Thai Sea Sand Krabi Travel

Thai Sea Sand Krabi Travel Transportation Arrangement, Private tours Arrangement, Accommodation Arrangement Private V.I.P Minibus Arrangement, Hotel bookings, Private tours Arrangement

22/08/2022

📣กรมการท่องเที่ยว โดยกองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ขอเชิญชวนมัคคุเทศก์เข้าร่วมการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานมัคคุเทศก์ (มาตรฐานสมัครใจ) โดยสามารถดาวน์โหลดใบสมัครและรายละเอียดโครงการได้จาก QR Code ด้านล่าง ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565
#กรมการท่องเที่ยว #มัคคุเทศก์ #ไกด์ #ธุรกิจนำเที่ยว #ทัวร์ #ผู้นำเที่ยว #มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว #มาตรฐานมัคคุเทศก์

21/08/2022

The Centre for Covid-19 Situation Administration (CCSA) has approved longer visas for foreign visitors to the country from Oct 1 until March 31 as part of efforts to revitalise the economy as the pandemic eases, the agency said on Friday.

16/08/2022
12/08/2022
08/08/2022

https://www.facebook.com/mitrearth/

พื้นที่แบ่งปันความรู้ ข่าวสารและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์โลก

07/08/2022

สูตรนมข้นหวานทำเอง แบบไม่ใส่สารเสริม และเลือกปรุงรส เลือกกลิ่นได้ตามใจชอบ

04/08/2022

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน
“สมเด็จพระเจ้าตากสินไม่ได้ทรงกู้เงิน ๖๐,๐๐๐ ตำลึง จากประเทศจีน” ที่ถูกอ้างว่าเป็นเหตุผลหนึ่งที่ใช้ในการผลัดแผ่นดิน โดยการประหารสมเด็จพระเจ้าตากจริง หรือมีตัวแทนก็ตามแต่ โดยเหตุผลของผม มีดังนี้

ก. การที่อ้างว่าหากผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชวงศ์แล้วก็ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าตากสามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อหนี้ ๖๐,๐๐๐ ตำลึง แต่จากหนังสือหมิงสือลู่–ชิงสือลู่(9) บรรยายว่า การเมืองสยามในบันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์ชิง แม้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างจดหมายเหตุราชวงศ์หมิงกับชิงสือลู่แล้วพบว่า จดหมายเหตุฉบับหลังจะมีคุณปการต่อการศึกษาประวัติศาสตร์การมืองสยามไม่มากนัก เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ในชิงสือลู่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสยามกับจีน อย่างไรก็ดี เอกสารฉบับดังกล่าวนี้กับมีความสำคัญอย่างมากในการศึกษา การเมืองในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและต้นรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็น ยุคที่เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองสยาม ทั้งนี้เพราะชิงสือลู่เป็นเอกสารเพียงไม่กี่ฉบับที่ช่วยอธิบายหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายหลังการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาใน ค.ศ. ๑๗๖๗/พ.ศ.๒๓๑๐ ที่สิ้นสุดลงด้วยการสงครามที่เมืองพุทไธมาศหรือฮาเตียน (Ha- tien) และอุดงค์มีไชยใน ค.ศ. ๑๗๗๑/พ.ศ. ๒๓๑๔ ในขณะเดียวกันชิงสือลู่ยังให้ข้อมูลที่สนใจบางประการเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของ รัชกาลที่ ๑ รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างสยามกับรัฐเพื่อนบ้านอีกด้วย ความวุ่นวายทางการเมืองในต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี การเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่กองทัพพม่าใน ค.ศ. ๑๗๖๗ พ.ศ. ๒๓๑๐ นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์สยาม เนื่องด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ราชอาณจักรกรุงศรีอยุธยาที่มีอำนาจในดินแดนประเทศไทยมา ๔๑๗ ปีล่มสลายลง แม้ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงสามารถกอบกู้เอกราชจากกองทัพพม่าได้สำเร็จในปีนั้น แต่การเมืองของราชอาณาจักรใหม่ในยุคต้น กับเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เนื่องด้วยเกิดชุมนุมน้อยใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ชุมนุมขนาดใหญ่ที่มีอำนาจทางการเมืองประกอบไปด้วยชุมนุมของเจ้าพระฝาง พระยาพิษณุโลก พระยานครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และชุมนุมเจ้าพิมาย ซึ่งกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจาหวังจี๋ ในชิงสือลู่ พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ประทับอยู่ อย่างไรก็ดี ชิงสือลู่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคนี้เพิ่มเติมอีกว่า ยังมีคู่แข่งทางการเมืองอีกสองคน ที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูราชอาณาจักรใหม่ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ เจ้าศรีสังข์หรือพระองค์เจ้าศรีสังข์ ซึ่งราชสำนักจีนเรียกพระนาม ของพระองค์ว่า เจาซื่อชาง พระโอรสในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบมโกษฐ์กับหม่อมจันทร์ ซึ่งหลังจากกองทัพพม่าเข้าราชธานีได้สำเร็จ พระองค์ทรงหลบหนีไปอยู่ที่กรุงอุดงค์มีไชยด้วยความช่วยเหลือของบาทหลวงคณะมิสชังต่างประเทศ (Missions Etrangeres de Paris)

