05/03/2023
น้ำท่วมแก่งสะพือ ก็เพราะปะปา น้ำท่วมบ้านท่วมเมืองก็เพราะปะปา ปัญหาซ้ำซากที่แก้ได้ แต่ไม่ยอมแก้ !!!!
ปัญหาแค่นี้ ไม่รู้ทำไมคิดไม่ได้ แก้ไม่ได้ หรือว่า งบภัยพิบัติมันอร่อย จนไม่สนใจความทุกข์ร้อนของประชาชน ที่ประสบปัญหาซ้ำซากทุกปี
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=172278205564592&id=100083472391832&mibextid=qC1gEa
น้ำท่วมแก่งสะพือ ก็เพราะปะปา น้ำท่วมบ้านท่วมเมืองก็เพราะปะปา ปัญหาซ้ำซากที่แก้ได้ แต่ไม่ยอมแก้ !!!!
ผมได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล มาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด คือการประชุมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา โดยการประชุมวันดังกล่าวได้มีการนำเสนอข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอาทิ อุตุนิยมวิทยา ชลประทาน การปะปา การไฟฟ้า ฯ โดยมีข้อมูล ที่สำคัญ ที่อยากให้ทุกท่าน ได้รับทราบ ดังนี้
1. ปัจจุบันระดับน้ำที่ M7 อยู่ที่ 107.21 ม.รทก. (ข้อมูลวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566)
2. แก่งสะพือ มีความสูงอยู่ที่ 106.25 ม.รทก.
3. สถานีสูบน้ำปะปาอุบลราชธานี จำนวน 3 สถานี มีเพียง 1 สถานี (สถานีสูบน้ำท่าวังหิน) ที่มีหัวสูบน้ำตื้นสุด อยู่ที่ระดับ 106 ม.รทก.
ซึ่งหากมีการเปิดประตูเขื่อนปากมูล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเดือนเมษายน 2566 เป็นเวลา 30 วัน ดังนี้
1. เมื่อเปิดประตูเขื่อนปากมูล เพื่อให้สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวในแก่งสะพือได้ ระดับน้ำเหนือแก่งสะพือ อยู่ที่ 106.25 ม.รทก.
2. ระดับน้ำที่ M7 จะอยู่ที่ 106.05 ม.รทก.
3. สถานีสูบน้ำปะปา “ท่าวังหิน” จะอยู่ที่ 106.05 ม.รทก ลดลงจากระดับปัจจุบัน 1 เมตร
การคาดการณ์ผลกระทบและแผนการรองรับ หากเปิดประตูเขื่อนปากมูล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแก่งสะพือ ในเดือนเมษายน 2566 เป็นเวลา 30 วัน ประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาอภิปราย ก็มีเรื่องเดียวคือ น้ำเพื่อปะปา โดยมีข้อเท็จจริง ดังนี้
1. การปะปาอุบลราชธานี ได้เชื่อมท่อจากสถานีสูบน้ำอีกแห่ง เพื่อนำน้ำมาเติมให้กับสถานีสูบน้ำท่าวังหิน ที่มีกำลังผลิตลดลง จึงไม่ส่งผลต่อการผลิตน้ำปะปา ในสถานการณ์การใช้น้ำปกติ
2. ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วงวันที่ 12-15 เมษายน ซึ่งจะมีการนำน้ำไปใช้ในการละเล่นสงกรานต์กันจำนวนมาก อาจส่งผลให้พื้นที่ ที่อยู่ปลายท่อปะปา ประสบปัญหาน้ำไหลน้อยลงในบางช่วงเวลา
