Visit Lanna ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว

"ละอ่อนน้อยชาวไทยอง"ไทยองหรือกลุ่มชาติพันธุ์ยอง เป็นชื่อที่ใช้เรียกคนไทลื้อที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเมืองยอง อำเภอหนึ่งของเ...
19/12/2022

"ละอ่อนน้อยชาวไทยอง"

ไทยองหรือกลุ่มชาติพันธุ์ยอง เป็นชื่อที่ใช้เรียกคนไทลื้อที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเมืองยอง อำเภอหนึ่งของเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน (Shan State) ประเทศเมียนมาร์ มีตำนานเมืองยองที่กล่าวถึงชื่อเดิมของเมืองว่า “มหิยังคนคร” หลักฐานการอพยพคนไทลื้อเมืองยองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดลำพูน – เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๓๔๘ พญากาวิละได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองมาร่วมฟื้นฟูอาณาจักรล้านนา และให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองลำพูนทั้งกลุ่มเจ้าฟ้าเมืองยอง และชาวไทลื้อเมืองยองที่ปัจจุบันเรียกตนเองว่า “คนยอง”

ศาสนาและความเชื่อ

ชาวไทยองนับถือพุทธศาสนาร่วมกับความเชื่อเรื่องผี โดยเฉพาะผีอารักษ์บ้านเมืองที่ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในความเชื่อเรื่องใจบ้าน ลักษณะเป็นเสา ๕ ต้น มีเสาขนาดใหญ่อยู่ใจกลางล้อมด้วยเสาขนาดเล็กทั้งสี่มุม หัวเสานิยมทำรูปดอกบัวตูมหรือยอดแหลม ทำจากไม้และหินต่อมาในช่วงหลังเป็นปูน โดยเชื่อว่าเป็นที่สถิตของอารักษ์หรือผีบ้านผีเมืองคอยปกปักรักษาคนในหมู่บ้าน

การแต่งกาย

ผู้ชาย สวมเสื้อผ้าฝ้ายที่ตัดเย็บด้วยมือ กางเกงเหมือนกางเกงขาก๊วยเป้าลึกมี 3 ตะเข็บหรือเตี่ยว 3 ดูก เสื้อเป็นเสื้อตัวสั้นย้อมด้วยครามทั้งเสื้อและกางเกง จะมีผ้าพาดบ่าและผ้าโพกหัว หากไปทำนาจะพกย่ามติดตัวไปด้วย

ผู้หญิง ทอผ้าซิ่นใส่เองลวดลายที่ทอเรียกว่าซิ่นก่านก๋าควาย หัวท้ายของซิ่นเป็นสีแดงหรือสีดำสลับกันไป เสื้อเป็นเสื้อปั๊ดรัดรูป เอวสั้น แขนกระบอก ตัดเย็บด้วยมือ ผ้าโพกหัวสีขาวและชมพู นิยมการเกล้ามวยแล้วเสียบปิ่นปักผมเป็นเครื่องประดับ เจาะหูด้วยด็อกหูทำจากเงินหรือทองคำ

ภาษา

ภาษาไทยองเป็นภาษาหลักในการสื่อสารภายในกลุ่มมีความคล้ายคลึงกับภาษาพื้นเมืองหรือภาษาถิ่นล้านนา การใช้ภาษาไทยองเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยองมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทำให้ดำรงความเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ยองอยู่ สำเนียงการพูดภาษายองจะไม่มีสระประสมแต่หากจำเป็นต้องใช้เสียงที่มีสระประสมก็จะใช้สระที่ต่างออกไป เช่น ใช้สระเอแทนสระเอีย ใช้สระโอแทนสระอัว

อาหาร

ชาวไทยองนิยมอาหารประเภทน้ำพริก แกง ต้ม นึ่ง ปิ้ง หมก ย่าง ที่ทำจากพืชผักสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้านเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน เช่น แกงแคไก่ แกงหยวกกล้วย แกงอ่อม น้ำพริกผักนึ่ง เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารที่กล่าวได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของอาหารล้านนา รับประทานกับข้าวเหนียว ส่วนอาหารเดิมของชาวเมืองยองประเทศพม่าที่สืบทอดต่อมาถึงปัจจุบันเป็นอาหารประเภทผักที่หาได้ตามฤดูกาลในท้องถิ่น เช่น ผักกูด เตา ใช้ยำหรือแกง เป็นต้น

ประเพณีและวัฒนธรรม

งานประเพณีและกิจกรรมในรอบปีของชาวไทยองที่อยู่ตามชนบท แสดงถึงวิถีชีวิตและสังคมเกษตรที่หลงเหลืออยู่ ทั้งการทำนา ทำสวนลำไย การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณที่ผ่านประเพณีทางศาสนา การสรงน้ำพระธาตุและพระพุทธรูป การตานสลากภัต ส่วนประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตในการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ บุพการี ผู้ใหญ่ที่นับถือ เช่น การฟ้อนผี การรดน้ำดำหัว พิธีเลี้ยงบูชาใจบ้าน จัดขึ้นในช่วงสงกรานต์ประมาณวันที่ ๑๖ เมษายน พิธีกรรมที่เสาใจบ้านเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล และทำให้ลูกหลานกับคนเฒ่าคนแก่ได้พบปะกัน

เครือข่าย

เครือข่ายชาวไทยองในจังหวัดลำพูนมีวัดและชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเวียงยองคอยฟื้นฟูประเพณีพิธีกรรมและรักษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ยอง ทั้งการจัดงานด้านวิชาการ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในวัดต้นแก้ว วัดพระยืน และขยายความเชื่อมโยงไปถึงอำเภอบ้านธิจังหวัดลำพูน อำเภอสันกำแพง จังหวัดลำพูน กลุ่มชาวยองในเขตตำบลประตูป่า ที่ส่งเสริมพิธีกรรมทางศาสนา ในประเพณีสลากย้อม กลุ่มไทยองในอำเภอป่าซาง เช่นที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า ได้ให้โอกาสสามเณรจากเมืองยอง รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม พุทธศาสนา ถึงระดับบัณฑิตศึกษา

ขอบคุณข้อมูลจาก:ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ไทในล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก:คุณพิมพิฎา เเสนทา ผู้เข้าประกวดในกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อ ชาติพันธุ์ล้านนา

ิพันธุ์ล้านนา

ข่วงอนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชข่วงอนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บ้านปางควาย หมู่ที่ 9 ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ...
13/12/2022

ข่วงอนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ข่วงอนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บ้านปางควาย หมู่ที่ 9 ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาทรงพระสุวรรณพิงคารหลั่งน้ำทักษิโณทกประกาศอิสรภาพ พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบ.. ข่วงอนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นอนุสรณ์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่พระองค์ได้ทรงเสียสละในการกอบกู้เอกราชให้เราเป็นไทยมาจนถึงทุกวันนี้..

ประวัติการสร้างข่วงอนุสรณ์สถานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เมื่อปี พ.ศ. 2544 ว่าที่ ร.ต.อดิศวร นันทชัยพันธ์ นายอำเภอเวียงแหงคนที่ 5 เป็นผู้ริเริ่มออกแบบและก่อสร้าง เพื่อให้เป็นศูนย์รวมใจของประชาชนและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว ด้านขวัญกำลังใจของพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ใน อำเภอเวียงแหง ซึ่งติดชายแดนพม่ายาวกว่า 30 กิโลเมตร และที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จประนเรศวรมหาราช ได้มาพักทัพสมัยศึกอังวะเมื่อปี พ.ศ. 2148 พระองค์เกิดประชวรและสวรรคตที่เมืองแหง ตามหลักฐานมหาราชวงศ์พงศาวดารของพม่าบันทึกไว้อย่างชัดเจนดังนี้ " ครั้งจุลศักราช 974 พระเจ้าอยุธยา พระนเรศทรงเสด็จยกทัพ 20 ทัพ มาทางเชียงใหม่จะไปตีเมืองอังวะ ครั้งเสด็จถึงเมืองแหน แขวงเมืองเชียงใหม่ ก็ทรงประชวรในเร็วพลัน ก็สวรรคตในที่นั้น " "เมืองแหง" กับ "เมืองแหน" เป็นเมืองเดียวกัน