สมเด็จพระนารายณ์ราชา (ค.ศ. ๑๗๕๘-๑๗๗๕ พ.ศ. ๒๓๐๑-๒๓๑๘)
กษัตริย์กัมพูชาในขณะนั้น ทรงให้ความช่วยหลือแก่เจ้านายอยุธยาผู้นี้เป็นอย่างดี เรื่องราวของเจ้าศรีสังข์นี้ ไม่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์มากนัก เอกสารที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับพระองศ์มากที่สุดคือ จดหมายเหตุคณะมิสซังต่างประเทศที่ระบุว่า พระองค์ทรงเสื่อมใสศรัทธาในคริสต์ศาสนา และทรงหวังที่จะเดินทางไปยังฝรั่งเศสสักครั้งหนึ่ง แม้การที่เจ้าศรีสังข์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ จะเป็นที่ล่วงรู้ไปถึงราชสำนักจีน และทำให้พระเจ้าเฉียนหลงไม่ให้การรับรองสถานภาพของสมเด็จพระเจ้กรุงธนบุรีในฐานะกษัตริย์สยามพระองศ์ใหม่ แต่คู่แข่งทางการเมืองที่ก่อให้เกิดปัญหาแก่พระองค์มากที่สุดคือ เจ้าจุ้ย หรือเจ้าชุ่ยในชิงสือลู่ พระโอรสในเจ้าฟ้าอภัย พระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ซึ่งทรงหลบหนีไปประทับที่เมืองพุทไธมาศภายใต้การปกครองของมักเทียนตู หรือม่อชื่อหลินในชิงสือลู่ หรือที่ ในเอกสารสยามเรียกว่า พระยาราชาเศรษฐี และมักเทียนตูนี้เองที่เป็น ผู้รายงานเรื่องข่าวการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา และให้ข่าวเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต่อราชสำนักจีน มักเทียนตูรายงานว่า กษัตริย์สยามพระองค์ใหม่ หรือที่ในเอกสารจีนเรียกว่ากันเอินซื่อ เป็นชาวจีนที่เร่ร่อนมาขอพึ่งพาพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์สยาม แต่เมื่อบ้านเมืองถูกกองทัพพม่าทำลายลง แทนที่จะช่วยหลือเจ้านายเก่าฟื้นฟูบ้านเมือง กันเอินซื่อผู้นี้กลับมักใหญ่ใฝ่สูง ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ ทั้งๆ ที่เจ้านายกรุงศรีอยุธยาหลายพระองค์ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ และหนึ่งในนั้นคือ เจ้าจุ้ยได้รับความช่วยเหลือคุ้มครองจากมักเทียนตูนั้นเอง คำรายงานดังกล่าวนี้ทำให้เกิดผลทางการเมืองที่สำคัญสองประการ คือ ทำให้ราชสำนักจีนยกย่องมักเทียนตูในฐานะผู้ทรงคุณธรรม ในขณะที่ตอบปฏิเสธคณะราชทูตที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีส่งไปยังจีนทุกครั้ง ทั้งนี้เพราะหากราชสำนักจีนยอมรับบรรณาการจากผู้ที่ไม่มีสิทธิธรรมทางการเมืองเช่นกษัตริย์สยามพระองค์นี้แล้ว อาจจะเป็นตัวอย่างให้แก่บรรดาผู้ที่กระต่างกระเตื่องและบรรดาผู้ต่อต้านราชวงศ์ชิงก็เป็นได้ คำรายงานของมักเทียนตูเรื่องสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เป็นไปในทางลบนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการแข่งขันทางการเมืองในเขตอ่าวสยาม ระหว่างทั้งสองฝ่าย ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลายลง ในขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับมักเทียนตู ยังเป็นส่วนหนึ่งของการแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างชาวจีนต่างกลุ่มภาษา คือ แต้จิ๋วและกวางตุ้งอีกด้วย นอกจากจะมีรายงาน เรื่องสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปยังราชสำนักจีนแล้ว มักเทียนตูยังมักฉวยโอกาสเข้าโจมตีหัวเมืองต้านตะวันออกของสยาม

