04/01/2024
🥺 คนไทย..ควรรู้ 10 ข้อ
พื้นฐาน…เรื่องโรคไข้เลือดออก
ความกังวลของหมอ..กับ..คนไข้
เรื่องไข้เลือดออก..ต่างกัน
Fact.. 10 ข้อ
1) ชื่อโรคไข้เลือดออก จริงๆแล้ว...
ชื่อโรคไม่ตรงกับพยาธิสภาพ
คือ มีไข้ แต่ไม่ได้มีเลือดออก หรือ จุดเลือดออกทุกราย
คนไข้มีไข้ทุกคน 100%
ไม่มีไข้ ตัดโรคไข้เลือดออกทิ้งได้เลย
แต่ไม่ได้เลือดออก 100% ทุกคน
บางคนไม่มี
และส่วนใหญ่ก็ไม่มีเลือดออก
ไข้เลือดออกมี 3 ระยะ
-ระยะไข้
-ระยะวิกฤต /ระยะช็อก/ระยะพลาสม่ารั่ว
-ระยะหาย /ฟื้นตัว
2) ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า
เห็นยุงกัดตุ่มแดง 1 จุด
กลัวจะเป็นไข้เลือดออก
จริงๆไม่ใช่
จริงๆคือ ส่วนใหญ่ไม่รู้หรอกว่ายุงกัดตอนไหน
มารู้อีกที คือ ไข้สูงเกิน 2 วันแล้ว
อาการสำคัญคือ ต้องมีไข้ก่อนเสมอ สูงลอย
เกิน 2 วัน กินยาลดไข้ก็ไม่ลง
ไข้มักเกิน 38 อาจลอยได้ 39-41
3) อาการสำคัญคือ
ไข้สูงลอย 2-7 วัน ร่วมกับ
4 ปวด
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด
ศีรษะ
กระบอกตา
กล้ามเนื้อ
กระดูก
และอาจมีผื่น
และจุดเลือดออก
หรืออาการเลือดออก
เช่นประจำเดือนในผู้หญิง
มักไม่ไอไม่มีน้ำมูก
ไม่มีท้องเสียถ่ายเหลว
อาจมีคลื่นไส้อาเจียนได้
4)ส่วนใหญ่ผู้ปกครอง
มักจะกังวลเรื่องไข้
แต่แพทย์ ไม่กังวลเลย
เพราะเป็นไปตามตัวโรค
ถึงเวลา ระยะโรคเดี๋ยวมันก็ลง ตามการดำเนินโรค
จะมีไข้สูง 38-41 องศา
วันแรกๆ 2-5 วันแรก
ตามตัวโรค
ไม่จำเป็นต้องกินยาไข้สูง (Ibuprofen)
หรือให้สเตอรอยด์ ทั้งกินและฉีด
เพราะอันตราย ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้
และเลือดออกในระบบทางเดินอาหารได้
ดีสุดคือ กินยาลดไข้พาราเซตามอลและเช็ดตัว
พาราเซตามอลให้ได้ทุก 4-6 ชม.