ปัจจุบันยังมีคนอ่านคำว่าเวียงแหงผิดเพี้ยนไปหลายรูปแบบ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2545 เวลา 09.39 น. ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดย นายพยูณ มีทองคำ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีและอดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้เกียรติมาเป็นประธาน ทุนการก่อสร้างเริ่มแรกได้จากคณะศิษย์เก่าโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน รุ่น 2504 ข้าราชการฝ่ายปกครองอำเภอเวียงแหง และผู้จงรักภัคดีร่วมใจกัน โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 พลโทพิชาญเมธ ม่วงมณี แม่ทัพภาคที่ 3 ได้ทอดผ้าป่า มหากุศ 17 จังหวัดภาคเหนือ สมทบการก่อสร้างพลับพลาจตุรมุข ที่ประดิษฐานพระบรมรูปและพระสยามเทวาธิราชไม้สักจนแล้วเสร็จ เป็นโครงการเทิดพระเกียรติ ครบ 400 ปี แห่งการสวรรคต รวมเป็นเงินก่อสร้างทั้งสิ้น 3.9 ล้านบาทเศษ

ขอบคุณข้อมูลจาก:ที่นี้...เวียงเเหง
ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก:คุณธวัชชัย ใจปวง ผู้เข้าประกวดในกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อ ศาสนาเเละวัดในล้านนา

แก๋งบ่าหนุน (แกงขนุน) ปี๋ใหม่เมือง…กินแกงขนุนวันปากปี เป็นวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี วันที่สี่ของประเพณีปีใหม่ จัดว่าเป็น...
02/12/2022

แก๋งบ่าหนุน (แกงขนุน) ปี๋ใหม่เมือง…กินแกงขนุน

วันปากปี เป็นวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี วันที่สี่ของประเพณีปีใหม่ จัดว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในเทศกาลปีใหม่เมือง ถือเป็นวันแรกของปี วันนี้คนล้านนาจะมารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจจะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขอขมา ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ ดำหัวผู้อาวุโส ผู้นำชุมชน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว

วันปากปีมีความเชื่อของคนล้านนาอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่ทุกหลังคาเรือนจะมีการทำอาหารที่เหมือนกันเกือบทุกบ้าน คือการทำแกงขนุน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” โดยเชื่อกันว่า เมื่อได้ทานแกงดังกล่าว จะช่วยส่งหนุนให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ประกอบกิจการงานใดก็สำเร็จผล มีคนมาอุดหนุนค้ำจุนอีกทั้ง เกิดสิริมงคลในครอบครัว ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปีของคนล้านนา..

คุณค่าทางโภชนาการ
ขนุนอ่อนเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินซี และมีโปรตีนจากซี่โครงหมู แกงขนุนจึงเป็นอาหารที่มีสรรพคุณในการบำรุงน้ำนม สมานแผลในกระเพาะ และลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก:หนังสือ “แม่-ครัว ชูศรี บุลยเลิศ” พิมพ์จำหน่ายเพื่อสมทบทุน “กองทุนเพื่อเด็กออทิสติก” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก:คุณปิยาภรณ์ ไชยยศ ผู้เข้าประกวดในกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อ อาหารล้านนา ้านนา

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร (คำเมือง: LN-Wat Phra That Doi Suthep.png) พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในอุท...
24/11/2022

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร (คำเมือง: LN-Wat Phra That Doi Suthep.png) พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย วัดมีความสูงจากระดับที่ราบเชียงใหม่ราว 689 เมตร และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,046 เมตร เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยจุดชมทิวทัศน์ที่สามารถมองเห็นเมืองเชียงใหม่ได้ทั้งหมด

ประวัติ
พ.ศ. 1912 พญากือนาได้นิมนต์พระสุมนเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองเชียงใหม่ พระสุมนเถระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ค้นพบ ณ เมืองปางจา (บางขลัง) มาด้วย แต่พญากือนาให้พำนักที่วัดพระยืนก่อน เมื่อสร้างวัดสวนดอก เสร็จใน พ.ศ. 1914 จึงนิมนต์พระสุมนเถระมาจำพรรษาที่วัดสวนดอก พระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์แยกเป็น 2 องค์ จึงเชิญพระบรมสารีริกธาตุหนึ่งองค์บรรจุในพระเจดีย์วัดสวนดอก

ส่วนพระบรมสารีริกธาตุอีกองค์ พญากือนากับพระสุมนเถระได้เชิญขึ้นประดิษฐานในสัปคับบนหลังช้างมงคล อธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน ช้างออกจากประตูหัวเวียงแล้วเดินขึ้นดอยสุเทพ ช้างหยุดอยู่ที่แห่งหนึ่ง เพื่อหนุนหยุดพัก พญากือนากับพระสุมนเถระอาราธนาไปต่อ ดอยลูกนั้นได้ชื่อว่าดอยหมากขนุน (ดอยหมากหนุน) ช้างมงคลเดินต่อจนไปถึงที่แห่งหนึ่ง เป็นที่ราบเพียงงาม พญากือนากับพระสุมนเถระคิดจะประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่นั่น แต่ช้างมงคลยังเดินต่อไป ที่นั้นได้ชื่อว่าสนามยอดดอยงาม ภายหลังเพี้ยนเป็นสามยอด (คือวัดสามยอดร้าง) พอช้างมงคลไต่ราวดอยเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องแส่นสะเทือน 3 ครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณ 3 รอบ แล้วคุกเข่าอยู่เหนือยอดดอย พญากือนาจึงให้เชิญพระบรมสารีริกธาตุลงจากหลังช้าง ช้างมงคลก็ล้มไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดดินลึก 3 ศอก เอาแท่นหินใหญ่ 7 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น แต่บางตำนานว่าพญากือนาเอาพระบรมสารีริกธาตุบูชาก่อน แล้วบรรจุใน พ.ศ. 1927

พ.ศ. 2081 พระเมืองเกษเกล้า ได้โปรดฯ นิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม (วัดรมณียาราม) เมืองลำพูน ให้สร้างเสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 12 ศอก สูง 44 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ ต่อมาท้าวซายคำ โปรดฯ ให้ตีทองคำเป็นทองจังโกหุ้มองค์พระเจดีย์

พ.ศ. 2085 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูน สร้างพระวิหารทิศตะวันตกตะวันออกพร้อมระเบียงล้อมพระธาตุ และ พ.ศ. 2090 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ได้สร้างขั้นได (บ้นได) นาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น อุบาสกชื่อมังคลสีลาได้สร้างพระอุโบสถ โดยมีราชครูเจ้าสวนดอกไม้เป็นประธาน

พ.ศ. 2331 พระเจ้ากาวิละ เจ้าอุปราช (เจ้าธัมมลังกา) และเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว (เจ้าคำฝั้น) พร้อมกันสร้างฉัตร และยกฉัตรพระธาตุดอยสุเทพ

พ.ศ. 2348 พระเจ้ากาวิละสร้างพระวิหารทิศตะวันตกขึ้นใหม่ พร้อมยกฉัตรพระธาตุดอยสุเทพขึ้นใหม่ ต่อมาฟ้าผ่าใส่ฉัตรพระธาตุ ใส่ลูกแก้วยอดฉัตรใหม่ พ.ศ. 2349 ได้สร้างพระวิหารทิศตะวันออกขึ้นใหม่ มีการฉลองอบรมสมโภช

พ.ศ. 2370 พระยาพุทธวงศ์ได้ถวายฉัตรหลวงรายพระเจดีย์ทั้ง 4 มุม

พ.ศ. 2403 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ได้ถวายเดงหลวง (ระฆังใหญ่) ไว้กับพระธาตุดอยสุเทพ

พ.ศ. 2416 พระเจ้าอินทวิชยานนท์สร้างพระวิหารขึ้นใหม่ ฉลองเบิกบายเมื่อ พ.ศ. 2419

พ.ศ. 2437 วันเพ็ญ เดือน 8 (เหนือ) พระเจ้าอินทวิชยานนท์ตั้งตำแหน่งสังฆราชาทั้ง 7 ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ ตั้งครูบาวัดฝายหิน (อุ่นเรือน โสภโณ) เป็นปฐมสังฆราชานายก ตั้งครูบาญาณโพธิ วัดสันคะยอมเป็นทุติยะ ตั้งครูบาอริยะ วัดหนองโขงเป็นตติยะ ตั้งครูบากาวิละวงษ์ วัดพวกแต้มเป็นจตุตถะ ตั้งครูบาคันธา (จันทร์แก้ว คนฺธาโร) วัดเชตุพนเป็นปัญจมะ ครูบาปินตา (อินตา) วัดป่ากล้วยเป็นฉัฏฐะ ครูบาเทพวงศ์ (เทพวงศ์ เทววํโส) วัดนันทรามเป็นสัตตะ

