Thank You Library

Thank You Library ทุกเรื่องราวมีเรื่องให้เล่า
ทุกเรื่องเล่ามีเรื่องให้พูดถึง

นำเสนอบทความดีๆ หนังสือที่น่าอ่าน หนังที่น่าดู ซีรี่ยที่ชอบ ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม และประสบการณ์ชีวิตต่างๆ

28/12/2022

🇯🇵 ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคสมัยใหม่
| ฉบับรวบรัด

-----

• เนื้อหาในบทความนี้ จะนำเสนอในรูปแบบของไทม์ไลน์เวลา ดังนั้นในบางเหตุการณ์ที่มีความละเอียดซับซ้อน อาจจะไม่ได้ปรากฏอยู่ในไทม์ไลน์นี้

-----

• 1868

การปฏิรูปเมจิ (Meiji Restoration) จุดสิ้นสุดของรัฐบาลโชกุนและระบอบศักดินา จุดเริ่มต้นของยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น ภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิมัตสึฮิโตะ (Mutsuhito) และยุคสมัยเมจิ (Meiji Period)

-----

• 1894 ถึง 1896

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (First Sino-Japanese War) จุดเริ่มต้นการขยายอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่น

-----

• 1904 ถึง 1905

ญี่ปุ่นเอาชนะกองทัพเรือของรัสเซียในดินแดนแมนจูเรียและเกาหลี

-----

• 1910

ญี่ปุ่นผนวกดินแดนเกาหลี

-----

• 1912

สมเด็จพระจักรพรรดิโยชิฮิโตะ (Yoshihito) ขึ้นครองราชย์ เริ่มต้นสมัยไทโซ (Taisho Period)

-----

• 1914

ญี่ปุ่นเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นทำการยึดครองอาณานิคมของเยอรมนีในภูมิภาคแปซิฟิก

-----

• 1918 ถึง 1922

ญี่ปุ่นเข้าร่วมในสงครามกลางเมืองรัสเซีย เพื่อต่อต้านอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์

-----

• 1923

เหตุแผ่นดินไหวในกรุงโตเกียว ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1 แสนคน

-----

• 1926

สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ (Hirohito) ขึ้นครองราชย์ เริ่มต้นสมัยโชวะ (Showa Period)

-----

• ปลายทศวรรษที่ 1920

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ อุดมการณ์ชาตินิยมสุดโต่งของญี่ปุ่นได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อต่อต้านอิทธิพลของชาติตะวันตก

-----

• 1931

ญี่ปุ่นส่งกองทัพยึดครองดินแดนแมนจูเรียของจีน ก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวในอีกหนึ่งปีต่อมา

-----

• 1932

นายกรัฐมนตรี อินุไค สึโยชิ (Inukai Tsuyoshi) ถูกสังหาร กองทัพญี่ปุ่นเริ่มกุมอำนาจในรัฐบาล

-----

• 1936

ญี่ปุ่นลงนามเป็นพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี

-----

• 1937

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 (Second Sino-Japanese War) กองทัพญี่ปุ่นบุกรุกรานจีนแผ่นดินใหญ่ เกิดโศกนาฏกรรมสังหารหมู่ในเมืองนานกิง จนทำให้มีชาวจีนล้มตายกว่า 3 แสนคน

-----

• 1940

ญี่ปุ่นบุกยึดครองดินแดนอาณานิคมอินโดจีน (เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา) ของฝรั่งเศส

-----

• 1941 ถึง 1942

ญี่ปุ่นบุกโจมตีฐานทัพเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐฯ และยึดครองดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงภูมิภาคแปซิฟิก

-----

• 1942 ถึง 1945

ญี่ปุ่นทำสงครามแปซิฟิกกับสหรัฐฯ

-----

• 1944

กองทัพสหรัฐฯ เข้าใกล้แผ่นดินญี่ปุ่น สหรัฐฯ ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีตามเมืองต่าง ๆ ของญี่ปุ่น

-----

• 1945

สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ ส่งกองทัพเข้าควบคุมญี่ปุ่น

-----

• 1947

ญี่ปุ่นประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ภายใต้การควบคุมของสหรัฐฯ กองทัพญี่ปุ่นถูกยกเลิก อำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิเหลือเพียงสถานะสัญลักษณ์ของชาติ

-----

• 1951

ญี่ปุ่นลงนามสันติภาพกับสหรัฐฯ และชาติอื่น ๆ

-----

• 1952

กองทัพสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากญี่ปุ่น ยกเว้นฐานทัพที่สำคัญอาทิ ฐานทัพของสหรัฐฯ ที่เกาะโอกินาว่า

