพื่อให้น้อง ๆ และผู้ปกครองสามารถเข้าไปถ่ายรูปกับโต๊ะทำงานของรัฐมนตรีได้แบบสุดพิเศษ
👧🏻 ขณะที่ บูธของ สกสว. มาในธีม “SRI for All Kids” กับกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและความสนุกเพลิดเพลินให้กับน้อง ๆ หนู ๆ อาทิ Unplug Coding, Coding Blaze pod Challenge, Mini Slider และของรางวัลแบบจัดเต็มจำนวนกว่าพันชิ้น ทั้งรถไฟฟ้า รถจักรยาน ตุ๊กตาสุดน่ารัก ชุดระบายสี และกล่องสุ่มตุ๊กตาสุดฮิต ตลอด 2 วันเต็ม ระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2568 ณ งานวันเด็ก 68 กระทรวง อว.

#สกสว

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#อว #วันเด็กแห่งชาติ2568
#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

🙌🏻 สกสว. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) ต่อ (ร่าง) แผนยุท...
10/01/2025

🙌🏻 สกสว. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (Public Hearing) ต่อ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย”

⏰ วันจันทร์ที่ 13 ม.ค.68 เวลา 09:00 น – 12:00 น.
📸 ช่องทาง Facebook Live Page : สกสว.

#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

🙌🏻 งาน “อว. For Kids” รับวันเด็กแห่งชาติ ปี 68 ณ กระทรวง อว. ซ.โยธี วันที่ 10 - 11 มกราคม 256 พร้อมส่งมอบความสุขและความส...
10/01/2025

🙌🏻 งาน “อว. For Kids” รับวันเด็กแห่งชาติ ปี 68 ณ กระทรวง อว. ซ.โยธี วันที่ 10 - 11 มกราคม 256 พร้อมส่งมอบความสุขและความสนุกให้กับเด็ก ๆ 👧🏻🧒

#สกสว

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #อว #วันเด็กแห่งชาติ2568

📍A*STAR สิงคโปร์ และ สกสว. ร่วมเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนว...
09/01/2025

📍A*STAR สิงคโปร์ และ สกสว. ร่วมเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยความร่วมมือของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), สำนักสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมสำคัญเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมระหว่างประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 คณะผู้บริหารระดับสูงของไทย นำโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการ กสว., ศ. ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ สกสว., ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช., ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช., พร้อมคณะผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และหารือเชิงลึกกับ สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิจัยแห่งสิงคโปร์ (Agency for Science, Technology and Research: A*STAR)
ฝ่ายสิงคโปร์นำโดย Mr. Beh Kian Tiek ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ A*STAR, พร้อมด้วย Dr. Sze Cotte-Tan ผู้อำนวยการบริหารของ สถาบันนวัตกรรมอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งสิงคโปร์ (Singapore Institute of Food and Biotechnology Innovation: SIFBI)
🙌🏻 การประชุมครั้งนี้ได้ครอบคลุมถึง
1. การแลกเปลี่ยนมุมมองด้านโครงสร้างการบริหารงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม
2. โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาที่เน้นเทคโนโลยีล้ำสมัย โดยเฉพาะด้านอาหาร
3. การสนับสนุนโครงการ Talent Mobility เพื่อแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักศึกษาระหว่างสองประเทศ
โอกาสนี้ คณะผู้บริหารไทยได้รับโอกาสเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของ SIFBI ซึ่งเป็นศูนย์กลางการวิจัยด้านนวัตกรรมอาหารระดับโลก โดยมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย พร้อมสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่มุ่งเพิ่มมูลค่าในสารอาหารให้ตอบโจทย์สุขภาพที่ยั่งยืนของประชากรในภูมิภาคเอเชีย
👉 ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวนับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่าง A*STAR และ สกสว. ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของทั้งสองประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนการแก้ไขปัญหาท้าทายของภูมิภาคในอนาคต

#สกสว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

ที่อยู่

979/17-21 SM Tower, Paholyothin Road
Bangkok
10400

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 17:00
อังคาร 08:00 - 17:00
พุธ 08:00 - 17:00
พฤหัสบดี 08:00 - 17:00
ศุกร์ 08:00 - 17:00

เบอร์โทรศัพท์

+6622788200

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สกสว.ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์