พ.ศ. 2463 ครูบาศรีวิชัยได้มาบูรณะวัดพระธาตุดอยสุเทพ หมดเงินทั้งสิ้น 221 รูเปีย และได้บูรณะพระอุโบสถ

พ.ศ. 2473 พระอภัยสารทะ (ก้อนแก้ว อินฺทจกฺโก) เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา หลวงอนุสารสุนทรกิจ (สุ่นฮี้ ชุติมา) ได้ทำการหล่อซ่อมแซมเดงหลวง (ระฆังใหญ่) สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ใหม่ มีการเพิ่มจารึกภาษาล้านนา ไทย จีน ลายธาตุประจำปีเกิด ลายชะตาประจำปีเกิด

พ.ศ. 2475 เจ้าแก้วนวรัฐได้นิมนต์ครูบาเถิ้ม (โสภา โสภโณ) วัดแสนฝาง ให้ขึ้นไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ โดยมีขะโยม (เด็กวัด) เพียง 2 คนตามไปดูแล ตอนนั้นการเดินทางขึ้นเขาลำบาก เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายต่างๆ นานา เวลาจะดื่มน้ำต้องเดินเท้าไปตักจากดอยปุย ต่อมาครูบาเถิ้มได้ทำรางน้ำเชื่อมลงมาจากดอยปุยเป็นท่อไม้ไผ่ให้น้ำไหลลงมาวัดพระธาตุดอยสุเทพ คณะสงฆ์ได้ถวายเงินให้ 1,000 รูเปีย เพื่อใช้จ่ายในการบูรณะปฏิสังขรณ์

พ.ศ. 2477-2478 ครูบาศรีวิชัย ได้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ซึ่งภายหลังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1004 เมื่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ มีชื่อว่า ถนนดอยสุเทพ ครั้นต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นถนนศรีวิชัย เพื่อเป็นเกียรติแก่ครูบาศรีวิชัย

พ.ศ. 2484 เจ้าแก้วนวรัฐบูรณะวิหารทิศตะวันตก (พระพุทธชินสีห์สุวรรณเจดีย์) พ.ศ. 2496 บูรณะวิหารทิศตะวันออก (พระพฤหัส)

พ.ศ. 2497 บูรณะซุ้มประตู พระธาตุ แนวกำแพงแก้ว

พ.ศ. 2547-2553 วัดพระธาตุดอยสุเทพและกรมศิลปากรได้ร่วมกันบูรณะครั้งใหญ่ทั้งองค์พระธาตุและปรับปรุงภูมิทัศน์ทั้งหมด

ลักษณะสถาปัตยกรรม
ส่วนฐานเป็นฐานสูงสี่เหลี่ยมรองรับฐานเขียงย่อเก็จ 3 ชั้น ซึ่งรองรับบัวคว่ำบัวลูกแก้วและบัวหงาย ต่อจากนั้นจะเป็นหน้ากระดานที่รองรับบัวถลาอีกทอดหนึ่ง ส่วนกลางองค์ระฆังเป็นบัวถลา 4 ชั้น วางเรียงลดหลั่นกันไปจากบัวใหญ่ไปถึงบัวน้อยซึ่งเป็นฐานรองรับองค์ระฆัง 12 เหลี่ยม ส่วนยอดมีรัตนบัลลังก์ที่คอระฆัง ต่อจากนั้นเป็นเสาหานรองรับบัวฝาละมี รองรับปล้องไฉน 12 ปล้อง ใหญ่น้อยเรียงลดหลั่นตามลำดับเหนือปล้องไฉนเป็นปลียอด

การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก:คุณทนงศักดิ์ สมคำ ผู้เข้าประกวดในกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อ ศาสนาเเละวัดในล้านนา

#เชียงใหม่ #วัดพระธาตุดอยสุเทพ #เดินทางท่องเที่ยว

ประมวลภาพกิจกรรมงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565 "ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครามหานที" วันเเรก ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัต...
08/11/2022

ประมวลภาพกิจกรรมงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565 "ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครามหานที" วันเเรก ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565จะมีอีก 2 วัน ทุกๆคนไปที่ไหนกันมาบ้างลองคอมเม้นรูปภาพสวยๆใต้โพสต์หน่อยนะครับ
#ลอยกระทงเชียงใหม่ #เชียงใหม่

งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565 "ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครามหานที" จัดโดย เทศบาลนครเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 7 - 9 ...
03/11/2022

งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565 "ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครามหานที" จัดโดย เทศบาลนครเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 7 - 9 พฤศจิกายน 2565 สุดยอดงานประเพณียิ่งใหญ่แห่งปี หนึ่งเดียวของไทย การประกวดขบวนแห่กระทงใหญ่ชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กว่า 20 ขบวน ร่วมสืบสานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565 วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป

The Story of Yeepeng
ครั้งแรก...กับเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ บนโค้งน้ำปิงที่ยาวที่สุด 6 ท่าน้ำ และอีก 1 สายน้ำชัยมงคล The Story of Yeepeng “ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครมหานที”

- ท่าน้ำศรีโขง
- ท่าน้ำเจดีย์ขาว (เจดีย์กิ่ว)
- ท่าน้ำคุ้มหลวง
- ท่าน้ำจันทร์สม
- ท่าน้ำต้นลำไย
- ท่าน้ำข้างจวน
- คลองแม่ข่า (ระแกง)

เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม "เชียงใหม่" เมืองแห่งการสร้างสรรค์ เติมเต็มความสุขทุกรอยยิ้ม ระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2565

พบกับ การแสดงม่านน้ำ ประกอบแสง เสียง และสื่อผสม สืบสานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565 เรื่อง “เรืองสาคเรศ เกตุเมืองแก้ว”
นครแห่งสายน้ำอันรุ่งเรือง ประกอบด้วย
องก์ที่ 1 ภวะธารา (กำเนิดแห่งสายน้ำ)
องก์ที่ 2 มิ่งเมืองนาราชลธี
องก์ที่ 3 ปิงนทีหิรัณย์นครา
“ความสุขแห่งสายน้ำ ปิงนครามหานที”
ท่ามกลางแสงสีแห่งรัตติกาล ในคืนเดือนเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง
กำหนดการแสดง: วันละ 1 รอบ เริ่มเวลา 19.30 น. ระหว่างวันที่ 7 – 9 พฤศจิกายน 2565 สถานที่: บริเวณท่าน้ำศรีโขง (ฝั่งตรงข้าม สนง.เทศบาลนครเชียงใหม่)

การแสดงพลุเฉลิมพระเกียรติ "ใต้แสงแห่งความสุข ปิงนครามหานที" เตรียมพร้อมเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เติมเต็มความสุข ทุกรอยยิ้ม สู่ มหานครแห่งความสุข พบกับอีกหนึ่งไฮไลท์กับการแสดงพลุเฉลิมพระเกียรติอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา "ใต้แสงแห่งความสุข ปิงนครามหานที" ในงานประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่ ประจำปี 2565
ระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป
ณ บริเวณท่าน้ำศรีโขง ด้านหน้าสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่

กิจกรรม "ต๋ามผางปะตี๊ดส่องฟ้าฮักษาเมือง"
มาร่วมสืบสานงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ “ต๋ามผางปะตี๊ดส่องฟ้าฮักษาเมือง” ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และรอบคูเมืองด้านใน
ซึ่งไฮไลท์ในปีนี้คือการจุดประทีปบูชาเมือง และบูชา 12 นักษัตร
พร้อมชมซุ้มสาธิตภูมิปัญญาล้านนา และการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาอีกมากมาย
ต๋ามผางด้วยแรงศรัทธา ถวายพุทธบูชาช่วงยี่เป็ง 7 – 9 พฤศจิกายน 2565
ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป จัดโดย เทศบาลนครเชียงใหม่

สามารถวางแผนการเดินทาง และร่วมสัมผัสความงดงามตลอดเส้นทางขบวนแห่พร้อมรับชมถ่ายทอดสดทั่วประเทศ ทาง Facebook Live “ยี่เป็งเชียงใหม่ Yeepang Festival” และ "เทศบาลนครเชียงใหม่"

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพสวยๆจาก เทศบาลนครเชียงใหม่

วัดหลวงขุนวิน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ประวัติการสร้างวัด...
25/10/2022