-----

• 1955

พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) พรรคการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดของญี่ปุ่นถูกก่อตั้งขึ้น

-----

• 1956

ญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ

-----

• 1964

กรุงโตเกียวของญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน

-----

• 1972

ญี่ปุ่นเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

-----

• 1989

สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะสวรรคต สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (Akihito) ขึ้นครองราชย์ เริ่มต้นยุคเฮเซ (Heisei Period)

-----

• 1993

- พรรค LDP แพ้การเลือกตั้งครั้งแรกตั้งแต่ปี 1955 พันธมิตร 7 พรรคจัดตั้งรัฐบาล

- รัฐบาลญี่ปุ่นออกแถลงการณ์โคโนะ (Kono Statement) เพื่อขอโทษที่กองทัพญี่ปุ่นใช้ทาสทางเพศ (S*x Slave) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

-----

• 1994

รัฐบาลของพันธมิตร 7 พรรคล่มสลาย พรรค LDP และพรรคสังคมนิยมเข้ามามีอำนาจแทน

-----

• 1997

เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในญี่ปุ่น

-----

• 2001 ถึง 2006

จุนอิจิโร โคอิซูมิ (Junichiro Koizumi) จากพรรค LDP ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

-----

• 2004 ถึง 2006

กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น (JSDF) ถูกส่งไปประจำการที่อิรัก นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นส่งทหารออกนอกประเทศ

-----

• 2006 ถึง 2007

ซินโซะ อาเบะ (Shinzo Abe) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก

-----

• 2009

พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (DPJ) คู่แข่งสำคัญของพรรค LDP ชนะการเลือกตั้ง

-----

• 2011

ญี่ปุ่นประสบกับเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และคลื่นสึนามิ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะเกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี

-----

• 2012

ซินโซะ อาเบะ และพรรค LDP ครองอำนาจในญี่ปุ่นอีกครั้ง

-----

• 2019

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชสมบัติ สมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตะ (Naruhito) ขึ้นครองราชย์ เริ่มต้นสมัยเรวะ (Reiwa Period)

-----

• 2020

- วิกฤตการณ์ Covid-19 ในญี่ปุ่น

- ซินโซะ อาเบะ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากปัญหาสุขภาพ โยชิฮิเดะ ซูงะ (Yoshihide Suga) ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงปัจจุบัน

- กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ ถูกเลื่อนไปจัดในปี 2021 แทน

-----

*** Reference

- https://www.japan-guide.com/e/e641.html
- https://www.bbc.com/news/world-asia-pacific-15219730
- https://www.thoughtco.com/japan-facts-and-history-195581
- https://www.insightguides.com/destinations/asia-pacific/japan/historical-highlights

14/08/2022
23/05/2022

🎨เอาใจสายกราฟิกหรือใครที่อยากจะทำภาพคอนเทนต์ด้วยตัวเอง แต่ไม่รู้จะหารูปสวย ๆ จากไหนมาใช้

วันนี้เรารวมพิกัดเว็บไซต์คลังภาพที่โหลดมาใช้กันได้ฟรี ๆ มีทั้งภาพถ่าย Icon Vector มาหมด!
6 พิกัดเว็บไซต์เข้าไปโหลดรูปมาใช้กันได้เลย
1. Freepik https://www.freepik.com/
2. Pexels https://www.pexels.com/
3. Unsplash https://unsplash.com/
4. Lifeofpix https://www.lifeofpix.com/
5. Pixabays https://pixabay.com/th/
6. Flaticon https://www.flaticon.com/

24/12/2021
13/07/2021

[8 แนวคิดสุดล้ำสำหรับเมืองในอนาคต]
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกที และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็กำลังท้าทายระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งยังได้เปลี่ยนมุมมองที่ผู้คนมีต่อสถานที่ทำงานของพวกเขา
ขณะที่ความต้องการของกลุ่มคนที่มีพรสวรรค์ ทักษะ และทัศนคติใหม่ ๆ ไปจนถึงบรรดาผู้นำทั่วโลกต่างค้นหาวิธีพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังการระบาดครั้งใหญ่ให้เหมาะกับยุคใหม่ที่ระบบอัตโนมัติ (Automation) อัลกอริทึม (Algorithm) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยคำถามเดียวกันที่ปรากฏขึ้นก็คือ “โลกแห่งการทำงานในอนาคตนั้นจะเกิดขึ้น ณ พิกัดใดบ้าง”
ลองมาดู 8 แนวคิดสำหรับโลกแห่งการทำงานในอนาคตกันว่ามีพิกัดอยู่ที่ใดและมีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านใด จึงจะดึงดูดคนทำงานรุ่นใหม่ให้มาสร้างงานรูปแบบใหม่ ๆ ในสถานที่ที่ตอบโจทย์การทำงานในอนาคตได้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://bit.ly/3jG7Lvn

12/07/2021
04/07/2021
01/07/2021

💙MINDFULNESS ฝึกสติ พัฒนาสุขภาพจิตใจ
เริ่มต้นวันละ 3 นาที ลดความเครียด และอาการซึมเศร้า

Dr. Jon Kabat-Zinn ได้นำหลักการปฏิบัติแนวพุทธของพระพุทธเจ้ามาศึกษา พบว่า การฝึกสมาธิและสติจดจ่อกับปัจจุบันขณะที่พระองค์ทรงสอนนั้น ช่วยพัฒนาสุขภาพจิตใจได้ Dr.Jon นำหลักการนี้มาศึกษาและพัฒนาต่อเป็นโปรแกรม MBSR หรือ Mindfulness Based Stress Reduction จากนั้นก็มีงานศึกษาวิจัยตามมามากมาย ว่า ผู้ฝึกจะสามารถลดความวิตกกังวล ลดอาการซึมเศร้า และความเครียดต่างๆได้ดี แม้แต่บริษัท Google ยังมี Online Class เรื่องการฝึก Mindfulness นี้ให้กับพนักงานของเขาด้วย
งานศึกษาด้าน Neuroscience พบว่า Mindfulness ช่วยพัฒนาสมองส่วนต่างๆ สมองด้านการควบคุมสมาธิ การควบคุมอารมณ์ และ การตระหนักรู้ในตนเอง
🔹คำจำกัดความของ Mindfulness คือ การจดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะ โดยปราศจากการตัดสิน
(Mindfulness is paying attention to the present moment without judgement.) เป็นการตระหนักรู้ถึงความรู้สึกของตัวเรา อะไรที่เกิดขึ้นในใจเรา อะไรเกิดกับร่างกายเรา อะไรเกิดขึ้นรอบๆตัวเรา อะไรเกิดขึ้นณขณะนั้นๆ มันไม่ใช่การพยายามที่จะหยุดคิด แต่เป็นการอนุญาตให้ตัวเรา ตระหนักรู้กับมัน
มันเหมือนพื้นๆเลยใช่มั้ยคะ แต่มันก็ไม่ง่ายเท่าไหร่นัก
ตามการฝึกจะเริ่มจากทีละน้อยๆก่อน สัก 3 นาทีต่อวันก่อน แล้วค่อยๆปรับเวลาให้ยาวขึ้น แล้วแต่จะมีเวลาค่ะ
แต่ที่สำคัญควรทำอย่างสม่ำเสมอ และต่อๆไป เราก็สามารถฝึกในขณะที่เราทำกิจกรรมอื่นๆไปด้วยได้ เช่น ระหว่างคุยกับเพื่อนเราก็ฝึกรับรู้ที่การฟังในสิ่งที่เพื่อนพูด เป็นต้น
เรามาเริ่มกันเลยนะคะ
🔹นั่งในท่าที่สบายๆ เท้าสัมผัสพื้น
🔹มือวางที่ตัก หลับตา แล้ว
🔹ค่อยๆโฟกัสที่ลมหายใจเข้าออกของเรา สักพัก
🔹เราก็ค่อยๆมาเปลี่ยนมาโฟกัสที่หัวไหล่ของเราบ้าง
🔹สักพักก็เปลี่ยนมาโฟกัสที่ใบหน้าของเราบ้าง
🔹ลองเปลี่ยนตำแหน่งการโฟกัสแบบนี้เรื่อยๆ
🔹ค่อยๆทำช้าๆ ไม่ต้องรีบเปลี่ยน
💙เมื่อเกิดความคิด ก็แค่รู้ว่าคิด พยายามค่อยๆลดการตัดสินในความคิดของเราให้น้อยที่สุด แล้วเปลี่ยนไปโพกัสที่ลมหายใจ และร่างกายเราตามเดิม

💙โดยหลักการที่เราโฟกัสที่ความคิดเรา และลดการมีปฏิกิริยาต่อมันหรือ ตัดสินในความคิดของเราให้น้อยที่สุด เรียกว่า เป็น MBCT หรือ Mindfulness Base Cognitive Therapy หากเราฝึกไปสักระยะ เราลองฝึกระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่นระหว่างเล่นโยคะ ระหว่างทำครัว หรือระหว่างทำกิจกรรมอื่นๆ
มีการฝึก Relaxation อีกแบบนะคะที่เรียกว่า Muscle Relaxation Exercise ซึ่งจะพูดในโพสต่อๆไป
#แพรวจิตบำบัด #รักษาใจ

