AIRFLOW PROFESSIONAL

AIRFLOW PROFESSIONAL Its credentials and achievements in system works have earned acceptability across the nation.
(16)

ปิดถาวร

Airflow Professional Company Limited was established on July 9th, 2009 to engage in the services of designing, engineering and installation of mechanical and electrical (M&E) system. Airflow Professional brings experiences and professional skills to the task of integrating the best mechanical and electrical engineering to meet end-users needs. It is well experienced in construction of commercial b

uildings,sports centers, educational institutes, residential buildings, hospitals,buildings for retailing business, and facilities in industrial factories and buildings under residential project. The company has thus become a source of capable and experienced executives and engineers with potentials to push for
project achievements. The company focuses on efficient and quality works with punctual delivery under the management certification of ISO 9001:2008

14/10/2016
วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญใน...
19/05/2016

วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ๓ เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

ประวัติวันวิสาขบูชาและความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

๑. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส ๔ ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

๒. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี จนเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ ๔ แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน ๓ คือ

- ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้

- ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย

- ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

๓. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี จนมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น

หลักธรรมสำคัญที่ควรนำมาปฏิบัติ

๑. ความกตัญญู คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว่ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

๒. อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงความจริงของชีวิตที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคน มี ๔ ประการ คือ

- ทุกข์ ได้แก่ปัญหาของชีวิตพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกัน ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐาน และทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐานคือทุกข์ที่เกิดจาก การเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือทุกข์ที่เกิด จากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกันสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ตั้งใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิความ ยากจน

- สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหา ของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัญหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น

- นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิต ทั้งหมดที่สามารถแก้ไข ได้นั้นต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้ ๘ ประการ (ดูมัชฌิมาปฎิปทา)

- มรรค การปฏิบัติเพื่อจำกัดทุกข์ เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา เพื่อบรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาที่ต้องการ

๓. ความไม่ประมาท คือ การมีสติเสมอ ทั้งขณะทำ ขณะพูด และขณะคิด สติคือการระลึกได้ ในภาคปฎิบัติเพื่อนำ มาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหว ของอริยาบท ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน การฝึกให้เกิดสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวของอริยาบท กล่าวคือ ระลึกทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้ง ระลึกรู้ทัน ในขณะพูดคิด และขณะทำงานต่างๆ เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่า มีความไม่ประมาท

การทำงานต่างๆ สำเร็จได้ก็ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือผู้ทำย่อมต้องมีสติระลึกรู้อยู่ว่า ตนเองเป็นใครมีหน้าที่อะไร และกำลังทำอย่างไร หากมีสติระลึกรู้ได้อย่างนั้น ก็ย่อมไม่ผิดพลาด

กิจกรรมในวันวิสาขบูชา

๑. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
๒. ทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
๔. ร่วมเวียนเทียน เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๕. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
๖. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติสำคัญของวันวิสาขบูชา
๗. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
๘. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://hilight.kapook.com/view/23220
http://www.dhammathai.org/day/visaka.php

CR: http://www.dhammathai.org

ก่อนหน้านี้ เราได้ฉลองวันปีใหม่สากลกันมาแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลวันปีใหม่ของไทยแล้วนะคะ นั่นก็คือเทศกาลสงกรานต์นั้นเ...
07/04/2016

ก่อนหน้านี้ เราได้ฉลองวันปีใหม่สากลกันมาแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลวันปีใหม่ของไทยแล้วนะคะ นั่นก็คือเทศกาลสงกรานต์นั้นเองค่ะ ในวันนี้ลูกหลานที่แยกย้ายออกไปสร้างครอบครัวอยู่ที่ใดก็จะกลับบ้านมาพบปะ กราบไหว้บุพการี นอกจากนี้ในวันสงกรานต์ยังมีกิจกรรมมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การสาดน้ำอย่างเดียวนะคะ วันนี้หลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาฝากกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูพร้อมกันเลยค่ะ (=^ェ^=)

“สงกรานต์” เป็นประเพณีสำคัญที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงาม โดดเด่น และฝังลึกเข้าไปในชีวิตของคนไทยมาช้านาน เป็นขนบธรรมเนียมที่มีความงดงาม

ตำนานของสงกรานต์

(มีปรากฎในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพน โดยย่อว่า)

มีบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ธรรมบาลกุมาร เป็นผู้ที่รู้ภาษานก แล้วเรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ซึ่งในขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหมและกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบ จึงลงมาถามปัญหาธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ สัญญาไว้ว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ปัญหานั้นว่า