วัดหลวงขุนวิน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการสร้างวัดหลวงขุนวินไม่ชัดเจนนัก เพราะสร้างมาหลายยุคหลายสมัย มีทั้งยุครุ่งเรืองและบางสมัยเป็นวัดร้าง มีตำนานเล่าว่า พระพุทธองค์ทรงเสด็จมายังบริเวณที่ตั้งของวัดหลวงขุนวินปัจจุบันนี้ มีชาวลัวะ 2 คน คือ ขุนสาบและขุนสระเมิง มีจิตเลื่อมใส ได้กราบทูลขอพระเกศาธาตุ พระพุทธองค์ทรงประทานให้แล้วสร้างเจดีย์ครอบไว้บนยอดเตี้ย ๆ เรียกว่า พระธาตุม่อนเปี้ยะ จากนั้นพระพุทธองค์ทรงเสด็จมาทางทิศที่จะมาเพื่อประทับรอยพระบาท ประทับบนหินก้อนหนึ่งกว้างประมาณ 1 ศอก ยาว 2 ศอก แต่เนื่องจากหินก้อนเล็กไปจึงปรากฏเฉพาะรอยฝ่าพระบาทเท่านั้น ส่วนส้นและนิ้วพระบาทหายไป พระพุทธองค์ทรงทำนายไว้ว่า พระพุทธบาทนี้ไม่เต็มรอยเพราะแหว่งไป (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า หวิดไป) จึงเรียกเมืองแถวนี้ว่า เมืองหวิด ต่อมาเรียกว่า เมืองวิน สมัยเจ้าหมื่นคำชาวเป็นน้องของขุนหลวงวิลังคะ ได้ทำนุบำรุงดหลวงขุนวินได้เจริญขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีครูบาปัญญาวงศา เป็นเจ้าอาวาส หลังพม่าตีเมืองเชียงใหม่แตก วัดนี้จึงกลายเป็นวัดร้างเกือบ 700 ปี

หลังจากเป็นวัดร้างมานาน เมื่อ พ.ศ. 2497 ครูบาอุ่นเรือน สุภทฺโท วัดควรนิมิตร ได้บูรณะวัดอีกครั้งหนึ่ง สร้างเสร็จได้นิมนต์ครูบาอภิชัย ขาวปี มาเป็นประธานร่วมฉลอง เมื่อ พ.ศ. 2501 จากข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตั้งวัดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

วัดหลวงขุนวินนี้ตั้งอยู่กลางป่า ภายในวัดมีอาคารไม้ และเจดีย์บรรจุพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอุโบสถสองหลัง คือ อุโบสถพระยืน (ปางจงกรมแก้ว) และอุโบสถพระนอน (ปางปรินิพพาน) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลัก และมีบันไดพญานาค

ขอบคุณจาก:วิกิพีเดีย
ขอบรูปภาพสวยๆจาก:คุณจุรีรัตน์ หมื่นแก้ว ผู้เข้าประกวดในกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อ ศาสนาเเละวัดในล้านนา

“วัดไชยมงคล” ศิลปะพม่าที่เก่าแก่ กลางเมืองลำปาง วัดไชยมงคลเป็นวัดอยู่ในตัวเมืองจังหวัดลำปาง มีศิลปกรรมแบบพม่า ตั้งอยู่ริ...
17/10/2022

“วัดไชยมงคล” ศิลปะพม่าที่เก่าแก่ กลางเมืองลำปาง
วัดไชยมงคลเป็นวัดอยู่ในตัวเมืองจังหวัดลำปาง มีศิลปกรรมแบบพม่า ตั้งอยู่ริมถนนสนามบิน ต.หัวเวียง อ.เมือง จ.ลำปาง เยื้องกับวัดป่าฝาง มีอีกชื่อหนึ่งว่าวัดจองคา มีเนื้อที่กว่า 9 ไร่ มีพระจำพรรษา 2 รูป คือพระอธิการสมศักดิ์ กิตฺติธโร เจ้าอาวาส และพระฤทธี วงศ์มหา พระลูกวัด ซึ่งความเป็นมาของวัด พระฤทธีได้เล่าประวัติของวัดไชยมงคล (จองคา) ว่า เมื่อสามร้อยกว่าปีบริเวณนี้เป็นที่ดินรกร้างมีหญ้าคาและต้นไม้ใหญ่ยืนต้นจำนวนมาก ใช้เป็นที่ประหารนักโทษเป็นที่รวมพลนักรบไทยโบราณและนักรบพื้นเมืองของคนลานนา (ในสมัยเจ้าพ่อหนานทิพย์ช้าง) ต่อมาที่ดินบริเวณนี้ได้อยู่ในความดูแลของพระชายาองค์หนึ่งของเจ้าหลวงนรนันทชัย เจ้าเมืองลำปาง มีเนื้อที่ 31 ไร่

ปลายสมัยเจ้าหลวงนรนันทชัยมีพ่อค้าไม้ชาวไทยและชาวพม่าหลายสิบคนขอซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อสร้างสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ.2420 พระชายาเจ้าหลวงนรนันทชัยได้ยกที่ดินแปลงนี้ให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์จำนวน 9 ไร่ ที่เหลืออีก 22 ไร่ ซึ่งอยู่โดยรอบทั้งสามด้านให้เป็นที่ทำนาและเพาะปลูกพืชผลเพื่อเลี้ยงวัด อาณาเขตของวัดโดยรอบคือทิศเหนือติดคลอง-ทิศใต้ติดทุ่งนา (ปัจจุบันติดถนนซูเปอร์ไฮเวย์)-ทิศตะวันออกติดสนามบิน-ทิศตะวันตกติดที่วัด พ่อค้าที่มารวมตัวกันหลายสิบคนนั้น มีทั้งชาวไทยและชาวพม่าที่ปรากฏมีพ่อเลี้ยงอ้าย เรืองยศ พ่อเลี้ยงอูโง่ยชิ่น สุวรรณอัตถ์ พ่อเลี้ยงยาดิ๋บ พ่อเลี้ยงหม่องเมี้ยด ฯลฯ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากพระชายาเจ้าเมือง ตลอดจนประชาชนชาวพุทธ ได้สร้างสำนักสงฆ์กุฏิมุงด้วยหญ้าคาเป็นจำนวนมาก สำนักสงฆ์นี้จึงได้ชื่อว่าจองคา (จองคาแปลว่าวัด/คา หมายถึง หญ้าคา)

ต่อมาในปี พ.ศ.2440-2450 คณะพ่อค้าคหบดีและประชาชนได้รวมตัวกันสร้างวิหารหลังหนึ่ง ก่ออิฐถือปูนด้วยศิลปะแบบพม่าผสมลานนา ตัววิหารสูง 15 เมตร เป็นวิหาร 2 ชั้น บันไดหันไปทางทิศเหนือ เสาวิหารสมัยนั้นประดับ เพชรพลอย ทับทิม นิล มรกต บุษราคำ และไพลิน สวยงามมาก ชั้นบนประดิษฐ์ฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ ทรงเครื่องเป็นพระพุทธรูปทองสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 1 เมตรเศษ พระพุทธรูปองค์นี้นำมาจากเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่าเมื่อ พ.ศ.2450

โดยอัญเชิญมาทางเรือผ่านมาทางอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แล้วนำขึ้นบนหลังช้างมาประดิษฐานที่วิหารแห่งนี้ชื่อว่าพระพุทธไชยมงคล ส่วนชั้นล่างของวิหารเป็นที่เรียนหนังสือบาลี มคธ และภาษาพื้นเมือง และได้รับการเปลี่ยนชื่อจากสำนักสงฆ์จองคาเป็นวัดไชยมงคล โดยเจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิตย์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองนครลำปางในสมัยนั้น

ต่อมาตึกวิหารของวัดทรุดโทรม ปรักหักพัง เสาวิหารที่สวยงามแต่ละต้นที่มีเทพบุตรและเทพธิดาถูกหักเศียรทุบทำลายพัง (หลักฐานยังคงมีอยู่เดิมที่เสาบันไดวิหาร) จวบจน พ.ศ.2460 เศรษฐีเชื้อสายพม่าชาวลำปางและชาวเชียงใหม่ โดยการนำของขุนอุปโยดิบ ได้ร่วมกันสร้างพระบรมธาตุเกศาไชยมงคลขึ้นทางทิศใต้ ฐานกว้างสี่เหลี่ยม มณฑลกว้าง 9x9 เมตร สูง 18 เมตร ความสูงเป็น 3 ระดับ ลดหลั่นกัน แต่ละมุมของฐานชุกชีชั้นแรก มีเจดีย์ย่อ 4 มุม ทั้ง 4 ด้าน และฐานชั้นที่ 2 มีรูปนรสิงห์ทั้ง 4 ด้าน ฐานที่ 3 เป็นเจดีย์ทรงคว่ำ สูงขึ้นไปเป็นยอดเงิน-ทอง เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ ประดับด้วยอัญมณีต่างๆ และภายในบรรจุพระบรมเกศาธาตุของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 3 เส้น ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองมัณฑะเลย์ประเทศพม่า