01/07/2021

7 วิธีจัดการ “จุดอ่อน” ของคนที่ประสบ”ความสำเร็จ”


“สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” แน่ครับเพราะทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์แบบกันได้ทุกคน
คนเราล้วนมีทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนของตัวเอง แต่คนที่ประสบความสำเร็จ พวกเขามีวิธีจัดการกับ “จุดอ่อน” อย่างไร ไม่ให้มาเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต ไปดู 7 วิธีที่จะช่วยลดจุดอ่อน และพัฒนาจุดแข็งของเรา เพื่อให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นกัน


1.ตั้งมั่น จดจ่อในสิ่งที่สนใจ และอยากทุ่มเทกับมัน
ก้าวแรกที่จะพาคุณไปสู่ความสำเร็จ คือ ลองหาว่าสิ่งที่คุณสนใจ และพร้อมจะทุ่มเททำมันคืออะไร? เพราะคุณจะมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้นจริงๆ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะออกมาดีกว่าสิ่งที่คุณทำเพราะโดนบังคับหรือไม่เต็มใจที่จะทำ

2.จัดการเวลาช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ยิ่งคุณมีการวางแผนที่ดี จัดลำดับความสำคัญของงาน รู้ว่าแต่ละงานต้องใช้เวลาเท่าไหร่ จะทำให้งานออกมาดี และมีประสิทธิภาพ

3.ฝึก และพัฒนาทักษะที่สำคัญให้รู้ลึก และรู้จริง
หาทักษะที่เราถนัด และทำมันได้ดี แล้วพัฒนามันให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ให้รู้ลึก และรู้จริง ถึงตอนนั้นคุณก็จะได้จุดแข็งเพิ่มขึ้นอีกทาง ไม่แน่ว่าโอกาสต่าง ๆ อาจเข้าหาคุณโดยไม่รู้ตัว

4.มีเป้าหมายและมีแผนการจะช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น
การตั้งเป้าหมายและวางแผนชีวิตจะช่วยทำให้เราไม่เสียเวลากับสิ่งที่ไม่สำคัญ ช่วยให้เราโฟกัสกับงาน ไม่ไขว้เขวและไปถึงสิ่งที่หวังได้เร็วขึ้น

5.กล้าเสี่ยง เพราะความไม่แน่นอนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
คนที่ประสบความสำเร็จมักจะชอบความท้าทายที่มาพร้อมกับความเสี่ยง เราต้องกล้าหาญที่จะก้าวเดินต่อไป เพียงแค่จัดการกับมันให้กระทบเราน้อยที่สุด

6.อย่าให้ความล้มเหลวหยุดคุณเอาไว้ ลุกขึ้นสู้ และหาโอกาสใหม่ๆ ให้มากขึ้น
คนที่ประสบความสำเร็จล้วนแต่เคยเผชิญหน้ากับความล้มเหลวมาแล้วทั้งนั้น แต่พวกเขาไม่ยอมแพ้ อย่าให้ความล้มเหลวเพียงแค่ครั้งเดียวมาหยุดคุณไว้ได้

7.มองเรื่องต่างๆ รอบตัวในมุมบวก เพื่อสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง
ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของจิตใจก็คือความคิดในแง่ลบ มันสามารถฉุดคุณลงมาได้ง่ายดาย ดังนั้นการพาตัวคุณไปอยู่ในบรรยากาศที่มีแต่ความคิดแง่บวกจะช่วยให้คุณต่อสู้กับจุดอ่อนของตัวเองได้ดีขึ้น

อย่าคิดว่าตัวเองไม่เก่งหรือมีแต่จุดอ่อน ลองเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เราทุกคนมักมีจุดแข็งซ่อนอยู่ หามันให้เจอแล้วพัฒนาให้เก่งขึ้น คุณก็จะพบว่าความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ที่มา : www.sumrej.com

--------------------------------------
ติดตามเรื่องราวการลงทุนรวมทั้งเทคโนโลยีที่น่าสนใจได้ที่
Fanpage : https://bit.ly/2TSemDv
Blog : library.intouchcompany.com
และอย่าลืมกดติดตาม หรือ See first เพื่อไม่ให้พลาดทุกการอัปเดทนะครับ
--------------------------------------
เว็บไซต์ www.intouchcompany.com
#เปิดโลกอนาคตเพื่อคนไทย #นักลงทุน #อินทัชโฮลดิ้งส์ #หุ้นอินทัช

01/07/2021

“คนอื่นยังจัดการได้ อย่ามาอ้างว่าไม่มีเวลาสิ”
‘time management myth’ กับดักบริหารเวลาที่สวนทางกับความเป็นจริง
แม้แต่ละคนจะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ทำไมบางคนถึงรู้สึกว่า ตัวเองงานเยอะจนไม่สามารถจัดการทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวได้ คำว่า “ไม่มีเวลา” สำหรับบางคน จึงดูเหมือนเป็นข้ออ้างไปโดยปริยาย ในเมื่อคนอื่นทำได้ แล้วทำไมคุณถึงทำไม่ได้ล่ะ?
ภายใต้คำว่า “ไม่มีเวลา” อาจจะต้องลองแยกย่อยดูก่อนว่า สเปรคตรัมเรื่องเวลาของแต่ละคนถูกมองผ่านแว่นแบบใดกันบ้าง บางคนให้ความสำคัญกับการทำงานเต็มเวลาแบบ ‘9 to 5’ และเผื่อเวลาให้ตัวเองพักแค่ตอนเที่ยงเท่านั้น หรือบางคนก็รู้สึกว่า ช่วงบ่ายถึงเย็นไม่รู้สึกโปรดักทีฟเอาเสียเลย งานที่ยังทำไม่เสร็จจึงถูกถ่ายโอนไปช่วงเวลากลางคืนมากกว่า
ซีอีโอที่บ้างานมากๆ ก็อาจจะมีแนวคิดที่ไม่ได้แบ่งแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัว รวมทั้งสองสิ่งเป็นก้อนเดียวกันเพราะคิดว่า ถ้าต้องแยกงานกับเวลาส่วนตัวตามแนวคิด ‘work-life balance’ ก็เท่ากับว่า เรากำลังมองงานเป็นเรื่องบั่นทอนในชีวิตอยู่หรือเปล่า
แต่การเทน้ำหนักไปที่เรื่องเวลามากเกินไปอาจกำลังสร้างวิธีคิดที่ผิดฝาผิดตัวให้กับเราอยู่ก็ได้ค่ะ พองานเข้ามามากๆ แล้วทำไม่เสร็จสักที สิ่งที่เรามุ่งตรงไปก่อนก็คือ ต้องเพิ่มจำนวนชั่วโมงการทำงานให้มากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เวลางานที่มากขึ้นไม่ได้ช่วยเพิ่มโฟกัสให้กับงานของคุณไปด้วยนะคะ
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่กระทั่งถึงตอนนี้เองก็ยังใช้วิธีการเดิมๆ อยู่เหมือนกัน นั่นคือถ้าทำงานภายใต้ขอบเขตเวลางานไม่เสร็จ ก็จะเก็บไปทำช่วงกลางคืน หรือหนักเข้าก็ทำงานวันหยุดสุดสัปดาห์ไปเลย เวลาเพื่อนๆ เห็นว่าเราทำงานวันหยุดก็จะรู้สึกว่า ทุ่มให้กับตรงนี้มากไปหรือเปล่า ควรเผื่อเวลาส่วนนี้มาพักผ่อนไหม
ระยะสั้นอาจทำแบบนี้ไปพลางได้ค่ะแต่ถ้าทำต่อเนื่องติดกันเป็นเวลาหลายปี สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับคุณแน่ๆ ก็คือภาวะความเครียดที่เพิ่มขึ้น อาการหมดไฟ และหลายครั้งก็ทำให้เราหมดแรงที่จะทำงานต่อไปได้เลย
การที่เรามุ่งโฟกัสไปกับคำว่า มีหรือไม่มีเวลาไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง และยังไม่ได้ทำให้งานเสร็จตามเป้าด้วย นักจิตวิทยาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘time management myth’ หรือกับดักหลุมพรางว่าด้วยเรื่องของการบริหารเวลา
time management myth คือวิธีคิดที่เรามองว่า หากเพิ่มเวลาทำงานให้มากขึ้นก็จะทำให้ได้ชิ้นงานมากขึ้นตามไปด้วย มากไปกว่านั้น เรายังคิดเผื่อไปด้วยว่า ยิ่งใช้เวลากับการทำงานมากเท่าไร เพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าก็คงจะรู้สึกประทับใจในความขยันของเรามากขึ้น