ข้อ ๑. เช้าราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๒. เที่ยงราศีอยู่แห่งใด
ข้อ ๓. ค่ำราศีอยู่แห่งใด

ธรรมบาลขอผลัด ๗ วัน ครั้นล่วงไปได้ ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้ จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น
มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้งเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย เพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไรสามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่แห่งใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด นางนกถามว่า จะแก้อย่างไร สามีบอกว่า เช้าราศีอยู่หน้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีอยู่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า ครั้งรุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถาม ปัญหาธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้ง 7 อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร ศีรษะของเราถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะทิ้งขึ้นบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งไว้ในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนั้นเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดาผู้ใหญ่ นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้แล้ว แห่ทำประทักษิณ รอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฑปถ้ำคันธุลีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ พระเวสสุกรรมก็นฤมิตรแล้วด้วย แก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้งแล้วแจกกันสังเวยทุกๆ พระองค์ครั้งถึงครบกำหนด 365 วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์นางเทพธิดาเจ็ดองค์ จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น เราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ มีชื่อต่างๆ ดังนี้ ทุงษ, โคราค, รากษส, มัณฑา, กิริณี, กิมิทา และ มโหทร

คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก

ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้

สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น" นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ ๑๒ เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์
มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว
วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา ๑ วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว
วันเถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ ๓ ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า ๑ องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ ๒ หรือที่ ๓ ก็ได้

ประเพณีสงกรานต์ในส่วนภูมิภาค

ภาคกลาง

ก่อนถึงวันสงกรานต์มีการทำความสะอาดบ้านเรือน เตรียม
ผ้านุ่งผ้าห่มใหม่สำหรับใช้นุ่งในวันสงกรานต์ ก่อนวันสงกรานต์หนึ่งวันถือเป็นวันสุกดิบ มีการเตรียมอาหารและข้าวของเพื่อถวาย
พระสงฆ์ในวันสงกรานต์
ในวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่ มีการสรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที

ภาคเหนือ

ชาวล้านนา เรียกประเพณีสงกรานต์ว่า ปเวณีปีใหม่ ปฏิทินโหราศาสตร์ของชาวล้านนา ถือเอาวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็น “วันสังกรานต์ล่อง” (ออกเสียงว่า วันสังขานล่อง) ในวันนี้จะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนให้สะอาด บรรดาสตรีนิยมสระผมโดยหันศีรษะไปทางทิศที่กำหนดในแต่ละปี นิยมสวมเสื้อผ้าใหม่
วันต่อมาคือวันเนา ทางล้านนาเรียกว่า “วันเน่า” ห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาท เชื่อว่าจะทำให้เกิดอัปมงคล วันเนานี้เป็นวันเตรียมงาน เรียกกันว่า “วันดา” ชาวบ้านจะซื้อของกินของใช้เพื่อใช้ในวันเถลิงศก ตอนบ่ายมีการขนทรายเข้าไปก่อเป็นเจดีย์ทรายที่วัด มีการตัดกระดาษเป็นธงสีต่างๆ เรียกว่า “ตุง” สำหรับปักที่เจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้น
วันเถลิงศกซึ่งเรียกว่า “วันพญาวัน” เป็นวันที่มีการทำบุญ
ทางศาสนา ผู้คนจะนำสำรับอาหารคาวหวานไปทำบุญถวายพระที่วัด เรียกกันว่า “ทานขันข้าว” เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษและญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว

ภาคอีสาน

เรียกประเพณีสงกรานต์ว่า “บุญสงกรานต์” หรือ “บุญเดือนห้า” เรียกวันที่ ๑๓ เมษายนว่า “มื้อสงกรานต์ล่อง” หรือ “มื้อสงกรานต์พ่าย” เรียกวันที่ ๑๔ เมษายนว่า “มื้อเนา” และเรียกวันที่
๑๕ เมษายนว่า “มื้อสงกรานต์ขึ้น” ชาวอีสานนิยมฉลองสงกรานต์ต่อเนื่องไป ๗ วัน บางแห่งถึง ๑๕ วัน ถือว่าการรื่นเริง มีใจเบิกบานสนุกสนานร่วมกันทำบุญทำกุศลในวันสงกรานต์
ในมื้อสงกรานต์ล่อง ชาวอีสานจะทำความสะอาดบ้านเรือน ตลอดจนหิ้งบูชาผีประจำบ้านซึ่งเรียกกันว่า “ของรักษา” การปัดกวาดทำความสะอาดในวันนี้ถือว่าเป็นการปัดกวาดสิ่งอัปมงคลออกไปด้วย
ในมื้อเนาชาวบ้านจะแต่งกายสวยงามและนำอาหารไปตักบาตรที่วัด เมื่อถวายภัตตาหารพระสงฆ์เสร็จแล้วต่างขอพรจาก
พระภิกษุผู้ใหญ่ สรงน้ำพระพุทธรูปด้วยน้ำอบน้ำหอม