เมื่อ พ.ศ.2494 พระอาจารย์อูอาจิณณะเจ้าอาวาสได้มรณภาพลง วัดไชยมงคลขาดพระเณรดูแลจึงถูกปล่อยทิ้งรกร้าง จนถึง พ.ศ.2504 พระณรงค์ เขมินโท ได้รับการแต่งตั้งจากพระอูปันนะวะเจ้าอาวาสวัดจองคำ ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดไชยมงคล (จองคา) แทนพระอาจารย์อูอาจิณณะเจ้าอาวาสที่มรณภาพลง ซึ่งพระณรงค์ได้ทำการพัฒนาบูรณะวัดไชยมงคล (จองคา) จนสะอาดสะอ้านสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันวัดไชยมงคลหรือวัดจองคามีอาคารสวยงามโดดเด่นเป็นตึกสีขาว หลังคาเครื่องไม้แบบพม่า ประดับกระจกดูแวววาวแม้เป็นการประดับด้วยกระจกเป็นรูปเทวดา เสาประดับด้วยลวดลายโลหะสีทองขดเป็นลวดเครือเถาประดับกระจกสีต่างๆ งดงามมาก ระเบียงโดยรอบกุฏิฉลุไม้อย่างประณีต เพดานทาสีชาด ใช้กระจกประดับเป็นรูปวงกลม วงแรกประดับฉับด้วยกระจกสีเขียว ส่วนต้นไม้ดอกไม้ประดับที่ชูช่อดูอ่อนไหวใช้กระจกสีเหลืองทอง รูปกระต่ายลอยเด่นชัดเจนประดับด้วยกระจกสีขาว วงกลมถัดไปประดับพื้นด้วยกระจกสีขาว ช่วยทำให้เห็นภาพยูงรำแพนสวยงามมากยิ่งขึ้น

เราสามารถมองผ่านม่านซึ่งทำด้วยแผ่นไม้ฉลุด้วยฝีมือชั้นเยี่ยม เหนือม่านแกะสลักเป็นภาพพระพุทธองค์ปางเห็นอุคหนิมิตร เกิด แก่ เจ็บ ตาย ออกผนวช และตรัสรู้ มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ซึ่งมีลักษณะงดงามสร้างจากเมืองมัณฑะเลย์ประดิษฐอยู่ กล่าวกันว่าองค์พระพุทธรูปถอดเป็นชิ้นๆ ได้ ฉากด้านหลังองค์พระพุทธรูปประดับพื้นด้วยกระจกสีมุก ส่วนเทวาที่ล่องลอยอยู่ประดิษฐ์จากกระจกสีแดง น้ำเงิน เขียว พระเจดีย์องค์ใหญ่สีขาวยอดฉัตรสีทองมีหมู่เจดีย์องค์เล็กประจำอยู่สี่ทิศ นรสิงห์ตัวเล็กๆ อยู่เคียงข้าง

ในส่วนตัวอาคารสีขาว วิหารโบราณ นอกจากเป็นที่ประดิษฐานของพระรูปปางสมาธิทรงเครื่อง ยังมีเทพทันใจ (นัตโบโบจี) เทพผู้ปกปักรักษาและบันดาลโชค ทำจากก้อนหยกขาวมีน้ำหนักมาก ตามความเชื่อหากใครจะสักการะรูปปั้นเทพทันใจ (นัตโบโบจี) เพื่อขอสิ่งใด ก็ให้เอาดอกไม้ ผลไม้ โดยเฉพาะมะพร้าวอ่อน กล้วย หรือผลไม้อื่นๆ มาสักการะ เอาธนบัตรม้วนใส่ไปที่มือเทพทันใจสัก 2 ใบ ไหว้ขอพรแล้วดึงกลับมา 1 ใบ เก็บรักษาไว้ จากนั้นก็เอาหน้าผากไปแตะกับนิ้วชี้ของเทพทันใจ เท่านี้ก็จะได้สิ่งที่ขอไว้

“วัดไชยมงคลหรือวัดจองคาทุกวันนี้ยังมีพระภิกษุสงฆ์สามเณรจำพรรษาน้อยมาก ทั้งๆ จัดเป็นวัดที่โดดเด่นตั้งอยู่ริมถนนใหญ่มีรถราสัญจรมากมายและเชื่อมติดต่อกับถนนซูเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง-งาว บริเวณสี่แยกสนามบิน พระอธิการ สมศักดิ์ กิตติธโร เจ้าอาวาส บอกว่า ในเวลานี้เป็นช่วงเข้าพรรษา ทางวัดจัดให้มีการสวดมนต์ภาวนาทุกวัน และโดยเฉพาะทุกวันพระเวลาประมาณ 1 ทุ่ม ก็ขอเชิญชวนสาธุชน สวมชุดขาว และเข้ามารักษาศีล ภาวนาธรรม สวดมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนเองและครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดไชยมงคลหรือวัดจองคาแห่งนี้ มีศิลปกรรมพม่า และประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมากมาย

หากสาธุชนนักท่องเที่ยวที่สนใจก็เชิญมาเยี่ยมชมวัดได้ทุกวัน ซึ่งการเดินทางมาเที่ยวชมก็สะดวกสบาย มาได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถสองแถว หรือหากนั่งรถม้าชมเมืองแล้วมาเที่ยววัดต่อก็ได้ เพราะวัดตั้งอยู่ริมถนนกลางเมืองลำปาง ห่างจากตลาดสดเทศบาล และพิพิธภัณฑ์ลำปางไม่ถึง 1 กิโลเมตร” พระอธิการ สมศักดิ์ กิตติธโร เจ้าอาวาสวัดไชยมงคลหรือวัดจองคา กล่าวเชิญชวน
ขอบคุณข้อมูลจาก:คุณพจน์ วิจารณกรณ
ขอบคุณรูปถาพสวยๆจาก:คุณภูริวัฒน์ ใจบุญ ผู้เข้าประกวดในกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อ ศาสนาเเละวัดในล้านนา

🎉🎉เปิดแล้ว #ตลาดนัดตักวามินิมอล ตลาดยามเย็น ที่แรกในภาคเหนือ เปิดตลาดอย่างเป็นทางการ เสาร์ ที่ 1 ต.ค. 65 เวลา17.00-22.00...
26/09/2022

🎉🎉เปิดแล้ว #ตลาดนัดตักวามินิมอล
ตลาดยามเย็น ที่แรกในภาคเหนือ

เปิดตลาดอย่างเป็นทางการ เสาร์ ที่ 1 ต.ค. 65 เวลา17.00-22.00น. เป็นต้นไป "ช็อปได้แล้ว ทุกวันเสาร์"

อ่านต่อ👉 https://www.facebook.com/105111225651273/posts/pfbid0iq1VQV5qCMi6Ejv35B92D3L3KVx2YGEY2Xo3wQMHkP4T3SRPWFmxNjR3BkHJYjvJl/

“ต๋ามโคม” เป็นพุทธบูชา งานออกหว่า วัดศรีบุญเรืองเนรมิตวัดจัดท่องเที่ยวเชิงธรรมะพระอธิการอัษดิน วิสุทธิจิตโต เจ้าอาวาสวัด...
12/09/2022

“ต๋ามโคม” เป็นพุทธบูชา งานออกหว่า วัดศรีบุญเรืองเนรมิตวัดจัดท่องเที่ยวเชิงธรรมะ
พระอธิการอัษดิน วิสุทธิจิตโต เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง เจริญพรว่า ในห้วงเทศกาลงานประเพณีออกหว่า เทศกาลออกพรรษา วัดศรีบุญเรือง ได้จัดกิจกรรมภายในวัด เพื่อให้นักท่องเที่ยว และประชาชนได้สัมผัสกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรรมมะ ความงดงามของประทีปโคมไฟสีสันทั่วทั้งลานวัด
โดยมีกิจกรรม ทำบุญถวายโคม แขวนโคม การปล่อยโคม การทำบุญถวายไฟฟ้า การบูชาประทีป สืบชะตาลอดซุ้มสืบชะตา ผูกขอมือ ทำบุญสะเดาะเคราะห์ประจำราศีเกิด เป็นพุทธบูชา ณ บริเวณหน้า พระอุโบสถ วัดศรีบุญเรือง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
นอกจากนี้ วัดจะเปิดให้ประชาชนเข้าสัมผัสความงดงามของพระอุโบสถ ภายในมีภาพพุทธประวัติที่สวยงามตามแบบศิลปะพม่า ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาว เป็นพระพุทธรูปที่ทำจากหยกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้ อำเภอแม่สะเรียง กำหนดจัดงานประเพณีออกหว่า เทศกาลออกพรรษาแม่สะเรียง ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม 2565 เพื่อเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของอำเภอแม่สะเรียง และส่งเสริมสนับสนุนมรดกทางวัฒนธรรมด้านประเพณีอันดีงามที่สืบทอดมาช้านาน

