25/01/2022
🏆 หน่วยพัฒนาอาชีพ กสศ. ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27 หน่วย อยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัด ไร่สาสุขอยู่ในลำดับที่สองครับ
แนะนำกันต่อกับสมาชิก #ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐานปี2564 ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินงานมากที่สุดในปีนี้
“หน่วยพัฒนาอาชีพ #ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27 โครงการ ในพื้นที่ 13 จังหวัด”
“หนองคาย”
1.) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โครงการต่อยอดและขยายผลปีที่ 2) : โครงการการพัฒนาตลาดออนไลน์และการแปรรูปกระเทียมอินทรีย์
• เป้าหมาย – เพื่อยกระดับการผลิต การแปรรูป และจัดการกระเทียมอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่ให้มีมาตรฐาน และพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายไปสู่การเป็นผู้ประกอบการออนไลน์
• พื้นที่ดำเนินงาน – ต่อเนื่องในพื้นที่เดิม คือ ต.อุดมพร และ ต.เฝ้าไร่ อ.เฝ้าไร่, ต.สร้างนางขาว อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
• กลุ่มเป้าหมาย – เป็นเกษตรกร จำนวน 57 คน
2.) ไร่สาสุข : โครงการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
• เป้าหมาย - พัฒนาศักยภาพการเลี้ยงไส้เดือนดิน และการใช้ประโยชน์จากผลผลิตของไส้เดือนดินเพื่อเพิ่มรายได้ในการประกอบอาชีพ
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 4 พื้นที่ คือ หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ต.ผาตั้ง, หมู่ที่ 3 ต.แก้งไก่, หมู่ที่ 5 ต.สังคม อ.สังคม จ.หนองคาย
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 71 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 51 คน, รับจ้างทั่วไป 9 คน, ผู้ว่างงาน 10 คน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 1 คน............................................
“นครราชสีมา”
3.) เครือข่ายพัฒนาสหกรณ์ผู้บริโภคตำบลหนองงูเหลือม : โครงการพัฒนาสหกรณ์ผู้บริโภคเพื่อการออกแบบสวัสดิการสังคม
• เป้าหมาย – ส่งเสริมทักษะการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากฐานอาชีพในชุมชนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม
• พื้นที่ดำเนินงาน - บ้านสลักได ต.หนองงูเหลือม อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 30 คน, ค้าขาย 5 คน, ผู้ว่างงาน 14 คน และคนพิการ 1 คน............................................
“บึงกาฬ”
4.) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ) : โครงการพัฒนาทักษะอาชีพและนวัตกรรมการทอผ้าพื้นเมืองสาวภูไท
• เป้าหมาย – พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปวัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อการทอผ้าพื้นเมือง และหนุนเสริมความรู้ในการคำนวนต้นทุนและวางแผนธุรกิจเพื่อขอมาตรฐาน
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 2 พื้นที่คือ บ้านถ้ำเจริญ ต.ถ้ำเจริญ อ.โซ่พิสัย และบ้านไทยเจริญ ต.หอคำ อ.เมือง จ.บึงกาฬ
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 100 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 39 คน, ผู้มีรายได้น้อย 25 คน, เยาวชนนอกระบบ 9 คน, ผู้ว่างงาน 16 คน และผู้สูงอายุ 11 คน............................................
“มหาสารคาม”
5.) วิสาหกิจเครือข่ายผู้ผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอำเภอกุดรัง (โครงการต่อยอดและขยายผลปีที่ 2) : โครงการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตเกษตรกรรมยั่งยืนสู่ผู้ประกอบการ
• เป้าหมาย – เพื่อยกระดับความชำนาญการผลิต การจัดการผลผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ผลผลิต
• พื้นที่ดำเนินงาน - ต่อเนื่องใน 3 พื้นที่ คือ บ้านบ่อทอง ต.เลิงแฝก, บ้านโนนทัน และบ้านห้วยมะเขื่อ ต.นาโพธิ์, บ้านโนนสวรรค์ ต.หนองแวง อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 95 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 44 คน, ค้าขาย 7 คน, ผู้ว่างงาน 17 คน, คนพิการ 17 คน และผู้สูงอายุ 10 คน
6.) สถาบันจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสานตอนกลาง : โครงการพัฒนาการผลิตอาหารปลอดภัยผู้ดูแลผู้สูงอายุยากจน
• เป้าหมาย - พัฒนาทักษะการผลิตอาหารปลอดภัยตามศักยภาพ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือการผลิตและบริโภคที่ปลอดภัยในชุมชน
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 2 พื้นที่ คือ อบต.หนองเหล็ก และ อบต.แพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 60 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 15 คน, รับจ้างทั่วไป 3 คน, เยาวชนนอกระบบ 2 คน, ผู้ว่างงาน 12 คน, คนพิการ 2 คน และผู้สูงอายุ 26 คน
7.) สมาคมไทบ้าน : โครงการธุรกิจบนฐานชุมชน ต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
• เป้าหมาย - ส่งเสริมความรู้เรื่องการจัดการงานธุรกิจชุมชน และการเป็นผู้ประกอบการชุมชนด้านผลผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร เพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 4 พื้นที่คือ วิสาหกิจผลิตข้าวอินทรีย์ (Plaboo Factory Farm) และศูนย์นวัตกรรมปลาบู่ บ้านพลังปัญญา ต.หนองแสง, โคก-หนอง-นาชุมชน แหล่งเรียนรู้โรงเรียนเล็ก ต.หัวเรือ, ศูนย์พัฒนาต้นกล้าดีนครศรีเสือโก้ก ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 100 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 75 คน, เยาวชนนอกระบบ 10 คน, ผู้ว่างงาน 10 คน และคนพิการ 5 คน............................................
“ยโสธร”
8.) โรงพยาบาลกุดชุม : โครงการปลูกสมุนไพรอินทรีย์เพื่อสร้างรายได้แก่ผู้ด้อยโอกาส
• เป้าหมาย – เพื่อส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้จากการปลูกสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน GAP และพัฒนาทักษะการแปรรูป และเพาะกล้าจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เสริม
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 4 พื้นที่ คือ บ้านกำแมด ต.กำแมด, บ้านท่าลาด บ้านโสกขุมปูน บ้านสันติสุข ต.นาโส่, บ้านคำม่วงไข่ บ้านสุขเกษม ต.โนนเปือย, บ้านกุดชุม บ้านคำกลาง บ้านหนองมาลา ต.กุดชุม อ.กุดชุม จ.ยโสธร
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 80 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ 24 คน, ผู้ว่างงาน 12 คน, คนพิการ 1 คน และรับจ้าง 12 คน
9.) วิทยาลัยชุมชนยโสธร : โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านโคกสวาท
• เป้าหมาย – พัฒนาทักษะการย้อมผ้าและการแปรรูปผ้าด้วยสีธรรมชาติ พัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การทำตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มรายได้
• พื้นที่ดำเนินงาน - กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านโคกสวาท ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 54 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 51 คน และรับจ้าง 3 คน
10.) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง : โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มรายได้
• เป้าหมาย – ยกระดับทักษะเดิมให้สามารถจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวและเพิ่มเติมความรู้ให้สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านกุดหิน ต.กำแมด และบ้านโพนงาม ต.โพนงาม อ.กุดชุม, บ้านหินสิ่ว ต.โคกสำราญ อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
• กลุ่มเป้าหมาย - เป็นเกษตรกร จำนวน 65 คน............................................
“ร้อยเอ็ด”
11.) เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง : โครงการการพัฒนาอาชีพคู่ขนานส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน
• เป้าหมาย – เพื่อสร้างภาคีและการรวมกลุ่มผู้ประกอบการในชุมชนเพื่อการประกอบอาชีพคู่ขนานอย่างยั่งยืน
• พื้นที่ดำเนินงาน - เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 80 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 64 คน, รับจ้าง 7 คน, เยาวชนนอกระบบ 2 คน, ผู้ว่างงาน 5 คน, คนพิการ 1 คน และผู้พ้นโทษ 1 คน............................................
“เลย”
12.) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนบ้านศรีเจริญ : โครงการยกระดับการทอผ้า ย้อมสีธรรมชาติจากฐานในชุมชน
• เป้าหมาย - เพิ่มความสามารถในการยกระดับผ้าทอให้ทันสมัย เพิ่มมูลค่าด้วยการย้อมสีธรรมชาติ และสร้างแบรนด์เสื้อมัดย้อมของกลุ่มเป้าหมาย
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 2 พื้นที่ คือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เกษตรยั่งยืนบ้านศรีเจริญ และองค์การบริหารส่วนตำบลเลยวังไสย์ อ.ภูหลวง จ.เลย
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เยาวชนนอกระบบ 15 คน, ผู้ว่างงาน 20 คน และผู้สูงอายุ 15 คน
13.) ชมรมเพื่อคนพิการ จังหวัดเลย (โครงการต่อยอดและขยายผลปีที่ 2) : โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีคนพิการเลย
• เป้าหมาย – ยกระดับให้คนพิการเข้าใจการผลิตและการจัดการผลผลิตอินทรีย์ร่วมกันในกลุ่มให้ได้มาตรฐานรองรับ และพัฒนาสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คนพิการในตำบล
• พื้นที่ดำเนินงาน - ต่อเนื่องใน 3 พื้นที่เดิม คือ ตำบลท่าสะอาด ตำบลท่าสวรรค์ อ.นาด้วง, ตำบลหนองผือ อ.ท่าลี่ และขยายพื้นที่ใหม่ในตำบลน้ำสวย อ.เมือง จ.เลย
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 80 คน ประกอบด้วย คนพิการ 38 คน และผู้ดูแลคนพิการ 42 คน............................................