ภาคใต้

มีประเพณีการขึ้นปีใหม่ในช่วงสงกรานต์เรียกกันว่า “วันว่าง” ถือว่าต้องว่างเว้นจากการทำการงานทุกชนิด เช่น ว่างเว้นจากการซ้อมสีข้าวสาร การออกหาปูปลา ห้ามตัดผมตัดเล็บ ตัดรานต้นไม้กิ่งไม้ ห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิด ห้ามขึ้นต้นไม้ ห้ามเฆี่ยนตีลงโทษคนหรือสัตว์
นอกจากสำรับกับข้าวสิ่งที่นำไปวัดด้วย คือ มัดรวงข้าวที่จะนำไปทำขวัญข้าวร่วมกันที่วัด เรียกว่า “ทำขวัญข้าวใหญ่” เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การทำมาหากินภายหน้าสืบไป เป็นต้น

กิจกรรมที่ประชาชนทำในวันสงกรานต์

การก่อเจดีย์ทราย : จะทำในวันใดวันหนึ่งของวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายนก็ได้ ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ให้ใช้ก่อสร้างหรือถมพื้นที่เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน แต่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำทุกวัด

การปล่อยนกปล่อยปลา : เป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดว่าจะทำในวัดเท่านั้น

การสรงน้ำพระ : มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่อันเป็นเวลาที่อากาศร้อน

การรดน้ำผู้ใหญ่ : เป็นเรื่องของการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้ร่วมพิธีควรนำผ้า ๑ สำรับ คือ ผ้านุ่ง ๑ ผืน ผ้าห่ม ๑ ผืน ไปมอบให้ท่านพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียน การรดน้ำผู้ใหญ่ดังกล่าวมานี้มักจะรดหรืออาบท่านจริง ๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ โดยจะเอาน้ำหอมเจือในน้ำด้วย แต่ก็ยังคงมีผ้านุ่งห่ม ๑ สำรับ และดอกไม้ธูปเทียนไปแสดงความคารวะ และขอพรท่านก็จะให้ศีลให้พรให้มีความสุขปีใหม่ คือ ตั้งแต่วันสงกรานต์ เป็นต้นไป

การทำบุญอัฐิ : เป็นเรื่องที่นิยมทำแบบนิมนต์พระ ชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้วก็เผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เหมือนเผาศพ การทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนก็ได้สุดแต่จะนัดหมายกัน การรื่นเริงจัดขึ้นเพื่อเชิ่อมความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ ในท้องถิ่นไว้ด้วย

การสาดน้ำ : เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ คือ สาดน้ำกันโดยมากจะเริ่มต้นในวันสรงน้ำพระ แต่บางแห่งพอเริ่มสงกรานต์ ก็เริ่มสาดน้ำกันทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำสะอาดมีน้ำอบน้ำหอม หรือแป้งหอมผสมบ้างก็ได้ และไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย

การแห่นางแมว : บางแห่งอาจมีการแห่นางแมวเพื่อขอฝนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสนุกสนานรื่นเริงเหมือนกัน แต่ก็หวังผลในทางเกษตรกรรมด้วย กล่าวคือถ้าเกิดฝนแล้งก็แห่นางแมวกันในช่วงวันทำบุญสงกรานต์ เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ที่แตกต่างกันออกไป ก็สมควรให้ปฏิบัติไปตามนั้น เพื่อเป็นการเคารพภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้กลั่นกรองเลือกสรรแล้วว่า เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงใด ๆ จึงขึ้นกับวิจารณญาณของเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ๆ โดยตรงที่จะเลือกรับหรือไม่รับสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งสิ่งใหม่ ๆ ที่แทรกเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://hilight.kapook.com/view/21053
http://www.lib.ru.ac.th/journal/apr/apr13_songkran.html
http://www.m-culture.go.th/surin/images/sokkaran.pdf

CR: http://www.culture.go.th

ในทุก ๆ วันที่ ๖ เมษายน ของทุกปีนั้นถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย นั่นคือ "วันจักรี" ซึ่งเป็นวันที่เราจะร่วมกันระลึกถึงพ...
06/04/2016