จากข้อมูลข้างต้น จึงค่อนข้างชัดเจนว่า หากจะเปิดประตูเขื่อนปากมูล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแก่งสะพือ ในเดือนเมษายน เป็นเวลา 30 วัน ข้อกังวลที่จะต้องช่วยกันเตรียมการไว้ก็คือ ช่วง 4 วัน ที่อาจมีบางพื้นที่ ที่อยู่ปลายท่อส่งน้ำปะปา ประสบปัญหาน้ำปะปาไหลน้อย ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะปลายสายของสถานี “ท่าวังหิน” เท่านั้น ในแถบบ้านปลาดุก ส่วนฝั่งวาริน และ เมือง ที่ใช้น้ำจากสถานี “กุดลาด” และ “โพธิ์มูล” จะไม่มีปัญหา สามารถใช้น้ำได้ตามปกติ
ผมไล่ต้อนข้อมูล มาจนเหลือแค่ว่า กี่ชุมชนกันแน่ที่น้ำจะไหลน้อยลง เพื่อที่จะหาทางออก (ขณะนั้นในใจคิดว่า ถ้าพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบแค่นี้ น่าจะแก้ได้ไม่อยาก เช่นบอกชาวบ้านให้วางแผนตุนน้ำไว้ใช้ในช่วง 4 วัน และ อาจให้ อบจ. และ ปภ. น้ำถังรองน้ำมาตั้งไว้ตามจุดหลัก แล้วใช้รถดับเพลิง วิ่งเติมน้ำให้บริการชาวบ้านก็น่าจะทำได้ เพราะหากเทียบกับรายได้ ที่จะเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวแก่งสะพือ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล ก็น่าลงทุนอย่างยิ่ง) แต่ก็ถูกเปิดประเด็นใหม่ จากนักวิชาการ ม.อุบลราชธานี ว่า “การเปิดประตูเขื่อนปากมูล อาจส่งผลต่อผู้เลี้ยงปลากระชัง” และ ชลประทานที่ 7 ว่า “การเปิดประตูเขื่อนปากมูล อาจส่งผลต่อการเพาะปลูกฤดูแล้ง” แต่คนที่นำเสนอ ก็ไม่ได้แสดงข้อมูลตัวเลข ว่า มีผู้เลี้ยงปลากระชังกี่แห่งที่จะได้รับผลกระทบ และ มีพื้นที่การเกษตรกี่ไร่ ที่จะได้รับผลกระทบ
อภิปรายกันไปมา ก็เลยมาลงที่ว่า “หากเปิดประตูเขื่อนปากมูลแล้ว ไม่รู้ว่าจะมีคนมาเที่ยวแก่งสะพือหรือเปล่า” ซึ่งเป็นข้อกล่าวอ้าง ที่นำมาเป็นข้ออ้างสำหรับบ่ายเบี่ยงเพื่อที่จะไม่ต้องเปิดประตูเขื่อนปากมูล เพราะหากพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว การเปิดประตูเขื่อนปากมูล จะทำให้ระดับน้ำในลำน้ำมูน บริเวณตัวเมืองอุบลราชธานี มีระดับลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการผลิตน้ำปะปา ของสถานี “ท่าวังหิน” เท่านั้น และเป็นผลกระทบในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั่นเอง ดังนั้น หากเราสามารถแก้ปัญหาสถานีสูบน้ำปะปา “ท่าวังหิน” ได้ ซื้อสามารถทำได้ง่ายนิดเดียว คือ “ย้ายสถานีสูบน้ำไปตั้งในจุดร่องน้ำลึก” เพียงเท่านี้ คนอุบลราชธานี ก็จะได้แก่งสะพือ กลับคืนมา และ จะส่งผลให้ในฤดูฝน จังหวัดอุบลราชธานี จะลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมได้อย่างมาก เพราะจะเป็นการลดน้ำต้นทุนในลำน้ำมูน ให้เหลือน้อย เพื่อรองรับน้ำใหม่
ปัญหาแค่นี้ ไม่รู้ทำไมคิดไม่ได้ แก้ไม่ได้ หรือว่า งบภัยพิบัติมันอร่อย จึงไม่สนใจความทุกข์ร้อนของประชาชน ที่ประสบปัญหาซ้ำซากทุกปี
จากข้อมูล ข้อเท็จจริงที่นำเรียนข้างต้น ทำให้ผมยืนยันว่า ไม่มีเหตุผลและข้ออ้างใด ที่จะไม่เปิดประตูเขื่อนปากมูล แม้ว่าผมจะเป็นเพียงเสียงเดียวในที่ประชุมก็ตาม แต่ก็กล้าที่จะยืนหยัดความถูกต้อง และ จะทำแบบนี้ต่อไป
#เปิดเขื่อนปากมูล #คืนแก่งสะพือ
#ได้เวลารวมพลคนรักแก่งสะพือ
#ได้เวลาทวงคืนแก่งสะพือ