“ศรีสะเกษ”
14.) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านรงระ : โครงการสร้างรายได้จากผ้าไหมลายลูกแก้ว
• เป้าหมาย – ส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือชาวกูย เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
• พื้นที่ดำเนินงาน - บ้านรงระ ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 47 คน และผู้ว่างงาน 3 คน
15.) วิสาหกิจชุมชนตลาดสีเขียวคนทาม : โครงการพัฒนาขีดความสามารถการประกอบอาชีพผู้ด้อยโอกาส
• เป้าหมาย – ส่งเสริมความรู้ และทักษะอาชีพด้านการเกษตร แปรรูป และการเป็นผู้ประกอบการให้กลุ่มเป้าหมาย
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 4 พื้นที่ คือ บ้านโต่งโต้น และบ้านดอนม่วง ต.หนองอึ่ง, บ้านเหล่าโดน และบ้านผึ้ง ต.หนองแค, บ้านหนองแห้ว ต.ด่าน, บ้านโนนเวียงคำ ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
• กลุ่มเป้าหมาย -............................................
“สกลนคร”
16.) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโคกศรีสุพรรณ : โครงการเพาะต้นกล้าพืชสมุนไพรต้านภัยโควิด-19
• เป้าหมาย - เพื่อส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง และสามารถสร้างผลผลิตอินทรีย์ที่ปลอดภัยต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้
• พื้นที่ดำเนินงาน - กศน. ตำบลแมดนาท่ม อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 80 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 10 คน, เยาวชนนอกระบบ 60 คน และผู้ว่างงาน 10
17.) วิสาหกิจชุมชนบึงโนในทอผ้าไหมสามัคคี : โครงการกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านบึงโนใน
• เป้าหมาย – เสริมทักษะความรู้ผลิตผ้าย้อมครามให้มีคุณภาพ ตั้งแต่การปลูกคราม/ปลูกฝ้าย การทอ และการตลาด เพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้
• พื้นที่ดำเนินงาน - บ้านบึงโนใน หมู่ที่ 5 ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 49 คน และผู้ทอผ้า 1 คน
18.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร : โครงการพัฒนาอาชีพกลุ่มทอผ้าด้วยนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
• เป้าหมาย - เพิ่มทักษะในการผลิตผ้าทอและการย้อมครามให้ได้มาตรฐานในทุกกระบวนการถึงการทำตลาดที่หลากหลาย
• พื้นที่ดำเนินงาน – วิสาหกิจชุมชน บ้านหนองแข้ ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 40 คน และผู้ว่างงาน 10 คน
19.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร : โครงการพัฒนาอาชีพผลิตถ่านอัดแท่งสู่การเป็นผู้ประกอบการ
• เป้าหมาย – ยกระดับความรู้และพัฒนาทักษะในการผลิตถ่านไร้ควันและถ่านอัดแท่งให้ได้มาตรฐาน พร้อมเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทางออนไลน์
• พื้นที่ดำเนินงาน - ชุมชนบ้านกุดบาก ต.กุดบาก จ.สกลนคร
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 40 คน และผู้สูงอายุ 10 คน............................................
“สุรินทร์”
20.) พันธุ์เจียออแกนิค จ.สุรินทร์ : โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสู่การพึ่งพาเครือข่ายที่ยั่งยืน
• เป้าหมาย – เพื่อรวมกลุ่มเกษตรกรในการผลิตสินค้าตอบสนองตลาดในชุมชนและโรงเรียน เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านหลวงอุดม บ้านดงเค็ง และบ้านกันนัง ต.เมืองลีง อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 60 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 55 คน, รับจ้าง 3 คน และผู้ว่างงาน 2 คน
21.) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิท อำเภอจอมพระ (โครงการต่อยอดและขยายผลปีที่ 3) : โครงการศูนย์เรียนรู้หนองสนิทรุ่งเรืองเมืองเกษตรอินทรีย์
• เป้าหมาย – ยกระดับกลุ่มเป้าหมายเดิมให้เป็นผู้ส่งต่อความรู้และทักษะการประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์ให้กลุ่มเป้าหมายใหม่ และสร้างศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของตำบลหนองสนิท
• พื้นที่ดำเนินงาน - ตำบลหนองสนิท อ.จอมพระ จ.สุรินทร์
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 100 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 60 คน, เยาวชนนอกระบบ 10 คน และผู้ว่างงาน 30 คน............................................
“หนองบัวลำภู”
22.) วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู (โครงการต่อยอดและขยายผลปีที่ 2) : โครงการพัฒนาทักษะอาชีพผู้ต้องขังก่อนปล่อย
• เป้าหมาย – พัฒนาทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพตามความถนัดและศักยภาพของผู้ต้องโทษ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประกอบอาชีพหลังพ้นโทษได้
• พื้นที่ดำเนินงาน - ในพื้นที่เดิม คือ เรือนจำจังหวัดหนองบัวลำภู และในพื้นที่ใหม่คือ เรือนจำชั่วคราวบ้านห้วยเตย ต.หนองหว้า อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
• กลุ่มเป้าหมาย – เป็นผู้ต้องขังก่อนปล่อยในเรือนจำจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 100 คน............................................
“อุดรธานี”
23.) วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี : โครงการสานพลังอาชีวะ ตชด. เพื่อผู้ด้อยโอกาสชายขอบ
• เป้าหมาย - พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมทักษะอาชีพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทชุมชนและทรัพยากรที่มีในชุมชนให้ตรงความต้องการของตลอดในพื้นที่ และตลาดออนไลน์
• พื้นที่ดำเนินงาน – ใน 4 พื้นที่ คือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเวียงงาน ต.นายูง, โรงเรียน ตชด.บ้านนาชมภู ต.บ้านก้อง และ โรงเรียน ตชด.บ้านเมืองทอง ต.โนนทอง อ.นายูง, โรงเรียน ตชด.บ้านเทพภูเงิน ต.น้ำโสม อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 100 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 50 คน, รับจ้าง 30 คน และเยาวชนนอกระบบ 20 คน............................................
“อุบลราชธานี”
24.) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี : โครงการพัฒนาอาชีพผู้พิการด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
• เป้าหมาย – ส่งเสริมทักษะอาชีพการปลูกและแปรรูปสมุนไพรให้แก่คนพิการเพื่อสร้างอาชีพและรายได้
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 3 พื้นที่ คือ ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการบ้านศรีวนาไล, ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการบ้านทองพูนเผ่าพนัส และสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านอุบลฮักแพง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
• กลุ่มเป้าหมาย - เป็นคนพิการ จำนวน 81 คน
25.) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อุบลราชธานี (ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์) : โครงการส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพรป้องกันและรักษาโรคโควิด-19
• เป้าหมาย – เพื่อส่งเสริมให้ให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะและสามารถวางแผนในการประกอบอาชีพตามความถนัดโดยเรียนรู้ผ่านการปลูกและแปรรูปสมุนไพร
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 2 พื้นที่ คือชุมชนบ้านละทาย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ และชุมชนบ้านดอนยูง ต.แจระแม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 100 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 37 คน, ค้าขาย 8 คน, บริการ 15 คน และผู้ว่างงาน 40 คน
26.) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลองไลฟ์ เอ็ดดูเทนเมนท์ (ธุรกิจเพื่อสังคม) : โครงการปรับ LOOK ปลุก LIFE สู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ
• เป้าหมาย – ส่งเสริมให้เด็กในกระบวนการยุติธรรมมีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพพร้อมสู่การเป้นผู้มีรายได้ และผู้ประกอบการรุ่นใหม่
• พื้นที่ดำเนินงาน – ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขต 5 อุบลราชธานี
• กลุ่มเป้าหมาย - เด็กและเยาวชนในสถานพินิจ จำนวน 100 คน
27.) องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม (สภาเด็กและเยาวชนตำบลเก่าขาม) : โครงการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ต่อยอดสร้างอาชีพสู่ชุมชน
• เป้าหมาย – ส่งเสริมทักษะความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และเรียนรู้ทักษะในการประกอบอาชีพ และยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
• พื้นที่ดำเนินงาน - ใน 3 พื้นที่ คือ บ้านคำกลาง บ้านเก่าขาม และบ้านบุคำ ต.เก่าขาม อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี
• กลุ่มเป้าหมาย - จำนวน 70 คน ประกอบด้วย เกษตรกร 56 คน และเยาวชนนอกระบบ 14 คน............................................
สามารถติดตามข้อมูลโครงการเพิ่มเติมได้ที่: https://www.eef.or.th/fund/community-base/
#กสศ.
#สร้างโอกาส
#สร้างงาน
#สร้างชุมชน
#ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน
#เยาวชนและแรงงานนอกระบบ