ในทุก ๆ วันที่ ๖ เมษายน ของทุกปีนั้นถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย นั่นคือ "วันจักรี" ซึ่งเป็นวันที่เราจะร่วมกันระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันนี้จึงนำประวัติและความสำคัญของวันนี้มาฝากกันค่ะ ( ^_^)_旦~~

วันจักรี คือวันอะไร ตรงกับวันที่เท่าไร

วันจักรี ภาษาอังกฤษคือ Chakri Memorial Day ตรงกับวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ ๑ เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ดังนั้นในวันที่ ๖ เมษายนของทุกปีจึงนับเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี

วันจักรี มีความสําคัญอย่างไร

นอกจากจะเป็นวันแห่งการก่อตั้งราชวงศ์จักรีแล้ว ในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ยังเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของไทยอีกด้วย จึงนับเป็นวันครบรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๙) กรุงเทพมหานครมีอายุครบ ๒๓๔ ปี

ประวัติ

๑. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามเดิมว่า “ ทองด้วง ” ประสูติที่พระนครศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อวันพุธที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ทรงเป็นพระราชโอรสในหลวงพินิจอักษร (ทองดี) และพระนางดาวเรือง (หยก)

โดยมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมอุทรตามลำดับ คือ

- พระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี (สา)
- ขุนรามณรงค
- พระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว)
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ
- กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) พระอนุชา

ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชาหรือวังหน้าในรัชสมัยของพระองค์(รัชกาลที่ ๑)

๒. เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระชนมายุ - ๒๒พรรษา ได้เข้ารับราชการตำแหน่งมหาดเล็กในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร / ๒๕ พรรษา เป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี ในสมัยพระเจ้าเอกทัศ /๓๒ พรรษา รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระราชวรินทร์ /๓๓พรรษา เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ /๓๔ พรรษา เป็นพระยายมราช / ๓๕ พรรษา เป็นเจ้าพระยาจักรี / ๔๑ พรรษา เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก / ครั้นพระชนมายุ ๔๖ พรรษา ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์

๓. ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระอมรินทรา พระบรมราชินี (นามเดิมว่า นาก) ซึ่งเป็นชาวอัมพวา มีพระโอรสธิดา ๙ พระองค์ หนึ่งในเก้าพระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ นอกจากนี้ยังทรงมีพระโอรสธิดากับเจ้าจอมอื่นๆอีก เมื่อรวมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอในแผ่นดินของพระองค์จะมีทั้งสิ้น ๔๒ พระองค์ โดยประสูติก่อนปราบดาภิเษก ๑๐ พระองค์ และหลังปราบดาภิเษก ๓๒ พระองค์

๔. รัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏหลังปราบดาภิเษกว่า “ พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพดิศัยเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชฏฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ” ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยามหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน

๕. พระนามที่เรียกขานกันสั้นๆ คือ “ สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ” ต่อมาคนทั้งหลายมักเรียกรัชกาลที่ ๑ ว่า “ แผ่นดินต้น ” และเรียกรัชกาลที่ ๒ ว่า “ แผ่นดินกลาง ” รัชกาลที่ ๓ ทรงรังเกียจว่านามสมญาเช่นนี้จะเป็นอัปมงคลเพราะเมื่อมีต้น มีกลางก็ต้องมีปลาย ซึ่งดูเสมือนว่าพระองค์จะเป็นรัชกาลสุดท้าย จึงมีพระบรมราชโองการให้ถวายพระนามสมเด็จพระอดีตกษัตริย์สองรัชกาลก่อน ตามพระนามพระพุทธรูปที่ทรงสร้างอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชและสมเด็จพระบรมราชบิดาว่า “ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ” และ “ พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ” ตามลำดับ (ต่อมารัชกาลที่ ๔ ได้เปลี่ยนเป็น “ นภาลัย ”)

๖. รัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด) กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองสร้างพระนครขึ้นใหม่เยื้องกรุงธนบุรีราชธานีเดิม และได้พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า “ กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ” (สมัยรัชกาลที่ ๔ เปลี่ยนบวรรัตนโกสินทร์ เป็นอมรรัตนโกสินทร์) ได้มีผู้แปลนามกรุงเทพฯไว้ว่า หมายถึง “ พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่ที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่งคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) พระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้ ”