แต่ในความเป็นจริงแล้ว กระทั่งการทำงานตามเวลาเข้าออกดั้งเดิมแบบ ‘9 to 5’ ก็ไม่ได้ช่วยให้ ‘productivity’ ของงานเพิ่มตาม มีงานศึกษาที่พบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว คนทำงานจะหลุดโฟกัสจากงานที่ตัวเองกำลังทำตรงหน้ามากถึง 87 ครั้งต่อวัน ทำให้ยากต่อการรักษาโฟกัสตลอดวันได้อย่างเต็มที่
ในมุมกลับ การทำงานไม่ใช่แค่เรื่องเวลาที่ถูกขยายออกไปเรื่อยๆ แต่คุณต้องกลับมารักษาโฟกัสที่มีกับงานมากกว่า และกุญแจดอกสำคัญที่จะช่วยล็อกโฟกัสไว้ได้ก็คือ ต้องเริ่มปรับโครงสร้างเวลาทำงานของตัวเอง
ลิซ่า กอร์ดอน (Lisa Gordon) ศิลปินและนักเขียนในรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ตัดสินใจตัดแบ่งวันทำงานออกเป็น 45 นาทีสั้นๆ ทุกๆ 45 นาทีเธอจะใช้เวลาบางส่วนไปกับกิจกรรมที่ช่วยระงับความตึงเครียดระหว่างวันลงไปได้ ยกตัวอย่างเช่น การออกกำลังกาย ทำสมาธิ พักผ่อน ฯลฯ ซึ่งผลลัพธ์ที่เธอได้ก็กลับดีเกินคาด มันช่วยให้ความล้าลดลง อีกทั้งโฟกัสที่มีกับงานก็มีคุณภาพมากขึ้นด้วย
วิธีของกอร์ดอนตรงกับงานศึกษาของบริษัทโซเชียลเน็ตเวิร์กแห่งหนึ่งที่พบว่า กุญแจสู่ประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด คือพนักงานที่ทำงานติดต่อกัน 52 นาที สลับกับเวลาพักอีก 17 นาที เหมือนกับงานวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ที่พบว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้เวลาทำงาน 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กลับไม่ได้มีประสิทธิภาพไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์ที่ใช้เวลาทำงาน เพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น
ฉะนั้น สำคัญที่สุดจึงไม่ใช่การมองเพียงชั่วโมงทำงานที่มากขึ้น แต่เป็นเรื่องของ ‘deep work’ และ ‘deep schdule’ นั่นคือ เซ็ตไทม์มิงการทำงานไว้เลยว่า เราต้องทำอะไรสิ่งไหนเวลาใดบ้าง ที่สำคัญ คุณต้องเผื่อเวลาในตารางไว้บ้างบางส่วนด้วย นักวิจัยเสนอว่า การทำตาราง To-do list ที่อัดแน่นทั้งวัน ทำให้เกิดประสิทธิภาพน้อยกว่าการเว้นที่ว่างไว้บ้าง
สุดท้ายคือ ‘be lazy’ ฟังไม่ผิดหรอกค่ะ จงขี้เกียจให้เป็น คือคัมภีร์สำคัญสำหรับการทะลาย ‘time management myth’ ลง ความเกียจคร้านไม่ได้เป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป มันกลับเป็นสารอาหารชั้นดีของสมองด้วยซ้ำ เพื่อจะให้ชิ้นงานสำเร็จแล้วต้องใช้ทั้งโฟกัสและ ‘unfocus’ ด้วย และกุญแจดอกสุดท้าย คือถ้าถึงเวลาที่แบตเราหมดแล้วก็ยอมรับกับตัวเองซะว่า ถึงเวลาที่คุณต้องพักผ่อนบ้างแล้วล่ะ
ปล่อยให้ตัวเองได้ขี้เกียจบ้าง ก็ไม่เห็นจะแปลกอะไรนี่เนอะ