เท่าที่จำเป็น
กินยาพาราเซตามอลมากก็ไม่ดี
เพราะตับอักเสบได้อีก
เสี่ยงตับวายอีก
สรุป พาราเซตามอล กินเท่าที่จำเป็น
ตามอาการของโรค
ไข้จะลงประมาณวันที่ 4-5 เป็นต้นไป
ได้แต่ทำใจ เช็ดตัว กินได้แต่พาราเซตามอล
แต่แพทย์จะเฝ้าระวัง
ประเมินสัญญาณชีพ 4 อย่าง
ได้แก่
อุณหภูมิร่างกาย
อัตราการหายใจเข้าและออก 1 นาที
ชีพจรหรือหัวใจเต้นใน 1 นาทีและ
ความดันโลหิต
และจำนวนปัสสาวะที่ออก
และปริมาณสารน้ำที่เข้าร่างกาย
ดังนั้น คนไข้ต้องตวงปัสสาวะ ให้แพทย์
บันทึกปริมาณโดย พยาบาลและผู้ช่วย
5) แพทย์จะเริ่มกังวลประมาณวันที่
3-4 ของไข้ กังวลตอนไข้ลงมากกว่ามีไข้
ที่กลัวตอนไข้เริ่มลง เพราะ
เมื่อไข้เริ่มลง
แสดงว่าเริ่มเข้าระยะที่ 2
ของโรคไข้เลือดออก
เป็นระยะที่ 2 ของไข้เลือดออกคือ
ระยะวิกฤต หรือ เรียกระยะช็อก หรือ เรียกระยะ พลาสม่ารั่ว
เริ่มนับตั้งต้นระยะที่ 2 เมื่อ เกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000
ซึ่งสอดคล้องกับช่วงที่ไข้เริ่มต่ำลง
ซึ่งแพทย์จะเจาะเลือดทุกวัน เพื่อ ดูปริมาณเกล็ดเลือด
จึงไม่แปลกที่แพทย์จะเจาะเลือดทุกวัน
ดูปริมาณเกล็ดเลือด
ไม่ใช่ว่า
หมอไม่เก่ง
ทำไมเจาะบ่อย
ที่เจาะบ่อย
เพราะจะติดตามการรั่วของพลาสม่าหรือน้ำเลือด
จะได้ปรับสารน้ำถูก
เส้นเลือดอาจรั่วและน้ำพลาสม่าจะรั่วออกเส้นเลือด
เมื่อเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000
โดยทั่วไปจะรั่วประมาณ 48 ชม.
เมื่อพลาสม่าหรือน้ำเลือดรั่วออกไป
เม็ดเลือดแดง จึงเข้มข้นขึ้น
ค่าเม็ดเลือดแดงเรียก haematocrit (hct)
คนปกติอยู่ระหว่าง 35-40%
ถ้าพลาสม่ารั่ว จะทำให้ เลือดข้นขึ้น
ค่า hct จะสูงขึ้น จากเดิม 35-40% อาจสูงขึ้นมากกว่า
40 กลายเป็น 45 50
ทำให้เลือดหนืดข้น น้ำเลือดในเส้นเลือดน้อยเพราะรั่วแถมหนืดอีก
อวัยวะต่างๆของคนไข้ ก็ขาดน้ำเลือดไปเลี้ยง
ทำให้อวัยวะขาดออกซิเจน อวัยวะจึงถูกทำลาย
โดยเฉพาะ ตับ ไต วายได้
สรุป ระยะที่ 2 บางคนเท่านั้น เน้นว่าส่วนน้อยทำให้เกิดพลาสม่ารั่ว
ถ้ามีพลาสม่ารั่ว จะทำให้เกิด
- ช็อกได้
- ตับโตกดเจ็บ ปวดท้อง
- น้ำในช่องปอด
- น้ำในช่องท้อง
-ไข่ขาวในเลือดรั่ว (albumin ต่ำ) และบางรายแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ
เพราะพลาสม่ามันรั่วไปในช่องปอดและท้อง
คนไข้จะหอบหายใจเร็วและท้องโต อืดได้
เป็นสาเหตุการเสียชีวิต
แต่ การรั่วของพลาสม่า ค่อยๆรั่ว คนไข้ยังรู้ตัวดี
อาจแค่ซึมๆ รู้อีกทีก็ช็อก
ดังนั้น ไข้เลือดออก ถ้าซึมมาก กินน้อย อาเจียน ปวดท้อง ต้องมาพบแพทย์
6)โรคไข้เลือดออกไม่จำเป็นต้องมีเส้นเลือดรั่วทุกราย
ถ้าไม่รั่ว ซึ่งพบจำนวนคนไข้มากกว่าเรียก
ไข้เดงกี่ (dengue fever) ย่อว่า DF
แต่ถ้ามีการรั่วของพลาสม่าเรียก
โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) ย่อว่า DHF
ดังนั้น ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก
มีอาการน้อย คือ เส้นเลือดไม่รั่ว DF
แต่ถ้ารั่ว จะรุนแรงได้ เรียก DHF
ถ้ารั่วมากจนช็อกเรียก
ไข้เลือดออกช็อก (dengue shock syndrome ย่อว่า DSS)
ดังนั้น ที่เรียกกันโรคไข้เลือดออกจริงๆ
มี 3 แบบ
คือ DF DHF และ DSS
ไข้เลือดออกไม่มียารักษา
การรักษา คือ ปรับสารน้ำเกลือให้เพียงพอกับพลาสม่าที่รั่ว
ให้เหมาะสม ไม่มากไป ไม่น้อยไป
ให้มากไป น้ำเกิน คนไข้หอบเพราะน้ำไปอยู่ในปอด
ให้น้อยไป อวัยวะก็ขาดเลือด ตับ ไต วายได้
ช่วงวิกฤตระยะที่ 2 ที่เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000
กินเวลา 48 ชม.
ไม่มียาฆ่าไวรัส
7)ดังนั้น
DF ไม่รุนแรง ถ้าเลือดไม่ไหล
ส่วน DHF และ DSS รุนแรง
ตายได้ สาเหตุทีสำคัญที่คนไข้ตาย
ระยะที่ 2 ระยะเส้นเลือดรั่วกินเวลา 48 ชม. หรือ 2 วัน
แพทย์จะเจาะเลือดทุก 4-6 ชม. ติดตามการรั่วของเส้นเลือด
และปรับสารน้ำเกลือ เพื่อให้เพียงพอต่อการรักษาความดันโลหิตและสัญญาณชีพให้ปกติ
พอพ้นระยะรั่ว (นับจากเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000) 48 ชม.
จะเข้าสู่ระยะ 3 คือ คือ ระยะหาย หรือ ระยะฟื้นตัว
คนไข้จะมี 4 อาการ
A: appetite กินข้าวได้
B: Bradycardia หัวใจเต้นช้า
C: Convalescence rash คือมีผื่นแดง คัน
D : Diuresis ปัสสาวะมาก
I: Iching คัน มีผื่นขึ้น
แพทย์จะดีใจมาก
ถ้าคนไข้
มีอาการคัน
มีผื่นขึ้น
โดยเฉพาะที่ขา แขน ลำตัว
เพราะแสดงว่าหายแล้ว
ปลอดภัยแล้ว
กลับบ้านได้
8)การป้องกันดีสุดมี 4 วิธี
_ อย่าให้ยุงกัด นอนกางมุ้ง ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทายากันยุง
_ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
_ไข้เกิน 2 วัน และสูง กินไม่ได้ อาเจียน รีบมาพบแพทย์ ห้ามกินยาหรือฉีดยาลดไข้สูง
_ คนที่เคยเป็นทั้ง DF DHF และ DSS หายดีแล้วควรมารับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเพราะเป็นซ้ำได้ เพราะไวรัสไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์
โดยฉีดหลังหายจากโรค 6 เดือน
9)อายุที่ฉีดได้คือ 4-60ปี ในคนที่เคยเป็นแล้วทั้ง DF DHFและ DSS
ไม่ฟรี ต้องเสียเงิน มีที่ รพ.เอกชนหรือคลินิก
หรือ ไม่เคยติดเชื้อก็ฉีดวัคซีนได้
มี 2 ชนิด
1) ชนิดแรกต้องเคยเป็นหรือ ผลเลือดเคยติดเชื้อ
ฉีดจำนวน 3 เข็ม
0, 6 และ 12 เดือน
อายุ 6-45 ปี
2)ชนิดที่สอง สำหรับคนไม่เคยเป็นหรือเคยเป็นหรือเคยตรวจเลือดว่าเคยรับเชืีอไข้เลือดออก
อายุ 4-60 ปี
ฉีด 2 เข็ม ห่าง 3 เดือน
10)มาตรการป้องกัน 3 ก
_เก็บบ้าน ให้สะอาด ปลอดโปร่ง เพราะยุงชอบไปเกาะที่มืด อับแสง
_เก็บน้ำ ปิดฝาโอ่ง ไม่ให้ยุงมาไข่
_เก็บขยะ อย่าให้มีน้ำขัง ปิดภาชนะที่มีน้ำขัง
Cr. INFECTIOUS ง่ายนิดเดียว