๗. กรุงเทพมหานครฯ หรือพระนครแห่งใหม่นี้ใช้เวลาสร้าง ๓ ปี มีการสร้างกำแพงเมือง ป้อมปราการ วัดวาอาราม และพระที่นั่งต่างๆ ดังนี้ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งพิมานรัตยา พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูณยพิมาน และพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ (เดิมชื่อพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท) ฯลฯ

๘. ส่วนกำแพงพระนครมีความยาว ๑๘๘ เส้นเศษ สูง ๑.๖ เมตร หนาเกือบ ๒ เมตร มีประตูใหญ่ ๑๓ ประตู ได้แก่ ประตู รัตนพิศาล พิมานเทเวศน์ วิเศษไชยศรี มณีนพรัตน์ สวัสดิโสภา เทวาพิทักษ์ ศักดิ์ไชยสิทธิ์ วิจิตรบรรจง อนงคารักษ์ พิทักษ์บวร สุนทรทิศา เทวาภิรมย์ และอุดมสุดารักษ์ และมี ป้อม ๑๔ ป้อม ได้แก่ พระสุเมรุ /ยุคนธร /มหาปราบ /มหากาฬ /หมูทะลวง (หมูหลวง) /เสือทะยาน /มหาไชย /จักรเพชร /ผีเสื้อ /มหาฤกษ์ /มหายักษ์ /พระจันทร์ /พระอาทิตย์ และอิสินธร

๙. วัดสำคัญในรัชกาลที่ ๑ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) โปรดให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวังทำนองเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย / วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมชื่อวัดโพธาราม เป็นวัดเก่าแก่สร้างแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเพทราชา รัชกาลที่ ๑ให้บูรณะปฏิสังขรณ์อยู่นานถึง ๑๒ ปีแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส ” (รัชกาลที่ ๔ ได้เปลี่ยนจาก วาส เป็น ราม )ถือ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ /วัดมหาธาตุ เดิมชื่อวัดสลัก มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทพระราชทานนามให้ว่า “ วัดนิพพานาราม ” ครั้นเมื่อมีการสังคยานาพระไตรปิฎกปีพ.ศ. ๒๓๓๑ และได้สร้างมณฑปประดิษฐานพระไตรปิฎก จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ” เมื่อกรมพระราชวังบวรฯทิวงคต รัชกาลที่ ๑ ได้พระราชทานนามใหม่ให้ว่า “ วัดมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่และพระราชทานนามให้ว่า “ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ” / วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๑ โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๕๐ เพื่อให้เป็นวัดกลางเมืองเช่นเดียวกับวัดพนัญเชิงสมัยกรุงศรีอยุธยา และโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากกรุงสุโขทัยมาประดิษฐานที่นี่ และรัชกาลที่ ๒ ได้ทรงแกะสลักบานประตูหน้าพระวิหารไว้ด้วย / วัดสระเกศ เดิมชื่อวัดสะแก เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๑ ทรงทำพิธีสรงสนาน (สระหัว)ตามประเพณี ครั้นเมื่อเสวย์ราชย์แล้วจึงได้พระราชทานนามใหม่ให้ว่า “ วัดสระเกศ ”

๑๐. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประชวรด้วยพระโรคชรา และเสด็จสวรรคตในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๒ สิริรวมพระชนมายุ ๗๔ พรรษา ทรงอยู่ในสิริราชสมบัติ ๒๗ ปี ทรงเป็นองค์ปฐมกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี ทรงปกป้องคุ้มครองรักษาผืนแผ่นดินอันเป็นที่รักของเราชาวไทยให้อยู่รอดปลอดภัยและเจริญรุ่งเรืองมาจวบจนทุกวันนี้ และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาของพระองค์ว่า “ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช ” ในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๕

วันจักรี กิจกรรมมีอะไรบ้าง

ในวันจักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จฯ บำเพ็ญพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว และเสด็จฯ วางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสรณ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า

ที่ตั้ง : พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระปฐมบรมราชานุสรณ์ ประดิษฐานอยู่ ณ เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์หรือสะพานพุทธฯ ฝั่งพระนคร

ขณะที่หน่วยงานราชการ เอกชน และภาคประชาชน จะจัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์ เช่น จัดพิธีถวายบังคมพระรูป จัดนิทรรศการ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ

และทั้งหมดก็คือความเป็นมาของวันจักรี เป็นวันที่ประชาชนทุกคนควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์

ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://hilight.kapook.com/view/22420
http://www.lib.su.ac.th/rattanagosin_web/?q=node/104
http://www.culture.go.th/cday/index.php?option=com_content&view=article&id=685%3A2011-03-28-15-11-41&catid=42%3A0403&Itemid=76&limitstart=1