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพสวยๆจาก: สวท.แม่สะเรียง

กิจกรรมประเพณีสลากย้อม หนึ่งเดียวในโลก ประจำปี 2565 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 10 กันยายน 2565 โดยในแต่ละวันจะมีกิจกร...
02/09/2022

กิจกรรมประเพณีสลากย้อม หนึ่งเดียวในโลก ประจำปี 2565 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 10 กันยายน 2565 โดยในแต่ละวันจะมีกิจกรรมการแสดงมากมาย รวมถึงการประกวดต่าง ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัส

สำหรับสลากย้อมเป็นหนึ่งในสลากภัตที่มีอยู่แห่งเดียวในจังหวัดลำพูน และแห่งเดียวของโลก ส่วนใหญ่จะมีในเขตลุ่มแม่น้ำปิงปิงห่าง เริ่มเดิมทีเป็นหน้าที่ของหญิงสาวที่พึงจะกระทำ เพราะการถวายทานสลากย้อมก็คือการเสริมทานบารมีแก่ตนเองและถวายทานล่วงหน้าแก่ตนเองไปใช้ในภายภาคหน้าภพหน้า กิจกรรมสลากย้อมจึงเป็นกิจกรรมที่มีกุสโลบายที่สำคัญ นอกเหนือจากการถวายทานที่ยิ่งใหญ่เปรียบเท่ากับกิจกรรมการบวชของผู้ชาย ยังเสริมบารมีให้แก่ผู้ที่ถวายทานว่าทรงคุณค่าเพราะต้องใช้ความอดทนอย่างมากจึงจะสามารถถวายทานสลากย้อมได้ เพราะต้องใช้เงินทองค่าใช้จ่ายมากมาย เตรียมตัวกันนานนับปีถึงจะกระทำกิจกรรมนี้ได้

ในสมัยก่อนหญิงสาวที่จะถวายสลากย้อมต้องวางแผนตั้งแต่อายุสิบสี่สิบห้าปี เก็บหอมรอมริบเพื่อกิจกรรมนี้ น้อยคนนักที่จะกระทำได้ คนในแถบพื้นที่นี้จึงสามารถทำกิจกรรมนี้ได้เพราะความอุดมสมบูรณ์ของน้ำพื้นดิน จึงสามารสร้างรายได้แก่หญิงสาวที่นี่ได้เป็นอย่างดีเมื่อไม่มีโอกาสเข้ามาเรียนหนังสือในเมืองก็มุ่งมั่นทำมาหาเงินเพื่อจะทำกิจกรรมนี้ให้ได้

หลัง ปีพ.ศ. ๒๕๑๐ กิจกรรมนี้ได้หายไปเพราะทุกคนมีโอกาสได้เรียนหนังสือ เด็กสาวในวัยนี้จึงเข้าสู่ในโรงเรียนโอกาสที่จะหาเงินถวานทานสลากย้อมก็ลำบากต้องเข้าสู่วัยเรียน สลากย้อมจึงหายไปจากเมืองลำพูนชั่วขณะหนึ่งแต่ก็ยังอยู่ในใจคนในแถบนี้อยู่เสมอมา

จนกระทั้งเมื่อปี ๒๕๔๗ คณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ร่วมจังหวัดลำพูน และหลายภาคส่วน ได้เล็งเห็นความสำคัญในกิจกรรมนี้ จึงสนับสนุนฟื้นกิจกรรมนี้ขึ้นมา วางแนวทางว่าต้นสลากย้อมสูงใหญ่อลังการ น่าจะเป็นจุดขายสำคัญที่จะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงเริ่มกิจกรรมที่วัดพระธาตุหริภุญชัยโดยมีการประกวดต้นสลากย้อม ซึ่งก็กลายเป็นกิจกรรมที่แปลกตาแก่ผู้พบเห็น มีวัดต่างๆ ในแถบลุ่มน้ำปิงปิงห่าง เข้าร่วมกิจกรรมมากมายการฟื้นฟูสลากผสมกับการฟื้นฟูสล่าทำสลากย้อมจึงประสบผลสำเร็จ มีการพัฒนาความงดงามและกระบวนการสร้าง วิถีโบราณแบบยั่งยืนบวกแรงศรัทธาได้กลับเข้ามาสู่เมืองลำพูนอีกครั้งหนึ่ง โดยกระบวนการสร้างสรรค์สลากย้อม ของชุมชนที่มีวิถีดั้งเดิมแต่โบราณแถบลุ่มแม่น้ำปิงปิงห่าง กลายเป็นแหล่ง พัฒนาสลากย้อม สร้างงานสลากย้อมตามรูปแบบโบราณและพัฒนาร่วมสมัย แต่ยังคงหัวใจและวิญญาณของสลากย้อม แก่ผู้มีจิตศรัทธาที่ประสงค์จะเป็นเจ้าภาพสลากย้อมทั่วประเทศ ได้มีโอกาสถวายทานสลากย้อม และประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่งสามารถสร้างรายได้อย่างมากมายแก่ชุมชนได้อย่างไม่น่าเชื่อ ภายใต้ชื่อกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวว่า“สลากย้อมเมืองลำพูนหนึ่งเดียวในโลก” ทำให้จังหวัดลำพูนมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในเทศกาลนี้เป็นอย่างมาก

แหล่งข้อมูลจาก : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์,สวท.ลำพูน

“ไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ใน...
30/08/2022

“ไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และภาคเหนือของลาว ชาวไทลื้อในสิบสองพันนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยวนล้านนาในยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ชาวไทลื้อจากสิบสองพันนาได้ถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ในล้านนาจำนวนมากชาวไทลื้อนับถือศาสนาพุทธและปฏิบัติตามจารีตประเพณีทางพุทธศาสนา” (ข้อมูลในแผ่นพับ)

ไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และภาคเหนือของลาว ชาวไทลื้อในสิบสองพันนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยวนล้านนาในยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ชาวไทลื้อจากสิบสองพันนาได้ถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ในล้านนาจำนวนมาก ชาวไทลื้อนับถือศาสนาพุทธและปฏิบัติตามจารีตประเพณีทางพุทธศาสนา

เดิมชาวไทลื้อ มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ ๑๒ จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื่องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา ปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน ๗๙๐ ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมืองครองราชย์ ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๕๗๙ –๑๕๘๓ (พ.ศ. ๒๑๒๒-๒๑๒๖) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา ๑,๐๐๐ หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง
จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้ ชาวไทลื้ออาศัยอยู่
สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่างๆ ดังนี้ ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น ๑๒ ปันนา และทั้ง ๑๒ ปันนานั้น ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่าง ๆ เช่น

ฝั่งตะวันตก : เมืองแช่ เมืองลวง เมืองหุน เมืองฮาย และเมืองมาง

ฝั่งตะวันออก : เมืองล้า เมืองฮิง เมืองพง เมืองงาด์ เมืองอูเหนือและเมืองเชียงทอง

การขยายตัวของชาวไทลื้อสมัยเจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง เชียงแสน และล้านช้าง กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา และในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) อันประกอบด้วย เมืองยู้ เมืองยอง เมืองหลวง เมืองเชียงแขง เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองพะยาก เมืองไฮ เมืองโก และเมืองเชียงทอง (ล้านช้าง)
เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) ซึ่งบางเมืองในแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้ออยู่แล้ว เช่น อาณาจักรเชียงแขง ซึ่งประกอบด้วย เมืองเชียงแขง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงกก เมืองเชียงลาบ เมืองกลาง เมืองลอง เมืองอาน เมืองพูเลา เมืองเชียงดาว เมืองสิง เป็นต้น

ชาวไทลื้อ มักใช้สัญลักษณ์ นกยูง ซึ่งจะเห็นปรากฏในลวดลายบนผ้า และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และมักจะมีการทำตุงผ้า ส่วนใหญ่เป็นลวดลายช้างร้อย ม้าร้อย วัว ควาย ซึ่งมาจากเรื่องพระเวสสันดร ตอนไถ่ตัวกัญหา-ชาลี