เขียนโดย Piraporn Witoorut
Source: https://www.bbc.com/worklife/article/20170612-why-you-should-manage-your-energy-not-your-time
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥

หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'

◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
“Knowledge is the only way to success”
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
ติดตามคอนเทนต์เพื่อพัฒนาตัวเองสู่ความสำเร็จจาก Future Trends ได้ที่
Facebook : https://bit.ly/38fXEYs
Youtube : https://bit.ly/3gBYyzG
(อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเทนต์ใหม่ในทุก ๆ วัน)

28/06/2021
27/06/2021

5 เทคนิคลับๆ จัดโต๊ะทำงานให้ Productive มีอะไรบ้าง มาสวมวิญญาณ Marie Kondo แล้วไปจัดโต๊ะกัน!

1. #กำจัดของ เช่น บิลต่างๆ โน้ตงานที่ผ่านไปแล้ว อุปกรณ์ที่คิดว่า “เดี๋ยวคงได้ใช้” และสิ่งของที่ไม่เกี่ยวกับงานออกไปให้หมด เลือกเก็บไว้เฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น

2. #จัดหมวดหมู่ สิ่งของบนโต๊ะ จัดตำแหน่งการวางตามการใช้งาน สิ่งของใช้บ่อยให้อยู่ใกล้มือมาก หยิบใช้ง่ายที่สุด

3. #นาฬิกาตั้งโต๊ะดีไซน์ที่ชอบ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยคอร์เนล พบว่าการตั้งเวลาพักเบรกสามารถทำงานงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความเสี่ยงจากออฟฟิศซิโดรมได้อีกด้วย

4. ติดตั้งไว้ในจุดที่สังเกตเห็นได้ชัด สำหรับติดโน้ตหรือแขวนของใช้ต่างๆ ช่วยเคลียร์โต๊ะทำงานให้โล่งและเป็นระเบียบมากขึ้น

5. #น้ำมันหอมระเหย สิ่งนี้ดูเหมือนไม่จำเป็น แต่จากงานวิจัยพบว่ากลิ่นหอมๆ โดยเฉพาะกลิ่นเปปเปอร์มิ้นท์ ช่วยกระตุ้นสมอง ความจำได้เป็นอย่างดี หรือจะลองเป็นกลิ่นของโรสแมรี่ มะลิ และ Sandalwood ก็สามารถช่วยให้โฟกัสกับงานมากขึ้นเช่นกัน

นอกจากเรื่องโต๊ะและเก้าอี้ทำงานที่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย สิ่งของและการจัดการบนโต๊ะก็สำคัญต่อประสิทธิภาพของการทำงานไม่แพ้กัน ใครลองนำเทคนิคเล็กๆ นี้ไปใช้แล้วได้ผลอย่างไร มาคอมเมนต์บอกกันบ้างนะ 😉

------------------------------
Website : https://workstationoffice.com/
นัดหมายเยี่ยมชมโชว์รูม โทร. 02-106-8484 , Line ID
📍 แผนที่ https://bit.ly/3ygysff
Work Station เฟอร์นิเจอร์ออฟฟิศ เราคิดเพื่อคุณ

02/06/2021

[ Pop-Up your life ]: เนื้อๆ เน้นๆ กับ “ความลับ 5 ข้อ ที่คุณต้องค้นให้พบก่อนตาย”
ในชีวิตเรามีหลายเรื่องที่น่าเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชีวิตคนเรานั้นไม่รู้จะยาวสั้นอย่างไร ตัวผมเองก้าวสู่วัยกลางคนแล้วเช่นกัน ประสบการณ์ชีวิตนั้นก็สอนเราเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่เราต้องเรียนรู้ที่จะค้นหาข้อเท็จจริงในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขนั้นก็สำคัญ ผมมีหนังสือเล่มหนึ่งมาแนะนำ พอดีไปได้มาจากร้านหนังสือลดราคาค่อนข้างดีทีเดียวในแง่มุมนี้
“ความลับ 5 ข้อ ที่คุณต้องค้นให้พบก่อนตาย” เขียนโดย ดร.จอห์น ไอโซ แปลเป็นไทยโดย อรวรรณ อมรมย์ กรรมวิธีในการได้มาจากเนื้อหาเล่มนี้น่าสนใจ เขาเรื่มจากการพูดคุยกับคนที่ผ่านโลกมานาน อายุ60-105 ปีเพื่อจัดทำสารคดีของช่อง PBS สหรัฐฯ เพื่อเสาะหาความลับของชีวิตที่เปี่ยมความหมายและความสุขลึกล้ำ ซึ่งแต่ละคนก็จะมาบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตโดยสกัดออกมาเป็น 5 ข้อด้วยกัน
ข้อแรก “ซื่อสัตย์กับตนเอง” หลายครั้งเราเองเลือกที่จะหลกอกตัวเอง การหลอกตัวเองในภาวะอยู่กับคนอื่นนั้นบางเรื่องยังพอจะเข้าใจได้ด้วยเหตุผลจำเป็น แต่การไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวเองเวลาอยู่กับตัวเองนี้ มักจะสร้างความอึดอัดให้เรา เรามักจะคุยกับคนอื่นจนหลายครั้งเราก็ไม่ได้คุยกับตัวเองซึ่งทำให้ความซื่อสัตย์กับตัวเองว่าแท้จริงเราต้องการอะไรถูกด้อยค่าลงไปอีกด้วย
ข้อสอง “อย่าปล่อยให้เสียดาย” มนุษย์เรานั้นมีเรื่องเสียดายใหญ่ๆ 2 เรื่อง เสียดายที่ได้ทำลงไป กับ เสียดายที่ไม่ได้ทำสิ่งนั้น กรณีแรกนั้นอย่างน้อยลงได้ลงมือทำแม้ผลอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดแต่ก็ได้ทำแล้ว อย่างหลังคือสิ่งเราเสียดายไม่ได้ทำและติดค้างในใจไปตลอดชีวิต
ข้อสาม”ใช้ชีวิตด้วยความรัก” ความรักนำไปสู่ความเข้าใจและการให้อภัย นี่คือสิ่งที่ชีวิตสอนเรา การใช้ชีวิตด้วยความรักนั้นทำให้ใจเป็นสุข
ข้อที่สี่ “การอยู่กับปัจจุบัน” หลายครั้งเราเฝ้าฝันถึงอนาคตมากเกินไปพอไม่เป็นดั่งหวังก็ทุกข์ หลายครั้งเรายึดติดกับอดีตมากเกินไปพอย้อนแก้ไขไม่ได้ก็ทุกข์ ดังนั้นการอยู่ปัจจุบันเป็นเรื่องสำคัญ
ข้อสุดท้าย “ให้มากกว่ารับ” เรื่องนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ การรับคือความคาดหวังว่าจะได้ แต่การให้นั้นคือการแบ่งปัน ในหลายครั้งเราใช้ชีวิตเพื่อรอเป็นผู้รับ โดยไม่เคยใช้ชีวิตเป็นผู้ให้ที่ดี คุณไม่มีวันมีความสุขได้อย่างแน่นอน เอาจริงๆเคล็ดลับ5ข้อนี้ฟังดูเรียบง่ายแต่น้อยคนจะทำได้จริง และคำตอบที่เรียบง่ายนี้ยืนยันมาจากการสัมภาษณืคนที่ผ่านโลกมามากจำนวนหลักร้อยคนแล้วเขาเห็นเหมือนกันว่า 5 ข้อนี้นั้นเป็นความจริง คุณล่ะลองทบทวนตัวเองกับความลับนี้เพื่อมีชีวิตที่มีความสุขดีไหม
เขียนโดย บ้านอยู่ธนฯ คนอยู่เป็น
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥

หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'

◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
“Knowledge is the only way to success”
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
ติดตามคอนเทนต์เพื่อพัฒนาตัวเองสู่ความสำเร็จจาก Future Trends ได้ที่
Facebook : https://bit.ly/38fXEYs
Youtube : https://bit.ly/3gBYyzG
(อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเทนต์ใหม่ในทุก ๆ วัน)

24/05/2021

‘แน่นหน้าอก’ บอกโรคอะไรเรา?

ใครว่าอาการจุกเสียด แน่นหน้าอก เกิดจากโรคกรดไหลย้อนอย่างเดียว
อาการนี้ยังมาจากอีกหลายโรคที่น่ากลัวกว่า! อันตรายกว่า!
มีโรคอะไรบ้าง? ไปดูกันครับ

🔸 กรดไหลย้อน
อาการเด่น: ปวดท้อง แสบร้อนกลางหน้าอก
จุกแน่นแถวลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว

🔸 โรคหืด
อาการเด่น: เมื่อเจอสิ่งกระตุ้น จะมีอาการไอ
แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ต้องใช้ยาพ่นเพื่อคุมอาการ

🔸 ความดันโลหิตสูง
อาการเด่น: ชอบปวดหัวหลังตื่นนอน โดยเฉพาะแถวท้ายทอย
ตาพร่ามัว แน่นหน้าอกเวลาความดันขึ้น

🔸 ปอดอักเสบ
อาการเด่น: ไอ มีเสมหะ มีไข้ หนาวสั่น หายใจลำบาก
เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้า ถ้ามีอาการควรไปพบแพทย์

🔸 หัวใจขาดเลือด
อาการเด่น: ใจสั่น เจ็บเค้นหน้าอก หายใจไม่ออก
เป็นอาการฉุกเฉิน ต้องรีบส่งโรงพยาบาล

อื้อหือ ไม่ว่าโรคไหนก็ไม่ดีทั้งนั้น มาดูแลตัวเองให้แข็งแรง ห่างไกลโรคกันดีกว่าครับ❤️👍

#ชีวิตดีดี #ดูแลทุกการแพ้ #หวัดเป็นได้ทั้งปี

ที่มา: เว็บไซต์โรงพยาบาลสุขุมวิท, เว็บไซต์โรงพยาบาลเวชธานี

29/04/2021
28/04/2021

ที่อยู่

12 หมู่ 17 ต. อิสาณ อ. เมือง
Buriram
31000

เบอร์โทรศัพท์

081-7091209

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Thank You Libraryผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Thank You Library:

แชร์