ตามที่ปรากฏ ข้อความในชิงสือลู่ลง วันที่ ๓๐ สิงหาคม ค.ศ. ๑๓๖๙/พ.ศ. ๒๓๑๒ ว่า "ขณะนี้ม่อซื่อหลินจ้าเมืองเหอเซียนเจิ้นได้ยกไพร่พลยึดครองจ้านเจ๋อ(จันทบุรี) พร้อมทั้งได้ร่วมกับบรรดาหัวหน้ากลุ่มต่างๆ ในสยามเข้าโจมตีกันเอินซื่อ" การโจมตีในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปปราบชุมนุมนครศรีธรรมราช มักเทียนตูได้ให้หลานชายพาเจ้าจุ้ยไป ยึดครองจันทบุรี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะกองทัพของพระยาเทพพิพิธ (ตันเหลียง) สามารถยืดเมืองคืนได้สำเร็จ ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสามารถปราบปรามชุมนุมน้อยใหญ่ได้สำเร็จแล้ว ใน ค.ศ. ๑๙๗๑/พ.ศ. ๒๓๑๔ จึงทรงยกกองทัพไปปราบปรามเมืองพุทไธมาศพร้อมกับกัมพูชาในคราเดียวกัน เพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมืองของพระองค์ให้หมดไป ทั้งนี้ พระองค์ทรงยกทัพเรือไปโจมตีพุทไธมาศในขณะที่ทรงมอบหมายให้พระยายมราชหรือต่อมาคือรัชกาลที่ ๑ ยกกองทัพบกไปยังกัมพูชา ผลของสงครามในครั้งนี้คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสามารถจับจุ้ยและเจ้าศรีสังข์มาสำเร็จโทษ ขณะที่มักเทียนตูหลบหนีไปพึ่งบารมีของอุปราชตระกูลเหงวียน (Nguyen) ก่อนที่ใน ค.ศ. ๑๗๙๘ พ.ศ. ๒๓๒๑ มักเทียนตูแลครอบครัวจะขอเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อเกิดความวุ่นวายทางการเมืองในเวียดนาม ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับพม่าและชาติอื่นๆ ชิงสือลู่ ได้บันทึกเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับชาติอื่นๆ อยู่หลาย คราว ทั้งนี้รายงานที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่ราชสำนักจีนได้รับจากฝ่ายสยาม หรือเป็นข่าวที่ราชสำนักจีนสืบทราบมาจากแหล่งข่าวอื่น สาระที่น่าสนใจอยู่ในสมัยกรุงธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ ขณะที่สยามกำลังทำสงครามกับพม่า ซึ่งกองทัพพม่ากำลังทำสงครามอีกด้านกับกองทัพจีน ทำให้สยามพยายามเอาพระทัย หวางตี้ด้วยการเสนอตนเข้าร่วมทำสงครามกับพม่า เพราะต้องการให้ราชสำนักจีนรับรองสถานภาพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในฐานะพระเจ้ากรุงสยาม แม้จีนจะปฏิเสธข้อเสนอนี้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบไปถึงมักเทียนตู ที่พยายามเอาใจราชสำนักจีนและทำลายสิทธิธรรมในการปกครองของพระเจ้ากรุงสยามในสายตาของเฉียนหลง หวางตี้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่เมื่อเสร็จศึกด้านพม่าและการปราบปรามชุมนุมใหญ่ทั้งสี่แห่งแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปปราบเมืองพุทไธมาศของมักเทียนตูต่อไป ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นกับพม่ายังล่วงเลยมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อพม่ายกทัพเข้ารุกรานสยาม สยามได้ฟ้องให้หวางตี้จีน ทรงทราบเพื่อมีพระราชวินิจฉัยตักเตือนพม่า ขณะเดียวกันเมื่อศึกใหญ่กับพม่าจบลง สยามก็หาโอกาสยกทัพไปตีพม่ากลับและถือโอกาสนี้ ขอให้พระเจ้ากรุงจีนผู้ใหญ่บังคับให้พม่าคืนเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรีแก่สยาม ในขณะเดียวกัน พม่าเองก็ได้รายงานสถานการณ์ ดังกล่าวให้จีนทราบ แต่การกระทำของสยาม ทำให้ราชสำนักจีนตำหนิ และส่งพระราโชวาทมาตักเตือน เพราะในมุมมองของจีนนั้นรัฐต่างแดน ที่ล้าหลังเหล่านี้ล้วนเป็นข้าขอบขัณฑสีมาที่จีนดูแลอย่างเสมอหน้า ความขัดแย้งถึงขั้นรบพุ่งกันนี้จึงเปรียบเสมือนเด็กทะเลาะกัน ที่ทำให้ผู้ใหญ่ต้องลงมาห้ามปรามพร้อมกับอบรมสั่งสอน ซึ่งแน่นอนว่าเป็น มุมมองและความเข้าใจของจีนเพียงฝ่ายเดียว นอกจากความสัมพันธ์หลักกับพม่าแล้ว ชิงสือลู่ยังได้กล่าวถึงหัวเมืองเหนือ (เชียงใหม่) และเมืองชายแดนเล็กๆ นอกเขตสยามอยู่บ้าง แต่เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้อง กับกลุ่มคนและกิจการภายใน ที่ไม่มีนัยในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากนัก การเมืองสยามสมัยต้นรัชกาลที่ ๑ ในเอกสารชิงสือลู่ เมื่อ รัชกาลที่ ๑ ทรงปรบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. ๑๙๘๒/พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นเวลาเดียวกันกับที่เรือคณะราชทูตสยามของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แล่นกลับมาถึงพระนครพร้อมกับสิ่งของมีค่าเต็มลำเรือ เรือทูตคณะนี้เป็นผลแห่งความเพียรพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า กว่า สิบสี่ปีของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ติดต่อไปยังจีน แต่ถูกจีนตอบปฏิเสธมาทุกครั้ง กระทั่งครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. ๑๗๘๑/พ.ศ. ๒๓๒๔ จีน เพิ่งยอมรับสถานะกษัตริย์ของสมด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และยอมรับเครื่องราชบรรณาการจากสยาม ปัญหาสำคัญที่จีนยกป็นข้ออ้างในการไม่รับรองและไม่ติดต่อกับสยาม คือความชอบธรรมใการขึ้นเป็นกษัตริย์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งจีนยืดมั่นในเรื่องการสืบสายเลือดวงศ์กษัตริย์เดิมอย่าง เคร่งครัด ดังเห็นได้จากการตำหนิสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหลายครั้ง ที่ไม่ยอมสืบหาหรือยกจ้านายในราชวงศ์เดิมขึ้นเป็นกษัตริย์ แม้จะมีคำอธิบายจากสยามไปหลายครั้ง แต่จีนก็หาได้รับฟังไม่ กระทั่งทำให้การค้าขายกับจีนซะงักไปเกือบตลอดสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งมีผลอย่างมากต่อ การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ และอาจเบ็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ ทำให้สมเด็จพระจกรุงธนบุรีทรงล้มเหลวในการควบคุมขุนนางและกำลังพล นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปลายรัชกาล ดังนั้น เมื่อพระเจ้าเฉียนหลงทรงยอมรับสถานะของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในช่วงปีสุดท้ายของรัชกาล ภายหลังจากทรงพยายามอยู่หลายปี รัชกาลที่ ๑ จึงทรงตระหนักดีว่าคงเป็นการยากที่จีนจะยอมรับการเปลี่ยนวงศ์กษัตริย์ใหม่ของสยามอีกครั้งทั้งๆ ที่จีนเพิ่ง ยอมรับสถาพระราชวงศ์กรุงธนบุรีไปไม่นาน และราชวงศ์จักรีคงต้องใช้เวลาอีกนานนับสิบปี กว่าที่จีนจะยอมรับรองและแต่งตั้งเช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเผชิญมา

พระราชสาส์นฉบับแรกของ พระองค์ที่ส่งไปเมืองจีนใน ค.ศ.๑๗๘๒ พ.ศ.๒๓๒๕ จึงระบุไว้ชัดเจนว่าพระองค์เป็น "พระราชโอรส" ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยทรง เล่าให้ทางจีนทราบว่า "เจิ้งเจา พระบิดาประชวรถึงแก่พิราลัย" ส่วนพระองค์คือ "เจิ้งหัว" ผู้ได้รับการมอบหมายจากพระราชบิดาให้ปกครองดูแลอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งชิงสือลู่ได้บันทึกเนื้อหาของพระราชสาส์นจากสยามฉบับนี้ ผ่านรายงานของข้าหลวงมณฑลกวางตุ้ง สิ่งที่เป็นไปได้มาก คือ ข้าหลวงใหญ่และข้าราชการมณฑลกวางตุ้ง ได้รับสินบาทคาดสินบนจากคณะราชทูตสยามและพ่อค้าจีนซึ่งเป็นข้ารับใช้และคุ้นเคยกับระบบราชการจีน เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่เจ้าพนักงาน (เชิงอรรถ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่อๆ มาของราชวงศ์จักรีทรงใช้แซ่เจิ้ง แซ่เดียวกับ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยรัชกาลที่ ๒ พระนามว่า "เจิ้งฝอ" รัชกาลที่ ๓ พระนามว่า "เจิ้งฝู" รัชกาลที่ ๔ พระนามว่า "เจิ้งหมิง") ท้องถิ่นของจีน จะไม่ได้ทราบความจริง เรื่องสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะจากสยามองว่า เกิดเหตุการณ์จริงประการใดบ้างในตอนปลายสมัยธนบุรี ความตั้งใจบิดเบือนข้อเท็จจริงนี้ เกิดขึ้นโดยไตร่ตรองอย่าง รอบคอบแล้ว เพราะหากรายงานสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นให้จีนทราบ จีนคงตำหนิติเตียนและไม่ยอมรับรองสิทธิธรรมของรัชกาลที่ ๑ แน่นอน อีกทั้งในวลานั้นเชื้อพระวงค์ธนบุรียังดำรงพระชนมชีพอีก หลายพระองค์* การสมอ้างว่าเบ็นผู้สืบสายเลือดเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลที่เหมาะสมที่สุดในการสานต่อความสัมพันธ์กับจีนหลังจากที่พากเพียร พยายามมายาวนาน ในพระราชสาส์นฉบับแรกที่ปรากฎในชิงสือลู่จึงกล่าวถึงการขอรับพระราชทานตราตั้งอันใหม่แทนอันเดิมที่ได้รับมา ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แม้ว่ารัชกาลที่ ๑ ตั้งพระทัยให้จีนเชื่อตามที่รายงานไป แต่เนื้อหาที่ปรากฎในชิงสือลู่ ได้สะท้อนให้เห็นว่าราชสำนักสยามประหม่าและกังวลอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับข้อมูลเท็จดังกล่าว เนื้อหาในพระราชสาส์น ฉบับแรกของรัชกาลที่ ๑ จึงมีลักษณะถ่อมตนและเยินยอจีนเป็นพิเศษ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ดังความว่า "เจิ้งเจาพระบิดาประชวรถึงแก่พิราลัย ก่อนสวรรคตได้ทรงกำชับให้พระองค์เคารพเทิดทูน ราชสำนักจีน หวังได้อาศัยบุญญาธิการปกป้องคุ้มครองสืบไป" การยกย่องให้เกียรติอย่างสูงสุดแก่จีน คงสร้างความพึงพอใจให้แก่ราชสำนักจีนอยู่ไม่น้อย อีกทั้งตลอดรัชสมัย รัชกาลที่ ๑ ทรงแต่ง "เชิงอรรถ * พระราชโอรสของสมด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยังมีพระชนมชีพตอนผลัดเปลี่ยน รัชกาล คือ สมเด็จพระมหาอุปราชเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ซึ่งถูกสำเร็จโทษ ภายหลังจากที่สมเด็พระเจ้ากรุงธนบุรีสวรรคตแล้ว) สมเด็จจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ สมด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย สมเด็จเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ กรมขุนกระษัตรานุชิต เป็นต้น) คณะราชทูตบรรณาการไปจิ้มก้องกรุงจีนอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นที่โปรดปราของราชสำนักจีน แม้ต่อมาปรากฎหลักฐานภายหลังว่า จีน ได้ทราบความจริงที่เกิดขึ้น และได้ตำหนิกลับมาว่ามิให้กระทำเช่นนั้นอีก แต่นั่นก็ไม่ได้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับจีน แต่อย่างใด ในขณะเดียวกันราชสำนักจีนเองก็ตั้งใจเพิกเฉยข้อเท็จจริงนี้เสีย นับเป็นกุศโลบายทางการเมืองอันแยบยล ที่ทำให้ความสัมพันธ์ กับจีนดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่น