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ขอบคุณรูปภาพจาก : คุณชิตพร พูลประสิทธิ์ ผู้เข้าประกวดภาพถ่าย
ภายใต้หัวข้อ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้านนาในหัวข้อ "ชาติพันธุ์ล้านนา"

ปาดอง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่ากะเหรี่ยงคอยาว  เป็นกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐคะยาประเทศเมียนมาร์ (พม่า)  บริเว...
29/08/2022

ปาดอง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่ากะเหรี่ยงคอยาว เป็นกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐคะยาประเทศเมียนมาร์ (พม่า) บริเวณที่ราบสูงตอนเหนือแม่น้ำสาละวิน ทิศตะวันออกของเมียนมาร์ติดชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย มีประชากรประมาณ 30,000 คน ปาดองเรียกตนเองว่า แลเคอ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า The Long - neck, Giraffe- necked women หรือ The Giraffe women ในปี ค.ศ.1922 Marshall ได้จัดแบ่งกลุ่มกะเหรี่ยงในประเทศเมียนมาร์ออกเป็น 3 กลุ่ม และได้จัดปาดองไว้ในกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงบเว

ประมาณปี พ.ศ. 2528 – 2529 บริษัทนำเที่ยวได้ติดต่อกับชาวกะเหรี่ยงในเขตเมียนมาร์ชื่อ ตูยีมู เพื่อนำปาดองเข้ามาอยู่ในเขตชายแดนไทยที่บ้านน้ำเพียงดิน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมเป็นการดึงดูนักท่องเที่ยวอีกวิธีหนึ่ง โดยปาดองได้รับเงินค่าตอบแทนสำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวและสมทบทุนซื้ออาวุธไว้รบกับทหารเมียนมาร์ ปัจจุบันปาดองส่วนหนึ่งได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านในสอยเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 30 กม. เพราะบ้านน้ำเพียงดินการคมนาคมไม่สะดวกต้องเดนทางด้วยเรือใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ค่าโดยสารคนละ 300 บาท นอกจากนั้นยังถูกทหารเมียนมาร์รบกวน บริษัทนำเที่ยวเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวจึงย้ายไปอยู่ที่บ้านในสอย หมู่บ้านนี้มีประชากร 145 คน 32 หลังคาเรือน เป็นชาวไทยใหญ่ ส่วนบ้านปาดอง มีประมาณ 17 หลังคาเรือน ประชากรประมาณ 70-80 คน อยู่เลยจากหมู่บ้านไทยใหญ่ไปประมาณ 3 กม. ชาวปาดองถือว่าเป็นผู้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว และขณะนี้จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เข้าไปตรวจสอบแล้ว หญิงปาดองที่ถูกบันทึกภาพเผยแพร่ทั่วไปจะได้แก่ มานั่ง มะซอ โมเลาะ โมเปาะ และมะไป่

นอกจากปาดองที่บ้านในสอยแล้ว ก็ยังมีปาดองอีกหมู่บ้านหนึ่ง คือ บ้านห้วยเสือเฒ่า อยู่ติดกับหมู่บ้านกะเหรี่ยง ห่างจากตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณ 10 กม. รถยนต์เข้าถึงหมู่บ้านได้ แต่ในฤดูฝนเดินทางลำบากเพราะต้องข้ามลำห้วยหลายแห่ง

ปาดองบ้านห้วยเสือเฒ่ามี 19 หลังคาเรือน ประชากร 80 คน มีหญิงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ใส่ห่วงคอทองเหลืองทั้งหมด 31 คน หมู่บ้านดังกล่าวนี้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว มีนักธุรกิจนำพวกปาดองมาปลูกสร้างบ้านอาศัยอยู่แบบดั้งเดิมของเขา ไม่ได้ทำมาหากินด้วยอาชีพการเกษตร เขาไม่สามารถบุกเบิกหักล้างถางป่าสำหรับการเพาะปลูกได้เพราะอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ปาดองหมู่บ้านนี้จึงมีรายได้หลักจากการที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม นักธุรกิจผู้ชักจูงให้พวกเขามาอยู่นั้น ได้จ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้ครอบครัวละ 1,500 บาท/เดือน และยังมีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยให้อีกด้วย นอกจากนี้ก็ซื้อข้าวให้กินทุกหลังคาเรือน ปาดองสามารถขายสินค้าของที่ระลึกรับของแจกและเงินค่าถ่ายรูปจากนักท่องเที่ยว จึงสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพ

นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเข้าไปเยี่ยมชมในหมู่บ้านปาดองแห่งนี้จะต้องจ่ายให้แก่ผู้จัดการและเจ้าของกิจการ ซึ่งอยู่ประจำในหมู่บ้าน คนละ 200 บาท เดือนหนึ่ง ๆ เฉลี่ยมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมประมาณ 1,000 คน

ลักษณะการแต่งกาย

ชายเผ่าปาดอง แต่งกายเหมือนเผ่าอื่น ๆ คือ นุ่งกางเกงขาก๊วยแบบจีน เสื้อตัวสั้นศรีษะโพกผ้า ถ้าไปงานก็สวมกำไลข้อเท้าที่ทำจากลูกปัดสีขาว น่องตอนบนจะใส่กำไลไม้ไผ่หรือหวาย

หญิงปาดองมีเอกลักษณ์การแต่งกายที่เด่นแตกต่างจากหญิงชาวเขาเผ่าอื่น ๆ จนกลายเป็นชื่อเรียกเผ่าพันธุ์ ตามลักษณะลำคอที่ยาวเนื่องจากรอบคอสวมใส่ห่วงทองเหลืองซ้อนกันหลายห่วง ตั้งแต่ไหปลาร้าจรดคาง จนทำให้ลำคอยาวผิดปกติ และทรงผมด้านหน้าจะไว้หน้าม้า ด้านหลังจะมัดเป็นมวยแล้วใช้ผ้าสีเขียว สีชมพูคาดทับทิ้งชายห้อยระบ่า แขนจะใส่กำไลที่ทำจากอลูมีเนียมข้างละ 3-5 วง และที่ขาบริเวณใต้หัวเข่าจะสวมห่วงทองเหลืองไว้อีกข้างละประมาณ 10-15 วง รองด้วยผ้าสีชมพูและจากน่องลงมาถึงข้อเท้าจะพันด้วยผ้าสีน้ำเงิน เสื้อที่สวมใส่เป็นสีขาวคอวีทรงกระสอบ ตัวยาวถึงสะโพกล่าง ผ้าถุงสีกรมท่าสั้นแค่หัวเข่า มีลวดลายเป็นเส้นสีชมพูรอบชายผ้าถุงที่แคบ และนุ่งพับทบกันด้านหน้า ประเทศเมียนมาร์มีชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าพันธุ์ เครื่องแต่งกายของหญิงจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ ในการบอกความแตกต่างระหว่างเผ่าและเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นข้อห้ามของแต่ละเผ่า บางเผ่ามีประเพณีให้หญิงสักตามตัวมากจนไม่เป็นที่สนใจของเพศตรงข้ามต่างเผ่า

ตำนานการใส่ห่วงทองเหลืองที่คอของหญิงปาดอง

มียายปรัมปรา กล่าวถึงการใส่ห่วงคอทองเหลืองของปาดองหลายเรื่อง เช่น มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าในอดีตกาล ภูติผีและวิญญาณไม่พอใจพวกปาดองจึงส่งเสือมากัดกินโดยเฉพาะผู้หญิง บรรพบุรุษปาดองเกรงว่าถ้าผู้หญิง่ตายหมดเผ่าพันธุ์ตนจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ จึงให้ผู้หญิงใส่ปลอกคอทองเหลืองเพื่อป้องกันไม่ให้เสือกัดคอระหว่างเดินทางและอีกตำนานหนึ่งเล่าว่าพวกปาดองมีแม่เป็นมังกรและหงส์จึงต้องใส่ห่วงคอเพื่อทำให้คอยาวระหงส่ายไปมา สง่างามเหมือนคอหงษ์และมังกร