CR: http://www.culture.go.th

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามารู้จักการป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า และส่วนประกอบของระบบป้องกันฟ้าผ่ากันนะคะ ヾ(*´∀`*)ノ          ประกาศ...
29/03/2016

สวัสดีค่ะ วันนี้เรามารู้จักการป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า และส่วนประกอบของระบบป้องกันฟ้าผ่ากันนะคะ ヾ(*´∀`*)ノ

ประกาศกระทรวงมหาดไทย ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับอัคคีภัย มีข้อกำหนดทั่วไปจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย เช่น การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า จัดให้มีสายล่อฟ้าสำหรับอาคาร ดังนี้
- อาคารที่มีวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิด
- อาคารที่มิได้อยู่ในรัศมีการป้องกันสายล่อฟ้าจากอาคารอื่น
- สิ่งก่อสร้างหรือภาชนะที่มีส่วนสูง เช่น ปล่องไฟ หอคอย เสาธง ถังเก็บน้ำหรือสารเคมี

กฏกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) อาคารสูงต้องมีระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า
- ระบบประกอบด้วยสายล่อฟ้า เสาล่อฟ้า สายตัวนำ สายนำลงดินและหลักสายดินเชื่อมโยงกันเป็นระบบ
- สายนำลงดินต้องมีขนาดพื้นที่ภาคตัดขวางเทียบไม่น้อยกว่าทองแดง 30 ตร.มม.
- อาคารแต่ละหลังต้องมีสายตัวนำโดยรอบอาคารและมีสายนำลงดินห่างกันทุกระยะไม่เกิน 30 เมตร และมีอย่างน้อย 2 เส้น
- เหล็กเสริมหรือเหล็กรูปพรรณในโครงสร้างอาคารอาจใช้เป็นสายนำลงดินแต่ต้องมีระบบการถ่ายประจุไฟฟ้าถูกต้องตามหลักวิชาช่าง

ส่วนประกอบของระบบป้องกันฟ้าผ่า

1. ระบบตัวนำล่อฟ้า
ตามมาตรฐานอาจจะเป็นแบบแท่งตัวนำ (เสาล่อฟ้าหรือหลักล่อฟ้า), สายตัวนำขึง (ปกติจะใช้ร่วมกับเสาล่อฟ้า), ตัวนำแบบตาข่าย เป็นต้น โดยตัวนำล่อฟ้าสามารถทำจากวัสดุหลายประเภท ชนิดและขนาดตัวนำเป็นดังนี้
- เหล็ก ขนาดไม่เล็กกว่า 120 ตารางมิลลิเมตร
- อะลูมิเนียม ขนาดไม่เล็กกว่า 70 ตารางมิลลิเมตร
- ทองแดง ขนาดไม่เล็กกว่า 50 ตารางมิลลิเมตร

การใช้โครงสร้างอาคารเป็นตัวนำล่อฟ้า (ตัวนำล่อฟ้าโดยธรรมชาติ) โดยใช้แผ่นโลหะปกคลุมบริเวณป้องกัน มีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า และแผ่นโลหะความหนาไม่ต่ำกว่ากำหนด ไม่มีการเคลือบ ยกเว้นแอสฟัลต์ไม่เกิน 0.5 มม. หรือเคลือบพีวีซี ความหนาไม่เกิน 1 มม. นอกจากนี้ยังอาจใช้องค์ประกอบโลหะของโครงสร้างหลังคา ชิ้นส่วนโลหะ รางน้ำ ราวลูกกรง เป็นตัวนำล่อฟ้าโดยธรรมชาติได้ ในกรณีที่ใช้ท่อและถังโลหะหนาไม่น้อยกว่า 2.5 มม.


2. ระบบตัวนำลงดิน
ในกฏกระทรวง ฉบับที่ 33 ได้กล่าวถึงระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารสูง โดยกล่าวไว้ว่าอาคารสูงจะต้องมีสายนำลงดินต้องมีขนาดเทียบไม่น้อยกว่าทองแดง 30 ตารางมิลลิเมตร แต่เมื่อพิจารณาตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าสายตัวนำลงดินสำหรับอาคารสูง อาคารแต่ละหลังต้องมีสายตัวนำโดยรอบอาคารและมีสายนำลงดินห่างกันทุกระยะไม่เกิน 30 เมตร และในกรณีที่ติดตั้งสายตัวนำลงดินต้องหลีกเลี่ยงการให้ตัวนำลงดินติดตั้งอ้อมเป็นวง