เอกสารจดหมายเหตุที่บันทึกว่าการไป “จิ้มก้อง” ของคณะทูตสยามครั้งนี้ต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า ๓,๙๐๐,๐๐๐ ตำลึง ดังนั้นทำไมพระเจ้าตากต้องแกล้งบ้า แกล้งตายเพื่อหนีหนี้เพียง ๖๐,๐๐๐ ตำลึง ยังเป็นข้อน่าสงสัยอยู่ในกรณีนี้

ดังนั้น หากสภาวะเศรษฐกิจในกรุงธนบุรีตกต่ำขนาดต้องกู้ยืมจีน ๖๐,๐๐๐ ตำลึงจริง ๆ แล้วก็ไม่ควรจะมีความสามารถส่งเรือที่บรรทุกเครื่องราชบรรณาการ ๔ ลำ และเรือสินค้าอีก ๗ ลำ ไปยังเมืองจีนได้อย่างแน่นอน
เกี่ยวกับเรื่องเงินที่พระมหากษัตริย์ให้แก่ข้าราชการและทหารของพระองค์นั้น คุณหมอวิบูล วิจิตรวาทการ(4) ได้เขียนในหนังสือแผ่นดินพระเจ้าตาก โดยอ้างถึงจดหมายของบาทหลวงในสมัยกรุงธนบุรีได้เขียนไว้เกี่ยวกับเบี้ยหวัดเงินเดือนแก่ข้าราชการและทหาร ความว่า
“…เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๒๒ เป็นวันที่จะต้องแจกเบี้ยหวัดเงินเดือนแก่ข้าราชการและทหารที่เข้ารีต พระเจ้าตากจึงได้รับสั่งให้พวกนี้เข้าไปเฝ้าและได้รับสั่งว่าพวกนี้ไม่ได้ไปการทัพมาหลายปีแล้ว เพราะฉะนั้นพวกนี้ไม่ได้ทำการใช้อาวุธอย่างใด จึงสมควรจะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินเดือน [ข้อความตรงนี้ ผมว่าน่าจะผิด ที่ถูกน่าจะเป็นสมควรจะได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินเดือน มากกว่า – ผู้เขียน] เพราะเงินพระราชทรัพย์ที่มีอยู่ในห้องพระคลังนั้นเป็นเงินที่พระเจ้าตากได้ทรงหามาได้ด้วยทรงกระทำการดีและทรงได้มาด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้า ก็เมื่อพวกเข้ารีตไม่ยอมทำการอย่างใดที่เกี่ยวด้วยการของพระพุทธเจ้าแล้ว พวกนี้ก็ไม่ควรได้รับเงินอย่างใด แต่ควรจะได้รับพระราชอาญาจึงจะถูก…”

จะเห็นได้ว่า พระมหากษัตริย์ในอดีตนั้นทรงมีรายได้มากกว่ารายจ่ายมากนัก แต่ก็อาจจะมีคนเถียงผมว่า ในสมัยพระเจ้าตากมีศึกสงครามเกือบตลอดรัชกาล แต่อย่าลืมว่าสงครามต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นสงครามที่ทรงปราบปรามศึกต่าง ๆ ที่อยู่ไกลจากธนบุรี ทำให้ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์สามารถทำมาหากินได้โดยไม่เดือดร้อน

คุณปรามินทร์ เครือทอง(15) ก็มีความเห็นสอดคล้องกับผู้เขียนโดยเห็นว่า
“…เป็นที่ทราบกันดีว่ากรุงธนบุรีต้องอยู่ในภาวะสงครามอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่การทำไร่ไถนาเมื่อต้นรัชกาลก็มักประสบปัญหา…”
แต่เมื่อถึงช่วงกลางรัชกาลเป็นต้นมา รัฐบาลกรุงธนบุรีก็สามารถจัดเก็บรายได้จากส่วนต่าง ๆ จนสามารถตั้งตัวได้ เช่นรายได้จากหัวเมืองขึ้นที่ทรงไปปราบ และยึดทรัพย์สินมาได้ครั้งละมาก ๆ ยังมีรายได้จากส่วยเมืองขึ้นการค้าต่างประเทศ มีการสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมาก จดหมายบาทหลวงฝรั่งเศสกล่าวถึงสภาพเศรษฐกิจกรุงธนบุรี เมื่อปีจุลศักราช ๑๑๔๑ ตอนปลายรัชกาลว่า เวลานี้ในเมืองไทย การศึกสงครามได้สงบเงียบแล้ว พวกพม่าข้าศึกเก่าของเราไม่ได้คิดที่จะกลับมาตีเมืองไทยอีก และเสบียงอาหารข้าวปลา นาเกลือก็จะกลับบริบูรณ์ขึ้นอีกแล้ว
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อถึงช่วงปลายรัชกาลกรุงธนบุรี การเฉลิมฉลองในงานต่าง ๆ มักจะจัดอย่างยิ่งใหญ่ ใช้เงินทองจำนวนมาก เช่น งานเฉลิมฉลองพระแก้วมรกตในปีจุลศักราช ๑๑๔๑ เป็นงานใหญ่ใช้เงินจัดงานอย่างมหาศาล หรือแม้แต่ในเดือน ๑๐ เดือน ๑๑ ของปีฉลู “พระราชทานเงินคนยากจนแลข้าราชการน้อยใหญ่เป็นอันมาก” ซึ่งก็สอดคล้องกับความสามารถของกรุงธนบุรีที่ได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องราชบรรณาการถึง ๔ ลำ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วใน ข้อ ค. นั่นเอง ดังนั้น รายได้ของพระเจ้าตากก็คงจะไม่น้อยไปกว่าพระมหากษัตริย์องค์อื่น ๆ ในอดีตเท่าไรนัก ความจำเป็นในการกู้ยืมเงิน ๖๐,๐๐๐ ตำลึง จึงมีความเป็นไปได้น้อยมาก

จ. การใช้แนวคิดของคนยุคปัจจุบันไปใส่ในความคิดของคนยุคกรุงธนบุรีทั้ง ๆ ที่บริบทต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาจทำให้เกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ เช่น
จ.๑ การกู้เงินจำนวนมาก (๖๐,๐๐๐ ตำลึง) นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งผมคิดว่าถ้าเมืองจีนยังไม่ยอมรับสยามในยุคพระเจ้าตากตั้งแต่ต้นดังที่ผมได้วิเคราะห์ไปแล้วในข้อ ข. นั้น แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่เมืองจีนจะให้สยามกู้เงิน
จ.๒ ในเอกสารเรื่องจริงอิงนิทาน พิเศษ ๑, ๗ ที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำได้เขียนไว้นั้น ได้กล่าวถึงจีนเจ้าสัวเดินทางจากเมืองจีนเพื่อทวงเงินที่เมืองสยาม แต่สุดท้ายเรืออับปางและถูกโจรสลัดปล้นฆ่า ผมว่าเป็นเรื่องที่ดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก เพราะว่า เป็นถึงเจ้าสัวแต่ต้องเดินทางมาทวงเงินด้วยตนเอง ทั้งที่สามารถใช้ลูกน้องคนสนิทมาทวงเงินแทนได้โดยไม่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากการเดินทาง และถึงแม้ว่าเจ้าสัวเสียชีวิตก็น่าจะมีทายาทมาทวงเงินจากพระเจ้าตากต่อไปได้อยู่ดี ไม่ใช่ว่ายอมให้หนี้สูญไปอย่างนี้

จ.๓ การที่จีนจะยกกองทัพมาตีกรุงสยามหากพระเจ้าตากไม่ยอมชำระหนี้เงินกู้เป็นเรื่องค่อนข้างจะเพ้อฝันมาก เพราะระยะทางจากเมืองจีนมายังกรุงสยามเป็นระยะทางเกินกว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตร และอาณาเขตทั้ง ๒ อาณาจักรยังไม่ติดต่อกัน ถ้าจะรบจีนต้องยกทัพผ่านหลายเมือง เช่น ลาว พม่า เป็นต้น

ฉ. เหตุผลที่ผมมีความเห็นสอดคล้องกับเหตุผลได้จากหนังสือของคุณเตโชไชยการ ที่ไม่เห็นด้วยกับการที่พระเจ้าตากทรงกู้เงินจากจีน กล่าวคือ
ฉ.๑ การทำศึกสงครามไม่ได้ใช้เงินเป็นหลัก แต่ใช้เสบียงอาหาร กำลังพล และอาวุธ เป็นหลักมากกว่า
ฉ.๒ เมืองจีนในขณะนั้นกำลังเกิดปัญหาเศรษฐกิจ ไม่น่าจะมีเงินให้กู้ยืมจำนวนมาก
ฉ.3 พระเจ้าตากทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่กู้ชาติไทยจากพม่า ไม่น่าจะทรงกระทำการเบี้ยวหนี้ อันเป็นการเสียพระเกียรติอย่างยิ่งสำหรับกษัตริย์มหาราชเยี่ยงพระองค์

สรุป
จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน ๖๐,๐๐๐ ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย ๔ ลำเรือ
และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ ๑ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

บรรณานุกรม
1 ปรามินทร์ เครือทอง. พระเจ้าตากเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557.
2 ปรามินทร์ เครือทอง. บรรณาธิการ. ปริศนาพระเจ้าตากฯ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2555.
3 วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. รวมเรื่องสั้นใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2544.
4 วิบูล วิจิตรวาทการ. แผ่นดินพระเจ้าตาก. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2545.
5 ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์. ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน?. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2551.
6 สุทัสสา อ่อนค้อม. ความหลงในสงสาร. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, 2550.
7 ทิพยจักร. ญาณพระอริยะ ไขปริศนาพระเจ้าตาก. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : กรีน–ปัญญาญาณ, 2555.
8 สุภา ศิริมานนท์. ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : กรีน–ปัญญาญาณ, 2553.
9 วินัย พงศ์ศรีเพียร. หมิงสือลู่–ชิงสือลู่ : บันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ตอนว่าด้วยสยามฯ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2559.
10 เตโชไชยการ. ญาณบารมีหลวงปู่โต รู้ความจริงจากหลวงปู่โต…ใครทุรยศพระเจ้าตากสิน. กรุงเทพฯ : ปราชญ์, 2556.
11 น.นกยูง. มหาราช 2 แผ่นดิน. นนทบุรี : กรีน–ปัญญาญาณ, 2555.
12 ว.วรรณพงษ์, ภมรพล ปริเชฏฐ์. พระเจ้าตากสินยังไม่ตาย?. กรุงเทพฯ : คลังสมอง, 2558
13 ลาลูแบร์, มองซิเออร์ เดอ. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2559. (แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร).
14 แชรแวส, นิโกลาส์. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550. (แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร)
15 ปรามินทร์ เครือทอง. ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.

24/07/2022

Varni craft are community enterprise group. The reason is to help people in the community reduce poverty, unemployment and the inequality of women in the community. The development of Thai local wisdom in the community is the craft of woven basketry which from the local plant named Krajood. Varni Southern Wickery bringing cultural heritage and local wisdom into the design. We are also the company that based on the concept under “creative economy”

Our concept of community economic development is using assets derived from the ideas. "There are components of the concept operating the organization according to the based on using of knowledge, education, creativity and intellectual property.

We have done, designed which combines with wisdom and modern style completely. A collection of our designs by local artisan is environmentally friendly with surroundings. We mostly use resources are nearby us. We spend our life get in touch with a green nature and forward the wisdom to new blood designers weaving the techniques combined with the aesthetics of beauty and technology. There is simplicity and spontaneity. Simplicity is the beauty Wabi Zab fielded identity Thai wisdom. We have selected of alternative materials from naturally available in the area named Krajood. There are special features like easy to grow, flexible and can be folded without breaking itself. We are developing potentiality of our staff in our village in technical design and social entrepreneurship.

Finally, we wish to sustainable project which able to retreat the social trouble and promote networking between entrepreneurs from the local community to communities income.

23/07/2022
20/07/2022

Bright pink is the colour now that Dok Krajeaw (Siam Tulip) are in full bloom at Sai Thong National Park in Chaiyaphum. If present, rain and mist can enhance the dramatic visuals.

These Dok Krajeaw fields are in Chaiyaphum, in the lower northeast of Thailand, where many hidden gems await your exploration. For more information about what to do in of Chaiyaphum, see 👉 bit.ly/3yWCzj3

ใครว่าหน้าฝนมีแต่สีเขียว เพราะตอนนี้ที่อุทยานแห่งชาติไทรทองเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีชมพู ผืนป่าเต็มไปด้วยดอกกระเจียวสีหวานบานสะพรั่ง ยิ่งถ้าวันไหนมีสายฝนตกลงมา ก็จะได้สัมผัสกับสายหมอกสีขาวเพิ่มเสน่ห์อันทรงพลังสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยว

ไปเที่ยวทุ่งดอกกระเจียวกันแล้ว อย่าลืมไปเที่ยวชัยภูมิต่อกันนะคะ ดูสถานที่ที่น่าไปที่นี่เลย 👉 bit.ly/3nH3VmF


20/07/2022

Stone sculptures over 100 years old that were recently excavated from beneath the wall of the Temple of the Emerald Buddha went on display at the Grand Palace for tourists to admire during the long weekend.

The Royal Household Bureau found more than 130 stone sculptures while it was performing road maintenance near a wall of the temple. Following the discovery, His Majesty the King tasked the Fine Arts Department with excavating and restoring the statues to their original state. The restored statues were then displayed for domestic and international tourists to admire in the courtyard of the temple.

Some historians believe the sculptures may have been imported when the Kingdom of Siam was trading with China in the early Rattanakosin era. Merchants would purchase Chinese stone sculptures to balance the weight of ships on their return trips. These statues were believed to have been placed in the temple as part of the celebration of Bangkok's 100th anniversary in 1882.

The sculptures resemble multiple ethnicities, with some carved in traditional Thai attire while others were depicted in Western clothing. Most of these statues are in pristine condition due to being buried in mud for a century and suffering less deterioration than stone statues exposed to the elements,

#ประเทศไทย #กรุงเทพ #ศิลปะ #ประวัติศาสตร์ #ประติมากรรม #วัดพระแก้ว

19/07/2022

📌ประเภทใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว และอัตราเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว
📄ผู้สนใจขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว สามารถติดต่อสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขา 6 แห่ง และ 1 สาขาย่อย ทั้งที่สาขา โทรศัพท์ และอีเมล ในวันและเวลาราชการ
1️⃣สาขากรุงเทพมหานคร
📞โทร. 0-2141-3283, 0-2141-3298, 09-5992-4733, 09-9210-2035
📧อีเมล [email protected]
2️⃣สาขาภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี)
📞โทร. 0-3300-4450 กด 1, 3
📧อีเมล [email protected]
3️⃣สาขาภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)
📞โทร. 0-5320-4485, 0-5320-4602
📧อีเมล [email protected]
4️⃣สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา)
📞โทร. 0-4424-8740
📧อีเมล [email protected]
5️⃣สาขาภาคใต้เขต 1 (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
📞โทร. 0-7795-3066
📧อีเมล [email protected]
◾️สาขาย่อยหาดใหญ่
📞โทร. 0-7485-6005 -6
6️⃣สาขาภาคใต้เขต 2 (จังหวัดภูเก็ต)
📞โทร. 0-7668-1065 กด 1
📧อีเมล [email protected]
#กรมการท่องเที่ยว #ธุรกิจนำเที่ยว #บริษัททัวร์ #กองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ #ประเภทใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว #อัตราเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว

13/07/2022

📌การอบรมและทดสอบความรู้ความสามารถ เพื่อต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ผ่าน E-Learning ออนไลน์ 24 ชั่วโมง
💳มัคคุเทศก์ที่ใบอนุญาตกำลังจะหมดอายุ ต้องเข้ารับการอบรมเพื่อต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ได้แก่
✅มัคคุเทศก์ทั่วไป (บัตรบรอนซ์เงิน)
✅มัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้)
💻สามารถลงทะเบียนและเข้ารับการอบรมในรูปแบบออนไลน์ที่ https://www.dot-guidelearning.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
📄โดยหลังผ่านการอบรม จะได้รับหนังสือรับรองเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ดูรายการเอกสารเพิ่มเติมที่ https://tiny.one/3fy4vs8p
❎ผู้ที่มีใบอนุญาตมัคคุเทศก์แบบเดิม หากอบรมเปลี่ยนผ่านประเภทบัตรเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการต่ออายุได้ โดยไม่ต้องอบรมต่ออายุก่อน
❎ผู้ที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว จะไม่สามารถลงทะเบียนและเข้าใช้งานระบบอบรมได้ ต้องเข้ารับการทดสอบความรู้ความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ใหม่ ดูรายละเอียดการทดสอบที่ https://tiny.one/2p9yc63y
❓สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 021413256 ในวันและเวลาราชการ
#กรมการท่องเที่ยว #ใบอนุญาตเป็นมัคุเทศก์ #มัคคุเทศก์ #บัตรไกด์ #อบรมต่อบัตรไกด์

10/07/2022

#แจกฟรีไฟล์PDF หนังสือ "ทำเนียบโบราณสถานอุทยานฯสุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561"
(ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1Xto-vfYABofQX48A5qVyaFoARgEIbDT0/view?usp=sharing)
กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นครั้งแรก โดยประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2478 ครั้งนั้นเป็นจำนวน 75 แห่ง แล้วจึงดำเนินการสำรวจเพื่อขุดแต่งบูรณะตั้งแต่พุทธศักราช 2496 เรื่อยมา จนในพุทธศักราช 2519 กรมศิลปากรริเริ่มจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและผลจากการดำเนินงานมีการสำรวจพบโบราณสถานรวมทั้งหมด 193 แห่งพร้อมทั้งจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” เมื่อพุทธศักราช 2531
ช่วงเวลาที่ผ่านมากว่า 30 ปีมีการอนุรักษ์และพัฒนาทางโบราณคดีในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสำรวจ ศึกษาค้นคว้า และขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี เป็นผลให้มีการค้นพบโบราณสถาน และข้อมูลความรู้ใหม่ๆ มากมาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทบทวนข้อมูลทำเนียบโบราณสถานขึ้น ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีการค้นพบโบราณสถานทั้งสิ้น 218 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 25 แห่ง จึงเห็นสมควรปรับปรุงหนังสือ ทำเนียบโบราณสถานฉบับเดิมให้เป็นปัจจุบันพุทธศักราช 2561 โดยมอบหมายให้ฝ่ายวิชาการของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยดำเนินการสำรวจโบราณสถานทั้งหมด พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบใหม่ โดยมีนางสาวนุชจรี ผ่องใสศรี เป็นผู้เรียบเรียง
กรมศิลปากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาค้นคว้า ประวัติศาสตร์โบราณคดีโบราณสถานเมืองโบราณสุโขทัยสืบต่อไป............................................................................
ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดหรืออ่านรายงานทางโบราณคดีของอุทยานระวัติศาสตร์สุโขทัย เล่มอื่นๆ ได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
1. รายงานการดําเนินงานทางโบราณคดีแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณพุทธศักราช 2559-2560 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1ZD-1vyJ470F9UFZrUl_5J-rVopdN5o1k/view?usp=sharing
2. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำโบราณเมืองสุโขทัย ทำนบ 7 อ. (บารายเมืองสุโขทัย) ปี 2560-2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1MP-IpELV04s9MLDW-4bwVCSuGS2iwcSa/view?usp=sharing
3. รายงานการบูรณะเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1PzxCFznNifILdcfpslw4sGgtTYEX0XqC/view?usp=sharing
4. รายงานการวิเคราะห์โบราณวัตถุที่พบจากการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำโบราณเมืองสุโขทัย ทำนบ 7 อ. (บาราย) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1jh2EwIfUHjD-znhaheoB-NwMQrksPIY-/view?usp=sharing
5. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1EoIqbl9qQ8z4ieqBF_2c8jmTd16nJ8vC/view?usp=sharing
6. รายงานโครงการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดจระเข้ร้อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1RqrotlUUKsDu1tnUra-1sMKVJOODoIuO/view?usp=sharing
7. รายงานการขุดแต่งโครงการ ขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดป่ามะม่วงตะวันตก วัดตระพังกระดาน และวัดร้างตต.26/1 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1T40fgFzYaYaIfHWJnLHBktj1O5UwqaY_/view?usp=sharing
8. โครงการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดตระพังช้างเผือกและวัดป่าขวาง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1Gq02yClJys7ULyeRpXBuT_skrlBs3H5z/view?usp=sharing
9. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1CFQnNsep2xqmoFLxZudMEFdf7oVKfQbu/view?usp=sharing
10. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัยปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/10l0fRTLev_pxuUtiL6XPsh3NwF9owgZJ/view?usp=sharing
11. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานวัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1HRNJtldkTXlHnWGonqVgx8ROwzxqhGjI/view?usp=sharing
12. รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีวัดศรีสวาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปีพุทธศักราช 2553 : ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1uVVaNhkkLCslnEN0SRV6BS7Y4DX-lwP-/view?usp=sharing

ที่อยู่

304/2 M. 5 Aonang
Muang Krabi
81180

เบอร์โทรศัพท์

+66805383363

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Thai Sea Sand Krabi Travelผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Thai Sea Sand Krabi Travel:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ตำแหน่งใกล้เคียง สำนักงานตัวแทนจัดการท่องเที่ยว


ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อื่นๆใน Muang Krabi

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