นอกจากนั้นยังมีเหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่าในอดีตปาดองหรือแลเคอเป็นนักรบผู้กล้าหาญมีความกตัญญูรักษาสัจจะวาจาเท่าชีวิต และเคยมีอำนาจเหนือเมียนมาร์ได้ปกครองประเทศเมียนมาร์มาก่อน แต่ถูกเมียนมาร์รวมกำลังกับชนเผ่าบังการี ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของบังคลาเทศ ทำสงครามขับไล่ปาดองจนต้องอพยพหลบหนีเพราะพ่ายแพ้ต่อการรบ และได้นำราชธิดาผู้นำเผ่า ซึ่งอายุได้เพียง 9 ปี หลบหนีมาด้วยและราชธิดาได้นำต้นไม้ที่แลเคอเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า ต้นปาดองมีสีเหลืองอร่ามเหมือนทอง เมื่อมาถึงชัยภูมิที่เหมาะสมและพ้นอันตรายจากการติดตามของข้าศึกแล้วจึงหยุดไพร่พล ราชธิดาก็เอาต้นปาดองนั้นพันคอไว้และประกาศว่าจะเอาต้นปาดองออกจากคอเมื่อแลเคอกลับไปมีอำนาจปกครองเมียนมาร์ นับแต่นั้นมาพวกแลเคอผู้รักษาวาจาสัตย์ก็จะนำเด็กผู้หญิงที่มีอายุ 9 ขวบมาพันคอด้วยห่วงทองเหลืองที่มีความหนาประมาณ ½ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. โดยมีหมอผีประจำเผ่าเป็นผู้ทำพิธี โดยท่องมนต์และกลอนเตือนใจให้สำนึกว่าต้องพยายามกู้ชาติชิงแผ่นดินคืน

การใส่ปลอกคอทองเหลืองนั้นเริ่มเมื่อ เด็กหญิงปาดองอายุได้ 5-9 ปี หมอผีประจำหมู่บ้านจะทำพิธีเสี่ยงทายกระดูกไก่เพื่อหากฤกษ์ แต่เดิมมาจะใส่เฉพาะเด็กหญิงที่เกิดวันพุธตรงกับวันเพ็ญเท่านั้นและต้องเป็นเลือดปาดองแท้ ๆ จะเป็นลูกผสมต่างเผ่าพันธุ์ไม่ได้ การปฏิเสธใส่ห่วงคอจะถูกสังคมรังเกียจทำให้หญิงปาดอง่ต้องอับอาย บางรายถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านทำให้เกิดความว้าเหว่ กลัดกลุ้มจนล้มป่วยและในที่สุดก็ตายหรือไม่ก็ฆ่าตัวตาย ปัจจุบันหญิงปาดองที่ใส่ห่วงคอทองเหลืองไม่จำเป็นต้องเลือกเฉพาะที่เกิดวันเพ็ญ ที่ตรงกับวันพุธแล้วต่างหันมานิยมใส่กันหมด โดยใช้ทองเหลืองที่นำมาจากเมืองเบงลองประเทศเมียนมาร์ น้ำหนักเมื่อแรกใส่ประมาณ 2.5 กิโลกรัม นำทองเหลืองมาดัดเป็นเส้นกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/3 นิ้ว ไส้ตัน ก่อนใส่ต้องอังไฟให้อ่อน แล้วนำมาขดรอบคอเป็นวง ๆ เหมือนลวดสปริง ประมาณ 9 วง ผู้ใส่ห่วงจะต้องมีความชำนาญและมีฝีมือ มิฉะนั้นห่วงจะไม่สวย และผู้ถูกใส่ห่วงจะเจ็บคอ ปกติทั่วไปหญิงปาดองจะมีห่วงคอ 2 ชุด ชุดแรกใส่เป็นฐานบนไหล่มี 5 วง ต่อจากนั้นขึ้นไปบนคอจะมีอีกประมาณ 20 วง ห่วง 2 ชุดนี้ แยกออกจากกันแต่มีโลหะยึดไว้ด้านหลังคอ และวงบนสุดจะมีหมอนใบเล็ก ๆ ใส่ค้ำคางไว้กันการเสียดสี การเพิ่มจำนวนห่วงที่คอ จะเปลี่ยนขนาดทุก 4 ปี ในชีวิตของหญิงปาดองจะเปลี่ยนทั้งหมด 9 ครั้ง ครั้งสุดท้ายที่เปลี่ยนขนาดหญิงปาดองจะมีอายุประมาณ 45 ปี จำนวนห่วงมากที่สุด 32 ห่วง น้ำหนักประมาณ 13 – 15 กิโลกรัม ความยาวสูงสุดประมาณ 35 ซม. จำนวนห่วงที่นับได้จากคอหญิงปาดองที่บ้านในสอย ประมาณ 22 ห่วง ลำคอยาว 9 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 7 กิโลกรัม คิดเป็นเงินประมาณ 6,000 บาท หญิงปาดองจะใส่ห่วงนี้จนกว่าจะตาย การถอดห่วงคอของหญิงปาดองนอกจากเพื่อเปลี่ยนขนาดแล้ว ยังถอดในโอกาสอื่น ๆ เช่น เมื่อต้องท้องเตรียมจะคลอดลูกเมื่อคลอดลูกเสร็จแล้วก็จะใส่ห่วงคอตามเดิม ส่วนการถอดห่วงคอที่เป็นการลงโทษนั้นกระทำเมื่อมีการทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องชู้สาว จะถูกถอดคอออกทำให้คอที่ยาวโงนเงนไปมาไม่สามารถรับน้ำหนักได้คอจะพับหายใจขัด เกิดความอายและป่วยตายในที่สุด มีผู้สันนิษฐานว่าถ้าพิจารณาทางสรีระวิทยาการใส่ห่วงนานเป็นปี ๆ กล้ามเนื้อที่คออาจตีบหรือตาย แต่ผู้ที่ถอดห่วงออกจะไม่เป็นอันตรายเพราะร่างกายได้พัฒนาสร้างกล้ามเนื้อใหม่ที่แข็งแรงกว่าขึ้นมา ถ้าถอดห่วงแล้วสวมที่พยุงคอไว้ระยะหนึ่งจนกว่ากล้ามเนื้อใหม่จะพัฒนาขึ้นมาคอก็จะมีขนาดเท่าคนปกติ นายแพทย์เกซิเซียน ได้ถ่ายเอกซเรย์หญิงปาดองที่โรงพยาบาลย่างกุ้งพบว่าคอไม่ได้ยืดยาว แต่เป็นช่วงหน้าอกที่ถูกผลักดันลงมาให้ทรุดลงเมื่อเพิ่มขนาดห่วงกระดูกไหปลาร้ารวมทั้งซี่โครงก็จะทรุดตัวลงทำให้ดูคอยาว เพราะน้ำหนักจะกดทัพกระดูกซี่โครงซี่ที่ 1 และ 2 และกระดูกไหปลาร้าโค้งงอลง ปัจจุบันหญิงปาดองที่ถือศาสนาคริสต์จะไม่ใส่ห่วงที่คอทำให้คล่องตัวต่อการทำมาหากินในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ศาสนาและความเชื่อ

ปาดองที่นับถือพุทธจะควบคู่ไปกับการเชื่อเรื่องผีและสิ่งที่เหนือธรรมชาติทั้งปวง พวกเขาถือว่าหากทำให้ผีไม่พอใจจะทำให้เกิดภัยอันตรายมาสู่คนในบ้านเรือนและชุมชน ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งศาลที่บ้าน ที่ทุ่งนา ริมลำห้วย ในป่า เมื่อจะประกอบพิธีกรรมจะต้องมีการเสี่ยงทายด้วยกระดูกไก่ เพื่อหากฤษ์ เช่น การปลูกบ้าน ถางไร่ หว่านเมล็ดพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การล่าสัตว์ ถ้ามีการเจ็บป่วยเชื่อว่าผีและวิญญาณมาเอาขวัญผู้ป่วยไป ต้องให้หมอผี เป็นผู้ติดต่อสอบถามว่าต้องการให้เซ่นด้วยอะไร เช่น หมู ไก่ ข้าว สุรา บางครั้งถ้ามีโรคระบาดป่วยกันเกือบทั้งหมู่บ้านพวกเขาต้องจัดพิธีกรรมบวงสรวงผีและวิญญาณเพื่อชำระล้างหมู่บ้าน สำหรับปาดองที่อาศัยในรัฐคะยา ประเทศเมียนมาร์มานั้น ส่วนมากจะนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีคณะผู้สอนศาสนาเข้าไปเผยแพร่มานานแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก:ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก:คุณ Anurak Rakkarnsin ผู้เข้าประกวดภาพถ่าย
ภายใต้หัวข้อ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้านนาในหัวข้อ "ชาติพันธุ์ล้านนา"

#เเม่ฮ่องสอน #กะเหรี่ยงคอยาว

ที่อยู่

วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิตอล
Chiang Mai
50200

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Visit Lannaผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Visit Lanna:

แชร์