3. ระบบหลักดิน
ทำหน้าที่กระจายแรงดันไฟฟ้าไม่ให้เกินจนเกิดอันตราย ทั้งนี้รูปร่างไม่กำหนด แต่ต้องมีความต้านทานการต่อลงดินต่ำ โดยวัสดุที่ใช้เป็นหลักดินที่ต่อถึงกันที่ใต้ผิวดินถือเป็นหลักดินเดียวกัน ขนาดเป็นดังนี้
- เหล็ก ขนาดไม่เล็กกว่า 120 ตารางมิลลิเมตร
- ทองแดง ขนาดไม่เล็กกว่า 50 ตารางมิลลิเมตร

ชนิดของหลักดิน สามารถแบ่งได้ดังนี้
- หลักดินวงแหวนชนิดหนึ่งวงหรือมากกว่า
- หลักดินแนวดิ่ง (หรือแนวเอียง)
- หลักดินแนวรัศมี
- หลักดินฐานราก


4. การประสานศักย์
ในระบบป้องกันฟ้าผ่าจะเป็นมาตรการป้องกันการเกิดประกายอันตรายระหว่างตัวนำของระบบป้องกันฟ้าผ่ากับตัวนำของระบบอื่นๆ เช่น ระบบท่อน้ำ ในกรณีที่ใช้ท่อน้ำเป็นท่อน้ำโลหะ หรือในต่างประเทศอาจจมีท่อแก๊ส ซึ่งในกรณีนี้ระหว่างหน้าแปลนของท่อแก๊สจะต้องติดสปาร์คแกปป้องกันการเกิดประกายอันตรายข้ามระหว่างรอยต่อของหน้าแปลน ซึ่งโดยทั่วไปในระบบของประเทศไทยจะไม่มีการติดตั้งท่อแก๊ส นอกจากนี้การประสานศักย์ยังอาจจะทำในระบบสื่อสารหรือระบบไฟฟ้ากำลัง ในการประสานศักย์นี้แท่งตัวนำประสานจะต้องติดตั้งในลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ง่าย ในการประสานศักย์ของระบบป้องกันฟ้าผ่ากับระบบไฟฟ้า ในกรณีที่จะต้องการประสานเส้นตัวนำที่มีไฟ การประสานศักย์ให้เท่ากันจะต้องทำผ่านอุปกรณ์ป้องกันที่เรียกว่า SPD


ขอบเขตและข้อจำกัดในการตรวจสอบ

(1) ตรวจสอบระบบตัวนำล่อฟ้า ตัวนำต่อลงดินที่ปรากฏให้เห็นด้วยสายตามีขนาดและระยะห่าง รวมทั้งครอบคลุมครบถ้วนตามที่กำหนด
(2) ระบบรากสายดิน ให้ตรวจวัดค่าความต้านทานของระบบรากสายดิน
(3) ตรวจสอบจุดต่อประสานศักย์ให้เท่ากันเฉพาะที่ปรากฏให้เห็นด้วยสายตา
(4) ตรวจสอบการดูแลรักษาซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

การตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection)

(1) ระบบป้องกันฟ้าผ่าอยู่ในสภาพที่ดี
(2) ไม่มีการต่อที่หลวมเกิดขึ้น และไม่มีการหัก ขาดใน ตัวนำระบบป้องกันฟ้าผ่า และจุดต่อ
(3) ไม่มีส่วนใดชำรุด เนื่องจากการกัดกร่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับดิน
(4) การต่อลงดินส่วนที่มองเห็นยังคงใช้งานได้อยู่
(5) ตัวนำ และส่วนประกอบที่มองเห็นยังคงติดตั้งบนผิวการยึด และส่วนประกอบ ซึ่งได้จัดเตรียมการป้องกันยังคงทำงานได้ และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
(6) ไม่มีสิ่งบ่งชี้ถึงความเสียหายของระบบป้องกันฟ้าผ่า
(7) การประสานศักย์ให้เท่ากัน มีความถูกต้องสำหรับระบบที่เพิ่มเติมภายหลังซึ่งได้ทำขึ้นภายในอาคาร ตั้งแต่การตรวจครั้งหลังสุด สายต่อประสานและการต่อภายในอาคารยังคงอยู่และทำงานได้

อันตรายจากฟ้าผ่า

- ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตมนุษย์ และปศุสัตว์
- ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
- ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการให้บริการสาธารณะ
- ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์
- ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.coe.or.th/elearning/courses/9/8/index.html
By : คุณชายชาญ โพธิสาร (ผู้บรรยาย)
สมาคมวิศวกรออกแบบและปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย

CR: http://www.coe.or.th

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง และได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง โดย วันมาฆบูชา...
19/02/2016

วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง และได้เวียนมาบรรจบอีกครั้ง โดย วันมาฆบูชา ๒๕๕๙ ตรงกับวันจันทร์ ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ วันนี้จึงมี ประวัติวันมาฆบูชา ความสำคัญของวันมาฆบูชา มาฝากค่ะ (*^o^*)

ความหมายของวันมาฆบูชา

คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน ๓ ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน ๓

การกำหนดวันมาฆบูชา

การกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยนั้นจะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม

ความสำคัญวันมาฆบูชาและประวัติวันมาฆบูชา

ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา ๙ เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"

โอวาทปาฏิโมกข์

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุ วนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา), คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)

สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง, การบำเพ็ญแต่ความดี, การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ การไม่กล่าวร้าย, การไม่ทำร้าย, ความสำรวมในปาฏิโมกข์, ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร, ที่นั่งนอนอันสงัด, ความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

คำว่า "จาตุรงคสันนิบาต" แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ
- จาตุร แปลว่า ๔
- องค์ แปลว่า ส่วน
- สันนิบาต แปลว่า ประชุม

ฉะนั้น จาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย

๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น

๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุู้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆองค์

๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์

การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

๑. ทำบุญใส่บาตร
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนา
๓. ไปเวียนเทียนที่วัด
๔. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ เป็นต้น

บทสวดมนต์วันมาฆบูชา

อภิญญา ๖
อภิญญา แปลว่า “ความรู้ยิ่ง” หมายถึง ปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐานอิทธิวิธิ หมายถึง แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้

ทิพพโสต หมายถึง มีหูทิพย์
เจโตปริยญาณ หมายถึง กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ หมายถึง ระลึกชาติได้
ทิพพจักขุ หมายถึง มีตาทิพย์
อาสวักขยญาณ หมายถึง รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
บทสวดมนต์ ในวันมาฆบูชา

บทสวด

อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะจันโท ยุตโต ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต
โอวาทะปาฏิโมกขัง อุททิสิ ตะทาหิ อัฑฒะเตระสานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพปิ เต อะนามันติตาวะ ภะคะวะโต สันติกัง อาคะตา เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป มาหะปุณณะมิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ ตัสมิญจะ สันนิปาเต ภะคะวาวิสุทธุโปสะถัง อะกาสิ อะยัง อัมหากัง ภะคะวะโต เอโกเยวะ สาวะกะสันนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัพฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยัง ตักกาละสะทิสัง สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะระมานา อิมัสมิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ
ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิเม ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล

วันนี้มาประจวบวันมาฆปุรณมี เพ็ญเดือน ๓ พระจันทร์เพ็ญประกอบด้วยฤกษ์มาฆะ ตรงกับวันที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ขึ้น ในที่ประชุมสาวกสงฆ์พร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ ครั้งนั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ไม่มีผู้ใดเรียกมาประชุมยังสำนักพระผู้มีพระภาค ณ เวฬุวนาราม เวลาตะวันบ่ายในวันมาฆปุรณมี, แลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ขึ้น ณ ที่ประชุมแห่งนั้น การประชุมสาวกสงฆ์ พร้อมด้วยองค์ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ได้มีครั้งเดียวเท่านั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ล้วนแต่พระขีณาสพ บัดนี้เราทั้งหลายมาประจวบมาฆปุรณมีนักขัตต์สมัยนี้ ซึ่งคล้ายกับวันจาตุรงคสันนิบาตนั้นแล้ว มาระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์นั้น ด้วยสักการะทั้งหลายมีเทียนธูปแลดอกไม้เป็นต้นเหล่านี้ ในเจดียสถานนี้ ซึ่งเป็นพยานของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยสาวกสงฆ์ แม้ปรินิพพานนานมาแล้วด้วยดี ยังเหลืออยู่แต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงทรงรับสักการะบรรณาการคนยากเหล่านี้ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ.

ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://hilight.kapook.com/view/20696
http://www.tlcthai.com/educat…/history-of-thailand/4581.html

CR: http://www.dhammathai.org

ที่อยู่

Bangkok
10150

เบอร์โทรศัพท์

+66 2 895 4576

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ AIRFLOW PROFESSIONALผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง AIRFLOW PROFESSIONAL:

แชร์


Bangkok สำนักงานตัวแทนจัดการท่องเที่ยวอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด